พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำหน่ายสินค้า: หน้าที่, ความรับผิด, อายุความ และขอบเขตการฟ้องเรียกทรัพย์สิน
(1) องค์การสรรพาหารเป็นราชการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ไม่ว่าเป็นเอกสารประเภทใด (2) กรณีที่จำเลยมิใช่แต่เพียงเป็นสื่อกลางให้เขาทำสัญญากัน หากแต่จำเลยยังรับสินค้าไปจำหน่าย และชำระเงินค่าสินค้าคืนให้ตัวการโดยจำเลยได้รับบำเหน็จเป็นผลประโยชน์ และจำเลยยังมีอำนาจครอบครองสินค้า แล้วส่งมอบแก่ผู้ซื้อเรียกและรับเงินค่าสินค้า ทั้งหนังสือก็ยังระบุว่าหนังสือสัญญารับเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า อนึ่งการจัดหาระวางเรือโดยจำเลยตกลงกับผู้รับผลแทน โดยองค์การสรรพาหารเสียค่าระวางเองนั้น ย่อมเป็นการที่จำเลยทำในฐานเป็นตัวแทน มิใช่เป็นนายหน้าส่วนการที่จำเลยรับสินค้าไป แม้จะมีผู้ควบคุมโดยต้องตกลงราคากับผู้ควบคุมก่อนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำตามคำสั่งขององค์การ(ตัวการ) (3) การส่งสินค้า เมื่อมีข้อผูกพันอย่างใดก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงแม้บริษัทจำเลยจะมีวัตถุประสงค์ทำกิจการเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม เมื่อจำเลยรับสินค้าไปขายแล้ว หักเอาบำเหน็จออกจากเงินที่ขายสินค้าไว้แล้วก็ต้องคืนเงินค่าสินค้าที่รับไปจำเลยจะยกเรื่องวัตถุประสงค์ของบริษัทมาสู้ เพื่อไม่ต้องคืนค่าสินค้าให้เขาหาได้ไม่
อนึ่ง เป็นการมิชอบในการที่จะอ้างว่าองค์การตั้งขึ้นไม่ชอบ ได้เงินมาไม่ชอบ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องคืนเงินที่ตนรับไปในฐานตัวแทนให้แก่ตัวการตามกฎหมาย
(4) เมื่อองค์การสรรพาหารเป็นราชการในสังกัดสำนักคณะรัฐมนตรี โจทก์ โจทก์ ก็มีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินที่ยังตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนได้ (5) ถึงแม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่า จำเลยละเมิดสัญญาตัวแทน คือ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแต่โจทก์มิได้เรียกค่าเสียหายเนื่องจากตัวแทนทำให้เกิดขึ้นแก่ตัวการหากแต่เรียกเอาเงินที่จำเลยหักไว้เกินคืน คือ เรียกเอาทรัพย์ของตนซึ่งอยู่ที่จำเลยนั่นเองคืน นั้น คดีมีอายุความ 10 ปี (6) ถึงแม้เอกสารที่โจทก์อ้างท้ายฟ้องปรากฏว่าจำเลยมิได้เป็นผู้รับสินค้าและการส่งสินค้าออกก็ทำในนามขององค์การสรรพาหาร โจทก์ก็ย่อมนำสืบถึงหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาได้ ไม่ใช่เป็นการสืบแก้ไขเอกสาร (7) การที่บริษัทขนส่งยอมรับสินค้าของจำเลยที่ 1 บรรทุกเพิ่มเติมลงไปอีก ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทรับขน ส่วนองค์การสรรพาหารมิใช่ผู้รับขน จะเรียกเอาค่าระวางจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ถึงแม้องค์การสรรพาหารจะเถียงว่าเป็นผู้เหมาลำเป็นเจ้าของระวางคนอื่นไม่มีสิทธิบรรทุกก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมิได้มีสัญญารับขนกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่บริษัทรับขนจะต้องรับผิดต่อองค์การสรรพาหารเอง
อนึ่ง เป็นการมิชอบในการที่จะอ้างว่าองค์การตั้งขึ้นไม่ชอบ ได้เงินมาไม่ชอบ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องคืนเงินที่ตนรับไปในฐานตัวแทนให้แก่ตัวการตามกฎหมาย
(4) เมื่อองค์การสรรพาหารเป็นราชการในสังกัดสำนักคณะรัฐมนตรี โจทก์ โจทก์ ก็มีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินที่ยังตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนได้ (5) ถึงแม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่า จำเลยละเมิดสัญญาตัวแทน คือ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแต่โจทก์มิได้เรียกค่าเสียหายเนื่องจากตัวแทนทำให้เกิดขึ้นแก่ตัวการหากแต่เรียกเอาเงินที่จำเลยหักไว้เกินคืน คือ เรียกเอาทรัพย์ของตนซึ่งอยู่ที่จำเลยนั่นเองคืน นั้น คดีมีอายุความ 10 ปี (6) ถึงแม้เอกสารที่โจทก์อ้างท้ายฟ้องปรากฏว่าจำเลยมิได้เป็นผู้รับสินค้าและการส่งสินค้าออกก็ทำในนามขององค์การสรรพาหาร โจทก์ก็ย่อมนำสืบถึงหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาได้ ไม่ใช่เป็นการสืบแก้ไขเอกสาร (7) การที่บริษัทขนส่งยอมรับสินค้าของจำเลยที่ 1 บรรทุกเพิ่มเติมลงไปอีก ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทรับขน ส่วนองค์การสรรพาหารมิใช่ผู้รับขน จะเรียกเอาค่าระวางจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ถึงแม้องค์การสรรพาหารจะเถียงว่าเป็นผู้เหมาลำเป็นเจ้าของระวางคนอื่นไม่มีสิทธิบรรทุกก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมิได้มีสัญญารับขนกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่บริษัทรับขนจะต้องรับผิดต่อองค์การสรรพาหารเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญา Trust Receipt: อายุความฟ้องเรียกเงินค่าขายสินค้า 10 ปี มิใช่เงินทดรอง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามข้อตกลงในสัญญาใบรับสินค้าเชื่อ (Trust receipt) ซึ่งโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยไปจัดการขายสินค้าและนำเงินมาชำระให้โจทก์ตามที่กำหนดกันไว้ สัญญาเช่นนี้เป็นการเรียกเงินค่าขายของ มิใช่เป็นการเรียกเงินที่โจทก์ออกทดรองไป อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่เป็นค้ำประกัน แต่เป็นสัญญาชดใช้ค่าเสียหาย อายุความ 10 ปี
จำเลยขอให้โจทก์ค้ำประกันบุคคลผู้ส่งข้าวไปขายต่างประเทศต่อกระทรวงเศรษฐการ โดยจำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ ถ้าโจทก์ต้องเสียหายอย่างใด ๆ ในการค้ำประกันนั้น ดังนี้ ไม่ใช่เป็นสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 แต่เป็นสัญญาธรรมดาระหว่างโจทก์ จำเลย เมื่อโจทก์ต้องชำระหนี้ค่าข้าวแทนบุคคลนั้นโดยสุจริต ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินนั้นได้โดยต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 ไม่ใช่ 5 ปีตามมาตรา 165
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ขาดอายุความ อุทธรณ์ฎีกาไม่ได้หากไม่โต้แย้ง
จำเลยขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลสั่งว่า ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ อันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา นั้น เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งแต่ประการใดแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, อายุความหนี้, การชำระหนี้, การพ้นวิสัย, สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
อันอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามที่กฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังออกประกาศหรือกฎกระทรวงในการที่ทางราชการรับซื้อหรือออกขายนั้น เป็นเรื่องอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกระทรวงการคลังจะถือปฏิบัติอย่างไรเท่านั้น หาใช่กฎหมายที่จะบังคับใช้แก่ประชาชนไม่ ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจึงต้องถือตามวันเวลาที่ทำการแลกเปลี่ยนเงินตราจึงต้องถือตามวันเวลาที่ทำการแลกเปลี่ยนหรือควรจะได้ทำการแลกเปลี่ยนและความเสียหายที่โจทก์จะได้รับก็คือ ความเสียหายในเวลาที่มีการผิดนัดชำระหนี้ และต้องคิดคำนวณลงเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย คือ เป็นเงินไทยในขณะนั้น จะถือว่าเสียหายเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิงตลอดไปไม่ได้
แม้จะมีกฎหมายว่า ไม่นำเงินตราต่างประเทศมาขายเป็นผิดอาญาก็ตาม แต่เป็นการบังคับให้ขายเงินตราต่างประเทศอีกส่วนหนึ่งในภายหลังต่างหาก ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะขอให้จำเลยต้องผูกพันอยู่เดิม อายุความจึง 10 ปี หาใช่ 5 ปี โดยถืออัตราโทษทางอาญาในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นหลักตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรกไม่
การที่ต่างประเทศมีกฎหมายห้ามนำเงินตราออกนั้น ไม่ใช่เป็นข้อแก้ตัวว่าเป็นการพ้นวิสัย อันจะทำให้พ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้
แม้จะมีกฎหมายว่า ไม่นำเงินตราต่างประเทศมาขายเป็นผิดอาญาก็ตาม แต่เป็นการบังคับให้ขายเงินตราต่างประเทศอีกส่วนหนึ่งในภายหลังต่างหาก ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะขอให้จำเลยต้องผูกพันอยู่เดิม อายุความจึง 10 ปี หาใช่ 5 ปี โดยถืออัตราโทษทางอาญาในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นหลักตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรกไม่
การที่ต่างประเทศมีกฎหมายห้ามนำเงินตราออกนั้น ไม่ใช่เป็นข้อแก้ตัวว่าเป็นการพ้นวิสัย อันจะทำให้พ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: การพิจารณาช่วงเวลาการจ่ายเงินเพื่อกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เงินเดือนมีลักษณะเป็นเงินค่าจ้าง ทำงานนั่นเอง แต่มีลักษณะจ่ายเป็นรายเดือนจึงเรียกว่าเงินเดือน
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165 (8)
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165 (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: การพิจารณาตามลักษณะการจ่ายเงินเป็นรายเดือนหรือรายปี
เงินเดือนมีลักษณะเป็นเงินค่าจ้างทำงานนั่นเอง แต่มีลักษณะจ่ายเป็นรายเดือนจึงเรียกว่าเงินเดือน
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165(8)
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสินจ้าง: บำเหน็จจากการขายและผลกำไรเป็นสินจ้างชนิดอื่น ฟ้องร้องภายใน 2 ปี
เงินบำเหน็จในการขายสินค้าก็ดี เงินบำเหน็จในผลกำไรของร้านค้าก็ดี ซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรายปีนั้น คือ "สินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ทำ" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(8), สิทธิเรียกร้องเหล่านี้จะต้องฟ้องร้องเสียภายในกำหนดอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าบำเหน็จพนักงาน: สินจ้างชนิดอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(8) มีอายุความ 2 ปี
เงินบำเหน็จในการขายสินค้าก็ดี เงินบำเหน็จในผลกำไรของร้านค้าก็ดี ซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรายปีนั้น คือ "สินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ทำ" ตามป.พ.พ. มาตรา 165(8), สิทธิเรียกร้องเหล่านี้จะต้องฟ้องร้องเสียภายในกำหนดอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารรับรองหนี้ของผู้อื่น ถือเป็นผู้ค้ำประกัน มีสิทธิไล่เบี้ยภายในอายุความตามมาตรา 164
การที่ธนาคารทำหนังสือรับรองพ่อค้าซึ่งเข้าทำสัญญาส่งของต่อบุคคลที่สามว่า ถ้าพ่อค้านั้นผิดสัญญาประการใด ธนาคารจะรับผิดชอบชดใช้ให้บุคคลที่สามนั้น ถือว่าธนาคารเป็นผู้ค้ำประกัน ฉะนั้น เมื่อธนาคารได้ชำระเงินชดใช้แทนไปแล้ว ย่อมมีสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาต่อพ่อค้าได้ภายในอายุความตามมาตรา 164 กรณีไม่เข้าลักษณะอายุความตาม มาตรา 165(1).