พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์: กำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
สัญญาเช่าฉางระหว่างโจทก์กับจำเลย นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ยังมีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะเก็บรักษาข้าวเปลือกตามชนิดจำนวน น้ำหนัก มิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบและชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วยฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์จึงต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้แก่โจทก์ เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไปจำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มี กฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ การคิดอายุความตามมาตรา 164 เมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ
สัญญาเช่าฉาง เอกชน นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือกและดูแลมิให้เกิดความเสียหายหากเกิดความเสียหายหรือสูญหาย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ด้วย จำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์ซึ่งจะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้แก่โจทก์เมื่อทรัพย์ที่ฝากสูญหายจึงต้องใช้ราคาแทนตัวทรัพย์ การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 (กฎหมายใหม่ 193/30)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5786/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานอัยการและทนายความในการดำเนินคดี, ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย, และอายุความ
ป.เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจที่จะรับว่าต่างคดีให้องค์การโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาได้ตามพระราชบัญญัติ พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(5) และ ป.ได้รับเป็นทนายความว่าต่างให้โจทก์แล้วตามใบแต่งทนายความในสำนวน ป. จึงมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆรวมทั้งการเรียงคำฟ้องแทนโจทก์ได้โดยไม่จำต้องระบุถึงฐานะเช่นนั้นในช่องผู้เรียงคำฟ้องอีก จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าฉางและค่ากรรมกรขนข้าวเปลือกจากโจทก์มากกว่าจำนวนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง หรือขอให้ใช้ราคาทรัพย์และค่าเสียหายเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่ส่งมอบมิใช่เป็นการอ้างอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671ที่จำเลยฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 671 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5786/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานอัยการในการว่าต่างคดี และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
อ.เป็นพนักงานอัยการ มีอำนาจที่จะรับว่าต่างคดีให้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาได้ตาม พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(5)และอ.ได้รับเป็นทนายความว่าต่างให้โจทก์แล้วตามใบแต่งทนายความในสำนวนคดีนี้ อ.จึงมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ รวมทั้งการเรียงคำฟ้องแทนโจทก์ได้โดย ไม่จำต้องระบุถึงฐานะเช่นนั้นในช่องผู้เรียกคำฟ้องอีก จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าฉาง และค่ากรรมกรขนข้าวเปลือกจากโจทก์มากกว่าจำนวนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง หรือขอให้ใช้ราคาทรัพย์และค่าเสียหายเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่ส่งมอบ มิใช่เป็นการอ้างอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 ที่จำเลยฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานเฝ้ารักษาไม้ของกลาง ไม่เป็นสัญญาฝากทรัพย์ อายุความ 10 ปี
กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาจ้างเฝ้ารักษา" มีข้อสัญญาว่าผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางตามบัญชีท้ายสัญญาโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายลูกบาศก์เมตร นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไปจนกว่าผู้ว่าจ้างจะรับไม้คืน หากขาดหายหรือเป็นอันตรายผู้รับจ้างให้ผู้ว่าจ้างปรับไหมเป็นรายลูกบาศก์เมตรตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษาไม้ผู้ว่าจ้างอาจขนไม้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใด ๆก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ที่ขนไปนั้นทุกคราวไป หลังจากทำสัญญาแล้วไม้ของกลางอยู่ห่างจากบ้านผู้รับจ้างประมาณ 2 กิโลเมตร โดยกองอยู่ริมทางเดินในหมู่บ้านผู้รับจ้างมิได้ชักลากไม้มาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตนแต่ประการใดดังนี้ แสดงว่าอำนาจการครอบครองไม้ยังอยู่แก่ผู้ว่าจ้าง มิได้ส่งมอบไม้ให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างมีหน้าที่เฝ้ารักษามิให้ไม้เป็นอันตรายหรือสูญหายไปเท่านั้น ไม่ได้นำทรัพย์สินที่รับฝากมาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตน สัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาฝากทรัพย์ แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 685/2512และ 1020/2519) สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด 10 ปี คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามสัญญาได้หรือไม่ ค่าเสียหายมีเพียงใด และคดีขาดอายุความหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความพิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามสัญญาได้หรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดจึงเป็นเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งให้บริบูรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับฝากทรัพย์: ความรับผิดของผู้รับฝากเมื่อทรัพย์สูญหาย, อายุความ, และการรับช่วงสิทธิ
คดีมีทุนทรัพย์ 42,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดย วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีไม่ขาดอายุความ แต่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคงต้องรับผิดเฉพาะจำเลยที่ 3 จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 3 ใช้เงิน 40,000 บาทแก่โจทก์ การแก้ไขเช่นนี้เป็นการแก้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ให้รับผลตรงข้ามกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยที่ 3 ฎีกาข้อเท็จจริงได้
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากทรัพย์โดยปริยาย ความรับผิดของผู้รับฝาก และอายุความของคดี
คดีมีทุนทรัพย์ 42,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดย วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีไม่ขาดอายุความ แต่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคงต้องรับผิดเฉพาะจำเลยที่ 3 จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 3 ใช้เงิน 40,000 บาทแก่โจทก์ การแก้ไขเช่นนี้เป็นการแก้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ให้รับผลตรงข้ามกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยที่ 3 ฎีกาข้อเท็จจริงได้
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2 มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2 มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องฝากทรัพย์เสียหาย & ฟ้องละเมิดขาดรายละเอียด: จำเลยไม่ร่วมรับผิด
โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ฝากรถยนต์ไว้กับจำเลยที่ 1 โดยมีบำเหน็จค่าฝาก จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถที่จำเลยที่ 1 รับฝากออกไปขับทำให้รถเสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เพียงแต่กล่าวว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ไปขับประมาท เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ที่ 2 เสียหาย ฟ้องของโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องให้บังคับตามสัญญาฝากทรัพย์ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นเรื่องละเมิดฟ้องของโจทก์ที่ 1 ไม่เคลือบคลุม แต่สำหรับฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในการงานอะไร และการที่จำเลยที่ 2 นำรถของโจทก์ที่ 1 ออกไปขับเป็นการกระทำไปในทางการที่จำเลยที่ 1 จ้าง จึงเป็นฟ้องที่ขาดข้อความสำคัญที่จะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในผลอันเกิดแต่มูลละเมิดที่จำเลยที่ 2 ก่อให้เกิดขึ้น ศาลจะอาศัยฟ้องเช่นนี้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มิได้
ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่มีมติว่า การฟ้องขอให้ผู้รับฝากทรัพย์ใช้ค่าซ่อมรถยนต์ที่เกิดการเสียหายเนื่องจากความผิดของผู้รับฝาก เป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และถือว่าวันสิ้นสุดสัญญาคือวันที่โจทก์ที่ 1 ได้รับรถยนต์คืนมา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17 - 18/2519)
ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่มีมติว่า การฟ้องขอให้ผู้รับฝากทรัพย์ใช้ค่าซ่อมรถยนต์ที่เกิดการเสียหายเนื่องจากความผิดของผู้รับฝาก เป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และถือว่าวันสิ้นสุดสัญญาคือวันที่โจทก์ที่ 1 ได้รับรถยนต์คืนมา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17 - 18/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการฝากทรัพย์ และความรับผิดของผู้รับฝากต่อความเสียหายจากลูกจ้าง
โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ฝากรถยนต์ไว้กับจำเลยที่ 1 โดยมีบำเหน็จค่าฝาก จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถที่จำเลยที่ 1 รับฝากออกไปขับทำให้รถเสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เพียงแต่กล่าวว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ไปขับประมาท เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ที่ 2 เสียหาย ฟ้องของโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องให้บังคับตามสัญญาฝากทรัพย์ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นเรื่องละเมิดฟ้องของโจทก์ที่ 1 ไม่เคลือบคลุม แต่สำหรับฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในการงานอะไร และการที่จำเลยที่ 2 นำรถของโจทก์ที่ 1 ออกไปขับเป็นการกระทำไปในทางการที่จำเลยที่ 1 จ้างจึงเป็นฟ้องที่ขาดข้อความสำคัญที่จะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในผลอันเกิดแต่มูลละเมิดที่จำเลยที่ 2 ก่อให้เกิดขึ้น ศาลจะอาศัยฟ้องเช่นนี้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425 มิได้
ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่มีมติว่า การฟ้องขอให้ผู้รับฝากทรัพย์ใช้ค่าซ่อมรถยนต์ที่เกิดการเสียหายเนื่องจากความผิดของผู้รับฝากเป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 671 และถือว่าวันสิ้นสุดสัญญาคือวันที่โจทก์ที่1 ได้รับรถยนต์คืนมา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17-18/2519)
ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่มีมติว่า การฟ้องขอให้ผู้รับฝากทรัพย์ใช้ค่าซ่อมรถยนต์ที่เกิดการเสียหายเนื่องจากความผิดของผู้รับฝากเป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 671 และถือว่าวันสิ้นสุดสัญญาคือวันที่โจทก์ที่1 ได้รับรถยนต์คืนมา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17-18/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝากทรัพย์ อายุความฟ้องร้อง 6 เดือน กรณีไม้ของกลางสูญหาย
โจทก์จำเลยทำสัญญากันมีข้อความเป็นสารสำคัญว่า โจทก์มอบไม้ของกลางให้จำเลยจัดการขนย้ายจากสถานีตำรวจภูธรตำบลกำพวนไปเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัยบริเวณหมู่ที่ 2 ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง แล้วจำเลยต้องเก็บรักษาไม้ของกลางไว้เป็นการชั่วคราวในอารักขาแห่งตนอันเป็นการยอมให้จำเลยครอบครองไม้ของกลางแทนโจทก์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาฝากทรัพย์ และคดีมีอายุความฟ้องร้องภายใน 6 เดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2517 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบว่าไม้ของกลางที่ได้ทำสัญญาให้จำเลยเฝ้าระวังหายไปทั้งหมด 5 ท่อน จึงทวงถามให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญา จำเลยไม่ชำระ จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะนับแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2517 อันเป็นวันที่โจทก์ทราบว่าไม้ของกลางหายไปจนบัดนี้เกิน 6 เดือนแล้ว โจทก์มิได้นำสืบในข้อนี้ ถือว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วตั้งแต่วันนั้นและถือว่าเป็นวันสิ้นสัญญา เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญาดังกล่าว คดีของโจทก์ขาดอายุความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2517 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบว่าไม้ของกลางที่ได้ทำสัญญาให้จำเลยเฝ้าระวังหายไปทั้งหมด 5 ท่อน จึงทวงถามให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญา จำเลยไม่ชำระ จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะนับแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2517 อันเป็นวันที่โจทก์ทราบว่าไม้ของกลางหายไปจนบัดนี้เกิน 6 เดือนแล้ว โจทก์มิได้นำสืบในข้อนี้ ถือว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วตั้งแต่วันนั้นและถือว่าเป็นวันสิ้นสัญญา เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญาดังกล่าว คดีของโจทก์ขาดอายุความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)