คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 174

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จและเบิกความเท็จในคดีเช็ค โจทก์เป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้อง
โจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยเพื่อชำระเป็นเงินรางวัลสลากกินรวบและต่อมาได้แจ้งระงับการจ่ายเงินเพราะทราบความจริงว่าจำเลยมิได้ถูกรางวัลแต่จำเลยได้มอบอำนาจให้ ป. ไปแจ้งความ แล้วจำเลยไปให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากจำเลย เป็นเหตุให้โจทก์ถูกจับถูกควบคุมตัวระหว่างการสอบสวน และถูกฟ้องต่อศาล ทั้งจำเลยได้เบิกความเท็จดังกล่าวซึ่งอาจทำให้ศาลในคดีนั้นเชื่อและลงโทษโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ และเบิกความเท็จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-เบิกความเท็จในคดีเช็ค: โจทก์เสียหายจากการถูกกล่าวหาว่านำเช็คไปแลกเงิน
โจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยเพื่อชำระเป็นเงินรางวัลสลากกินรวบและต่อมาได้แจ้งระงับการจ่ายเงินเพราะทราบความจริงว่าจำเลยมิได้ถูกรางวัลแต่จำเลยได้มอบอำนาจให้ ป. ไปแจ้งความ แล้วจำเลยไปให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากจำเลย เป็นเหตุให้โจทก์ถูกจับถูกควบคุมตัวระหว่างการสอบสวน และถูกฟ้องต่อศาล ทั้งจำเลยได้เบิกความเท็จดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ศาลในคดีนั้นเชื่อและลงโทษโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) และมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ และเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ vs. ร้องเรียนทางวินัย: เจตนาในการดำเนินการทางกฎหมาย
ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรและผู้บัญชาการตำรวจภูธรต่างมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ที่จะดำเนินการทางวินัยต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชา ฉะนั้นหากข้อความในหนังสือที่จำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ดังกล่าวเป็นเท็จจำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ.มาตรา 137 การที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173,174 ผู้แจ้งจะต้องมีเจตนาที่จะให้เจ้าพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษในทางอาญา แต่การที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่โจทก์ มิได้เจตนาที่จะให้ดำเนินการเอาความผิดแก่โจทก์ในคดีอาญา การกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 173,174.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จ vs. การร้องเรียนทางวินัย: เจตนาเป็นสำคัญ
ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรและผู้บัญชาการตำรวจภูธรต่างมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ที่จะดำเนินการทางวินัยต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ฉะนั้น หากข้อความในหนังสือที่จำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ดังกล่าวเป็นเท็จ จำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2518)
การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173,174 ผู้แจ้งจะต้องมีเจตนาที่จะให้เจ้าพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษในทางอาญา แต่การที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่โจทก์ มิได้เจตนาที่จะให้ดำเนินการเอาความผิดแก่โจทก์ในคดีอาญาการกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173,174.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ ต้องเกี่ยวข้องกับความผิดอาญาหรือประเด็นสำคัญในคดี
การแจ้งความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172,173 และ 174 นั้น ความเท็จที่แจ้งต้องเป็นข้อความที่เกี่ยวกับความผิดอาญา เมื่อจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนเพียงว่า จำเลยเป็นผู้แนะนำ ส. ให้รู้จักกับโจทก์และสามีซึ่งเป็นความเท็จโดยไม่มีข้อความว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาการกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
ส่วนการเบิกความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 นั้น ความเท็จที่เบิกความต้องเป็นข้อสำคัญในคดี คือเป็นข้อความในประเด็นหรือที่เกี่ยวแก่ประเด็นอันอาจจะทำให้คู่ความถึงแพ้ชนะกันในประเด็นนั้นในคดีที่โจทก์คดีนี้ถูกฟ้องว่าฉ้อโกง ข้อสำคัญแห่งคดีมีว่า โจทก์ได้ทำการหลอกลวงผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ แล้วมอบเงินให้โจทก์รับไปหรือไม่ ดังนั้น ที่จำเลยเบิกความในคดีดังกล่าวว่าจำเลยเคยแนะนำโจทก์ให้รู้จักกับผู้เสียหายนั้น ถึงหากจะเป็นความเท็จก็มิใช่ข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ ต้องเกี่ยวกับความผิดอาญา/ประเด็นสำคัญในคดี จึงจะมีความผิด
การแจ้งความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172,173 และ 174 นั้น ความเท็จที่แจ้งต้องเป็นข้อความที่เกี่ยวกับความผิดอาญา เมื่อจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนเพียงว่า จำเลยเป็นผู้แนะนำ ส. ให้รู้จักกับโจทก์และสามีซึ่งเป็นความเท็จ โดยไม่มีข้อความว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาการกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
ส่วนการเบิกความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 นั้น ความเท็จที่เบิกความต้องเป็นข้อสำคัญในคดี คือเป็นข้อความในประเด็นหรือที่เกี่ยวแก่ประเด็นอันอาจจะทำให้คู่ความถึงแพ้ชนะกันในประเด็นนั้นในคดีที่โจทก์คดีนี้ถูกฟ้องว่าฉ้อโกง ข้อสำคัญแห่งคดีมีว่า โจทก์ได้ทำการหลอกลวงผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ แล้วมอบเงินให้โจทก์รับไปหรือไม่ดังนั้น ที่จำเลยเบิกความในคดีดังกล่าวว่าจำเลยเคยแนะนำโจทก์ให้รู้จักกับผู้เสียหายนั้น ถึงหากจะเป็นความเท็จ ก็มิใช่ข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จและเบิกความเท็จต้องเกี่ยวกับความผิดอาญาหรือประเด็นสำคัญในคดีจึงจะมีความผิด
การแจ้งความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา172,173และ174นั้นความเท็จที่แจ้งต้องเป็นข้อความที่เกี่ยวกับความผิดอาญาเมื่อจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนเพียงว่าจำเลยเป็นผู้แนะนำส.ให้รู้จักกับโจทก์และสามีซึ่งเป็นความเท็จโดยไม่มีข้อความว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาการกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ส่วนการเบิกความเท็จอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา177นั้นความเท็จที่เบิกความต้องเป็นข้อสำคัญในคดีคือเป็นข้อความในประเด็นหรือที่เกี่ยวแก่ประเด็นอันอาจจะทำให้คู่ความถึงแพ้ชนะกันในประเด็นนั้นในคดีที่โจทก์คดีนี้ถูกฟ้องว่าฉ้อโกงข้อสำคัญแห่งคดีมีว่าโจทก์ได้ทำการหลอกลวงผู้เสียหายทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อแล้วมอบเงินให้โจทก์รับไปหรือไม่ดังนั้นที่จำเลยเบิกความในคดีดังกล่าวว่าจำเลยเคยแนะนำโจทก์ให้รู้จักกับผู้เสียหายนั้นถึงหากจะเป็นความเท็จก็มิใช่ข้อสำคัญในคดีการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3646/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาความผิดแจ้งความเท็จ: มาตรา 172 ก่อน 174 วรรคสอง และข้อยกเว้นการห้ามอุทธรณ์
การที่จะพิจารณาว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 174 วรรคสองหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามมาตรา172 หรือไม่ การกระทำความผิดตาม มาตรา 174 วรรคสองมีอัตราโทษอย่างสูงเกินสามปีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิในกรณีเช่นนี้สำหรับความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม มาตรา 172 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
การกระทำอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 174วรรคสองได้นั้น จะต้องกระทำความผิดตาม มาตรา 172 เสียก่อนแม้โจทก์จะได้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดตาม มาตรา 172มาด้วยและศาลชั้นต้นสั่งรับไว้ก็ตามเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนี้ ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามลำดับชั้นของศาลเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3646/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาความผิดแจ้งความเท็จ: ต้องพิจารณามาตรา 172 ก่อนมาตรา 174 วรรคสอง และสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การที่จะพิจารณาว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา174วรรคสองหรือไม่ศาลต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา172หรือไม่การกระทำความผิดตามมาตรา174วรรคสองมีอัตราโทษอย่างสูงเกินสามปีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตราS93ทวิในกรณีเช่นนี้สำหรับความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา172จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย การกระทำอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา174วรรคสองได้นั้นจะต้องกระทำความผิดตามมาตรา172เสียก่อนแม้โจทก์จะได้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดตามมาตรา172มาด้วยและศาลชั้นต้นสั่งรับไว้ก็ตามเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวดังนี้ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามลำดับชั้นของศาลเสียก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3646/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาความผิดแจ้งความเท็จ: มาตรา 172 ก่อน 174 วรรคสอง และข้อยกเว้นการอุทธรณ์
การที่จะพิจารณาว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 174 วรรคสองหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามมาตรา 172 หรือไม่ การกระทำความผิดตาม มาตรา 174 วรรคสองมีอัตราโทษอย่างสูงเกินสามปีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิในกรณีเช่นนี้สำหรับความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม มาตรา 172 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
การกระทำอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 174 วรรคสองได้นั้น จะต้องกระทำความผิดตาม มาตรา 172 เสียก่อน แม้โจทก์จะได้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดตาม มาตรา 172 มาด้วยและศาลชั้นต้นสั่งรับไว้ก็ตามเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนี้ ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามลำดับชั้นของศาลเสียก่อน
of 8