คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประเสริฐ บุญศรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 197 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มเมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่ได้ตกเป็นของผู้มีสิทธิอื่น และต้องครบ 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์
เจ้าของรวมได้ นำที่ดินโฉนด เลขที่ 13282 มาจัดสรรขายโดย แบ่งเป็นแปลงเล็ก จำเลยและ ส. ต่าง เป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรดังกล่าว จำเลยรับโอนที่ดินโฉนด เลขที่ 16083 แปลงหมายเลข 413เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2516 ส่วน ส. รับโอนที่ดินโฉนด เลขที่ 16084แปลงหมายเลข 414 หรือที่พิพาทเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2516 แต่ จำเลยได้ เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาท ตั้งแต่ วันที่ 26 พฤษภาคม 2515ก่อนออกโฉนด ที่ พิพาทแปลง หมายเลข 414 ก็ดี ที่ดินแปลงหมายเลข413 หรือแปลงอื่น ๆ ก็ดี ที่จัดสรรแบ่งแยกออกจากที่ดินแปลง เดิมออกเป็นแปลงเล็ก จะถือ ว่ากรรมสิทธิ์เหนือที่ดินแต่ ละแปลงแยกออกจากที่ดินแปลงเดิม ก็ต่อเมื่อการแบ่งโฉนด ได้ กระทำแล้วเสร็จและผู้ซื้อที่ดินจะ ได้ กรรมสิทธิ์ก็ต่อเมื่อเจ้าของเดิม ผู้จัดสรรได้ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ก่อนเวลานั้นถือ ว่ากรรมสิทธิ์ ยังอยู่กับเจ้าของเดิม แม้จำเลยจะครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตั้งแต่ วันที่ 26พฤษภาคม 2515 อันเป็นวันทำสัญญาจะซื้อจะขายและ ชำระราคาที่ดินเรียบร้อยแล้วก็ตาม ก็ต้อง ถือ ว่าจำเลยครอบครอง ที่พิพาทโดย อาศัยสิทธิ์เจ้าของเดิม จำเลยจะอ้างการ ครอบครองปรปักษ์เหนือที่พิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวยันแก่ เจ้าของเดิม หา ได้ ไม่และจำเลยจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ใน ช่วงเวลาดังกล่าวยันแก่ ส. ก็มิได้เพราะกรรมสิทธิ์เหนือที่พิพาทยังมิได้ตกเป็นของ ส. จำเลยจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ยัน ส. ได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าของเดิม ได้ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เหนือที่ พิพาทแล้ว เมื่อ ส. ได้ รับการจด ทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เหนือที่พิพาทเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2516 อายุการ ครอบครองปรปักษ์ของจำเลยนับจากวันดังกล่าวถึง วันที่ 8 มีนาคม2526 อันเป็นวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้สิทธิ์โดย อายุความได้ สิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มเมื่อกรรมสิทธิ์ตกเป็นของเจ้าของเดิม การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นสำคัญ
จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับเจ้าของที่ดินซึ่งนำที่ดินมาจัดสรรขาย ต่อมาเจ้าของที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้สลับกันโดยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้กับ ส. ผู้ซื้อที่ดินอีกแปลงหนึ่ง และจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงที่ ส.ได้ทำสัญญาจะซื้อขายไว้โอนให้แก่จำเลย เช่นนี้ การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินเดิม จำเลยจะอ้างการครอบครองปรปักษ์เหนือที่ดินพิพาทในช่วงเวลาก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาใช้ยันแก่เจ้าของที่ดินเดิมผู้จัดสรรหาได้ไม่ และไม่อาจจะแยกการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวขึ้นใช้ยันต่อ ส. ได้ ตราบใดที่ ส. ยังไม่ได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังมิได้ตกเป็นของ ส. ระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ส. รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ นับถึงวันโจทก์ฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยยังไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เหนือที่ดินพิพาท โจทก์ผู้ซึ่งจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจาก ส. โดยไม่สุจริตคือรู้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอยู่หรือไม่ ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับเมื่อกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้รับโอนจริง การครอบครองก่อนโอนกรรมสิทธิ์ยังไม่เกิดสิทธิ
จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับเจ้าของที่ดินซึ่งนำที่ดินมาจัดสรรขาย ต่อมาเจ้าของที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้สลับกันโดยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้กับ ส. ผู้ซื้อที่ดินอีกแปลงหนึ่งและจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงที่ ส.ได้ทำสัญญาจะซื้อขายไว้โอนให้แก่จำเลย เช่นนี้ การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินเดิม จำเลยจะอ้างการครอบครองปรปักษ์เหนือที่ดินพิพาทในช่วงเวลาก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาใช้ยันแก่เจ้าของที่ดินเดิมผู้จัดสรรหาได้ไม่ และไม่อาจจะแยกการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวขึ้นใช้ยันต่อ ส. ได้ตราบใดที่ ส. ยังไม่ได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังมิได้ตกเป็นของ ส. ระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ส. รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ นับถึงวันโจทก์ฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยยังไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เหนือที่ดินพิพาท โจทก์ผู้ซึ่งจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจาก ส. โดยไม่สุจริตคือรู้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอยู่หรือไม่ ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ออกทับโฉนด
จำเลยทั้งสองซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์รวมทั้งที่พิพาทเมื่อปี 2504 โดยไม่ทราบว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์จะออกทับที่พิพาทแต่จำเลยทั้งสองก็ได้ครอบครองตั้งแต่ปี 2504 ด้วยความสงบ เปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมา 20 ปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ แม้มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินเดิม
จำเลยทั้งสองซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์รวมทั้งที่พิพาทเมื่อปี 2504 โดยไม่ทราบว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์จะออกทับที่พิพาทแต่จำเลยทั้งสองก็ได้ครอบครองตั้งแต่ปี 2504ด้วยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมา 20 ปีแล้วจึงได้กรรมสิทธิ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ แม้มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินเดิม
จำเลยทั้งสองซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์รวมทั้งที่พิพาทเมื่อปี 2504 โดยไม่ทราบว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์จะออกทับที่พิพาทแต่จำเลยทั้งสองก็ได้ครอบครองตั้งแต่ปี 2504 ด้วยความสงบเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมา 20 ปีแล้วจึงได้กรรมสิทธิ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมของนายจ้างต่อความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างในการขับรถ และการพิสูจน์เจ้าของรถ/ผู้ครอบครอง
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญานำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุมาร่วมรับส่งคนโดยสารกับจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้หาพนักงานประจำรถมาทั้งหมด รวมทั้งการจ่ายเงินเดือนและการเลิกจ้างด้วย จำเลยที่ 1 เป็นผู้ประกอบการขนส่ง จำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ ขณะเกิดเหตุยังใช้ชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ติดอยู่ข้างรถยนต์คันดังกล่าว แม้จำเลยที่ 2 จะให้จำเลยที่ 3 เช่าซื้อรถยนต์คันนั้น แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังคงเป็นเจ้าของและเป็นผู้ครอบครองรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่ 1ด้วย ดังนี้จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่คนขับรถคันดังกล่าวได้ก่อขึ้น รถยนต์บรรทุกซุงของจำเลยที่ 5 เลี้ยวขวาจะเข้าอำเภอเมือง สิงห์บุรี รถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 แล่นมาทางตรง ชนตรงกลางท่อนซุงจนสาลี่และซุงล้มตะแคง หน้ารถยนต์ของจำเลยที่ 2 เสียหายยับเยินยุบไปถึงที่นั่งคนโดยสารทำให้คนโดยสารตาย 3 คน ขณะรถยนต์บรรทุกซุงเลี้ยวมีเด็กท้ายรถลงมายืนให้สัญญาณเพื่อให้รถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 ชะลอรถ แต่รถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2ไม่ชะลอ แสดงว่าขับด้วยความเร็วสูงไม่ชะลอรถเมื่อถึงทางแยกและไม่ระมัดระวังความปลอดภัยข้างหน้า ดังนี้ฟังได้ว่าคนขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4544/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาค้ำประกัน เริ่มนับจากวันที่เกิดละเมิด ไม่ใช่วันทำสัญญา
กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความของสัญญาค้ำประกันไว้จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 โดยเริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 169 ซึ่งได้แก่วันเวลาแรกที่จำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย หาใช่นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลกับประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย: การนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้นั้น แม้จะออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตาม ก็มิใช่เป็นกฎหมายที่ศาลจะรู้เองได้ แต่เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารจะต้องนำสืบ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงประกาศดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยผู้กู้ในอัตราร้อยละ16.5 ต่อปี โดยอาศัยประกาศนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อใช้บังคับในคดีแพ่ง ศาลไม่ถือเป็นกฎหมายที่รู้ได้เอง
ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้นั้น แม้จะออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตามก็มิใช่เป็นกฎหมายที่ศาลจะรู้เองได้ แต่เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารจะต้องนำสืบ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงประกาศดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยผู้กู้ในอัตราร้อยละ16.5 ต่อปี โดยอาศัยประกาศนั้น.
of 20