คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 249

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10941/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำปลอมเงินตรา แม้ไม่สมบูรณ์แบบแต่สามารถหลอกลวงได้ ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 240
การทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นการปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกระษาปณ์หรือธนบัตรหรือสิ่งอื่นใดซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หากสิ่งที่ทำขึ้นมีลักษณะอย่างเดียวกับเงินตราที่รัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้พอที่จะลวงตาให้เห็นว่าเป็นเงินตรา ก็ถือได้ว่าเป็นการทำปลอมขึ้น โดยไม่จำต้องถึงกับต้องพิจารณาดูหรือจับต้องเสียก่อนจึงจะรู้ว่าเป็นของปลอม สำหรับธนบัตรปลอมของกลางเห็นได้ชัดว่าทำขึ้น โดยมีรูปร่างลักษณะ ขนาด สีสัน ลวดลายและตัวอักษรบนธนบัตรเหมือนกับธนบัตรฉบับละ 1000 บาท ที่แท้จริงทุกประการ แม้สีสัน ความคมชัดและกระดาษแตกต่างจากของจริงไปบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะในการทำปลอมตามปกติย่อมต้องมีความแตกต่างจากของจริงไม่มากก็น้อย จะให้เหมือนของจริงไปเสียทุกอย่างย่อมไม่ได้และวัสดุที่ใช้ย่อมต้องด้อยคุณภาพกว่าของจริง หากแต่รูปลักษณะภายนอกก็เพียงพอต่อการลวงตาให้เห็นว่าเป็นเงินตราแล้ว จึงเป็นการทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตราเพื่อให้เป็นธนบัตรซึ่งรัฐบาลไทยออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หาใช่มีเจตนาเพียงทำบัตรให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 249 วรรคแรก เท่านั้นไม่ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสำเนาธนบัตรที่เห็นได้ชัดว่าเป็นของปลอม ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 249
สำเนาธนบัตรของกลางเห็นได้ชัดว่าเกิดจากการถ่ายสำเนาธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ของจริงลงในกระดาษธรรมดาแล้วตัดกระดาษให้มีขนาดเท่าของจริงสีสันปรากฏออกมาจึงแตกต่างกับของจริงอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าขนาดของกระดาษและรูปลวดลายที่ปรากฏออกมาจากการถ่ายสำเนาจะเท่าของจริงก็ตาม แต่เมื่อรวมความกับสีสันที่ปรากฏออกมาแล้วบุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ทันทีว่าเกิดจากการถ่ายเอกสาร แตกต่างกับของจริงโดยชัดเจนและไม่น่าจะทำให้บุคคลหลงเข้าใจผิดได้ว่าเป็นของจริง อีกทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ก. พยานโจทก์ได้หลงเข้าใจผิดว่าสำเนาธนบัตรของกลางเป็นของจริงแต่อย่างใด แม้ตาม ป.อ. มาตรา 249 จะมิได้บัญญัติไว้ด้วยว่า การทำบัตรให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา จะต้องกระทำเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นธนบัตรที่แท้จริง แต่คำว่าคล้ายคลึง แสดงว่าเกือบเหมือนหรือไม่ต้องเหมือนทีเดียว เพียงแต่มีลักษณะสีสันรูปร่างและขนาดคล้ายเงินตราที่แท้จริงก็เป็นความผิดตามมาตรานี้ เมื่อสำเนาธนบัตรของกลางเห็นได้ชัดเจนว่าเกิดจากการถ่ายสำเนาธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ของจริงลงในกระดาษธรรมดา สีสันในส่วนสำเนาธนบัตรก็เป็นเพียงสีขาว มิได้มีสีสันเหมือนธนบัตรฉบับจริง แม้ว่าขนาดของกระดาษจะเท่าของจริง เมื่อวิญญูชนทั่วไปดูแล้วย่อมทราบได้ทันทีว่าไม่ใช่ธนบัตรที่แท้จริง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันทำบัตรให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสำเนาธนบัตรโดยมีสีสันต่างจากของจริง ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 249
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 249 มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่าการทำบัตรให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา ต้องกระทำเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นธนบัตรที่แท้จริง แต่คำว่าคล้ายคลึง แสดงว่าเกือบเหมือนหรือไม่ต้องเหมือนทีเดียว เพียงแต่มีลักษณะสีสันรูปร่างและขนาดคล้ายเงินตราที่แท้จริงก็เป็นความผิดตามมาตรานี้ แต่สำเนาธนบัตรที่จำเลยทำขึ้นว่าเกิดจากการถ่ายสำเนาธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ของจริงลงในกระดาษธรรมดา สีสันในส่วนสำเนาธนบัตรเป็นสีขาว มิได้มีสีสันเหมือนธนบัตรฉบับจริง แม้ว่าขนาดของกระดาษจะเท่าของจริง เมื่อวิญญูชนทั่วไปดูแล้วย่อมทราบได้ทันทีว่าไม่ใช่ธนบัตรที่แท้จริง ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทำบัตรให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเงินตรา: เจตนาสำคัญในการพิจารณาความผิดตามมาตรา 240 หรือ 249
กรณีตาม มาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นเรื่องที่กระทำบัตรหรือโลหะธาตุอย่างใดให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตราขึ้นเท่านั้น โดยผู้กระทำไม่เจตนาทำปลอมให้เป็นเงินตราเพื่อนำออกลวงใช้เป็นเงินตราที่แท้จริง
ฉะนั้น เมื่อจำเลยเจตนาทำปลอมให้เป็นเงินตราเพื่อนำออกลวงใช้เป็นเงินตราที่แท้จริง กรณีจึงปรับด้วย มาตรา249 ไม่ได้ต้องปรับด้วย มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกความผิดฐานปลอมแปลงเงินตรา: เจตนาในการนำออกใช้เป็นเงินตราจริงหรือไม่
กรณีตาม มาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นเรื่องที่กระทำบัตรหรือโลหะธาตุอย่างใดให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตราขึ้นเท่านั้น โดยผู้กระทำไม่เจตนาทำปลอมให้เป็นเงินตราเพื่อนำออกลวงใช้เป็นเงินตราที่แท้จริง
ฉะนั้น เมื่อจำเลยเจตนาทำปลอมให้เป็นเงินตรา เพื่อนำออกลวงใช้เป็นเงินตราที่แท้จริง กรณีจึงปรับด้วย มาตรา 249 ไม่ได้ต้องปรับด้วย มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อหาต่างกับข้อเท็จจริง การฟ้องต้องระบุรายละเอียดตรงกับความผิดที่เกิดขึ้น
ฟ้องว่าจำเลยยิง ก.ตายโดยเจตนา ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเจตนายิง ข. แต่พลาดไปถูก ก. ตายเช่นนี้ ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง ถ้าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยตาม ก.ม.อาญา ม.44 ก็ต้องบรรยายลงไว้ในฟ้องให้ชัดเจน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาและการพิพากษาที่ไม่ตรงกับคำฟ้อง โจทก์ขอให้ลงโทษฐานฆ่าคน แต่ศาลไม่สามารถลงโทษได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนโดยเจตนาตาม ก.ม.อาญา ม.249 ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นเรื่องวิวาทกันกว่า 3 คนแล้วผู้ตายถูกทำร้ายถึงตาย โดยไม่ปรากฎว่าใครเป็นผู้ทำร้าย ศาลจะลงโทษจำเลยตาม ม.253 ไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา ม.192.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของผู้ตายเป็นเหตุยั่วโทสะ จำเลยมีสิทธิได้รับการลดโทษตาม ม.55
การที่ผู้ตายถือมีดพร้าขึ้นไปบนเรือน แสดงกริยาจะทำร้ายเขาโดยไม่มีเหตุสมควรเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการข่มเหงเขาอย่างร้ายแรงโดยไม่เป็นธรรมตาม ม.55
ในคดีอาญาเมื่อข้อเท็จจริงหรือข้อ ก.ม. ปรากฎในท้องสำนวนแล้ว ถึงแม้จะไม่มีประเด็นในข้อเหล่านี้ขึ้นมาศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยในทางที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยได้เพราะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิวาททำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย: ความรับผิดชอบเฉพาะผู้ลงมือแทง
ในกรณีที่จำเลยกับผู้ตายต่างสมัครในวิวาทเข้าทำร้ายกันจนผลผู้ตายตายลง โดยจำเลยที่ 1 และผู้ตายเริ่มเข้าทำร้ายกันจำเลยที่ 1 ใช้พายและฆ้อนทำร้ายผู้ตายไม่เป็นแผลฉกรรจ์ส่วนผู้ตายมีมีดขอแล้วเข้ากอดปล้ำกันจำเลยที่ 2 เห็นจำเลยที่ 1 เสียเปรียบเข้าช่วยจำเลยที่ 1 โดยใช้ไม้คานตีและใช้มีดแทงผู้ตายถูกชายโครงขวาทลุช่องท้องเป็นแผลฉกรรจ์แพทย์ลงความเห็นว่าถึงตายเพราะแผลนี้.ข้อเท็จจริงเช่นนี้ยังไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 ในการทำร้ายผู้ตาย จำเลยที่ 1 ควรมีความผิดเพียงกรรมที่ตนทำฐานทำร้ายร่างกายตาม ม.256 เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษพยายามฆ่าและการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ ศาลต้องกำหนดโทษสำเร็จก่อนลดฐานพยายาม และเพิ่มโทษทีหลังห้ามหักกลบลบกัน
ความผิดฐานพยายามฆ่าคนตายนั้น ศาลต้องกำหนดโทษจำเลยอย่างกระทำผิดสำเร็จก่อนแล้วจึงลดฐานพยายามตาม ก.ม.อาญา ม.60 เมื่อมีเหตุจะต้องเพิ่มโทษจำเลยจึงให้เพิ่มทีหลัง จะเอาเหตุเพิ่มโทษมาหักกลบลบกับโทษฐานพยายามไม่ได้
of 33