พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังรับเงินชดเชยทำให้ขาดสิทธิฟ้อง
ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่าหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆจากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงิน หรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยเมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลย รับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็น ซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัย แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่ การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาเป็นยุติว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 7 เดือนเป็นเงิน 560,000 บาท เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาทและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชย ค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิ์ในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการยกเหตุเลิกจ้างนอกประกาศ และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับบริษัทในคดีแรงงาน
ตามประกาศของจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากงาน จำเลยอ้างเหตุเพียงว่าโจทก์ละทิ้งการปฏิบัติงานเท่านั้น เท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในประกาศเพียงประการเดียวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย ดังนี้เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้เท่านั้น จำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ดังนั้นจำเลยจะยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของศาลเพื่อที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่ แม้ประเด็นข้อนี้ศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดโทษร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ ได้แก่ 1.เล่นการพนัน 2.ดื่มสุราในโรงงาน 3.ทะเลาะวิวาทในโรงงาน 4.ปั๊มบัตรบันทึกเวลาแทนกัน ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดละทิ้งหน้าที่ไปดื่มสุราที่บ้านพักของโจทก์ที่ 5 โดยโจทก์ทั้งแปดมิได้ดื่มสุราในโรงงาน จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันเป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนี้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้
คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งโดยทั่วไปการดำเนินคดีจะต้องเป็นไปโดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็ว เมื่อจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาลก็ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 วรรคท้าย กรณีจึงนำ ป.วิ.พ.มาตรา 178 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
ศาลแรงงานนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ในวันนัดดังกล่าวจำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โจทก์รับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้ง แต่ศาลแรงงานมิได้สืบพยานโจทก์ ทั้งได้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบเป็นกำหนดให้จำเลยนำสืบพยานก่อน โดยเลื่อนคดีไปนัดสืบพยานจำเลย ครั้นถึงวันนัดโจทก์จึงได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แม้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งหลังจากครบ 15 วัน นับแต่วันรับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดโทษร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ ได้แก่ 1.เล่นการพนัน 2.ดื่มสุราในโรงงาน 3.ทะเลาะวิวาทในโรงงาน 4.ปั๊มบัตรบันทึกเวลาแทนกัน ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดละทิ้งหน้าที่ไปดื่มสุราที่บ้านพักของโจทก์ที่ 5 โดยโจทก์ทั้งแปดมิได้ดื่มสุราในโรงงาน จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันเป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนี้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้
คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งโดยทั่วไปการดำเนินคดีจะต้องเป็นไปโดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็ว เมื่อจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาลก็ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 วรรคท้าย กรณีจึงนำ ป.วิ.พ.มาตรา 178 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
ศาลแรงงานนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ในวันนัดดังกล่าวจำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โจทก์รับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้ง แต่ศาลแรงงานมิได้สืบพยานโจทก์ ทั้งได้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบเป็นกำหนดให้จำเลยนำสืบพยานก่อน โดยเลื่อนคดีไปนัดสืบพยานจำเลย ครั้นถึงวันนัดโจทก์จึงได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แม้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งหลังจากครบ 15 วัน นับแต่วันรับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องชัดเจนตามประกาศ ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยกเหตุอื่นที่ไม่แจ้งไว้เพื่อหลีกเลี่ยงค่าชดเชย
ตามประกาศของจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากงาน จำเลยอ้างเหตุ เพียงว่าโจทก์ละทิ้งการปฏิบัติงานเท่านั้น เท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในประกาศเพียงประการเดียวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย ดังนี้เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้เท่านั้น จำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ดังนั้นจำเลยจะยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของศาลเพื่อที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่ แม้ประเด็นข้อนี้ศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดโทษร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ได้แก่ 1. เล่นการพนัน 2. ดื่มสุราในโรงงาน3. ทะเลาะวิวาทในโรงงาน 4. ปั๊มบัตรบันทึกเวลาแทนกันดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดละทิ้งหน้าที่ไปดื่มสุราที่บ้านพักของโจทก์ที่ 5 โดยโจทก์ทั้งแปดมิได้ดื่มสุราในโรงงานจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนี้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งโดยทั่วไปการดำเนินคดีจะต้องเป็นไปโดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็ว เมื่อจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาลก็ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 37 วรรคท้าย กรณีจึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 178มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ศาลแรงงานนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ในวันนัดดังกล่าวจำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โจทก์รับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้ง แต่ศาลแรงงานมิได้สืบพยานโจทก์ ทั้งได้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบเป็นกำหนดให้จำเลยนำสืบพยานก่อนโดยเลื่อนคดีไปนัดสืบพยานจำเลย ครั้นถึงวันนัดโจทก์จึงได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แม้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งหลังจากครบ 15 วัน นับแต่วันรับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2506/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จเกษียณอายุตามระเบียบสวัสดิการพนักงาน การยอมรับข้อกล่าวอ้างของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเงินบำเหน็จว่า ตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย เรื่องสวัสดิการพนักงาน และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้แก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามฉบับที่ได้จดทะเบียน เกี่ยวกับเรื่องการเกษียณอายุให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุและที่มีอายุการทำงานกับจำเลยติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี ขึ้นไป มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามหลักเกณฑ์ โดยนำค่าจ้างอัตราสุดท้ายคูณจำนวนปีของอายุงาน บวกด้วยค่าครองชีพคูณจำนวนปีของอายุงานลบด้วยเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วย 6 เดือน บวกด้วยค่าครองชีพคูณ 6 เดือน และตกลงว่าจะจ่ายเงินบำเหน็จภายใน 30 วัน นับแต่วันครบเกษียนอายุ และโจทก์ทำงานติดต่อกันมา 30 ปี 1 เดือน 23 วัน มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจำนวน 477,030.40 บาทเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีปฏิเสธเกี่ยวกับเงินบำเหน็จที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จดังกล่าวเพราะเหตุใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามฟ้องแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2506/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จหลังเกษียณอายุ: จำเลยยอมรับสิทธิโจทก์โดยไม่ปฏิเสธถือว่ายอมรับตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเงินบำเหน็จว่า ตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย เรื่องสวัสดิการพนักงาน และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้แก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามฉบับที่ได้จดทะเบียน เกี่ยวกับเรื่องการเกษียณอายุให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุและที่มีอายุการทำงานกับจำเลยติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี ขึ้นไปมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามหลักเกณฑ์ โดยนำค่าจ้างอัตราสุดท้ายคูณจำนวนปีของอายุงาน บวกด้วยค่าครองชีพคูณจำนวนปีของอายุงานลบด้วยเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วย 6 เดือน บวกด้วยค่าครองชีพคูณ 6 เดือน และตกลงว่าจะจ่ายเงินบำเหน็จภายใน30 วัน นับแต่วันครบเกษียนอายุ และโจทก์ทำงานติดต่อกันมา30 ปี 1 เดือน 23 วัน มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจำนวน477,030.40 บาท เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีปฏิเสธเกี่ยวกับเงินบำเหน็จที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จดังกล่าวเพราะเหตุใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่เกิดเหตุสำคัญ: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณาใหม่เรื่องสถานที่ทำร้ายร่างกายเพื่อตัดสินการเลิกจ้าง
ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานว่าเหตุทำร้ายร่างกายที่ทำให้ ส. ลูกจ้างจำเลยได้รับบาดเจ็บกระดูกใบหน้าด้านขวาและกระดูกข้อเท้าซ้ายแตกได้เกิดขึ้นขณะที่โจทก์และ ส. เดินออกจากบริษัทจำเลยห่างจากรั้วและป้อมพนักงานรักษาความปลอดภัยประมาณ 5 เมตรซึ่งอยู่นอกบริเวณบริษัทจำกัด ดังนี้ การที่ศาลแรงงานกลับวินิจฉัยว่า โจทก์ทำร้ายร่างกาย ส. จนได้รับอันตรายสาหัสภายในบริเวณบริษัทจำเลย ซึ่งขัดกับคำรับของคู่ความดังกล่าว จึงเป็นการมิชอบ หนังสือเลิกจ้างและคำให้การจำเลยระบุว่า เหตุเกิดขณะส. จะเดินไปขึ้นรถรับส่งพนักงานที่จำเลยจัดไว้ให้และโจทก์ทำร้ายร่างกาย ส. ในสถานที่ที่จำเลยรับผิดชอบอยู่มิใช่ภายในบริเวณบริษัทจำเลย การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริง ว่าเหตุเกิดภายในบริเวณบริษัทจำเลย ซึ่งไม่ตรงกับหนังสือเลิกจ้างและคำให้การดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน เมื่อศาลฎีกาไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานที่จะนำมาวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่มีความผิด กรณีทำร้ายร่างกาย ส. โจทก์จะมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามฟ้องหรือไม่ซึ่งเป็นกรณีข้อเท็จจริงได้มาจากการที่ศาลแรงงานรับฟังมาโดยมิชอบและไม่พอแก่การวินิจฉัย โดยที่ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเองได้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่อง สถานที่เกิดเหตุว่าเกิดเหตุ ณ ที่ใด และอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยหรือไม่ เสียใหม่ให้ถูกต้อง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31,56 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6191/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยของลูกจ้าง: การโต้เถียงกับผู้บังคับบัญชาและความเหมาะสมของบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์ไม่เคยกระทำผิดที่ไหน เมื่อใด และไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กล่าวหาทั้งไม่เคยมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์เมื่อคำให้การจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธจึงต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบเข้ามาเอง แม้ศาลแรงงานมิได้นำมาประกอบการวินิจฉัยคดีก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นที่ยุติแล้ว ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงนี้ได้ไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 56 ขณะที่ อ.ผู้บังคับบัญชาของโจทก์กำลังสอนนักศึกษาหลักสูตรวิชาบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารอยู่ โจทก์ได้เข้ามาซ่อมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการเรียนการสอนอยู่ในห้องเดียวกัน ขณะที่ทำการซ่อมนั้นเกิดเสียงดัง อ. บอกให้โจทก์หยุดซ่อม เพราะรบกวนการเรียนการสอน แต่โจทก์ไม่หยุดและเกิดการโต้เถียงกัน เมื่อโจทก์ซ่อมงานเสร็จแล้ว ขณะที่โจทก์กำลังจะออกไปนอกห้องโจทก์ได้พูดกับ อ.อีกว่า ถ้ามีปัญหาอะไรให้ออกไปคุยกันข้างนอก แล้วโจทก์ก็ออกไปพร้อมกับปิดประตูด้วยเสียงดังนั้น เห็นได้ว่าถ้อยคำที่โจทก์กล่าวโต้ตอบ อ.เป็นการแสดงถึงความไม่เคารพหรือยำเกรง ทั้งเป็นการท้าทายผู้บังคับบัญชี เป็นการแสดงถึงความกระด้างกระเดื่องและใช้กิริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้บังคับบัญชาต้องด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ด้วยแล้ว และขณะเกิดเหตุ อ.กำลังปฏิบัติหน้าที่มีนักศึกษาจำนวนหลายคนฟังการบรรยายของ อ.อยู่ความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมมีมาก ที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ตามฟ้อง ซึ่งนับว่าเป็นผลดีแก่โจทก์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานจะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทที่ยุติตามที่ศาลแรงงานกลางกำหนดแล้วไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์อีกได้ และการฟ้องเรียกเงินยืมทดรองจ่ายตามสัญญาจ้าง
ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางนั้นทนายจำเลยได้มาศาลและลงชื่อรับรองความถูกต้องไว้โดยมิได้ติดใจโต้แย้งในขณะนั้นหรือในระยะเวลาต่อมาตามที่กฎหมายกำหนดขอให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเพิ่มเติมแต่ประการใดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานกลางกำหนดจำเลยไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นอุทธรณ์ว่ากล่าวอีกและปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพ.เป็นเพียงพนักงานของโจทก์มิใช่กรรมการดำเนินการของโจทก์ที่จะมีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ปรากฏในคำให้การของจำเลยจึงไม่อาจตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีได้ดังนี้ปัญหาที่จำเลยอาศัยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องต่อไปอีกว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนอกประเด็นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฟ้องโจทก์ระบุชัดแจ้งว่าจำเลยในฐานะลูกจ้างได้ยืมเงินทดรองจ่ายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานของนายจ้างคือโจทก์แม้หักใช้ไม่ครบก็เป็นการเรียกหนี้เงินที่จำเลยยืมไปคืนตามความผูกพันซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีกำหนดอายุความ10ปีฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมและมิใช่เรื่องละเมิดหรือลาภมิควรได้คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำทรัพย์นายจ้างไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ศาลรับฟังได้แม้รายละเอียดไม่ชัดเจนในคำสั่งเลิกจ้าง
การนำทรัพย์ของนายจ้างไปใช้โดยปราศจากสิทธิโดยชอบเป็นการกระทำที่มุ่งแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นการทุจริตอยู่ในตัวจึงอยู่ในประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ คำให้การจำเลยได้ให้การถึงข้อเท็จจริงที่ละเอียดเพิ่มเติมจากคำสั่งเลิกจ้างว่าโจทก์ได้กระทำการใดที่เป็นการทุจริตเป็นการขยายความตามคำสั่งเลิกจ้างให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นโดยมิได้มีส่วนใดขัดหรือแตกต่างจากคำสั่งเลิกจ้างแต่ประการใดจำเลยย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะสืบพยานตามข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้และศาลแรงงานย่อมรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6924/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากขาดงานและไม่เชื่อฟังคำสั่ง แม้จำเลยมิได้ระบุวันเดือนปีที่ชัดเจน ศาลพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2536 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยกล่าวหาว่า โจทก์ไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชาขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นความจริงจำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขาดงานเดิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา ฯลฯ ที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์นั้นได้ระบุเหตุของการเลิกจ้างข้อ 2 ว่า ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา จำเลยให้การไว้ในข้อ 3 ว่า จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง กล่าวคือ โจทก์ขาดงานเป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกัน เป็นเวลาหลายครั้ง ศ.ผู้บังคับบัญชาได้เรียกโจทก์มาตักเตือนหลายครั้งแล้ว แต่โจทก์ไม่นำพาและให้การไว้ในข้อ 4 ว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2536 เป็นเพราะโจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา โจทก์ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลานั้น เหตุที่จำเลยให้การว่าโจทก์ขาดงานก่อนวันที่ 1ถึงวันที่ 4 กันยายน 2536 นั้นเป็นการให้การถึงที่มาว่าโจทก์เคยขาดงานมาแล้ว และผู้บังคับบัญชาได้เรียกโจทก์มาตักเตือนหลายครั้ง แต่โจทก์ไม่นำพา ดังนี้ คำให้การจำเลยอ้างเหตุโจทก์ขาดงานเกิน 3 วัน โดยไม่แจ้งลารวมอยู่ด้วยแล้วและไม่ขัดต่อเหตุเลิกจ้างจึงก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยกล่าวหาว่า โจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นความจริงอันเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่10 กันยายน 2536 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา ฯลฯ อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมตามคำให้การจำเลยได้แสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แม้จำเลยจะมิได้ระบุวันเดียวปีที่อ้างว่าโจทก์ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา แต่ก็เป็นการให้การแก้คดีที่สืบเนื่องมาจากคำฟ้องของโจทก์นั้นเอง ที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์หยุดงานตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่4 กันยายน 2536 กับที่ศาลแรงงานหยิบยกประเด็นเรื่องใบลาเป็นลายลักษณ์อักษรมาเป็นข้อวินิจฉัยว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจึงไม่เป็นข้อวินิจฉัยนอกประเด็น