พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3465/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับกรณีนำเข้าของผิดกฎหมาย: กฎหมายใหม่ลงโทษเป็นรายบุคคล ไม่รวมยอดปรับ
การลงโทษปรับแก่ผู้กระทำความผิดหลายคนที่ร่วมกันนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรในขณะที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 มีผลใช้บังคับ ต้องกำหนดให้ผู้ร่วมกระทำความผิดรับผิดรวมกันเป็นเงินจำนวนสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว เมื่อมาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ก็ต้องบังคับเรื่องโทษปรับเช่นเดียวกัน แต่ต่อมาภายหลังได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 โดย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 242 บัญญัติให้การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องฐานร่วมกันนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบของนั้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ เห็นได้ว่า พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 242 บัญญัติไว้แตกต่างจาก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 โดย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 242 ไม่มีข้อความว่า "สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ" ดังเช่น พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ดังนั้น พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 242 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นภายหลังและใช้ในขณะจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดจึงมีวัตถุประสงค์ลงโทษปรับแก่จำเลยเป็นรายบุคคลโดยไม่พักต้องคำนึงถึงจำนวนรวมของค่าปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ดังเช่น พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เดิม ไม่อาจนำกรณีของมาตรา 27 กับมาตรา 27 ทวิ ซึ่งอยู่ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ฉบับเดียวกันมาใช้เทียบเคียงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8858/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลในการสอบถามจำเลยหลังรับสารภาพ และผลของการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง ศาลชั้นต้นมีหน้าที่อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าจำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักลอบนำพารถยนต์ซึ่งเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้เสียค่าภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับเอาไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งรถยนต์ของกลางที่มีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นนั้นลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องสอบถามจำเลยให้ชัดเจนว่าจะให้การรับสารภาพในข้อหาใด แล้วจึงพิพากษาลงโทษในข้อหาที่จำเลยให้การรับสารภาพดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามคำให้การของจำเลยให้ชัดเจนกลับพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานช่วยเหลือผู้ที่นำของที่ยังมิได้เสียภาษี ของต้องห้ามหรือของที่ต้องจำกัด เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ โดยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและมีผลให้กระบวนพิจารณาต่อไป ตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ชอบไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9181/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่-ช่วยซ่อนเร้นของผิดกฎหมาย-การลงโทษและบังคับคดีค่าปรับ
ความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี และยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง หรือเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ และความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต ตาม ป.อ. มาตรา 157 มีองค์ประกอบของความผิดและการกระทำที่มีเจตนาประสงค์ต่อผลแยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรม ตาม ป.อ. มาตรา 91 แม้ อ. ได้ทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากร และยินยอมมอบรถยนต์ของกลางให้ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งทางด่านศุลกากรแม่สอดได้อนุมัติให้ทำความตกลงระงับคดีแล้ว ก็เป็นการระงับเฉพาะในส่วนของ อ. ไม่ทำให้การกระทำความผิดของจำเลยระงับไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6965/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอฟ้อง และความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร vs. พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติว่า "ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี... หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในพระราชอาณาจักรไทย... หรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ ในการนำของเช่นว่านี้เข้ามา... โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ ... ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ" เห็นได้ว่า กฎหมายมีวัตถุประสงค์จะลงโทษผู้ที่นำของที่ยังมิได้เสียภาษี เข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยมีเจตนาที่จะฉ้อค่าภาษีรัฐบาล และกฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ช่วยเหลือผู้กระทำผิดดังกล่าวไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ต้องร่วมรับผิดด้วยเพราะเป็นการกระทำความผิดร้ายแรง
ส่วนมาตรา 27 ทวิ บัญญัติว่า "ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัดมีความผิดต้องระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ " การกระทำความผิดตามมาตรานี้ จึงเกิดขึ้นหลังจากมีการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัดตามมาตรา 27 แล้ว โดยกฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่ช่วยเหลือผู้กระทำความผิดตามมาตรา 27 ดังกล่าวโดยการซ่อนเร้น จำหน่าย พาเอาไป ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด จึงกำหนดโทษจำคุกน้อยกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องในคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกัน ซื้อ หรือรับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งน้ำมันเตาที่มีแหล่งกำเนิดอยู่นอกราชอาณาจักรไทย โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ลักลอบมิได้ผ่านศุลกากร และยังมิได้เสียภาษี โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามช่วยเหลือในการนำของดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 27 และโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งตรงกับคำบรรยายฟ้องแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 จึงเป็นการพิพากษาจำเลยทั้งสามในความผิดที่โจทก์มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215
ส่วนมาตรา 27 ทวิ บัญญัติว่า "ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัดมีความผิดต้องระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ " การกระทำความผิดตามมาตรานี้ จึงเกิดขึ้นหลังจากมีการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัดตามมาตรา 27 แล้ว โดยกฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่ช่วยเหลือผู้กระทำความผิดตามมาตรา 27 ดังกล่าวโดยการซ่อนเร้น จำหน่าย พาเอาไป ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด จึงกำหนดโทษจำคุกน้อยกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องในคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกัน ซื้อ หรือรับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งน้ำมันเตาที่มีแหล่งกำเนิดอยู่นอกราชอาณาจักรไทย โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ลักลอบมิได้ผ่านศุลกากร และยังมิได้เสียภาษี โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามช่วยเหลือในการนำของดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 27 และโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งตรงกับคำบรรยายฟ้องแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 จึงเป็นการพิพากษาจำเลยทั้งสามในความผิดที่โจทก์มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5305/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่ระงับ แม้ศาลศุลกากรจะงดฟ้องคดีศุลกากร เนื่องจากเป็นคนละกรรม
ปัญหาว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 เป็นอันระงับไปแล้วหรือไม่ แม้จำเลยทั้งสามจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสามจึงยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
ความผิดฐานร่วมกันลักลอบนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งหลอดไฟฟ้าดังกล่าวโดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่ลักลอบหนีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ และความผิดฐานร่วมกันนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ดังกล่าวที่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักรโดยไม่ได้แสดงหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 มาตรา 21 และ 48 แต่ละฐานแยกออกจากกันได้ชัดเจนทั้งในแง่เจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำความผิดสำเร็จลง ตลอดจนบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน จึงเป็นการกระทำความผิดคนละกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวกันไม่ ดังนั้น แม้ว่าความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำความตกลงและอธิบดีกรมศุลกากรได้งดการฟ้องร้องจำเลยทั้งสามตามมาตรา 102 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3) ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง แต่ก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกันเป็นอันระงับไปด้วยแต่อย่างใด
ความผิดฐานร่วมกันลักลอบนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งหลอดไฟฟ้าดังกล่าวโดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่ลักลอบหนีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ และความผิดฐานร่วมกันนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ดังกล่าวที่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักรโดยไม่ได้แสดงหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 มาตรา 21 และ 48 แต่ละฐานแยกออกจากกันได้ชัดเจนทั้งในแง่เจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำความผิดสำเร็จลง ตลอดจนบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน จึงเป็นการกระทำความผิดคนละกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวกันไม่ ดังนั้น แม้ว่าความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำความตกลงและอธิบดีกรมศุลกากรได้งดการฟ้องร้องจำเลยทั้งสามตามมาตรา 102 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3) ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง แต่ก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกันเป็นอันระงับไปด้วยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19349/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ - เครื่องหมายการค้า - ศุลกากร: จำเลยว่าจ้างขนดีวีดีละเมิดลิขสิทธิ์และหลีกเลี่ยงภาษีอากร ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 บัญญัติให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล เมื่อของกลางที่ยึดได้ในคดีนี้เป็นดีวีดีที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 บัญญัติให้บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 70 ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ กรณีจึงไม่อาจนำดีวีดีที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งแปดและของผู้เสียหายที่ 8 ถึงที่ 11 ออกขายเพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นสินบนและรางวัลให้แก่ผู้นำจับและเจ้าพนักงานผู้จับได้ และแม้จะยังมีดีวีดีบางส่วนที่ไม่ทราบตัวผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เป็นของกลางด้วยก็ตาม แต่เมื่อดีวีดีดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หากมีการนำออกขายเพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นสินบนและรางวัลก็จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นและไม่มีข้อยกเว้นตามกฎหมายให้กระทำได้ จึงไม่อาจนำดีวีดีนั้นออกขายเพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นสินบนและรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ได้ แม้การจ่ายสินบนและรางวัลในกรณีของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ พระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 7 วรรคสอง จะให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลก็ตาม แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยไม่ปรับ ตามระวางโทษที่มาตรา 27 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติไว้ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่า ราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจึงไม่มีเงินค่าปรับที่จะสั่งจ่ายเป็นสินบนร้อยละสามสิบของค่าปรับแก่ผู้นำจับและจ่ายเป็นรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของค่าปรับแก่เจ้าพนักงานผู้จับตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6856/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: การตีความบทบัญญัติและขอบเขตการลงโทษปรับต่อความผิด
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดให้ลงโทษปรับแก่ผู้กระทำความผิดเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ซึ่งแม้มาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติความเจาะจงลงไปว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับ มาตรา 27 ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ดังนั้น ในเรื่องโทษนี้ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ นั่นเอง ไม่ใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตัวคนละสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นการปรับจำเลยทั้งสองสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกินกว่าสี่เท่า ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12789/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่างกรรม: ครอบครองวิทยุเถื่อน vs. หลีกเลี่ยงข้อห้ามนำเข้า การระงับคดีหนึ่งไม่กระทบอีกคดี
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานรับไว้ด้วยประการใด ๆ อันของซึ่งตนรู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัดนั้นแยกออกจากกันได้ชัดเจน ทั้งเจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำ ตลอดจนกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ก็เป็นคนละฉบับกัน จึงเป็นการกระทำความผิดต่างกรรม แม้อธิบดีกรมศุลกากรอนุมัติให้ระงับการดำเนินคดีจำเลยในความผิดฐานรับไว้ด้วยประการใด ๆ อันของซึ่งตนรู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด ก็ไม่ทำให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตระงับไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า ต้องบรรยายฟ้องรายละเอียดการจดทะเบียนให้ชัดเจน หากไม่ครบถ้วน ศาลยกฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าประเภทบุหรี่ซิกาแรตที่เป็นเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหาย และบรรยายฟ้องต่อมาถึงการจดทะเบียนเพียงว่าผู้เสียหายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนแล้วในราชอาณาจักร โดยไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นสำหรับสินค้าบุหรี่ซิกาแรตด้วย ย่อมไม่อาจฟังได้ว่าผู้เสียหายจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนไว้สำหรับใช้กับสินค้าบุหรี่ซิกาแรตในอันที่จะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้านี้สำหรับสินค้าบุหรี่ซิกาแรตที่มีผลให้การที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งบุหรี่ซิกาแรตที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย และย่อมไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลย ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานนี้จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงไม่ครบองค์ประกอบความผิด แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า มีผู้ประสงค์สินบนนำจับนำเจ้าพนักงานจับจำเลยได้ ผู้นำจับมีสิทธิได้รับสินบน และมีคำขอท้ายฟ้องให้จ่ายสินบนแก่ผู้นำจับ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้มีคำพิพากษาตามคำขอนี้ จึงยังไม่ถูกต้อง และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า มีผู้ประสงค์สินบนนำจับนำเจ้าพนักงานจับจำเลยได้ ผู้นำจับมีสิทธิได้รับสินบน และมีคำขอท้ายฟ้องให้จ่ายสินบนแก่ผู้นำจับ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้มีคำพิพากษาตามคำขอนี้ จึงยังไม่ถูกต้อง และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10498/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในความผิดศุลกากร: การพิจารณาความเชื่อมโยงโดยตรงกับการกระทำความผิด
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 บัญญัติถึงการริบทรัพย์ในการกระทำความผิดเฉพาะความผิดตามมาตรา 27 ซึ่งบทมาตราทั้งสองใช้บังคับพร้อมกันในขณะนั้น ต่อมาเมื่อมีการบัญญัติความผิดตามมาตรา 27 ทวิ ในภายหลังเมื่อปี 2499 ซึ่งมีลักษณะการกระทำความผิดต่างหากจากความผิดมาตรา 27 จึงนำบทบัญญัติการริบทรัพย์ตามมาตรา 32 มาใช้บังคับเพื่อริบทรัพย์ของกลางคดีนี้ที่จำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 27 ทวิ ไม่ได้ และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า จำเลยกับพวกใช้รถยนต์ของกลางเป็นพาหนะขนย้ายบรรทุกโทรศัพท์เคลื่อนที่และแบตเตอรี่บางส่วนไปจำหน่าย ย่อมไม่ใช่การใช้รถยนต์ของกลางในการกระทำความผิดตามฟ้องโดยตรง จึงไม่ใช่ทรัพย์ซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 33