พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเหมา การโอนกรรมสิทธิ์ และอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าซื้อขาย
การซื้อขายตามเอกสารหมาย ล.1 เป็นการซื้อเหมาจำนวนทรัพย์ที่จะซื้อขายมีจำนวนแน่นอนไม่จำเป็นต้องมีการตรวจนับอย่างใดอีกฉะนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกัน ส่วนเรื่องการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายกันเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์
การที่รถยนต์ที่ซื้อขายถูกยึดและเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการยึด โดยผู้รับรักษาปล่อยให้ตากแดดฝนและไม่ดูแลรักษาให้ดีและรถกลายสภาพเป็นเศษเหล็กไปนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับรักษาทรัพย์ จะปรับว่าเป็นความผิดของผู้ขายไม่ได้
ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะต้องจัดการโอนทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยเสร็จสิ้นก่อน จึงจะมีสิทธิรับเงินงวดที่ 2 แต่ปรากฏว่าเมื่อผู้ซื้อทราบว่าผู้ขายเป็นหนี้ ก. กลัว ก. จะยึดเอารถไป ผู้ซื้อจึงได้จัดการขายไปอย่างรถไม่มีทะเบียน ส่วนรถที่เหลือก็มีสภาพเป็นเศษเหล็ก ไม่สามารถทำการโอนทะเบียนกันอย่างรถยนต์ธรรมดาได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำการโอนทะเบียนต่อไป และไม่ใช่ความผิดของผู้ขายผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ยังค้างอยู่ให้แก่ผู้ขาย
ตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคสองประกอบด้วยอนุมาตรา (1) เป็นเรื่องของอายุความที่จะใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าขายสินค้าพ่อค้าตามความหมายของมาตรา 165 หมายถึงบุคคลที่ประกอบกิจการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าโดยค้าไม้แปรรูปและน้ำตาล ทรัพย์ที่ทำการซื้อขายกันในคดีนี้ ไม่ได้เป็นสินค้าที่โจทก์ทำการค้าและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในกิจการค้าของโจทก์ด้วย จะถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้ารถยนต์และอุปกรณ์ไม่ได้การที่โจทก์ขายรถยนต์ให้แก่จำเลย ต้องถือว่าโจทก์ได้ขายไปในฐานะอย่างเจ้าของทรัพย์ธรรมดา ไม่ใช่ในฐานะเป็นพ่อค้าขายสินค้านั้น ๆจะนำเอาอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ต้องนำเอาอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปีมาใช้บังคับ
การที่รถยนต์ที่ซื้อขายถูกยึดและเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการยึด โดยผู้รับรักษาปล่อยให้ตากแดดฝนและไม่ดูแลรักษาให้ดีและรถกลายสภาพเป็นเศษเหล็กไปนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับรักษาทรัพย์ จะปรับว่าเป็นความผิดของผู้ขายไม่ได้
ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะต้องจัดการโอนทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยเสร็จสิ้นก่อน จึงจะมีสิทธิรับเงินงวดที่ 2 แต่ปรากฏว่าเมื่อผู้ซื้อทราบว่าผู้ขายเป็นหนี้ ก. กลัว ก. จะยึดเอารถไป ผู้ซื้อจึงได้จัดการขายไปอย่างรถไม่มีทะเบียน ส่วนรถที่เหลือก็มีสภาพเป็นเศษเหล็ก ไม่สามารถทำการโอนทะเบียนกันอย่างรถยนต์ธรรมดาได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำการโอนทะเบียนต่อไป และไม่ใช่ความผิดของผู้ขายผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ยังค้างอยู่ให้แก่ผู้ขาย
ตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคสองประกอบด้วยอนุมาตรา (1) เป็นเรื่องของอายุความที่จะใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าขายสินค้าพ่อค้าตามความหมายของมาตรา 165 หมายถึงบุคคลที่ประกอบกิจการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าโดยค้าไม้แปรรูปและน้ำตาล ทรัพย์ที่ทำการซื้อขายกันในคดีนี้ ไม่ได้เป็นสินค้าที่โจทก์ทำการค้าและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในกิจการค้าของโจทก์ด้วย จะถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้ารถยนต์และอุปกรณ์ไม่ได้การที่โจทก์ขายรถยนต์ให้แก่จำเลย ต้องถือว่าโจทก์ได้ขายไปในฐานะอย่างเจ้าของทรัพย์ธรรมดา ไม่ใช่ในฐานะเป็นพ่อค้าขายสินค้านั้น ๆจะนำเอาอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ต้องนำเอาอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปีมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝากรักษาข้าว: การนำสืบการได้มาซึ่งข้าวไม่เป็นการนอกฟ้อง และจำเลยมีหน้าที่คืนข้าวตามสัญญา
ฟ้องว่าโจทก์นำข้าวเปลือก 10 เกวียน 50 ถัง ฝากในยุ้งจำเลย โจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ได้ตกลงเอาข้าวเปลือกชำระหนี้ แทนเงินที่ติดค้างโจทก์อยู่ และที่โจทก์ซื้อจากจำเลยด้วยเงินสดด้วย รวม 10 เกวียน 50 ถังแล้วตกลงทำสัญญาฝากไว้ในยุ้งจำเลย ดังนี้มิใช่นำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทำสัญญาหมาย จ.1 จริงซึ่งจำเลยสัญญาว่าจะคืนข้าวที่รักษาไว้แก่โจทก์ จำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบข้าวเปลือกนั้นคืนให้แก่โจทก์ตามสัญญาหรือใช้ราคาให้โจทก์ โดยไม่จำเป็นจะต้องก้าวล่วงไปวินิจฉัยถึงปัญหาการซื้อขายและการรับฝากข้าวเปลือกว่าชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460 และ 657 หรือไม่ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2510)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทำสัญญาหมาย จ.1 จริงซึ่งจำเลยสัญญาว่าจะคืนข้าวที่รักษาไว้แก่โจทก์ จำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบข้าวเปลือกนั้นคืนให้แก่โจทก์ตามสัญญาหรือใช้ราคาให้โจทก์ โดยไม่จำเป็นจะต้องก้าวล่วงไปวินิจฉัยถึงปัญหาการซื้อขายและการรับฝากข้าวเปลือกว่าชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460 และ 657 หรือไม่ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเพื่อพิสูจน์การรับฝากทรัพย์ และหน้าที่ตามสัญญา หากมีสัญญาชัดเจน การซื้อขายหรือการรับฝากไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
ฟ้องว่าโจทก์นำข้าวเปลือก 10 เกวียน 50 ถัง ฝากในยุ้งจำเลย โจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ได้ตกลงเอาข้าวเปลือกชำระหนี้แทนเงินที่ติดค้างโจทก์อยู่ และที่โจทก์ซื้อจากจำเลยด้วยเงินสดด้วย รวม 10 เกวียน 50 ถังแล้วตกลงทำสัญญาฝากไว้ในยุ้งจำเลย ดังนี้ มิใช่นำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทำสัญญาหมาย จ.1 จริงซึ่งจำเลยสัญญาว่าจะคืนข้าวที่รักษาไว้แก่โจทก์จำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบข้าวเปลือกนั้นคืนให้แก่โจทก์ตามสัญญาหรือใช้ราคาให้โจทก์ โดยไม่จำเป็นจะต้องก้าวล่วงไปวินิจฉัยถึงปัญหาการซื้อขายและการรับฝากข้าวเปลือกว่าชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460 และ 657 หรือไม่ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้ง 14/2510)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทำสัญญาหมาย จ.1 จริงซึ่งจำเลยสัญญาว่าจะคืนข้าวที่รักษาไว้แก่โจทก์จำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบข้าวเปลือกนั้นคืนให้แก่โจทก์ตามสัญญาหรือใช้ราคาให้โจทก์ โดยไม่จำเป็นจะต้องก้าวล่วงไปวินิจฉัยถึงปัญหาการซื้อขายและการรับฝากข้าวเปลือกว่าชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460 และ 657 หรือไม่ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้ง 14/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ไม้หลังตรวจรับ และผลกระทบจากเหตุสุดวิสัย กรณีไฟไหม้
จำเลยตกลงขายไม้ในโรงเลื่อยให้โจทก์ โดยเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้วัดไม้ตีตรากรรมสิทธิ์ ได้ไม่ครบตามสัญญาและชำระราคาแล้วนั้นต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในไม้ได้โอนเป็นของโจทก์แล้ว หากไฟไหม้ไม้นั้นเสียหายไปเพราะเหตุอันจะโทษจำเลยมิได้แล้ว การสูญหรือเสียหายก็ย่อมตกเป็นพับแก่โจทก์
หากมีเงื่อนไขระบุไว้ในสัญญาว่าจำเลยยังต้องรับผิดชอบในไม้ที่ซื้อขายอยู่จนกว่าจะได้ส่งมอบแก่โจทก์ถึงที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้อันเป็นการยกเว้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 370 และ 460 แล้วโจทก์ก็ต้องยกข้อความในสัญญาข้อนี้ขึ้นกล่าวเป็นประเด็นในฟ้องให้ชัดแจ้ง
หากมีเงื่อนไขระบุไว้ในสัญญาว่าจำเลยยังต้องรับผิดชอบในไม้ที่ซื้อขายอยู่จนกว่าจะได้ส่งมอบแก่โจทก์ถึงที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้อันเป็นการยกเว้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 370 และ 460 แล้วโจทก์ก็ต้องยกข้อความในสัญญาข้อนี้ขึ้นกล่าวเป็นประเด็นในฟ้องให้ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์เกิน 500 บาท การส่งมอบทำให้สัญญาเสร็จเด็ดขาด แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ราคาตั้งแต่ 500 บาท หรือกว่านั้นขึ้นไป ถ้าผู้ซื้อได้รับของไปแล้ว ย่อมเป็นเรื่องการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้ไม่ทำหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ขายก็ฟ้องร้องให้ชำระราคาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายข้าวสารแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลผูกพัน เมื่อมีการส่งมอบข้าวสารแล้ว ถือเป็นสัญญาซื้อขายสมบูรณ์
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ราคาตั้งแต่ 500 บาทหรือกว่านั้นขึ้นไป ถ้าผู้ซื้อได้รับของไปแล้ว ย่อมเป็นเรื่องการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้ไม่ทำหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ขายก็ฟ้องร้องให้ชำระราคาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสุกรยังไม่โอน ผู้เสียหายคือผู้ส่งสุกรหรือกรมรถไฟ ไม่ใช่ผู้รับซื้อ
เจ้าของสุกรต่างจังหวัดเคยให้พ่อตาคุมสุกรมาขายให้โจทก์ที่กรุงเทพ ฯ ในคราวเกิดเหตุก็ให้พ่อตาควบคุมสุกรมากรุงเทพฯ อีก ในใบอินวอย ส่งในนามชื่อยี่ห้อโจทก์เป็นผู้รับ แต่เมื่อถึงกรุงเทพ ฯแล้ว พ่อตากลับเอาสุกรไปขายผู้อื่นเสีย ดังนี้ วินิจฉัยว่ากรรมสิทธิในสุกรยังไม่โอนไปยังโจทก์ ๆ จึงยังไม่ใช่ผู้เสียหาย และยังไม่เป็นกรณีฉ้อโกงตาม ก.ม.ลักษณะอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสุกรยังไม่โอน การฉ้อโกงต้องมีผู้เสียหายโดยตรง
เจ้าของสุกรต่างจังหวัดเคยให้พ่อตาคุมสุกรมาขายให้โจทก์ที่กรุงเทพฯ ในคราวเกิดเหตุก็ให้พ่อตาควบคุมสุกรมากรุงเทพฯอีก ในใบอินวอยส่งในนามชื่อยี่ห้อโจทก์เป็นผู้รับ แต่เมื่อถึงกรุงเทพฯแล้ว พ่อตากลับเอาสุกรไปขายผู้อื่นเสีย ดังนี้ วินิจฉัยว่ากรรมสิทธิ์ในสุกรยังไม่โอนไปยังโจทก์ โจทก์จึงยังไม่ใช่ผู้เสียหาย และยังไม่เป็นกรณีฉ้อโกงโจทก์ตามกฎหมายลักษณะอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอิฐเป็นเตา: กรรมสิทธิในทรัพย์สินเกิดขึ้นเมื่อทำสัญญา แม้ระบุปริมาณโดยประมาณ
ทำสัญญาขายเหมาอิฐ 2 เตา อิฐประมาณสองแสนสองหมื่นแผ่น ซึ่งอยู่ที่ลานเป็นเงิน 7,000 บาท ดังนี้เป็นการขายอิฐเป็นเตาซึ่งมีจำนวนแน่นอน คือสองเตาราคาก็แน่นอน คือ 7,000 บาท แม้จะได้กล่าวถึงจำนวนอิฐไว้ด้วย ก็เป็นการกล่าวไว้โดยประมาณพอให้เข้าใจว่าอิฐที่ขายมีปริมาณสักเท่าใดกรรมสิทธิในอิฐย่อมผ่านจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายตั้งแต่ขณะทำสัญญากันแล้ว กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.ม.460
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอิฐเป็นเตา: กรรมสิทธิ์โอนทันทีเมื่อทำสัญญา แม้ระบุจำนวนโดยประมาณ
ทำสัญญาขายเหมาอิฐ 2 เตา อิฐประมาณสองแสนสองหมื่นแผ่นซึ่งอยู่ที่ลานเป็นเงิน 7,000 บาท ดังนี้เป็นการขายอิฐเป็นเตาซึ่งมีจำนวนแน่นอน คือ สองเตา ราคาก็แน่นอนคือ 7,000 บาท แม้จะได้กล่าวถึงจำนวนอิฐไว้ด้วย ก็เป็นการกล่าวไว้โดยประมาณพอให้เข้าใจว่าอิฐที่ขายมีปริมาณสักเท่าใด กรรมสิทธิ์ในอิฐย่อมผ่านจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะทำสัญญากันแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460