คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 126

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องทุกข์ไม่ใช่เอกสารสิทธิ การหลอกลวงให้ถอนคำร้องทุกข์ไม่เป็นความผิดฉ้อโกง
คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ใช่เอกสารสิทธิตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9)ฉะนั้นแม้จะได้ความว่าจำเลยเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก็ดี ก็ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องทุกข์ไม่ใช่เอกสารสิทธิ การหลอกลวงให้ถอนคำร้องทุกข์ไม่เป็นความผิดตาม ม.341 อาญา
คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่ใช่เอกสารสิทธิตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9) ฉะนั้น แม้จะได้ความว่าจำเลยเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก็ดี ก็ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะ แม้มีการดำเนินคดีอาญาเพิ่มเติมจากเจตนาร้องทุกข์เดิม และสิทธิการบังคับคดีกับลูกหนี้
โจทก์เจตนาแจ้งข้อหาในเรื่องฉ้อโกงเงินของโจทก์อันเป็นความผิดต่อส่วนตัว แต่ตำรวจดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง แจ้งความเท็จ และทำผิดกฎหมายหุ้นส่วนด้วย จำเลยเข้ามาทำสัญญากับโจทก์ว่า ถ้าโจทก์ถอนคำร้องทุกข์แล้ว จำเลยยอมค้ำประกันจำนวนเงินรายนี้ ครั้นโจทก์ถอนคำร้องทุกข์ แม้คดีคงระงับเฉพาะข้อหาฉ้อโกงเป็นความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น เพราะการที่ข้อหาในคดีอาญาแผ่นดินยังดำเนินกันอยู่นั้น ไม่เกี่ยวแก่โจทก์ สัญญาค้ำประกันเช่นว่านี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ
ในสัญญาค้ำประกันมีว่า จำเลยผู้ค้ำประกันยอมสละไม่ยกข้อต่อสู้ที่จะให้โจทก์บังคับเอาจากทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ก่อน ฉะนั้นเมื่อบริษัทลูกหนี้ล้มละลาย แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ตาม ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้ชำระหนี้ทีค้ำประกันไว้ หากโจทก์ได้รับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่าใด จำเลยผู้ค้ำประกันก็ไม่ต้องชำระในจำนวนนั้นอีก หาใช่โจทก์จะมีสิทธิได้รับจำนวนเงิน เป็น 2 ซ้ำไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะ แม้มีการดำเนินคดีอาญาเพิ่มเติมจากเจตนาร้องทุกข์เดิม ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดตามสัญญา
โจทก์เจตนาแจ้งข้อหาในเรื่องฉ้อโกงเงินของโจทก์อันเป็นความผิดต่อส่วนตัว แต่ตำรวจดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง แจ้งความเท็จ และทำผิดกฎหมายหุ้นส่วนด้วย จำเลยเข้ามาทำสัญญากับโจทก์ว่า ถ้าโจทก์ถอนคำร้องทุกข์แล้ว จำเลยยอมค้ำประกันจำนวนเงินรายนี้ ครั้นโจทก์ถอนคำร้องทุกข์แม้คดีคงระงับเฉพาะข้อหาฉ้อโกงอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นเพราะการที่ข้อหาในคดีอาญาแผ่นดินยังดำเนินกันอยู่นั้น ไม่เกี่ยวแก่โจทก์ สัญญาค้ำประกันเช่นว่านี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ
ในสัญญาค้ำประกันมีว่า จำเลยผู้ค้ำประกันยอมสละไม่ยกข้อต่อสู้ที่จะให้โจทก์บังคับเอาจากทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ก่อน ฉะนั้นเมื่อบริษัทลูกหนี้ล้มละลาย แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ตาม ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้ชำระหนี้ที่ค้ำประกันไว้ หากโจทก์ได้รับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่าใด จำเลยผู้ค้ำประกันก็ไม่ต้องชำระในจำนวนนั้นอีก หาใช่โจทก์จะมีสิทธิได้รับจำนวนเงินเป็น 2 ซ้ำไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินและการงดรอการดำเนินคดี ความผิดฐานบุกรุกยังคงอยู่แม้จะมีการตกลงไม่ดำเนินคดี
นาแปลงที่จำเลยบุกรุก โจทก์ร่วมได้โอนไปให้บุตรและบุตรไปแจ้ง ส.ค.1 แล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของที่นาดังกล่าว ดังนั้นการร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย
วันที่ 16 มี.ค.99 จำเลยเข้าไปบุกรุกยกคันนา นายเชิดผู้เสียหาย(โจทก์ร่วมอีกคนหนึ่ง) ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้าน ๆ ห้ามจำเลย ๆ ว่า"เป็นนาของนายเชิด ผมก็ไม่ทำ" ผู้ใหญ่บ้านถามนายเชิด โจทก์ร่วมว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป นายเชิดว่า "ถ้าเขาหยุดแล้วก็ไม่เอาเรื่อง" ต่อมาวันที่ 3 พ.ค.99 จำเลยกลับเข้าไปหว่านข้าวในนานั้นอีก นายเชิดจึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและนายอำเภอได้ดำเนินการสอบสวนคดีนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าจำเลยเชื่อฟังนายเชิดก็ไม่เอาเรื่อง ถ้าไม่ฟังก็ต้องเอาเรื่องกันต่อไป ซึ่งเท่ากับให้งดรอการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานไว้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อจำเลยกลับเข้าไปทำงานอีก ผู้เสียหายจึงเอาเรื่องคือให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีที่งดรอไว้นั้นเอง ไม่มีทางที่จะให้รับฟังว่าความผิดฐานบุกรุกตอนแรกในวันที่ 16 มี.ค.99 นั้นเป็นอันสูญสิ้นไปแล้ว
คดีนี้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิด 2 คราวคือในวันที่ 16 มี.ค.99 กับในวันที่ 3 พ.ค.99 และผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ทั้ง 2 คราว แต่ฟ้องโจทย์ระบุชัดเจนว่าผู้เสียหายร้องทุกข์สำหรับความผิดในตอนแรก (16 มี.ค.99)เท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้กล่าวฟ้องถึงความผิดในตอนหลัง (3 พ.ค.99) เลย จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตอนหลังนี้ไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธ์ที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนหลังคือ ในวันที่ 3 พ.ค.99 เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทำผิดคำรับรองในตอนต้น ( 16 มี.ค.99 ) ซึ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง หาเป็นนอกฟ้องนอกประเด็นไม่.
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2501 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: การร้องทุกข์ การงดรอการดำเนินคดี และการนำสืบพฤติการณ์ใหม่เพื่อพิสูจน์การผิดสัญญา
นาแปลงที่จำเลยบุกรุก โจทก์ร่วมได้โอนไปให้บุตรและบุตรไปแจ้ง ส.ค.1 แล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของที่นาดังกล่าว ดังนั้นการร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย
วันที่ 16 มี.ค. 99 จำเลยเข้าไปบุกรุกยกคันนา นายเชิดผู้เสียหาย (โจทก์ร่วมอีกคนหนึ่ง) ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านผู้ใหญ่บ้านห้ามจำเลยจำเลยว่า "เป็นนาของนายเชิด ผมก็ไม่ทำ" ผู้ใหญ่บ้านถามนายเชิด โจทก์ร่วมว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป นายเชิดว่า" ถ้าเขาหยุดแล้วก็ไม่เอาเรื่อง" ต่อมาวันที่ 3 พ.ค. 99 จำเลยกลับเข้าไปหว่านข้าวในนานั้นอีก นายเชิดจึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและอำเภอได้ดำเนินการสอบสวนคดีนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าจำเลยเชื่อฟังนายเชิดก็ไม่เอาเรื่อง ถ้าไม่ฟังก็ต้องเอาเรื่องกันต่อไป ซึ่งเท่ากับให้งดรอการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานไว้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อจำเลยกลับเข้าไปทำอีก ผู้เสียหายจึงเอาเรื่องคือให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีที่งดรอไว้นั้นเอง ไม่มีทางที่จะให้รับฟังว่าความผิดฐานบุกรุกตอนแรกในวันที่ 16 มี.ค. 99 นั้นเป็นอันสูญสิ้นไปแล้ว
คดีนี้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิด 2 คราวคือในวันที่ 16 มี.ค. 99 กับในวันที่ 3 พ.ค. 99 และผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ทั้ง 2 คราว แต่ฟ้องโจทก์ระบุชัดเจนว่าผู้เสียหายร้องทุกข์สำหรับความผิดในตอนแรก (16 มี.ค. 99) เท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้กล่าวฟ้องถึงความผิดในตอนหลัง (3 พฤษภาคม 2499) เลย จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตอนหลังนี้ไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธิ์ที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนหลังคือในวันที่ 3 พฤษภาคม 2499 เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทำผิดคำรับรองในตอนต้น(16 มีนาคม 2499) ซึ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง หาเป็นนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่2/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายส่งผลให้สิทธิฟ้องคดีอาญาของอัยการระงับ
คดีอาญาที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง และจำเลยที่ถูกศาลล่างพิพากษาลงโทษคนหนึ่งได้ฎีกาต่อมาเมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลฎีกาไม่เอาความเฉพาะจำเลยที่ฎีกานั้น ศาลฎีกาก็สั่งให้จำหน่ายคดีเสียได้ เพราะสิทธิฟ้องคดีทางอาญาของอัยการโจทก์ระงับไปตาม วิ.อาญา ม. 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
คดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง และจำเลยที่ถูกศาลล่างพิพากษาลงโทษคนหนึ่งได้ฎีกาต่อมา เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลฎีกาไม่เอาความเฉพาะจำเลยที่ฎีกานั้น ศาลฎีกาก็สั่งให้จำหน่ายคดีเสียได้เพราะสิทธิฟ้องคดีทางอาญาของอัยการโจทก์ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยความไว้วางใจ: อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดินเมื่อผู้เสียหายถอนฟ้อง
คำบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับโจทก์ร่วมเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อซื้อไม้หมอนรถไฟขายแก่บริษัทพันธมิตรจำกัด ไม่ปรากฎว่าได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน จำเลยเป็นผู้เก็บรักษาเงินและเป็นผู้จัดการงาน และผู้เป็นหุ้นส่วนได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกเงินของหุ้นส่วน ดังนี้ คดีไม่ต้องลักษณะของความผิด ตามมาตรา 319 (2) (3) แห่ง ก.ม. ลักษณะอาญา
ความผิดในข้อ 2 และ 3 แห่งมาตรา 319 ก.ม. ลักษณะอาญานั้น เป็นความผิดที่กระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณะชน มิใช่จำกัดความไว้วางใจโดยฉะเพาะผู้เสียหาย ฉะนั้นจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน.
ในคำฟ้องของอัยยการโจทก์อ้างมาตรา 314,319 เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 319 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 314 และผู้เสียหายได้ยอมความขอให้ถอนคดีแล้วอัยยการก็ไม่มีอำนาจจะดำเนินคดีต่อไป. ต้องจำหน่ายคดีเสีย./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกทรัพย์หุ้นส่วนและการถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน อัยการไม่มีอำนาจดำเนินคดีต่อหากผู้เสียหายถอนฟ้อง
คำบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับโจทก์ร่วมเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อซื้อไม้หมอนรถไฟขายแก่บริษัทพันธมิตรจำกัด ไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาเงินและเป็นผู้จัดการงาน และผู้เป็นหุ้นส่วนได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกเงินของหุ้นส่วน ดังนี้ คดีไม่ต้องลักษณะของความผิด ตามมาตรา 319(2)(3) แห่งกฎหมายลักษณะอาญา
ความผิดในข้อ 2 และ 3 แห่งมาตรา 319 กฎหมายลักษณะอาญานั้น เป็นความผิดที่กระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณชน มิใช่จำกัดความไว้วางใจโดยเฉพาะผู้เสียหาย ฉะนั้นจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน
ในคำฟ้องของอัยการโจทก์อ้างมาตรา 314,319 เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 319 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 314 และผู้เสียหายได้ยอมความขอให้ถอนคดีแล้ว อัยการก็ไม่มีอำนาจจะดำเนินคดีต่อไป ต้องจำหน่ายคดีเสีย
of 6