คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 19 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญา: การกำหนดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. และผลกระทบต่อการฟ้องคดี
ความผิดฐานกรรโชกและฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ที่ผู้เสียหายทั้งสองขอถอนคำร้องทุกข์ ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ โดยเฉพาะความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น เป็นความผิดซึ่งรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย สิทธิฟ้องคดีของพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
ความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน รวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลประเวศและสถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก กรุงเทพมหานคร พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (4) จำเลยถูกจับที่เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้ จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ก) การที่ น. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลประเวศได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยได้แล้ว น. คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้น แต่ น. มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ข) ได้ เมื่อ น. มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ความผิดฐานฉ้อโกงที่เกิดจากหลายท้องที่ ศาลแขวงธนบุรีมีอำนาจพิจารณา
ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353,84 โดยบรรยายว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโจทก์ที่ 1 กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต ด้วยการยุยงส่งเสริมของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 นำเช็คของโจทก์ที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ต่อมาจำเลยที่ 2 นำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 ให้เรียกเก็บเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 ธนาคารได้ตัดเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 จ่ายให้ไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ได้ความตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คที่ตำบลลาดยาวอำเภอบางเขน แล้วจำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร ก. สาขาภาษีเจริญ การนำเช็คไปเข้าบัญชีและรับเงินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความผิดตามฟ้องสำเร็จบริบูรณ์ ท้องที่ที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็ค และท้องที่ที่จำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชี ต่างก็เป็นที่เกิดเหตุคดีนี้ ธนาคาร ก. สาขาภาษีเจริญ อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรีศาลแขวงธนบุรีจึงมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การกระทำความผิดหลายท้องที่ถือเป็นที่เกิดเหตุทั้งหมด
ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353, 84 โดยบรรยายว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโจทก์ที่ 1 กระทำผิดหน้าที่โดยสุจริตด้วยการยุยงส่งเสริมของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 นำเช็คของโจทก์ที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ต่อมาจำเลยที่ 2 นำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 ให้เรียกเก็บเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 ธนาคารได้ตัดเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 จ่ายให้ไปทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ได้ความตามฟ้องว่าจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คที่ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน แล้วจำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร ก. สาขาภาษีเจริญ การนำเช็คไปเข้าบัญชีและรับเงินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความผิดตามฟ้องสำเร็จบริบูรณ์ ท้องที่ที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คและท้องที่ที่จำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชีต่างก็เป็นที่เกิดเหตุคดีนี้ ธนาคาร ก.สาขาภาษีเจริญ อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงธนบุรีจึงมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้จะไม่ได้ระบุสละสิทธิโดยชัดแจ้ง
เดิมอัยการฟ้องคดีอาญาหาว่าจำเลยกับพวกบุกรุกที่ดินมีโฉนดของโจทก์และทำให้เสียทรัพย์ และในการบุกรุกนี้จำเลยได้ปักหลักขึงลวดหนามในเขตที่ดินของโจทก์ด้วย ในการพิจารณาคดีนั้นปรากฎตามรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งจำเลยกับโจทก์ได้ลงชื่อไว้ ความว่า ศาลได้ไกล่เกลี่ย ให้โจทก์จำเลยปรองดองกัน จำเลยยอมรับว่าเขตที่ดินของจำเลยมีอยู่ตามโฉนดเดิม จำเลยยอมรื้อรั้วและหลักที่ปักเข้าไปในโฉนดของโจทก์ออก ต่อมาโจทก์จึงถอนคำร้องทุกข์ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์และแถลงว่าจำเลยเข้าใจผิดในเขตในข้อหาบุกรุก ศาลจึงพิพากษายกฟ้องข้อหาบุกรุกนี้ด้วย ครั้นแล้วจำเลยก็ไม่รื้อหลักและรั้วนั้นออก โจทก์จึงฟ้องเป็นคดีแพ่งขอให้บังคับให้จำเลยรื้อไป จำเลยกลับมาอ้างอีกว่า ที่ที่จำเลยปักเสาทำรั้วเข้าไปนั้นจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองแล้ว และว่าในคดีอาญานั้นจำเลยไม่ได้แถลงสละสิทธิหรือกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ย่อมฟังไม่ขึ้น เพราะข้อตกลงของโจทก์กับจำเลยในายงานพิจารณาในคดีอาญาดังกล่าวนั้นมีผลเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และข้อความแห่งความตกลงนั้นแสดงชัดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์