พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายรถยนต์ต่อความเสียหายจากถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน ผู้ขายต้องรับผิดทั้งสัญญาและละเมิด
โจทก์กล่าวอ้างว่าถุงลมนิรภัยรถยนต์ของโจทก์ไม่ทำงานในขณะเกิดอุบัติเหตุอันเป็นการกล่าวอ้างว่าสินค้าของจำเลยร่วมเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัยตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 มาตรา 4 โดยจำเลยทั้งสองถือเป็นผู้ประกอบการในฐานะผู้ขาย ส่วนจำเลยร่วมเป็นผู้ประกอบการในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ จึงต้องด้วยมาตรา 7 ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่า (1) สินค้านั้นมิได้เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมกล่าวอ้างเกี่ยวกับการผลิตการประกอบซึ่งอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมจึงมีภาระการพิสูจน์ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 แต่เมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมนําสืบมายังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าถุงลมนิรภัยทำงานเป็นปกติและไม่ชํารุดบกพร่อง ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่า ถุงลมนิรภัยรถยนต์ของโจทก์ไม่ทำงานในขณะเกิดเหตุ จึงเป็นสินค้าที่มีความบกพร่องในการผลิตและเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยดังกล่าว และการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้านั้นเป็นไปตามปกติและธรรมดาของโจทก์ จำเลยร่วมในฐานะผู้ผลิตสินค้าที่ไม่ปลอดภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดจำหน่ายที่มอบให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อสามารถระบุตัวจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ผลิตได้แล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้ประกอบการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
การบรรยายฟ้องของโจทก์นอกจากให้จำเลยทั้งสองรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 แล้ว ยังเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดจากการที่รถยนต์คันพิพาทไม่เป็นไปตามที่จำเลยทั้งสองได้โฆษณาไว้ อันอยู่ในเกณฑ์ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 อยู่ด้วย การที่โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 2 เพราะเชื่อตามคําโฆษณาว่า รถยนต์คันพิพาทมีความปลอดภัยสูง มีถุงลมนิรภัยป้องกันการกระแทกสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้ได้รับความปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คําโฆษณาดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 เมื่อถุงลมนิรภัยไม่ทำงานโดยไม่ออกมาป้องกันอันตรายขณะเกิดอุบัติเหตุ จนเป็นเหตุให้โจทก์และสามีโจทก์ได้รับบาดเจ็บไม่เป็นไปตามคําโฆษณาของจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขายจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องร่วมรับผิด สำหรับจำเลยที่ 1 ได้ความว่าในการประกอบธุรกิจ จำเลยร่วมจะเป็นผู้ผลิตและประกอบรถยนต์แล้วจึงจำหน่ายและส่งมอบรถยนต์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจำหน่ายและส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย การประกอบกิจการจำหน่ายรถยนต์ของศูนย์บริการของจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ต้องทำสัญญาระหว่างกัน โดยศูนย์จำหน่ายต้องใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์ของ ช. การดำเนินการของจำเลยที่ 2 ต้องยึดถือตามมาตรฐานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องมีบริการหลังการขาย ตามพฤติการณ์ในการประกอบธุรกิจดังกล่าว ประกอบกับหลังเกิดเหตุ พนักงานจำเลยที่ 1 เป็นผู้ตรวจสอบสภาพรถรวมถึงถุงลมนิรภัยเองและได้ร่วมเจรจากับโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองมีฐานะต่างเป็นตัวการตัวแทนซึ่งกันและกันในการร่วมกันประกอบธุรกิจจำหน่ายและให้บริการซ่อมบํารุงรถยนต์ยี่ห้อ ช. รวมทั้งรถยนต์คันพิพาท โดยจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของตน เช่นนี้ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามสัญญาซื้อขายด้วย
มูลหนี้ที่ทำให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเรื่องสัญญา ส่วนความรับผิดของจำเลยร่วมนั้นมาจากมูลหนี้ละเมิด โจทก์นําสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น อันเป็นผลทั้งจากการผิดสัญญาและละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายทั้งหมดรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 500,000 บาท เมื่อถุงลมนิรภัยมีไว้เพื่อป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและเพื่อรองรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น หากถุงลมนิรภัยทำงานผิดปกติ จำเลยทั้งสองผู้ขายรถยนต์พิพาทย่อมคาดเห็นได้ว่าโจทก์ผู้ใช้รถรวมทั้งคนโดยสารจะได้รับบาดเจ็บและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่แต่เฉพาะความเสียหายต่อตัวทรัพย์ที่ขาย แต่รวมไปถึงความเสียหายดังกล่าวด้วย อันเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่พฤติการณ์พิเศษ แม้โจทก์ไม่ได้นําสืบแจกแจงรายละเอียดของค่าเสียหายแต่ละส่วน ศาลก็สามารถกำหนดค่าเสียหายให้ตามพฤติการณ์แห่งคดีได้และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาตามฟ้องนั้นเหมาะสมแล้ว กำหนดให้ตามขอ ส่วนค่าเสียหายในมูลละเมิดที่จำเลยร่วมต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น การที่ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานถือเป็นพฤติการณ์ที่ร้ายแรง ซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้น่าจะสูงกว่าค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญา แต่ตามฟ้องโจทก์ประสงค์จะเรียกค่าสินไหมทดแทนเท่าที่ขอมาและไม่เกินสมควร จึงให้จำเลยร่วมรับผิดเป็นหนี้จำนวนเดียวกันซึ่งโจทก์อาจเรียกให้แต่ละคนชําระหนี้โดยสิ้นเชิงได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมมีพฤติการณ์ที่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 จึงไม่กำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษให้
การบรรยายฟ้องของโจทก์นอกจากให้จำเลยทั้งสองรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 แล้ว ยังเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดจากการที่รถยนต์คันพิพาทไม่เป็นไปตามที่จำเลยทั้งสองได้โฆษณาไว้ อันอยู่ในเกณฑ์ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 อยู่ด้วย การที่โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 2 เพราะเชื่อตามคําโฆษณาว่า รถยนต์คันพิพาทมีความปลอดภัยสูง มีถุงลมนิรภัยป้องกันการกระแทกสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้ได้รับความปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คําโฆษณาดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 เมื่อถุงลมนิรภัยไม่ทำงานโดยไม่ออกมาป้องกันอันตรายขณะเกิดอุบัติเหตุ จนเป็นเหตุให้โจทก์และสามีโจทก์ได้รับบาดเจ็บไม่เป็นไปตามคําโฆษณาของจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขายจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องร่วมรับผิด สำหรับจำเลยที่ 1 ได้ความว่าในการประกอบธุรกิจ จำเลยร่วมจะเป็นผู้ผลิตและประกอบรถยนต์แล้วจึงจำหน่ายและส่งมอบรถยนต์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจำหน่ายและส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย การประกอบกิจการจำหน่ายรถยนต์ของศูนย์บริการของจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ต้องทำสัญญาระหว่างกัน โดยศูนย์จำหน่ายต้องใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์ของ ช. การดำเนินการของจำเลยที่ 2 ต้องยึดถือตามมาตรฐานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องมีบริการหลังการขาย ตามพฤติการณ์ในการประกอบธุรกิจดังกล่าว ประกอบกับหลังเกิดเหตุ พนักงานจำเลยที่ 1 เป็นผู้ตรวจสอบสภาพรถรวมถึงถุงลมนิรภัยเองและได้ร่วมเจรจากับโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองมีฐานะต่างเป็นตัวการตัวแทนซึ่งกันและกันในการร่วมกันประกอบธุรกิจจำหน่ายและให้บริการซ่อมบํารุงรถยนต์ยี่ห้อ ช. รวมทั้งรถยนต์คันพิพาท โดยจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของตน เช่นนี้ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามสัญญาซื้อขายด้วย
มูลหนี้ที่ทำให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเรื่องสัญญา ส่วนความรับผิดของจำเลยร่วมนั้นมาจากมูลหนี้ละเมิด โจทก์นําสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น อันเป็นผลทั้งจากการผิดสัญญาและละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายทั้งหมดรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 500,000 บาท เมื่อถุงลมนิรภัยมีไว้เพื่อป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและเพื่อรองรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น หากถุงลมนิรภัยทำงานผิดปกติ จำเลยทั้งสองผู้ขายรถยนต์พิพาทย่อมคาดเห็นได้ว่าโจทก์ผู้ใช้รถรวมทั้งคนโดยสารจะได้รับบาดเจ็บและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่แต่เฉพาะความเสียหายต่อตัวทรัพย์ที่ขาย แต่รวมไปถึงความเสียหายดังกล่าวด้วย อันเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่พฤติการณ์พิเศษ แม้โจทก์ไม่ได้นําสืบแจกแจงรายละเอียดของค่าเสียหายแต่ละส่วน ศาลก็สามารถกำหนดค่าเสียหายให้ตามพฤติการณ์แห่งคดีได้และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาตามฟ้องนั้นเหมาะสมแล้ว กำหนดให้ตามขอ ส่วนค่าเสียหายในมูลละเมิดที่จำเลยร่วมต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น การที่ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานถือเป็นพฤติการณ์ที่ร้ายแรง ซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้น่าจะสูงกว่าค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญา แต่ตามฟ้องโจทก์ประสงค์จะเรียกค่าสินไหมทดแทนเท่าที่ขอมาและไม่เกินสมควร จึงให้จำเลยร่วมรับผิดเป็นหนี้จำนวนเดียวกันซึ่งโจทก์อาจเรียกให้แต่ละคนชําระหนี้โดยสิ้นเชิงได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมมีพฤติการณ์ที่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 จึงไม่กำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อทางการแพทย์: ผู้ป่วยพลิกตัวตกเตียง โรงพยาบาลไม่ต้องรับผิด
การที่จำเลยที่ 2 ทำการตรวจอัลตราซาวด์ให้แก่โจทก์เป็นการให้บริการทางการแพทย์อย่างหนึ่งอันเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของคู่ความฝ่ายจำเลยทั้งสอง ภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวจึงตกอยู่แก่จำเลยทั้งสองว่าจำเลยที่ 2 มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 ในข้อนี้จำเลยทั้งสองนำสืบโดยมีแพทย์ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาล มาเบิกความประกอบการให้ถ้อยคำในชั้นการพิจารณาเรื่องร้องเรียนจำเลยที่ 2 ต่อคณะกรรมการแพทยสภาเกี่ยวกับการแบ่งประเภทผู้ป่วยที่จะเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวช่วยเหลือตนเองได้น้อย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังระหว่างการตรวจ หน่วยอัลตราซาวด์จะใช้เตียงที่มีไม้กั้นของหอผู้ป่วยในระหว่างการตรวจ และมีนักรังสีการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการให้การช่วยเหลือผู้ป่วยขณะทำการตรวจทุกราย กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี ช่วยเหลือตนเองได้ สามารถปฏิบัติตัวระหว่างการตรวจตามที่รังสีแพทย์สั่งได้ เช่น การพลิกตะแคงตัว หน่วยอัลตราซาวด์จะใช้เตียงตรวจไฟฟ้าของหน่วยงานซึ่งออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถปรับความสูงต่ำของเตียงได้ (ไม่มีที่กั้นเตียง) เพื่อความสะดวกของแพทย์ในการตรวจ เห็นได้ชัดว่าการแบ่งแยกประเภทผู้ป่วยเป็นเวชปฏิบัติทั่วไปขั้นพื้นฐานเพื่อคัดแยกผู้ป่วยให้เหมาะสมแก่การตรวจและรักษา ลักษณะเป็นข้อมูลวิชาการไม่เอนเอียงเพื่อประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ล. นักรังสีการแพทย์พยานจำเลยทั้งสองอีกปากเบิกความว่า มาตรฐานการจัดวางอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องตรวจอัลตราซาวด์ของโรงพยาบาล จ. จะจัดวางเหมือนกันทุกห้องตามหลักการจัดวางอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจห้องตรวจจะมีลักษณะแยกเดี่ยว 4 ห้อง ภายในห้องตรวจมีเครื่องอัลตราซาวด์และเตียงตรวจ มีผ้าม่านกั้น เตียงตรวจมีขนาดกว้าง ประมาณ 60 เซนติเมตร มีทั้งแบบที่มีและไม่มีที่กั้นเตียง เตียงที่มีที่กั้นจะใช้แก่ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวช่วยตนเองไม่ได้ การจัดวางเตียงไม่ชิดผนังเพื่อความสะดวกของผู้ช่วยระหว่างการตรวจซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับในโรงพยาบาลเอกชนที่พยานทำงานนอกเวลา ในวันเกิดเหตุ พยานเรียกโจทก์เข้าห้องตรวจหมายเลข 2 ก่อนเข้าห้องพยานสอบถามโจทก์ว่าเดินได้หรือไม่ โจทก์ตอบว่าเดินได้นิดหน่อย พยานจึงเข็นรถโจทก์ไปใกล้เตียงตรวจเพื่อให้โจทก์ลุกเดินไปยังเตียง จากนั้นพยานและบุตรโจทก์ช่วยกันพยุงโจทก็ให้ลุกขึ้นยืนและขยับตัวไปนั่งแล้วให้นอนหงายบนเตียงนำผ้าห่มมาคลุมตัวเพื่อเตรียมทำการตรวจบริเวณช่องท้อง แล้วพยานแจ้งให้จำเลยที่ 2 มาตรวจโจทก์ ต่อมาพยานได้ยินเสียงจำเลยที่ 2 ตะโกนเรียก พบโจทก์อยู่ข้างเตียงในลักษณะกึ่งหงายกึ่งนั่ง พยานจึงไปขยับเตียงและเครื่องมือแพทย์ออก แล้วพยุงตัวโจทก์ให้นั่งพร้อมกับเรียกเจ้าหน้าที่มาช่วยกันปฐมพยาบาลเบื้องต้น ส่วนเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 เบิกความว่า เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าไปในห้องตรวจ พบโจทก์นอนอยู่บนเตียงเพื่อรอการอัลตราซาวด์ จำเลยที่ 2 ทำการตรวจวินิจฉัยในท่านอนหงาย พบว่าการถ่ายภาพไตด้านขวาของโจทก์ไม่ชัดเจนเนื่องจากมีลมในลำไส้บังและติดชายโครงด้านขวา ตามมาตรฐานท่าที่ใช้ตรวจมีทั้งท่านอนหงายและท่านอนตะแคง จำเลยที่ 2 สอบถามโจทก์ว่าสามารถนอนตะแคงด้วยตนเองได้หรือไม่ โจทก์ตอบว่าทำได้ จำเลยที่ 2 จึงให้โจทก์นอนตะแคงตัวไปทางด้านซ้ายยกทางด้านขวาขึ้น โดยจำเลยที่ 2 ยืนอยู่ทางด้านขวาของโจทก์ตรงหน้าเครื่องตรวจอัลตราซาวด์ จังหวะที่โจทก์กำลังจะนอนตะแคงเกิดพลัดตกเตียง ไหล่และเข่าซ้ายกระแทกพื้น ศีรษะไม่กระแทก รู้สึกตัวดี จำเลยที่ 2 รีบเข้าไปประเมินอาการบาดเจ็บในเบื้องต้นพร้อมเรียกเจ้าหน้าที่ โจทก์มีบาดแผลถลอกหนังเปิดที่เข่าซ้าย 4 เซนติเมตร และเจ็บไหล่ซ้าย แต่สามารถขยับได้ หายใจปกติ ไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ จึงทำแผลเบื้องต้นพร้อมสั่งเอกซเรย์กระดูกเชิงกราน สะโพกทั้งสองข้าง กระดูกเข่าซ้ายไหล่ซ้าย และปอด พบว่าไม่มีการแตกหักจึงส่งโจทก์ไปแผนกอุบัติเหตุเพื่อเย็บแผลและให้ยาปฏิชีวนะโดยมีจำเลยที่ 2 ไปด้วย ดังนี้ การนัดหมายโจทก์มาทำการตรวจอัลตราซาวด์ในวันเกิดเหตุ โจทก์เป็นเพียงผู้ป่วยนอก ญ. บุตรโจทก์ก็เบิกความยอมรับว่า ก่อนเกิดเหตุโจทก์สามารถช่วยเหลือตนเองและเดินได้ตามปกติไม่ต้องมีใครช่วยดูแล โจทก์จึงจัดอยู่ในผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 กล่าวคือ โจทก์รู้สึกตัวดี สามารถช่วยเหลือตนเองลุกขึ้นเดินไปนั่งและนอนรอจำเลยที่ 2 บนเตียงเพื่อรับการตรวจได้ แม้โจทก์จะต้องนั่งรถเข็นมายังห้องตรวจก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ป่วยสูงอายุและมีน้ำหนักตัวมาก เมื่อพิจารณาสภาพห้องที่เกิดเหตุตามภาพถ่าย ขนาดความกว้าง ยาวและสูงของเตียง ตลอดจนวิธีการจัดวางไม่ได้แตกต่างไปจากมาตรฐานของโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลรัฐบาลอื่น ประกอบกับเมื่อจำเลยที่ 2 เข้ามาภายในห้องตรวจ โจทก์ขึ้นไปนอนรออยู่บนเตียงแล้ว ไม่มีอาการอื่นใดบ่งชี้ในเวลานั้นที่แสดงให้จำเลยที่ 2 เห็นว่า โจทก์ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ทำการตรวจภาพถ่ายไตด้านขวาของโจทก์ไม่ชัดเจน จึงสอบถามโจทก์ว่าสามารถพลิกตะแคงตัวไปด้านซ้ายเพื่อถ่ายภาพใหม่ได้หรือไม่ โจทก์ตอบว่าได้ ดังที่ปรากฎในบันทึกคำให้การของโจทก์ต่อพนักงานสอบสวน หากโจทก์ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ก็น่าจะต้องแจ้งจำเลยที่ 2 เสียตั้งแต่ในขณะนั้น ข้อเท็จจริงได้ความจากบันทึกคำให้การดังกล่าวอีกว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์และจำเลยที่ 2 อยู่ภายในห้องเพียงลำพัง ส่วนจำเลยที่ 2 เบิกความว่า ขณะนั้นจำเลยที่ 2 ถือหัวตรวจอัลตราซาวด์ไว้ในมือและต้องเพ่งมองจอภาพเครื่องดังกล่าวซึ่งตั้งอยู่ข้างหัวเตียงด้านขวาของโจทก์ เมื่อโจทก์พลิกตะแคงตัวตามที่จำเลยที่ 2 บอก แม้เตียงมีขนาดกว้างเพียง 60 เซนติเมตร แต่ก็เป็นขนาดมาตรฐานบุคคลทั่วไปในภาวะเช่นจำเลยที่ 2 ย่อมไม่อาจคาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ถึงขนาดที่โจทก์จะพลัดตกจากเตียง เพราะการนอนตะแคงตัวใช้พื้นที่ไม่มาก อีกทั้งจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรสอบถามโจทก์ก่อนหน้านั้นแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 มิใช่การกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายรถยนต์ ดอกเบี้ยผิดสัญญา การปรับอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย และค่าฤชาธรรมเนียมผู้บริโภค
การที่โจทก์ฟ้องว่าหลังจากทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์นำรถยนต์พิพาทออกใช้งานแต่รถยนต์พิพาท เกิดความชํารุดบกพร่องโดยสาเหตุเกิดจากกระบวนการผลิตของจำเลยที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 1 กับพวกให้การต่อสู้ว่า รถยนต์คันดังกล่าวมิได้เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัยและมีความชํารุดบกพร่องหรือมีสภาพดังที่โจทก์อ้าง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทที่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการผลิต การประกอบ หรือการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับรถยนต์พิพาท อันเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยที่ 1 กับพวก ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 จำเลยที่ 1 กับพวกจึงมีภาระการพิสูจน์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายย่อมต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ว่าตนได้รับความเสียหายจากสินค้าของจำเลยที่ 1 ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 มาตรา 6 ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในส่วนนี้จึงตกแก่โจทก์ที่ต้องพิสูจน์ก่อน
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่กำหนดได้ตามที่เห็นสมควร หากการกระทำที่ถูกฟ้องร้องเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่จากข้อเท็จจริงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุของความผิดปกติตามที่โจทก์แจ้งเพื่อแก้ไขมาโดยตลอด หาได้ปฏิเสธไม่รับผิดชอบแต่อย่างใดไม่ โดยทำการเปลี่ยนอะไหล่หลายรายการโดยไม่เรียกค่าใช้จ่ายจากโจทก์ ตลอดจนจัดรถยนต์สํารองให้ใช้แทนในระหว่างตรวจสอบและแก้ไข และยังเสนอขยายการรับประกันคุณภาพรถยนต์เป็นกรณีพิเศษจากเดิม พฤติการณ์ที่ได้ความจึงยังไม่สมควรที่จะกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 9 รับผิดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่กำหนดได้ตามที่เห็นสมควร หากการกระทำที่ถูกฟ้องร้องเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่จากข้อเท็จจริงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุของความผิดปกติตามที่โจทก์แจ้งเพื่อแก้ไขมาโดยตลอด หาได้ปฏิเสธไม่รับผิดชอบแต่อย่างใดไม่ โดยทำการเปลี่ยนอะไหล่หลายรายการโดยไม่เรียกค่าใช้จ่ายจากโจทก์ ตลอดจนจัดรถยนต์สํารองให้ใช้แทนในระหว่างตรวจสอบและแก้ไข และยังเสนอขยายการรับประกันคุณภาพรถยนต์เป็นกรณีพิเศษจากเดิม พฤติการณ์ที่ได้ความจึงยังไม่สมควรที่จะกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 9 รับผิดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของทันตแพทย์: การจัดฟันที่ส่งผลให้เกิดการสูญเสียกระดูกและต้องผ่าตัดแก้ไข
คงมีปัญหาตามว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ตามพยานหลักฐานของโจทก์ปรากฏว่า โจทก์เข้ารับการรักษากับจำเลยด้วยวิธีการจัดฟัน ต่อมาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2559 โจทก์มีอาการเหงือกอักเสบบริเวณฟันหน้าด้านบนขวา แต่จำเลยยังดำเนินการจัดฟันต่อไป โจทก์เห็นว่าการรักษาของจำเลยไม่เกิดผลดี จึงไปพบทันตแพทย์ ห. ที่คลินิกทันตกรรม อ. ซึ่งมีการเอกซเรย์ฟันโจทก์และแนะนำให้ถอนฟันออก โดยให้โจทก์กลับไปปรึกษากับจำเลยที่ตรวจดูแลโจทก์มาตั้งแต่ต้น วันที่ 27 มิถุนายน 2559 โจทก์ไปพบจำเลยพร้อมกับใบส่งตัวและฟิลม์เอกซเรย์ จำเลยแจ้งว่าให้ถอนฟันออก 2 ซี่ ยุติการจัดฟันและถอดเครื่องมือจัดฟันออก บ่งชี้ว่าในขณะนั้น ทันตแพทย์ ห. และโจทก์ยังไม่ทราบว่าอาการเหงือกอักเสบของโจทก์เกิดจากการรักษาของจำเลยหรือไม่ มิเช่นนั้นแล้ว ทันตแพทย์ ห. คงจะไม่ส่งตัวให้โจทก์กลับไปรักษากับจำเลยอีก ต่อมาวันที่ 29 มิถุนายน 2559 เมื่อฟันหน้าบนขวาซี่ที่ 12 ของโจทก์ล้ม โจทก์ไปพบทันตแพทย์ที่คลินิกทันตกรรม อ. อีกครั้ง ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาเห็นว่าอาการรุนแรงจึงส่งตัวโจทก์ไปที่โรงพยาบาล ท. และวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 ทันตแพทย์ของโรงพยาบาล ท. พิจารณาฟิลม์เอกซเรย์แล้ววินิจฉัยว่า โจทก์เป็นโรคปริทันต์อักเสบอย่างรุนแรงเฉพาะตำแหน่ง และวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ได้ถอนฟันซี่ที่ 12 ออก หลังจากนั้นโจทก์ไปพบทันตแพทย์ที่โรงพยาบาล ท. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 วันที่ 9 กันยายน 2559 และวันที่ 23 กันยายน 2559 รวม 3 ครั้ง เป็นการรักษาโดยการขูดหินปูน เกลารากฟันซ้ำ กรอแต่งเฝือก และถ่ายภาพเอกซเรย์เท่านั้น ต่อมาวันที่ 29 ตุลาคม 2559 จึงมีการวางแผนผ่าตัดเปิดแผ่นเหงือก และสรุปแนวทางการรักษาเบื้องต้น และค่าใช้จ่ายโดยประมาณจำนวน 800,700 บาท คำเบิกความของโจทก์ที่ว่า โจทก์ทราบถึงการกระทำละเมิดและผู้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนระหว่างวันที่ 9 กันยายน 2559 ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 ระหว่างการรักษาโรคเหงือกนั้นจึงมีน้ำหนักรับฟัง และไม่เชื่อว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำละเมิด และผู้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2559 ดังที่จำเลยอ้างในฎีกา ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 14 กรกฎาคม 2560 จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ถึงการกระทำละเมิดและผู้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด และศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้กำหนดค่าเสียหายในส่วนการผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างจำนวน 250,000 บาท ชอบหรือไม่ ภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวตกอยู่แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 ตามคำเบิกความของ ก. พยานจำเลยอ้างทำนองว่าสาเหตุที่โจทก์เป็นเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์เกิดจากการทำความสะอาดในช่องปากของโจทก์ไม่ดีเพียงพอ ไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ตามคำเบิกความของจำเลยและ ก. ได้ความว่า ขณะเริ่มจัดฟันจำเลยไม่ได้ถ่ายภาพเอกซเรย์ฟันของโจทก์ โดยจำเลยเบิกความว่าเหตุที่ไม่ทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ฟันของโจทก์เนื่องจากเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และคลินิกของจำเลยไม่มีเครื่องเอกซเรย์ ซึ่งตามคำเบิกความของรองศาสตราจารย์ น. ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ม. ว่า โดยปกติคนไข้ที่ประสงค์จะจัดฟันต้องมีการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ก่อนจัดฟัน หากทันตแพทย์ไม่เอกซ์เรย์ก่อนทันตแพทย์ต้องรับความเสี่ยงและคนไข้ก็ต้องรับความเสี่ยงด้วย แสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยจัดฟันให้แก่โจทก์โดยไม่มีการถ่ายภาพเอกซ์เรย์เพื่อเก็บประวัติก่อนการรักษา จะมีความเสี่ยงในการรักษา อีกทั้งจำเลยให้การว่าโจทก์ทราบอยู่แล้วว่า โจทก์เป็นโรคเหงือกแต่ก็มาจัดฟันกับจำเลย หากเป็นจริงดังที่จำเลยให้การ จำเลยก็ย่อมต้องทราบว่าโจทก์เป็นโรคเหงือกด้วยเช่นกัน และการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ก่อนเพื่อให้ทราบว่าโจทก์เป็นโรคเหงือกยิ่งมีความสำคัญก่อนการจัดฟัน แต่คำเบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ของจำเลยอ้างว่าจำเลยถ่ายภาพเอกซ์เรย์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของโจทก์ อันเป็นการผิดวิสัยของผู้เป็นแพทย์พึงกระทำ นอกจากนี้ตามคำเบิกความของพยานจำเลยยังได้ความด้วยว่า หลังจากการจัดฟัน โจทก์มาพบที่คลินิกตามนัด และ ก. ทำความสะอาดและขูดหินปูนให้โจทก์ แต่ตามสำเนาเวชระเบียนและบันทึกการรักษา กลับไม่ปรากฏว่ามีการขูดหินปูนให้โจทก์แต่อย่างใด แม้ ก. จะอ้างว่า ในบางครั้งจะไม่ระบุว่ามีการขูดหินปูนในเวชระเบียนและบันทึกการรักษาเนื่องจากไม่ได้คิดค่ารักษาเนื่องจากเป็นการคิดค่ารักษาแบบเหมาจ่ายจึงไม่ได้คิดค่ารักษา ก็เป็นเรื่องผิดปกติวิสัยของแพทย์ที่ทำการตรวจรักษาและไม่บันทึกประวัติการรักษาในเวชระเบียนและบันทึกการรักษา และตามคำเบิกความของรองศาสตราจารย์ น. ได้ความว่า เมื่อมีการเปลี่ยนยาง ทันตแพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติของเหงือกและเห็นหินปูนที่สะสมอยู่ ดังนั้น หากจำเลยตรวจช่องปากโจทก์ทุกครั้งที่โจทก์มาพบตามนัด จำเลยย่อมสังเกตเห็นได้ถึงความผิดปกติของเหงือกและหินปูน หากสงสัยว่าอาการผิดปกติดังกล่าวมีความรุนแรงจำเลยก็จำเป็นต้องส่งตัวโจทก์ไปถ่ายภาพเอกซ์เรย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษาได้ทันท่วงที ตามคำเบิกความของจำเลยอ้างว่า วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 จำเลยเพิ่งตรวจพบว่า โจทก์มีอาการเหงือกอักเสบและมีหนอง จำเลยเพียงแต่แนะนำให้โจทก์อมน้ำอุ่นผสมเกลือบ้วนปากเพื่อลดการบวมของเหงือก และจำเลยได้ตอบคำถามค้านทนายโจทก์ว่า จำเลยขูดรากฟัน เกลารากฟันให้โจทก์ และแนะนำให้ดูแลรักษาความสะอาด ไม่ได้ให้ยาแก้อักเสบและไม่ได้ทำการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ แต่ตามเอกสาร ระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2559 ไม่ปรากฎว่ามีการรักษาโรคปริทันต์แต่อย่างใด คงมีเพียงการเปลี่ยนยางจัดฟัน แสดงให้เห็นว่า ขณะนั้นโจทก์มีอาการปริทันต์หรือเหงือกอักเสบอยู่ในขั้นรุนแรงแล้ว จำเลยควรจะตรวจพบแล้วแต่ไม่ได้รักษาหรือส่งตัวไปให้แพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษา และยังคงทำการจัดฟันต่อไป จนต่อมาโจทก์ต้องไปพบทันตแพทย์ ห. ที่คลินิกทันตกรรม อ. และทันตแพทย์ ห. ถ่ายเอกซ์เรย์และแนะนำให้ถอนฟันออก และแนะนำให้กลับไปปรึกษากับจำเลยซึ่งเป็นผู้ตรวจดูแล และวันที่ 27 มิถุนายน 2559 โจทก์ไปพบกับจำเลยอีกครั้งพร้อมกับใบส่งตัวและภาพถ่ายเอกซ์เรย์ จำเลยแจ้งว่าให้ถอนฟันออก 2 ซี่ ยุติการจัดฟันและถอดเครื่องจัดฟัน แสดงให้เห็นว่า ในระหว่างระยะเวลาที่พบอาการเหงือกอักเสบในช่องปากของโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นทันตแพทย์ผู้ดูแลรักษาไม่ได้ใส่ใจหรือใช้ความระมัดระวังตามสมควรของวิชาชีพทันตแพทย์ จนเป็นเหตุให้อาการของโจทก์ลุกลาม การที่โจทก์ต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาลทันตกรรม กับต้องผ่าตัดในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 และรักษาตัวต่อเนื่องหลังจากนั้น เกิดจากการรักษาของจำเลยที่ต่ำกว่ามาตรฐานของวิชาชีพทันตกรรม อันเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย
จำเลยฎีกาทำนองว่า ค่าปลูกกระดูกบริเวณฟันหน้าบนและค่าเสริมกระดูกเทียม ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การสูญเสียกระดูกบริเวณรอบรากฟันอยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลย และจำเลยมีภาระการพิสูน์ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งตามคำเบิกความของจำเลยและ ก. พยานจำเลยอ้างเป็นทำนองว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดจากโจทก์ไม่ดูแลรักษาความสะอาด ไม่ได้เกิดจากการจัดฟัน แต่ตามคำเบิกความของจำเลยและพยานจำเลยดังกล่าว ไม่มีพยานสนับสนุนว่าสาเหตุดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการจัดฟันด้วย แม้ตามคำเบิกความของทันตแพทย์ ผ. พยานโจทก์รับว่าการสูญเสียกระดูกดังกล่าวไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากการจัดฟันอย่างเดียว อาจเกิดจากปัจจัยอื่นก็ได้แต่ก็ตอบคำถามค้านทนายจำเลยด้วยว่า หากคนไข้ใส่เครื่องมือจัดฟันแล้วทำความสะอาดไม่เพียงพอก็เป็นเหตุปัจจัยเสริมที่ก่อให้เกิดโรคได้เท่านั้น ลำพังโจทก์ไม่ดูแลรักษาความสะอาดจึงไม่น่าก่อให้เกิดโรคได้ พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีน้ำหนักรับฟังว่า ค่าปลูกกระดูกบริเวณฟันหน้าบนและค่าเสริมกระดูกเทียมไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระค่าปลูกกระดูกบริเวณฟันหน้าบนเป็นเงิน 35,000 บาท และค่าเสริมกระดูกเทียมเป็นเงิน 51,000 บาท ด้วยนั้นจึงชอบแล้ว ส่วนค่าผ่าตัดขากรรไกรบนและล่าง ตามคำเบิกความของโจทก์ก็รับว่า สภาพฟันของโจทก์มีการจัดฟันผิดปกติมีลักษณะฟันล่างครอบฟันบน ช่องการตรวจข้อ 2 ระบุว่า โครงสร้างกระดูกขากรรไกรล่างยื่นมากกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถใส่ฟันเทียมที่บริเวณฟันหน้าบนในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ และในช่องลำดับการรักษาข้อ 4 ผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างเพื่อให้มีความสัมพันธ์ของขากรรไกรเป็นปกติ จึงฟังได้ว่า โจทก์มีปัญหาขากรรไกรบนและล่างมาก่อนการจัดฟันกับจำเลย แม้ในการใส่ฟันเทียมหน้าบน แพทย์จะต้องผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างให้มีความสัมพันธ์กัน แต่เหตุดังกล่าวไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้
ปัญหาว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด และศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้กำหนดค่าเสียหายในส่วนการผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างจำนวน 250,000 บาท ชอบหรือไม่ ภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวตกอยู่แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 ตามคำเบิกความของ ก. พยานจำเลยอ้างทำนองว่าสาเหตุที่โจทก์เป็นเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์เกิดจากการทำความสะอาดในช่องปากของโจทก์ไม่ดีเพียงพอ ไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ตามคำเบิกความของจำเลยและ ก. ได้ความว่า ขณะเริ่มจัดฟันจำเลยไม่ได้ถ่ายภาพเอกซเรย์ฟันของโจทก์ โดยจำเลยเบิกความว่าเหตุที่ไม่ทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ฟันของโจทก์เนื่องจากเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และคลินิกของจำเลยไม่มีเครื่องเอกซเรย์ ซึ่งตามคำเบิกความของรองศาสตราจารย์ น. ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ม. ว่า โดยปกติคนไข้ที่ประสงค์จะจัดฟันต้องมีการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ก่อนจัดฟัน หากทันตแพทย์ไม่เอกซ์เรย์ก่อนทันตแพทย์ต้องรับความเสี่ยงและคนไข้ก็ต้องรับความเสี่ยงด้วย แสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยจัดฟันให้แก่โจทก์โดยไม่มีการถ่ายภาพเอกซ์เรย์เพื่อเก็บประวัติก่อนการรักษา จะมีความเสี่ยงในการรักษา อีกทั้งจำเลยให้การว่าโจทก์ทราบอยู่แล้วว่า โจทก์เป็นโรคเหงือกแต่ก็มาจัดฟันกับจำเลย หากเป็นจริงดังที่จำเลยให้การ จำเลยก็ย่อมต้องทราบว่าโจทก์เป็นโรคเหงือกด้วยเช่นกัน และการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ก่อนเพื่อให้ทราบว่าโจทก์เป็นโรคเหงือกยิ่งมีความสำคัญก่อนการจัดฟัน แต่คำเบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ของจำเลยอ้างว่าจำเลยถ่ายภาพเอกซ์เรย์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของโจทก์ อันเป็นการผิดวิสัยของผู้เป็นแพทย์พึงกระทำ นอกจากนี้ตามคำเบิกความของพยานจำเลยยังได้ความด้วยว่า หลังจากการจัดฟัน โจทก์มาพบที่คลินิกตามนัด และ ก. ทำความสะอาดและขูดหินปูนให้โจทก์ แต่ตามสำเนาเวชระเบียนและบันทึกการรักษา กลับไม่ปรากฏว่ามีการขูดหินปูนให้โจทก์แต่อย่างใด แม้ ก. จะอ้างว่า ในบางครั้งจะไม่ระบุว่ามีการขูดหินปูนในเวชระเบียนและบันทึกการรักษาเนื่องจากไม่ได้คิดค่ารักษาเนื่องจากเป็นการคิดค่ารักษาแบบเหมาจ่ายจึงไม่ได้คิดค่ารักษา ก็เป็นเรื่องผิดปกติวิสัยของแพทย์ที่ทำการตรวจรักษาและไม่บันทึกประวัติการรักษาในเวชระเบียนและบันทึกการรักษา และตามคำเบิกความของรองศาสตราจารย์ น. ได้ความว่า เมื่อมีการเปลี่ยนยาง ทันตแพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติของเหงือกและเห็นหินปูนที่สะสมอยู่ ดังนั้น หากจำเลยตรวจช่องปากโจทก์ทุกครั้งที่โจทก์มาพบตามนัด จำเลยย่อมสังเกตเห็นได้ถึงความผิดปกติของเหงือกและหินปูน หากสงสัยว่าอาการผิดปกติดังกล่าวมีความรุนแรงจำเลยก็จำเป็นต้องส่งตัวโจทก์ไปถ่ายภาพเอกซ์เรย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษาได้ทันท่วงที ตามคำเบิกความของจำเลยอ้างว่า วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 จำเลยเพิ่งตรวจพบว่า โจทก์มีอาการเหงือกอักเสบและมีหนอง จำเลยเพียงแต่แนะนำให้โจทก์อมน้ำอุ่นผสมเกลือบ้วนปากเพื่อลดการบวมของเหงือก และจำเลยได้ตอบคำถามค้านทนายโจทก์ว่า จำเลยขูดรากฟัน เกลารากฟันให้โจทก์ และแนะนำให้ดูแลรักษาความสะอาด ไม่ได้ให้ยาแก้อักเสบและไม่ได้ทำการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ แต่ตามเอกสาร ระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2559 ไม่ปรากฎว่ามีการรักษาโรคปริทันต์แต่อย่างใด คงมีเพียงการเปลี่ยนยางจัดฟัน แสดงให้เห็นว่า ขณะนั้นโจทก์มีอาการปริทันต์หรือเหงือกอักเสบอยู่ในขั้นรุนแรงแล้ว จำเลยควรจะตรวจพบแล้วแต่ไม่ได้รักษาหรือส่งตัวไปให้แพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษา และยังคงทำการจัดฟันต่อไป จนต่อมาโจทก์ต้องไปพบทันตแพทย์ ห. ที่คลินิกทันตกรรม อ. และทันตแพทย์ ห. ถ่ายเอกซ์เรย์และแนะนำให้ถอนฟันออก และแนะนำให้กลับไปปรึกษากับจำเลยซึ่งเป็นผู้ตรวจดูแล และวันที่ 27 มิถุนายน 2559 โจทก์ไปพบกับจำเลยอีกครั้งพร้อมกับใบส่งตัวและภาพถ่ายเอกซ์เรย์ จำเลยแจ้งว่าให้ถอนฟันออก 2 ซี่ ยุติการจัดฟันและถอดเครื่องจัดฟัน แสดงให้เห็นว่า ในระหว่างระยะเวลาที่พบอาการเหงือกอักเสบในช่องปากของโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นทันตแพทย์ผู้ดูแลรักษาไม่ได้ใส่ใจหรือใช้ความระมัดระวังตามสมควรของวิชาชีพทันตแพทย์ จนเป็นเหตุให้อาการของโจทก์ลุกลาม การที่โจทก์ต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาลทันตกรรม กับต้องผ่าตัดในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 และรักษาตัวต่อเนื่องหลังจากนั้น เกิดจากการรักษาของจำเลยที่ต่ำกว่ามาตรฐานของวิชาชีพทันตกรรม อันเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย
จำเลยฎีกาทำนองว่า ค่าปลูกกระดูกบริเวณฟันหน้าบนและค่าเสริมกระดูกเทียม ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การสูญเสียกระดูกบริเวณรอบรากฟันอยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลย และจำเลยมีภาระการพิสูน์ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งตามคำเบิกความของจำเลยและ ก. พยานจำเลยอ้างเป็นทำนองว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดจากโจทก์ไม่ดูแลรักษาความสะอาด ไม่ได้เกิดจากการจัดฟัน แต่ตามคำเบิกความของจำเลยและพยานจำเลยดังกล่าว ไม่มีพยานสนับสนุนว่าสาเหตุดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการจัดฟันด้วย แม้ตามคำเบิกความของทันตแพทย์ ผ. พยานโจทก์รับว่าการสูญเสียกระดูกดังกล่าวไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากการจัดฟันอย่างเดียว อาจเกิดจากปัจจัยอื่นก็ได้แต่ก็ตอบคำถามค้านทนายจำเลยด้วยว่า หากคนไข้ใส่เครื่องมือจัดฟันแล้วทำความสะอาดไม่เพียงพอก็เป็นเหตุปัจจัยเสริมที่ก่อให้เกิดโรคได้เท่านั้น ลำพังโจทก์ไม่ดูแลรักษาความสะอาดจึงไม่น่าก่อให้เกิดโรคได้ พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีน้ำหนักรับฟังว่า ค่าปลูกกระดูกบริเวณฟันหน้าบนและค่าเสริมกระดูกเทียมไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระค่าปลูกกระดูกบริเวณฟันหน้าบนเป็นเงิน 35,000 บาท และค่าเสริมกระดูกเทียมเป็นเงิน 51,000 บาท ด้วยนั้นจึงชอบแล้ว ส่วนค่าผ่าตัดขากรรไกรบนและล่าง ตามคำเบิกความของโจทก์ก็รับว่า สภาพฟันของโจทก์มีการจัดฟันผิดปกติมีลักษณะฟันล่างครอบฟันบน ช่องการตรวจข้อ 2 ระบุว่า โครงสร้างกระดูกขากรรไกรล่างยื่นมากกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถใส่ฟันเทียมที่บริเวณฟันหน้าบนในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ และในช่องลำดับการรักษาข้อ 4 ผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างเพื่อให้มีความสัมพันธ์ของขากรรไกรเป็นปกติ จึงฟังได้ว่า โจทก์มีปัญหาขากรรไกรบนและล่างมาก่อนการจัดฟันกับจำเลย แม้ในการใส่ฟันเทียมหน้าบน แพทย์จะต้องผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างให้มีความสัมพันธ์กัน แต่เหตุดังกล่าวไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2764/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้บริโภค: ความเสียหายต่อสุขภาพจากสารสะสม/แสดงอาการ & การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
อายุความตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 13 แยกความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้บริโภค และกรณีที่สองเป็นผลของสารที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการของผู้บริโภค เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่า จําเลยที่ 2 ฉีดชีวโมเลกุลให้โจทก์ตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2558 รวม 6 ครั้ง การฉีดชีวโมเลกุลเข้าสู่ร่างกายเป็นการให้บริการทางการแพทย์ซึ่งอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของฝ่ายจําเลยผู้ประกอบธุรกิจ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าภายหลังจากโจทก์ได้รับการฉีดชีวโมเลกุลครั้งแรก โจทก์มีอาการแพ้ และเมื่อโจทก์ได้รับการฉีดในครั้งต่อ ๆ มา โจทก์มีอาการแพ้รุนแรงมากขึ้นจนเกิดอาการผื่นขึ้นบนใบหน้า ลำคอและเกิดตุ่มขึ้นตามร่างกายโจทก์ จนกระทั่งจําเลยที่ 1 ต้องพาโจทก์เข้ารับการรักษาอาการแพ้ที่โรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 จนถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 แต่การรักษาไม่ได้ผล แพทย์จึงหยุดการรักษา แสดงว่าอาการแพ้ที่เกิดขึ้นตามร่างกายของโจทก์มีมาอย่างต่อเนื่องเกือบ 2 ปี ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ และไม่แน่นอนว่าในอนาคตจะมีอาการอย่างไรต่อไป ผลของสารที่โจทก์ได้รับจากการฉีดสารชีวโมเลกุลจําต้องใช้ระยะเวลาในการแสดงอาการ ไม่อาจถืออาการแพ้ที่เห็นได้โดยประจักษ์ก่อนหน้านั้นเป็นผลสุดท้ายของความเสียหายที่เกิดขึ้น กรณีจึงต้องใช้อายุความ 3 ปี ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 13 มิใช่อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วันที่โจทก์รู้ถึงความเสียหายจึงยังไม่เริ่มต้นนับ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2560 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5958/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อทางการแพทย์: การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยล่าช้าทำให้เกิดความเสียหายทางกายและจิตใจ
ตามทางไต่สวนได้ความถึงอาการบาดเจ็บของโจทก์ว่า นอกจากการรักษาโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแพทย์กระดูกและข้อแล้ว ยังมีขั้นตอนการรักษาหลอดเลือดที่แพทย์หลอดเลือดเข้ามารักษาอาการของโจทก์ โดยนายแพทย์ ว. ตรวจพบอาการเกิดตุ่มน้ำพองใสบริเวณขาซ้ายและข้อเท้าซ้ายมีสีคล้ำเกรงจะเกิดภาวะขาดเลือด เมื่อดำเนินการฉีดสีพบว่าเส้นเลือดที่เป็นเส้นหลักในการส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงขาซ้ายไม่ปรากฏในผลการตรวจ นายแพทย์ ว. ได้ปรึกษาผู้บริหารและปรึกษาแพทย์ทางโรงพยาบาลที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่และนายแพทย์ ก. ได้แนะนำให้ทำบายพาสด่วนโดยหาทีมแพทย์ท้องถิ่นหรือส่งต่อทางเครื่องบิน แต่นายแพทย์ ว. ส่งโจทก์ไปรักษาที่กรุงเทพมหานครด้วยรถพยาบาลของจำเลยที่ 1 โดยอ้างข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายโจทก์ด้วยเฮลิคอปเตอร์ว่าใช้ระยะเวลาในการประสานงาน การรอคิวว่างของเฮลิคอปเตอร์ที่ว่าต้องรออีก 2 ถึง 3 วัน การลงจอดรับผู้ป่วยต้องลงจอดที่สถานีตำรวจท้องที่นอกบริเวณโรงพยาบาลของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีรายละเอียดถึงข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายนับเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นเช่นนั้นตามภาระการพิสูจน์ ทั้งได้ความจากโจทก์ว่าญาติของโจทก์ขอให้เคลื่อนย้ายทางเฮลิคอปเตอร์ที่จำเลยที่ 1 จัดให้บริการเรียกว่า SKY ICU จำเลยที่ 1 แจ้งว่าเฮลิคอปเตอร์ไม่ว่างและไม่สามารถบินกลางคืนได้ โดยจำเลยที่ 1 มิได้ถามค้านโจทก์เพื่อหักล้างสมรรถนะของเฮลิคอปเตอร์ดังที่โจทก์เบิกความ คดีย่อมฟังได้ว่า เฮลิคอปเตอร์ที่จำเลยที่ 1 ให้บริการรับส่งผู้ป่วยทางอาการมิได้มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถบินในเวลากลางคืนได้ เมื่อคำโฆษณาประชาสัมพันธ์ของจำเลยที่ 1 ระบุว่า โรงพยาบาลมีบริการรับส่งผู้ป่วยทางอากาศ (Air Ambulance) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีผู้ใช้บริการมากราย หรือเฮลิคอปเตอร์ไม่มีคิวว่างที่จะเคลื่อนย้ายโจทก์ในวันนั้น คำโฆษณาประชาสัมพันธ์ของจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้โจทก์เชื่อว่า จำเลยที่ 1 มีบริการเช่นนั้นจริง นายแพทย์ ต. พยานจำเลย เบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่า การทำบายพาสเร่งด่วนให้ได้ภายใน 6 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อได้รับความเสียหาย เมื่อการเคลื่อนย้ายโจทก์ได้รับความยินยอมจากมารดาของโจทก์เมื่อเวลา 22 นาฬิกา และสามารถเคลื่อนย้ายด้วยรถพยาบาลเมื่อเวลา 3 นาฬิกา ของวันที่ 12 กำหนดถึงโรงพยาบาลที่กรุงเทพมหานครเวลาประมาณ 15 นาฬิกา เท่ากับใช้เวลาก่อนออกเดินทาง 5 ชั่วโมง เวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง จำเลยที่ 1 ย่อมตระหนักดีว่าระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายโจทก์เป็นข้อสำคัญที่ต้องดำเนินการทันท่วงที การเคลื่อนย้ายด้วยรถพยาบาลที่ต้องใช้เวลาดังกล่าวย่อมไม่สอดคล้องกับคำแนะนำและไม่เป็นผลดีต่อการรักษาอาการของโจทก์ เป็นการเลือกใช้วิธีเคลื่อนย้ายโจทก์ไปรักษาที่ไม่เหมาะสมแก่โจทก์ในสภาวการณ์เช่นนั้น คดีฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ใช้ความพยายามตามวิธีการและมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการรักษาและเคลื่อนย้ายโจทก์ตามสถานการณ์และอาการบาดเจ็บของโจทก์ในขณะนั้น การที่โจทก์ต้องถูกตัดขาเป็นผลสืบเนื่องมาจากการส่งตัวโจทก์ไปรักษาที่ล่าช้าเนิ่นนานเกินไป อันแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เช่นโรงพยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งอาจใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่ นับเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ในการดูแลรักษาโจทก์และเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินต้องถมดินให้เสมอถนนภาระจำยอม ไม่จำเป็นต้องเสมอถนนสายหลัก
ตามสัญญาจะซื้อจะขายกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องจัดสรรที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินตามใบคำขอ/ใบอนุญาต ซึ่งตามใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน จำเลยที่ 1 จะต้องจัดสรรที่ดินตามแผนผัง โครงการและวิธีการแนบท้ายใบอนุญาต ตามโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดินโครงการ ฮ. ข้อ 3 การปรับปรุงที่ดิน ระบุว่า จะทำการปรับปรุงที่ดินโดยจะทำการถมดินบดอัดแน่นด้วยรถแทรกเตอร์ให้พื้นดินในบริเวณที่ทำการจัดสรรเรียบเสมอกันและให้เท่ากับระดับถนนภาระจำยอมที่เชื่อมกับทางหลวงเท่ากับถนนบางกรวย-ไทรน้อย เนื่องจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการจัดสรรที่ดินอยู่ในความรู้เห็นของจำเลยทั้งห้าในฐานะผู้ประกอบธุรกิจ จำเลยทั้งห้าจึงมีภาระการพิสูจน์ว่า จำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามข้อ 3 เรื่องการปรับปรุงที่ดินแล้วหรือไม่ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 จำเลยทั้งห้ามีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นได้ว่า ในการขออนุญาตจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2545 ซึ่งกำหนดให้ผู้ขอจัดทำแผนผังการจัดสรรที่ดินกับโครงการและวิธีการในการจัดสรรที่ดิน อันมีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของข้อกำหนดยื่นแสดงต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี ซึ่งข้อกำหนดข้อ 6 กำหนดว่า ผู้ขอต้องแสดงโครงการและวิธีการในการจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นหลักฐานการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ คือวิธีการในการปรับปรุงพื้นที่ดินให้เกิดความเหมาะสมในการปลูกสร้างอาคารโดยจะต้องกำหนดระดับความสูงต่ำของพื้นดินทั้งบริเวณส่วนจำหน่ายและส่วนสาธารณูปโภค เมื่อพิจารณาประกอบข้อกำหนด ข้อ 5.1 (3) ที่ว่า แผนผังสังเขปให้แสดงเส้นทางที่เข้าออกสู่บริเวณการจัดสรรที่ดินจากทางหลวง หรือทางสาธารณะภายนอก ซึ่งมาตรฐานที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรีกำหนดให้ผู้ขอจัดสรรที่ดินดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้มีการปรับปรุงพื้นที่ดินที่จัดสรรให้มีระดับพื้นดินเหมาะสมแก่การปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยและมีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเท่านั้น หาได้มีหลักเกณฑ์บังคับว่า ผู้ขอจัดสรรที่ดินจะต้องปรับปรุงพื้นที่ดินที่จัดสรรให้มีระดับความสูงเท่ากับทางหลวงหรือถนนสาธารณะที่เป็นเส้นทางเข้าออกเพื่อประโยชน์แก่การป้องกันอุทกภัยแต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีเหตุผลที่จำเลยที่ 1 จะจัดทำเอกสารโครงการและวิธีการในการจัดสรรที่ดินว่า จำเลยที่ 1 จะปรับปรุงพื้นที่จัดสรรให้มีระดับความสูงเท่ากับระดับถนนบางกรวย-ไทรน้อย หากเอกสารโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดินข้อ 3 มีเจตนาที่จะปรับปรุงพื้นที่จัดสรรให้มีระดับความสูงเท่ากับถนนบางกรวย-ไทรน้อย ก็ไม่น่าจะมีข้อความว่า "ให้เท่ากับระดับถนนภาระจำยอม" คั่นอยู่ข้างหน้าคำว่า "เท่ากับถนนบางกรวย-ไทรน้อย" นอกจากนี้เงื่อนไขในข้อที่ว่า การปรับปรุงพื้นที่จัดสรรให้มีระดับความสูงเท่ากับถนนบางกรวย-ไทรน้อย เป็นเงื่อนไขสำคัญอย่างยิ่ง หากมีเงื่อนไขดังกล่าวซึ่งจำเลยที่ 1 จำต้องดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขเสียก่อนจึงจะได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน เนื่องจาก พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติว่า การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎกระทรวง และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาต และการออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2544 ข้อ 3 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินได้พิจารณาเห็นชอบแผนผัง โครงการ และวิธีการในการจัดสรร และผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินได้ดำเนินการตามกฎหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินครบถ้วนแล้ว ให้คณะกรรมการออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน แต่กลับปรากฏว่า คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรีได้ออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่มีข้อทักท้วงว่า จำเลยที่ 1 ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่จัดสรรผิดไปจากข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน และเอกสารโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดิน ต่อมาเมื่อคณะอนุกรรมการได้ตรวจสอบการจัดทำสาธารณูปโภคของจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต จึงแสดงว่าเอกสารโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดินไม่ได้มีเงื่อนไขให้จำเลยที่ 1 ต้องปรับปรุงพื้นที่จัดสรรให้มีระดับความสูงเท่ากับถนนบางกรวย-ไทรน้อย ทั้งยังได้ความว่าถนนภาระจำยอมเป็นที่ดินจำนวน 5 แปลง ระยะทางจากถนนบางกรวย-ไทรน้อยถึงหน้าโครงการจัดสรรพิพาทไกลถึง 825 เมตร และถนนภาระจำยอมบริเวณหน้าโครงการจัดสรรพิพาทมีระดับต่ำกว่าถนนบางกรวย-ไทรน้อยอยู่มากพอสมควร ถนนภาระจำยอมดังกล่าวซึ่งสร้างแล้วเสร็จมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิปรับเปลี่ยนระดับความสูงของถนนภาระจำยอม หากจำเลยที่ 1 ต้องทำถนนของโครงการจัดสรรพิพาทในระดับเท่ากับถนนบางกรวย-ไทรน้อย จุดเชื่อมต่อกับถนนภาระจำยอมหน้าโครงการจัดสรรพิพาทย่อมไม่เป็นระดับเรียบเสมอกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับประโยชน์ในการใช้เป็นเส้นทางสัญจรเข้าออก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์: การรักษาพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ แม้ผลไม่เป็นไปตามคาดหวัง ไม่ถือเป็นความประมาทเลินเล่อ
สาเหตุที่ทำให้โจทก์ที่ 1 สมองพิการเกิดจากสาเหตุใด เป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ให้บริการทางการแพทย์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 29 พยานจำเลยที่ 1 เบิกความว่าสาเหตุที่ทำให้โจทก์ที่ 1 สมองพิการเสียหายถาวรอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด ทางนำสืบของจำเลยที่ 1 ยังไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงไปทางหนึ่งทางใดโดยแจ้งชัด จึงต้องถือว่ายังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีอาการสมองพิการเสียหายถาวรช่วยเหลือตนเองไม่ได้เพราะสาเหตุใดแน่ ตรงกันข้ามกับทางนำสืบของโจทก์ทั้งสอง ที่มีโจทก์ที่ 2 และ ส. บิดาโจทก์ที่ 1 เบิกความยืนยันตรงกันว่า หลังเกิดเหตุบุคลากรทางการแพทย์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำการผ่าตัดโจทก์ที่ 1 ได้พูดยอมรับว่า เหตุที่โจทก์ที่ 1 มีอาการดังกล่าวเนื่องจากท่อช่วยหายใจหลุดและขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ทั้งตามบันทึกการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นของผู้รับบริการ จังหวัดนครราชสีมา ระบุว่า หลังการผ่าตัด เมื่อเกิดปัญหากับโจทก์ที่ 1 วิสัญญีแพทย์ทำการตรวจสอบตำแหน่งท่อช่วยหายใจอีกครั้ง เนื่องจากสงสัยว่ามีเสียงลมรั่วไม่เข้าปอด ซึ่งพบว่าท่อช่วยหายใจไม่ได้อยู่ในตำแหน่งของหลอดลม จึงได้รีบใส่ท่อช่วยหายใจใหม่โดยเพิ่มขนาดจากเบอร์ 4 เป็นเบอร์ 4.5 ตำแหน่งที่ใส่อยู่ที่ 12 เซนติเมตร แม้การจ่ายเงินช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 จะเป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมิได้พิจารณาว่าบุคลากรทางการแพทย์กระทำโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม แต่รายงานการประชุมดังกล่าวก็ต้องพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการสอบสวน ทั้งคณะอนุกรรมการที่เข้าร่วมพิจารณาก็ล้วนเป็นแพทย์ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เมื่อนำมาพิจารณาประกอบกับคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 และ ส. ซึ่งไม่มีความรู้ทางการแพทย์ยากที่จะเบิกความปรุงแต่งข้อเท็จจริงที่ตนรับฟังมา พยานหลักฐานโจทก์ทั้งสองมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า สาเหตุที่โจทก์ที่ 1 สมองพิการอย่างถาวรเกิดจากท่อช่วยหายใจหลุดหรือเคลื่อนจากหลอดลมภายหลังการผ่าตัด ทำให้สมองขาดออกซิเจนหล่อเลี้ยงเป็นเวลานานจนโจทก์ที่ 1 เกิดอาการดังกล่าว
กรณีจะถือว่าการกระทำของบุคลากรทางการแพทย์ของจำเลยที่ 1 เป็นความประมาทเลินเล่อหรือไม่นอกจากต้องพิจารณาจากมาตรฐานการรักษาตามวิชาชีพของแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียบวิธีปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์และเหตุผลประการอื่นด้วย เนื่องจากพยาธิสภาพของผู้ป่วยและอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยแต่ละรายนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อการวินิจฉัยของแพทย์และนำไปสู่วิธีการรักษาที่ไม่เหมือนกันได้ หากข้อเท็จจริงได้ความว่าแพทย์ได้ตรวจรักษาผู้ป่วยโดยปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบวิธีปฏิบัติตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางนั้นด้วยความระมัดระวังรอบคอบ และเหมาะสมกับสภาวการณ์ที่จำเป็นที่ต้องให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยโดยเร็วเพื่อให้พ้นจากความเสี่ยงภัยอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายแล้ว แม้ผลการรักษาจะไม่เป็นไปดั่งที่คาดหมาย กรณีย่อมไม่อาจถือว่าบุคลากรทางการแพทย์ผู้นั้นกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบุคลากรทางการแพทย์ของจำเลยที่ 1 ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างรอบคอบและเหมาะสมสอดคล้องแก่สภาวการณ์ที่จำเป็นในการรักษาโจทก์ที่ 1 ทุกขั้นตอนโดยถูกต้องตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพอันเหมาะสมแก่สภาวการณ์แล้ว แม้จะเกิดผลท่อช่วยหายใจหลุดหรือเคลื่อนที่ก็ตาม การกระทำของบุคลากรทางการแพทย์ของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นการละเมิด แต่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจคาดหมายได้ บุคลากรทางการแพทย์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ในฐานะหน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบต่อความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
กรณีจะถือว่าการกระทำของบุคลากรทางการแพทย์ของจำเลยที่ 1 เป็นความประมาทเลินเล่อหรือไม่นอกจากต้องพิจารณาจากมาตรฐานการรักษาตามวิชาชีพของแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียบวิธีปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์และเหตุผลประการอื่นด้วย เนื่องจากพยาธิสภาพของผู้ป่วยและอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยแต่ละรายนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อการวินิจฉัยของแพทย์และนำไปสู่วิธีการรักษาที่ไม่เหมือนกันได้ หากข้อเท็จจริงได้ความว่าแพทย์ได้ตรวจรักษาผู้ป่วยโดยปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบวิธีปฏิบัติตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางนั้นด้วยความระมัดระวังรอบคอบ และเหมาะสมกับสภาวการณ์ที่จำเป็นที่ต้องให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยโดยเร็วเพื่อให้พ้นจากความเสี่ยงภัยอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายแล้ว แม้ผลการรักษาจะไม่เป็นไปดั่งที่คาดหมาย กรณีย่อมไม่อาจถือว่าบุคลากรทางการแพทย์ผู้นั้นกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบุคลากรทางการแพทย์ของจำเลยที่ 1 ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างรอบคอบและเหมาะสมสอดคล้องแก่สภาวการณ์ที่จำเป็นในการรักษาโจทก์ที่ 1 ทุกขั้นตอนโดยถูกต้องตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพอันเหมาะสมแก่สภาวการณ์แล้ว แม้จะเกิดผลท่อช่วยหายใจหลุดหรือเคลื่อนที่ก็ตาม การกระทำของบุคลากรทางการแพทย์ของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นการละเมิด แต่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจคาดหมายได้ บุคลากรทางการแพทย์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ในฐานะหน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบต่อความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่ผู้ประกอบการจัดสรรที่ดินต่อผู้บริโภค กรณีสร้างบ้านไม่ได้มาตรฐานและระดับที่ดินต่ำกว่าเกณฑ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อเดือนตุลาคม 2554 น้ำท่วมในโครงการและท่วมเข้ามาในบ้านโจทก์เนื่องจากจำเลยทั้งสองปรับปรุงระดับพื้นดินต่ำเป็นแอ่งกระทะไม่เรียบเสมอกัน ระดับพื้นบ้านชั้นล่างของโจทก์ไม่ได้มีระดับสูงกว่าถนนหน้าโครงการ 0.60 เมตร ตามที่ได้ยื่นขออนุญาตจัดสรร เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การว่า บ้านโจทก์ไม่ได้เกิดความเสียหายจากการก่อสร้าง โครงสร้างโดยรวมของบ้านยังมั่นคงแข็งแรงและย่อมมีการเสื่อมสภาพไปตามสิ่งแวดล้อม กาลเวลาและการใช้งานตามสมควร ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านเกิดจากช่วงเดือนตุลาคม 2554 เกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรง ความเสียหายไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสอง จากคำฟ้องและคำให้การของจำเลยทั้งสองในเบื้องต้นย่อมเข้าใจว่า หากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการถมที่ดินให้มีความสูงไม่ต่ำกว่าถนนสาธารณะหน้าโครงการจัดสรรที่ดินตามที่ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดินแล้ว เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมโจทก์จะไม่ได้รับความเสียหาย หรือหากได้รับความเสียหายก็จะเกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่า จำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการถมที่ดินตามที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแล้ว ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า สภาพทางธรณีวิทยาของที่ดินของพื้นที่ก่อสร้างในขณะทำการก่อสร้างจะมีอยู่อย่างไร จะก่อให้เกิดการทรุดตัวในปริมาณสูงหรือไม่ จำเลยที่ 2 ทำการปรับถมดินไม่ต่ำกว่าถนนสาธารณะหน้าโครงการแล้วหรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างและอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของจำเลยทั้งสองที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจตามความในมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวจึงตกอยู่แก่จำเลยทั้งสอง
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษนั้น จำเลยทั้งสองเป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าที่ดิน ทำการจัดสรรที่ดินและบ้านเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย โดยที่ดินและบ้านในโครงการของจำเลยทั้งสองมีราคาสูง แต่จำเลยทั้งสองถมดินปรับระดับถนนในโครงการ และพื้นดินในโครงการ รวมถึงพื้นดินบริเวณบ้านโจทก์ มีระดับต่ำกว่าถนนสาธารณะหน้าโครงการ ไม่เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภค พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยทั้งสองจงใจไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายและคำขออนุญาตจัดสรรที่ดินและบ้านมาตั้งแต่แรก มีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายเพื่อประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จึงสมควรบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเพื่อการลงโทษแก่โจทก์ครึ่งหนึ่งของความเสียหายที่โจทก์ได้รับ
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษนั้น จำเลยทั้งสองเป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าที่ดิน ทำการจัดสรรที่ดินและบ้านเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย โดยที่ดินและบ้านในโครงการของจำเลยทั้งสองมีราคาสูง แต่จำเลยทั้งสองถมดินปรับระดับถนนในโครงการ และพื้นดินในโครงการ รวมถึงพื้นดินบริเวณบ้านโจทก์ มีระดับต่ำกว่าถนนสาธารณะหน้าโครงการ ไม่เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภค พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยทั้งสองจงใจไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายและคำขออนุญาตจัดสรรที่ดินและบ้านมาตั้งแต่แรก มีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายเพื่อประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จึงสมควรบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเพื่อการลงโทษแก่โจทก์ครึ่งหนึ่งของความเสียหายที่โจทก์ได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะจากโฆษณาที่เป็นเท็จ ผู้บริโภคมีสิทธิคืนทรัพย์และเงิน
แผ่นป้ายโฆษณาของจำเลยข้อความว่า "ให้เงินกู้ค่ะ มีบ้านมีรถเงินสดทันใจ ไม่โอนเล่ม ไม่จดจำนอง" และ "ให้เงินกู้ จัด 2 แสน รถยนต์ไม่ต้องโอน ทะเบียนรถทุกชนิด รถไถ โฉนดบ้าน ที่ดิน คอนโด" แม้ป้ายโฆษณาจะระบุให้ติดต่อกับสาขาของจำเลยคนละสาขา แต่ก็เป็นการโฆษณากิจการให้เงินกู้ของจำเลย เมื่อโจทก์เข้าทำธุรกรรมทางการเงินกับจำเลยเนื่องมาจากการโฆษณาตามแผ่นป้ายดังกล่าว จึงถือว่าแผ่นป้ายโฆษณาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างโจทก์ผู้บริโภคกับจำเลยผู้ประกอบธุรกิจ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 11 เมื่อรถที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยเป็นรถแทรกเตอร์ขุดตักประเภทเดียวกับที่ระบุในแผ่นป้ายโฆษณาว่าไม่โอนเล่ม การที่จำเลยให้โจทก์กู้เงินโดยทำสัญญาเช่าซื้อและมีการโอนกรรมสิทธิ์รถแทรกเตอร์ให้แก่จำเลยจึงไม่เป็นไปตามที่โฆษณา การโฆษณาดังกล่าวของจำเลยถือได้ว่าเป็นข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการตามมาตรา 22 (2) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ถือเป็นโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมมีลักษณะเป็นการลวงผู้บริโภคซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 47 อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดจากการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์ย่อมไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ และต้องคืนทรัพย์สินต่อกันตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ จำเลยจึงต้องส่งมอบรถแทรกเตอร์คันพิพาทคืนแก่โจทก์และโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับมาจากจำเลยทั้งหมดให้แก่จำเลย โดยต้องนำเงินที่โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยไปแล้ว มาหักออกจากจำนวนที่โจทก์ต้องรับผิด และเมื่อการคืนทรัพย์สินหรือเงินอันเกิดจากโมฆะกรรม ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ต้องใช้ดอกเบี้ย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องคืน แต่มีอำนาจเพิกถอนรายการจดทะเบียนอันเกิดจากนิติกรรมอันเป็นโมฆะนั้นเสียได้