พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5222/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินชำระหนี้แทนเจ้าหนี้เดิม ไม่ถือเป็นโกงเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 47526 จำเลยที่ 1 เพียงมีชื่อในโฉนดแทนโจทก์เท่านั้น เมื่อธนาคาร ก. มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองที่ดินดังกล่าว ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 มีการติดต่อระหว่างจำเลยทั้งสองเพื่อให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้ธนาคารดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์และมีสิทธิที่จะยึดที่ดินดังกล่าวมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ แต่ที่ดินติดจำนองอยู่กับธนาคาร ก. ซึ่งจำเลยที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ก็ต่อเมื่อธนาคารดังกล่าวในฐานะเจ้าหนี้จำนองได้รับชำระหนี้เงินกู้จากโจทก์ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ต้องเข้าชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 และขอรับโอนที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยปลอดจำนองจากธนาคารเป็นการตอบแทน ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 จึงเป็นกระบวนการในการชำระหนี้ที่โจทก์ต้องรับผิดเพราะเป็นการโอนที่ดินของโจทก์ชำระหนี้ของโจทก์เอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดเจ้าพนักงานต้องระบุเจตนาพิเศษทำให้เสียหาย หากขาดองค์ประกอบ ศาลต้องยกฟ้อง
ความผิดข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 157 นั้น มีองค์ประกอบเรื่องเจตนาพิเศษในการกระทำว่าเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยเจตนาจงใจไม่เสนอคำขอรับการประเมินวิทยฐานะของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงเจตนาพิเศษดังกล่าวคำฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
แม้เดิมคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกันหรือขัดขวางมิให้เป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งนั้น โดยไม่ส่งคำขอรับการประเมินวิทยฐานะ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กับมีคำขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 165 แต่โจทก์ขอแก้ฟ้องยกเลิกคำฟ้องเดิมทั้งหมด โดยข้อความที่แก้ไขใหม่ไม่มีข้อหาดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องในความผิดข้อหานี้
แม้ปัญหาเรื่องการบรรยายฟ้องในความผิดทั้งสองข้อหาข้างต้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
แม้เดิมคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกันหรือขัดขวางมิให้เป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งนั้น โดยไม่ส่งคำขอรับการประเมินวิทยฐานะ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กับมีคำขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 165 แต่โจทก์ขอแก้ฟ้องยกเลิกคำฟ้องเดิมทั้งหมด โดยข้อความที่แก้ไขใหม่ไม่มีข้อหาดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องในความผิดข้อหานี้
แม้ปัญหาเรื่องการบรรยายฟ้องในความผิดทั้งสองข้อหาข้างต้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพหลังสืบพยาน ศาลพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบพยานได้
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ แต่หากจำเลยให้การรับสารภาพหลังสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดดังกล่าว ศาลย่อมนำข้อเท็จจริงมารับฟังเป็นคุณแก่จำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี พ.ร.บ.ธุรกิจคนต่างด้าว: รัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง ไม่ใช่เอกชน
ตามเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ก็เพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันในการประกอบธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยโดยส่วนรวม บทบัญญัติดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์มุ่งคุ้มครองส่วนที่เป็นส่วนรวม ซึ่งรัฐเป็นผู้มีหน้าที่ในการดูแลให้มีการแข่งขันในการประกอบธุรกิจของเอกชนภายในรัฐ โดยมิได้มุ่งประสงค์ที่จะคุ้มครองเอกชนคนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง รัฐเท่านั้นจึงเป็นผู้เสียหายในความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยซึ่งเป็นคนต่างด้าวประกอบธุรกิจขายที่ดินในสวนปาล์มน้ำมันหรือทำสวนปาล์มน้ำมันอันเป็นธุรกิจต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ตาม ก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง และแม้จะปรากฏด้วยว่าจำเลยประกอบธุรกิจต้องห้ามดังกล่าวในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยจากกรมป่าไม้โดยชอบ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวแก่จำเลยในทางแพ่ง ไม่ถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษอันเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยตามฟ้อง อันจะทำให้โจทก์เป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในความผิดตามบทบัญญัตินี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวเข้าเมือง และการพิพากษาลงโทษจากคำฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบ
พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง มีองค์ประกอบความผิดว่า "ผู้ใดรู้ว่าคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ. นี้..." ดังนั้น การที่จะเป็นความผิดฐานนี้ คนต่างด้าวจะต้องเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ. นี้ และผู้กระทำความผิดต้องรู้เหตุดังกล่าวด้วย แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงไม่อาจแปลความว่า คนต่างด้างดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่หลังคดีถึงที่สุด จำเลยต้องใช้สิทธิคัดค้านในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้น
ตาม ป.อ. มาตรา 3 แบ่งการบังคับใช้กฎหมายได้ 2 กรณีคือ กรณีที่คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณา ศาลมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย หากศาลบังคับใช้แล้ว คู่ความไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านไปยังศาลสูง ส่วนอีกกรณีหนึ่งตามมาตรา 3 (1) กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับใช้เมื่อคดีถึงที่สุดไปแล้ว คดีของจำเลยที่ 1 เข้ากรณีแรก เนื่องจากกฎหมายแก้ไขใหม่ขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่ากฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณ คงใช้กฎหมายขณะกระทำความผิด หากจำเลยที่ 1 ไม่เห็นด้วยก็ต้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ฎีกา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาได้อีก เพราะกรณีตามมาตรา 3 (1) เป็นกรณีที่คดีถึงที่สุดก่อนที่จะมีกฎหมายแก้ไขใหม่ออกบังคับใช้ คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21886/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ฟ้องแย้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. หากไม่ได้รับรองและไม่ได้เสียค่าขึ้นศาล กระบวนการพิจารณาที่ผิดพลาดทำให้ฎีกาไม่รับได้
โจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับตามฟ้องโจทก์และยกฟ้องแย้งจำเลย โดยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาเฉพาะตามฟ้องโจทก์ ส่วนฟ้องแย้งไม่ได้เสียค่าขึ้นศาล แต่อุทธรณ์โจทก์ในส่วนฟ้องแย้งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นได้รับรองให้อุทธรณ์ อุทธรณ์โจทก์ในส่วนฟ้องแย้งจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ในส่วนฟ้องแย้ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ในส่วนฟ้องแย้งรวมมาในอุทธรณ์โจทก์ ถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ในส่วนฟ้องแย้ง เป็นการไม่ชอบ กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับฟ้องแย้งนับแต่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ในส่วนฟ้องแย้งดังกล่าวมาจนกระทั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งรวมมาในฎีกาโจทก์ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่มิชอบ ฎีกาโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21730/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความประมาทเลินเล่อฟ้องล้มละลายผิดคน ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย ต้องรับผิดทางละเมิด
จำเลยที่ 4 เป็นทนายความอันเป็นวิชาชีพด้านกฎหมาย จึงต้องมีความละเอียดรอบคอบและมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เป็นพิเศษ ทั้งการว่าความในศาลย่อมมีผลกระทบต่อคู่ความที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการฟ้องคดีล้มละลาย หากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด บุคคลผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมถูกจำกัดสิทธิต่าง ๆ หลายประการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จำเลยที่ 4 จึงควรใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 4 เพียงตรวจสอบหมายเลขประจำตัวประชาชนของ พ. ลูกหนี้ในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ที่ให้ไว้ต่อธนาคาร ท. ขณะทำสัญญาค้ำประกัน แล้วนำหมายเลขประจำตัวประชาชนดังกล่าวไปขอคัดสำเนาทะเบียนราษฎร ปรากฏว่าบุคคลที่มีหมายเลขประจำตัวประชาชนดังกล่าวคือโจทก์ ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร จำเลยที่ 4 จึงฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลาย ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีชื่อแตกต่างจาก พ. และจำเลยที่ 4 ก็มีข้อมูลของ พ. ตามสำเนาทะเบียนบ้าน และยื่นสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวประกอบคำฟ้องด้วย ดังนี้ หากจำเลยที่ 4 ตรวจสอบสำเนาทะเบียนบ้าน กับแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร จำเลยที่ 4 ก็จะทราบได้โดยง่ายว่า ชื่อและนามสกุล วันเดือนปีเกิด รวมทั้งชื่อบิดามารดาโจทก์กับ พ. นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อันแสดงว่าโจทก์และ พ. เป็นคนละคนกัน แต่จำเลยที่ 4 หาได้กระทำไม่ ไม่สมกับเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านกฎหมายในวิชาชีพทนายความ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เมื่อโจทก์ต้องถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ส่วนที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันว่าโจทก์ไม่ใช่บุคคลที่ถูกฟ้องในคดีหมายเลขแดงที่ 4040/2549 ของศาลล้มละลายกลางโดยให้จำเลยทั้งสี่ออกค่าใช้จ่ายนั้นวัตถุประสงค์ของโจทก์คือต้องการให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันให้บุคคลทราบโดยทั่วไป การที่ศาลอุทธรณ์ระบุจำนวนฉบับและจำนวนวันก็เพื่อให้ชัดเจนและสะดวกแก่การที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จะได้ปฏิบัติ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่เกินคำขอ
ส่วนที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันว่าโจทก์ไม่ใช่บุคคลที่ถูกฟ้องในคดีหมายเลขแดงที่ 4040/2549 ของศาลล้มละลายกลางโดยให้จำเลยทั้งสี่ออกค่าใช้จ่ายนั้นวัตถุประสงค์ของโจทก์คือต้องการให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันให้บุคคลทราบโดยทั่วไป การที่ศาลอุทธรณ์ระบุจำนวนฉบับและจำนวนวันก็เพื่อให้ชัดเจนและสะดวกแก่การที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จะได้ปฏิบัติ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21019/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: ถอนการบังคับคดีเมื่อคำพิพากษาเดิมถูกกลับโดยศาลอุทธรณ์ ผู้ขอบังคับคดีต้องรับผิด
จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้นก็เพื่อมิให้ถูกบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นระหว่างอุทธรณ์ ไม่มีผลเป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตกลงไม่เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินและจำเลยไม่ต้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยมิได้ตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีเป็นอย่างอื่น และศาลอุทธรณ์พิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุด โจทก์จึงไม่สามารถบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้อีก ทำให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไป จึงเป็นกรณีการถอนการบังคับคดีด้วยเหตุคำพิพากษาที่อยู่ในระหว่างบังคับคดีถูกกลับในชั้นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3) เป็นกรณีการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณีตามมาตรา 295 (1) ซึ่งตามมาตรา 169/2 วรรคสี่ ให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นผู้รับผิดค่าฤชาธรรมเนียมการบังคับคดีในชั้นที่สุด หากโจทก์ไม่ชำระเจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถบังคับคดีค่าธรรมเนียมดังกล่าวแก่โจทก์ได้ตามมาตรา 295 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20654/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าบำเหน็จนายหน้าเกินกรอบคำฟ้อง ศาลต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำฟ้องของโจทก์ระบุข้อหาหรือฐานความผิดว่าเป็นการเรียกค่านายหน้า และบรรยายฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาแต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนขายห้องชุดของจำเลย ซึ่งสัญญาระบุว่า ถ้าโจทก์หาคนมาซื้อห้องชุดภายใน 5 เดือน นับแต่วันทำสัญญา จำเลยตกลงจะให้ค่านายหน้าร้อยละ 3 ของราคาที่ซื้อขาย ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกค่าบำเหน็จนายหน้า โดยอาศัยเหตุตามข้อ 2 ของสัญญา ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จแก่โจทก์ก็ต่อเมื่อสัญญาที่จำเลยขายห้องชุดแก่ ม. นั้น ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ได้ชี้ช่องหรือจัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่า จำเลยขายห้องชุดให้แก่ ม. โดยมิได้เกิดจากการชี้ช่องของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 2 ของสัญญาที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์ ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกเอาข้อ 5 ของสัญญาซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยขายห้องชุดได้โดยมิได้เกิดจากการชี้ช่องของโจทก์ขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยตีความว่าเป็นการตกลงค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ทั้ง ๆ ที่ข้อตกลงดังกล่าว มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องมา จึงเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142