พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4389/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องภาษีอากรต้องมีเหตุผลตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาตรา 86/4 (2) แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติว่า ใบกำกับภาษีต้องมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี... แต่ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์นำมาคำนวณภาษีขายโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ออก แต่ผู้ขายสินค้าให้แก่โจทก์เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีดังกล่าว กรณีของโจทก์จึงไม่ใช่กรณีตามมาตรา 86/4 (2) แต่เป็นกรณีตามมาตรา 86/4 (3) คือ รายการชื่อที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าซึ่งตามบทบัญญัติข้างต้นระบุแต่เพียงว่าใบกำกับภาษีต้องมีชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าเท่านั้น เมื่อโจทก์มีที่อยู่จริงตรงตามที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์นำมาคำนวณหักภาษีขาย แม้จะไม่ตรงกับที่อยู่ตามที่จดทะเบียนตั้งบริษัทและที่อยู่ตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในครั้งแรกก่อนที่โจทก์จะขอจดทะเบียนแก้ไข ใบกำกับภาษีดังกล่าวย่อมชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 86/4 ไม่ถือว่าไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 86/4 (2) โจทก์จึงสามารถนำใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวมาคำนวณหักภาษีขายในเดือนนั้นได้
หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่างก็เป็นคำสั่งทางปกครองทั้งสิ้น เพราะเป็นคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพทางสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ซึ่งจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 กล่าวคือ จะต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย ทั้งเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ เหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิง และเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ แม้มาตรา 20 แห่ง ป.รัษฎากรซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการแจ้งประเมินจะไม่ได้ระบุวิธีการแจ้งว่าจะต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่ และมิได้บังคับว่าจะต้องให้เหตุผลก็ตาม ส่วนการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น มาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือและมิได้บังคับว่าจะต้องให้เหตุผลเช่นเดียวกันนั้นก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินโดยทำเป็นหนังสือไปยังผู้เสียภาษีอากรแล้ว หนังสือแจ้งการประเมินซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ และแม้ว่าการแจ้งการประเมินและการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะได้กระทำตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ป.รัษฎากรเป็นการเฉพาะก็ตาม แต่ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ กำหนดว่า วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายนี้ เมื่อ ป.รัษฏากร มาตรา 20 และ 34 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแต่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ แทน หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์พิพาทจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ไม่อาจใช้บังคับแก่โจทก์ได้
หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่างก็เป็นคำสั่งทางปกครองทั้งสิ้น เพราะเป็นคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพทางสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ซึ่งจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 กล่าวคือ จะต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย ทั้งเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ เหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิง และเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ แม้มาตรา 20 แห่ง ป.รัษฎากรซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการแจ้งประเมินจะไม่ได้ระบุวิธีการแจ้งว่าจะต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่ และมิได้บังคับว่าจะต้องให้เหตุผลก็ตาม ส่วนการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น มาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือและมิได้บังคับว่าจะต้องให้เหตุผลเช่นเดียวกันนั้นก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินโดยทำเป็นหนังสือไปยังผู้เสียภาษีอากรแล้ว หนังสือแจ้งการประเมินซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ และแม้ว่าการแจ้งการประเมินและการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะได้กระทำตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ป.รัษฎากรเป็นการเฉพาะก็ตาม แต่ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ กำหนดว่า วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายนี้ เมื่อ ป.รัษฏากร มาตรา 20 และ 34 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแต่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ แทน หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์พิพาทจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ไม่อาจใช้บังคับแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4389/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบกำกับภาษีซื้อที่อยู่ไม่ตรงจดทะเบียน & คำสั่งทางปกครองต้องมีเหตุผล
ใบกำกับภาษีซื้อซึ่งมีข้อความครบถ้วนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/4 ระบุที่อยู่ของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าตามที่อยู่ซึ่งเป็นสถานประกอบการจริง แม้ไม่ตรงกับที่ที่โจทก์จดทะเบียนนิติบุคคลและที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญอันจะต้องห้ามไม่ให้นำมาหักจากภาษีขายตามมาตรา 82/5 (2)
หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อทำเป็นหนังสือต้องทำให้ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 คือต้องให้เหตุผลไว้ด้วยทั้งเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ เหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิงและเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ แม้การแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และ 34 มิได้ระบุว่าต้องให้เหตุผล แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แทน คือต้องให้มีเหตุผลไว้ด้วย เมื่อหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ได้ให้เหตุผลไว้ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37
หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อทำเป็นหนังสือต้องทำให้ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 คือต้องให้เหตุผลไว้ด้วยทั้งเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ เหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิงและเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ แม้การแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และ 34 มิได้ระบุว่าต้องให้เหตุผล แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แทน คือต้องให้มีเหตุผลไว้ด้วย เมื่อหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ได้ให้เหตุผลไว้ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3027/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: โจทก์มิใช่ตัวแทนของบริษัทต่างประเทศ
โจทก์เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย โจทก์สั่งสินค้าจากบริษัท อ. จำกัด ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงค์โปร์ การสั่งซื้อสินค้าและจำหน่ายสินค้าของโจทก์แบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรก สินค้า อะไหล่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ขนาดเล็ก โจทก์จะสั่งสินค้าเข้ามาในนามโจทก์ เมื่อมีลูกค้ามาซื้อโจทก์จะขายและส่งมอบสินค้าไป ประเภทที่สอง เป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าซึ่งมีขนาดใหญ่ โจทก์จะไม่สั่งซื้อสินค้ามาเก็บ เมื่อมีลูกค้ามาสั่งซื้อสินค้าโจทก์จะทำสัญญาซื้อขายในนามโจทก์ ออกเอกสารว่าโจทก์เป็นผู้ขาย ลูกค้าเป็นผู้ซื้อระบุรายละเอียดให้ลูกค้าเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ส่งเงินราคาสินค้าไปให้แก่บริษัท อ. จำกัด ที่อยู่ในต่างประเทศโดยตรง สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การรับประกันของโจทก์ต่อลูกค้าระบุว่าโจทก์มีความรับผิดในฐานะผู้ขายสินค้า หลังจากนั้นผู้ขายจะส่งสินค้าให้แก่ ผู้ซื้อโดยตรง ในการทำสัญญาซื้อขายโจทก์จะเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าที่ขายเองมีอิสระที่จะขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อทางใดก็ได้ หากสินค้าบกพร่องโจทก์มีหน้าที่รับผิดต่อลูกค้าโดยตรง เงินทุนที่ใช้ประกอบกิจการเป็นของโจทก์ หากมีกำไรหรือขาดทุนโจทก์รับภาระการขาดทุนหรือผลกำไรแต่ผู้เดียว ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจึงอยู่ในรูปกำไรมิใช่บำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า โจทก์มิได้เป็นลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้กับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีแทนบริษัท อ. จำกัด ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การใช้อำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4) ต้องพิสูจน์ราคาต่ำกว่าตลาด และการตรวจสอบราคาขายต้องถูกต้อง
การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะใช้อำนาจ ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (4) ประเมินค่าตอบแทนใหม่ในการขายสินค้าจะต้องได้ความก่อนว่าค่าตอบแทนในการโอนทรัพย์สินนั้นต่ำกว่าราคาในท้องตลาดโดยไม่มีเหตุอันควรหรือไม่ เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเลยว่าเป็นการขายราคาต่ำโดยไม่มีเหตุอันควร แต่นำสืบเพียงว่าโจทก์ขายสินค้าในราคาไม่แน่นอน บางครั้งราคาสูง บางครั้งราคาต่ำเท่านั้น การที่โจทก์ขายสินค้าประเภทเดียวกัน ราคาต่างกันไม่ได้หมายความว่าโจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาในท้องตลาด จำเลยจึงไม่สามารถใช้อำนาจประเมินค่าตอบแทนใหม่ได้
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าหลายชนิดโดยเปิดเป็นร้านค้าขายให้แก่บุคคลทั่วไปเป็นร้านค้าปลีกเข้าลักษณะร้านค้าปลีกตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) โจทก์จึงสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในการขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปได้ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 86/6 วรรคสอง และใบกำกับภาษีอย่างย่อนี้โจทก์ไม่ต้องแสดงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนในการขายไว้ในใบกำกับภาษี ตามมาตรา 79 วรรคสาม (1)
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าหลายชนิดโดยเปิดเป็นร้านค้าขายให้แก่บุคคลทั่วไปเป็นร้านค้าปลีกเข้าลักษณะร้านค้าปลีกตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) โจทก์จึงสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในการขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปได้ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 86/6 วรรคสอง และใบกำกับภาษีอย่างย่อนี้โจทก์ไม่ต้องแสดงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนในการขายไว้ในใบกำกับภาษี ตามมาตรา 79 วรรคสาม (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ: การครอบครองแทนโจทก์และผลของการโอนที่ดินก่อนครบกำหนด
การครอบครองที่ดินของ ส. เป็นการครอบครองโดยได้รับอนุญาตจากสหกรณ์นิคมที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของสหกรณ์นิคม หากมิได้ปฏิบัติตาม ส. อาจถูกสั่งให้ออกจากนิคมสหกรณ์ได้ แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่ารัฐหรือสหกรณ์ผู้ได้รับมอบอำนาจทางกฎหมายให้จัดที่ดินให้แก่สมาชิก มิได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่สมาชิกแต่อย่างใด การครอบครองของ ส. จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์และไม่สามารถขายหรือส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ใดได้ การที่ ส. ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์มานั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารสิทธิที่แสดงว่า ส. ได้ทำประโยชน์ในที่ดินและเป็นสมาชิกสหกรณ์มาเกินห้าปี และสามารถนำเอกสารนี้ไปออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองทำประโยชน์ได้เท่านั้น มิใช่เป็นเอกสารสิทธิที่แสดงถึงการครอบครอง ดังนั้น ถึงแม้ผู้ร้องจะได้รับมอบการครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินก็เป็นเพียงเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ ส. เท่านั้น เมื่อ ส. ไม่มีสิทธิครอบครองผู้ร้องก็ไม่ได้สิทธิครอบครองด้วย และเมื่อภายหลัง ส. ถึงแก่กรรมจำเลยได้เข้าสวมสิทธิของ ส. นำหนังสือแสดงการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท และได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายให้แก่ผู้ร้องไว้ก็ตาม แต่เมื่อสัญญาซื้อขายได้กระทำลงยังไม่พ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ มาตรา 12 จึงเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่อาจใช้บังคับได้ ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10330/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องคีบตุ๊กตาเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากมีลักษณะเป็นเครื่องเล่นเกมที่ทำให้เกิดผลแพ้ชนะได้
ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 122) พ.ศ. 2540 กำหนดสินค้าต้องห้ามคือ เครื่องเล่นเกม ซึ่งใช้เครื่องกล พลังไฟฟ้า พลังแสงสว่าง หรือพลังอื่นใด ทั้งที่เป็นเครื่องครบชุดสมบูรณ์ หรือมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นเครื่องครบชุดสมบูรณ์หรือแต่บางส่วน ตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทย่อย 9504.30 , 9504.901 และ 9504.909 ของประเภท 95.04 ซึ่งโดยสภาพจะใช้เล่นอันจะทำให้แพ้ชนะกันได้ไม่ว่าด้วยการนับแต้ม หรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ก็ตาม เครื่องคีบตุ๊กตาของโจทก์เป็นสินค้าในพิกัดที่ 95.04 เมื่อมีลักษณะการทำงานให้ผู้เล่นหยอดเหรียญ แล้วกดปุ่มให้เครื่องคนตุ๊กตา จากนั้นผู้เล่นจะยกตัวคีบตุ๊กตาไปคีบตุ๊กตา หากคีบได้จะได้ตุ๊กตา หากคีบไม่ได้จะเสียเงิน 10 บาทให้เจ้าของตู้ เครื่องเล่นของโจทก์จึงเพื่อประสงค์จะเล่นให้ได้ตุ๊กตาในตู้เท่านั้น การเล่นเพิ่มให้ได้ตุ๊กตาจึงเป็นการเล่นเพียงให้เกิดผลแพ้ชนะได้ ถือได้ว่าเจ้าของเครื่องเป็นผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่ง เครื่องคีบตุ๊กตาจึงเป็นของต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'รถ' ทางกฎหมาย: รถไถนาแบบเดินตามมีกระบะพ่วงเข้าข่ายรถใช้งานเกษตรกรรมตามกฎหมายหรือไม่
ตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ให้ความหมายคำว่า รถ ไว้ว่า หมายความว่า รถยนต์? และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2525) ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกตามความใน พ.ร.บ. รถยนต์ ฯ ข้อ 1 วรรคหนึ่ง ว่า ให้รถใช้งานเกษตรกรรมเป็นรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และวรรคสองความว่า รถใช้งานเกษตรกรรมตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า รถที่ผลิตหรือประกอบขึ้นเพื่อใช้งานเกษตรกรรมโดยใช้เครื่องยนต์ซึ่งมิได้ใช้สำหรับรถยนต์โดยเฉพาะมาติดตั้ง ส่วนข้อ 2 มีความว่า รถใช้งานเกษตรกรรมต้องเป็นรถที่มีสามล้อ หรือสี่ล้อ? กว้างไม่เกิน 2 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร? เมื่อรถไถนาแบบเดินตามมีกระบะพ่วง มีล้อ 4 ล้อ คือ 2 ล้อหน้าเป็นส่วนตัวรถไถนาแบบเดินตาม ส่วน 2 ล้อหลัง เป็นส่วนกระบะที่ดัดแปลงมาพ่วงต่อใช้เป็นส่วนให้คนนั่งหรือบรรทุกพืชผักผลไม้ได้ โดยแล่นไปโดยอาศัยเครื่องยนต์ของรถไถนาแบบเดินตามส่วนหน้านั้นเอง ไม่ได้อาศัยเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์โดยเฉพาะมาติดตั้ง ดังนั้น จึงครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2525) รถไถนาแบบเดินตามมีกระบะพ่วงจึงเป็นรถใช้งานเกษตรกรรมและเป็นรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2525) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน: จำเลยไม่มีส่วนร่วมในการโฆษณาชักชวนโดยตรง ทำให้ไม่มีความผิด
ข้อเท็จจริงไม่ได้ความจากผู้เสียหายว่า จำเลยทั้งสี่เป็นผู้ร่วมกันโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนว่าในการกู้ยืมเงินของสมาชิกนั้น บริษัท ค. จะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างของบริษัท ค. สามีของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นชาวต่างชาติใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ค. แทน ก่อนจำเลยที่ 1 จะถอนชื่อออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท ค. จำเลยที่ 1 ไม่ทราบการดำเนินการของบริษัท ค. จึงฟังได้ว่า การลงทุนของผู้เสียหายมิได้เกิดจากการโฆษณาหรือประกาศชักชวนของจำเลยทั้งสี่โดยตรง จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4 , 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายยาเสพติดกระทบต่อการกำหนดโทษและการพิจารณาความผิดฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครองและจำหน่าย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10 เม็ด และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้แก่สายลับไปทั้งหมด ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมจำเลยพบว่ายังมีเฮโรอีนอยู่ในครอบครองที่ตัวจำเลยอีกจำนวน 1 หลอด แสดงว่าจำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนดังกล่าวไว้ในลักษณะต่างกัน ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาครอบครองยาเสพติดต่างกัน ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10 เม็ด และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้แก่สายลับไปทั้งหมด ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมจำเลยพบว่ายังมีเฮโรอีนอยู่ในครอบครองที่ตัวจำเลยอีกจำนวน 1 หลอดนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า จำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนดังกล่าวไว้ในลักษณะต่างกัน ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน