พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คปลอมแก้ตัวยาแก้ตัวยาก: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามจำนวนเดิม แม้การแก้ไขไม่ประจักษ์
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 3,626 บาทให้แก่ ว.ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินเป็น 903,626 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม การแก้ไขดังกล่าวหากไม่ตรวจโดยละเอียดก็ยากที่จะสังเกตได้ ดังนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นถือว่า เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1007 วรรคสอง
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นมีสิทธิ)ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว.เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นมีสิทธิ)ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว.เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คที่ถูกแก้ไขและเรียกเก็บเงินโดยไม่ตรวจสอบลายมือชื่อ
ธนาคารโจทก์รับเช็คจากลูกค้า ได้ตีตราขีดคร่อมเฉพาะแก่ธนาคารโจทก์ เช็คหาย มีผู้นำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีธนาคารจำเลยเรียกเก็บเงินโดยขีดฆ่าชื่อธนาคารโจทก์ในขีดคร่อมเฉพาะออก มีตราธนาคารโจทก์รับรองการแก้ไข แต่ลายมือชื่อบุคคลผู้รับรองการแก้ไขไม่มีในตัวอย่างผู้มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ถือว่าเป็นลายมือชื่อปลอม การแก้ไขทำโดยโจทก์ไม่ได้ยินยอม ธนาคารจำเลยเรียกเก็บเงินตามเช็คแล้วจ่ายเงินแก่เจ้าของบัญชีไป คนของจำเลยไม่ตรวจลายมือชื่อที่รับรองการแก้ไข เป็นประมาทเลินเล่อ จำเลยต้องใช้เงินแก่ธนาคารโจทก์ซึ่งจ่ายเงินแก่ลูกค้าของโจทก์ไปตามจำนวนในเช็ค
ข้อที่จำเลยต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลมิได้กำหนดเป็นประเด็นในการชี้สองสถาน ถือว่าไม่มีประเด็นที่จะฎีกา
ข้อที่จำเลยต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลมิได้กำหนดเป็นประเด็นในการชี้สองสถาน ถือว่าไม่มีประเด็นที่จะฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864-2865/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามเช็คที่แก้ไข & ตั๋วสัญญาใช้เงิน การหักส่วนลดค่าธรรมเนียม
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามเช็ค ปรากฏว่าเช็คดังกล่าวมีการแก้ไขจำนวนเงินจาก 10,000 บาทเป็น 110,000 บาท โดยฟังไม่ได้ว่าลูกหนี้เป็นผู้แก้ไข แต่ลูกหนี้ยอมรับว่าตนเป็นหนี้ค่าผ้าเจ้าหนี้อยู่ 10,000 บาท และได้ออกเช็คฉบับดังกล่าวให้เจ้าหนี้ไว้จริง ดังนี้ แม้เช็คฉบับดังกล่าวจะเสียไปเพราะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่อีก 10,000 บาทเช่นนี้ เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิ์ได้รับชำระหนี้ในเงินจำนวนดังกล่าว
การที่ลูกหนี้ได้ยืมเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ไว้จำนวนหนึ่ง โดยสัญญาจะจ่ายเป็นงวด ๆ ทุกเดือน ถ้าผิดนัดงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และจะยอมชำระดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน แต่ลูกหนี้ได้รับเงินไปไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพราะเจ้าหนี้ได้หักเป็นค่าธรรมเนียมส่วนลดเสียก่อนร้อยละ 13 นั้น เป็นผลประโยชน์ที่ลูกหนี้ยินยอมมอบให้แก่เจ้าหนี้เพื่อตอบแทนในการที่เจ้าหนี้ยอมให้กู้หาใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไว้ก่อนไม่ และการหักเงินผลประโยชน์จำนวนมีไว้ก่อนหรือมอบเงินเต็มจำนวนที่กู้ยืมให้ แล้วลูกหนี้จึงมอบกลับคืนเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในภายหลัง ผลก็เป็นอย่างเดียวกัน
การที่ลูกหนี้ได้ยืมเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ไว้จำนวนหนึ่ง โดยสัญญาจะจ่ายเป็นงวด ๆ ทุกเดือน ถ้าผิดนัดงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และจะยอมชำระดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน แต่ลูกหนี้ได้รับเงินไปไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพราะเจ้าหนี้ได้หักเป็นค่าธรรมเนียมส่วนลดเสียก่อนร้อยละ 13 นั้น เป็นผลประโยชน์ที่ลูกหนี้ยินยอมมอบให้แก่เจ้าหนี้เพื่อตอบแทนในการที่เจ้าหนี้ยอมให้กู้หาใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไว้ก่อนไม่ และการหักเงินผลประโยชน์จำนวนมีไว้ก่อนหรือมอบเงินเต็มจำนวนที่กู้ยืมให้ แล้วลูกหนี้จึงมอบกลับคืนเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในภายหลัง ผลก็เป็นอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864-2865/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามเช็คแก้ไขและตั๋วสัญญาใช้เงิน หักส่วนลดค่าธรรมเนียม
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามเช็ค ปรากฏว่าเช็คดังกล่าวมีการแก้ไขจำนวนเงินจาก 10,000 บาทเป็น 110,000 บาท โดยฟังไม่ได้ว่าลูกหนี้เป็นผู้แก้ไข แต่ลูกหนี้ยอมรับว่าตนเป็นหนี้ค่าผ้าเจ้าหนี้อยู่ 10,000 บาท และได้ออกเช็คฉบับดังกล่าวให้เจ้าหนี้ไว้จริง ดังนี้ แม้เช็คฉบับดังกล่าวจะเสียไปเพราะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่อีก 10,000 บาทเช่นนี้ เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในเงินจำนวนดังกล่าว
การที่ลูกหนี้ได้ยืมเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ไว้จำนวนหนึ่ง โดยสัญญาว่าจะจ่ายเป็นงวดๆ ทุกเดือน ถ้าผิดนัดงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และจะยอมชำระดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน แต่ลูกหนี้ได้รับเงินไปไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพราะเจ้าหนี้ได้หักเป็นค่าธรรมเนียมส่วนลดเสียก่อนร้อยละ 13 นั้น เป็นผลประโยชน์ที่ลูกหนี้ยินยอมมอบให้แก่เจ้าหนี้เพื่อตอบแทนในการที่เจ้าหนี้ยอมให้กู้ หาใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไว้ก่อนไม่ และการหักเงินผลประโยชน์จำนวนนี้ไว้ก่อน หรือมอบเงินเต็มจำนวนที่กู้ยืมให้ แล้วลูกหนี้จึงมอบกลับคืนเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในภายหลังผลก็เป็นอย่างเดียวกัน
การที่ลูกหนี้ได้ยืมเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ไว้จำนวนหนึ่ง โดยสัญญาว่าจะจ่ายเป็นงวดๆ ทุกเดือน ถ้าผิดนัดงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และจะยอมชำระดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน แต่ลูกหนี้ได้รับเงินไปไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพราะเจ้าหนี้ได้หักเป็นค่าธรรมเนียมส่วนลดเสียก่อนร้อยละ 13 นั้น เป็นผลประโยชน์ที่ลูกหนี้ยินยอมมอบให้แก่เจ้าหนี้เพื่อตอบแทนในการที่เจ้าหนี้ยอมให้กู้ หาใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไว้ก่อนไม่ และการหักเงินผลประโยชน์จำนวนนี้ไว้ก่อน หรือมอบเงินเต็มจำนวนที่กู้ยืมให้ แล้วลูกหนี้จึงมอบกลับคืนเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในภายหลังผลก็เป็นอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทเสียผลประโยชน์จากการแก้ไขสลักหลัง และธนาคารประมาทเลินเล่อเรียกเก็บเงิน
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมระบุจ่ายให้บริษัท พ.บริษัทพ. สลักหลังลอยให้โจทก์ โจทก์ใช้ตรายางประทับด้านหลังเช็คมีข้อความว่าเพื่อฝากเข้าบัญชีของโจทก์เท่านั้น แล้วลงชื่อมอบให้พนักงานของโจทก์ไปฝากเข้าบัญชี พนักงานของโจทก์ได้ลบข้อความที่โจทก์ใช้ตรายางประทับ ทำให้การสลักหลังของโจทก์กลายสภาพเป็นสลักหลังลอย แล้วยักยอกเช็คนั้นไปมอบให้ อ.แล้วอ. นำเช็คไปเข้าบัญชีธนาคารจำเลยเพื่อให้เรียกเก็บเงิน จำเลยเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นแล้วปรากฏว่าการลบถ้อยคำสลักหลังของโจทก์มีร่องรอยที่เห็นได้ชัดเจน เป็นการแก้ไขในส่วนสำคัญ เช็คพิพาทย่อมเสียไปตามมาตรา 1007 อ. จะถือประโยชน์จากเช็คพิพาทไม่ได้ธนาคารจำเลยรับเงินตามเช็คไว้เพื่อ อ. โดยความประมาทเลินเล่อ ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 1000 จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเช็คพิพาทอันแท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงวันเดือนปีในเช็คโดยผู้ทรงหลังผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต ไม่ถือเป็นการปลอมแปลงเอกสาร หากทำโดยสุจริตและเป็นไปตามเจตนาเดิม
โจทก์ลงวันเดือนปีในเช็คตามเจตนาของผู้สั่งจ่ายที่ขอผัดไม่เป็นการปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007เพราะมิใช่แก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่ลงในเช็คหากแต่เป็นการลงวันเดือนปีที่ถูกต้องแท้จริงโดยสุจริต ซึ่งเป็นอำนาจของโจทก์ผู้ทรงที่จะกระทำได้ตามมาตรา 910 วรรคห้า ไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นทายาทและผู้รับมรดกของย. ผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทเมื่อใด และเมื่อโจทก์ทราบการตายของ ย.เมื่อต้นมิถุนายน 2514 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ 9 พฤษภาคม 2515คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นทายาทและผู้รับมรดกของย. ผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทเมื่อใด และเมื่อโจทก์ทราบการตายของ ย.เมื่อต้นมิถุนายน 2514 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ 9 พฤษภาคม 2515คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงวันเดือนปีเช็คโดยผู้ทรงหลังผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต ไม่ถือเป็นการปลอมแปลงเอกสาร หากเป็นการลงวันเดือนปีที่ถูกต้องตามเจตนาเดิม
โจทก์ลงวันเดือนปีในเช็คตามเจตนาของผู้สั่งจ่ายที่ขอผัดไม่เป็นการปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1007เพราะมิใช่แก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่ลงในเช็ค หากแต่เป็นการลงวันเดือนปีที่ถูกต้องแท้จริงโดยสุจริต ซึ่งเป็นอำนาจของโจทก์ผู้ทรงที่จะกระทำได้ตามมาตรา 910 วรรคห้า ไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นทายาทและผู้รับมรดกของย. ผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทเมื่อใด และเมื่อโจทก์ทราบการตายของ ย. เมื่อต้นมิถุนายน 2514 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ 9 พฤษภาคม 2515 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นทายาทและผู้รับมรดกของย. ผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทเมื่อใด และเมื่อโจทก์ทราบการตายของ ย. เมื่อต้นมิถุนายน 2514 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ 9 พฤษภาคม 2515 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินโดยผู้รับเช็ค ถือเป็นเช็คเสีย ผู้ออกเช็คไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงิน 33,000 บาท ให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ แต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินโดยแจ้งว่าเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่าย ทั้งนี้ โดยจำเลยมีเจตนาทุจริต ออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น และโดยออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่จำเลยมีอยู่ในบัญชีอันจะพึงใช้ได้ในขณะที่ออกเช็ค ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3, 4 ศาลพิจารณาฟังข้อเท็จจริงว่าเช็คฉบับที่โจทก์ฟ้องนั้นได้ถูกเปลี่ยนแก้จำนวนเงินจาก 3,000 บาท มาเป็น 33,000 บาท และการเปลี่ยนแก้จำนวนเงินในเช็คนี้น่าเชื่อว่าเกิดจากผู้เสียหายเป็นผู้ทำขึ้นเพื่อฉ้อโกงจำเลย ดังนี้ เช็คที่โจทก์ฟ้องนั้นย่อมเป็นเช็คที่เสีย ตามนัยแห่งมาตรา 1007 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยหาต้องรับผิดต่อผู้เสียหายตามเช็คนั้นไม่ และจำเลยย่อมไม่มีความผิดดังที่โจทก์ฟ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารจ่ายเช็คที่ถูกแก้ไข สุจริต-ประมาทเลินเล่อ ไม่ต้องรับผิด
เช็คที่ไม่ปรากฎว่ามีรอยขีดคร่อมอันได้ลบล้างหรือแก้ไยเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเป็นประการอื่น ถ้าธนาคารใช้เงินไปโดยสุจริตและปราศจากการประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ระหว่างธนาคารผู้จ่ายเงินกับผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นมีความผูกพันกันตามสัญญาที่เคยค้าอาศัยในการสั่งจ่ายเงินอยู่ด้วย ฉะนั้นเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน 60,000 บาท แม้จะมีผู้แก้จำนวนเงินเป็น 50,000 บาท และธนาคารจ่ายไปตามนั้นก็ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำสั่ง
เช็ค+ลงวันที่ ๆ ออกเช็คแต่เช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าก็หาเสียไปไม่
ธนาคารย่อมจะต้องใช้เงินในทันทีที่มีผู้นำเช็คมาเบิกเงินเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ม.991,992, ฉะนั้นเมื่อไม่มีอะไรแสดงให้เห็นว่าเช็คนั้นลงวันที่ล่วงหน้าแล้วมีผู้แก้วันที่ร่นเข้ามาและนำมาเบิกเงินธนาคารได้จ่ายเงินไปโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ประเด็นข้อสุจริตหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่โจทก์ผู้กล่าวอ้างต้องนำสืบ
ระหว่างธนาคารผู้จ่ายเงินกับผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นมีความผูกพันกันตามสัญญาที่เคยค้าอาศัยในการสั่งจ่ายเงินอยู่ด้วย ฉะนั้นเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน 60,000 บาท แม้จะมีผู้แก้จำนวนเงินเป็น 50,000 บาท และธนาคารจ่ายไปตามนั้นก็ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำสั่ง
เช็ค+ลงวันที่ ๆ ออกเช็คแต่เช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าก็หาเสียไปไม่
ธนาคารย่อมจะต้องใช้เงินในทันทีที่มีผู้นำเช็คมาเบิกเงินเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ม.991,992, ฉะนั้นเมื่อไม่มีอะไรแสดงให้เห็นว่าเช็คนั้นลงวันที่ล่วงหน้าแล้วมีผู้แก้วันที่ร่นเข้ามาและนำมาเบิกเงินธนาคารได้จ่ายเงินไปโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ประเด็นข้อสุจริตหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่โจทก์ผู้กล่าวอ้างต้องนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารจ่ายเช็คที่มีการแก้ไข หากสุจริตและไม่มีประมาทเลินเล่อ ไม่ต้องรับผิด
เช็คที่ไม่ปรากฏว่ามีรอยขีดคร่อมอันได้ลบล้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเป็นประการอื่น ถ้าธนาคารใช้เงินไปโดยสุจริตและปราศจากการประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ระหว่างธนาคารผู้จ่ายเงินกับผู้สั่งจ่าย เช็คนั้นมีความผูกพันกันตามสัญญาที่เคยค้าอาศัยในการสั่งจ่ายเงินอยู่ด้วย ฉะนั้นเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน 60,000 บาท แม้จะมีผู้แก้จำนวนเงินเป็น 50,000 บาท และธนาคารจ่ายไปตามนั้นก็ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำสั่ง
เช็คต้องลงวันที่ ที่ออกเช็ค แต่เช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าก็หาเสียไปไม่
ธนาคารย่อมจะต้องใช้เงินในทันทีที่มีผู้นำเช็คมาเบิกเงินเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 991,992 ฉะนั้นเมื่อไม่มีอะไรแสดงให้เห็นว่าเช็คนั้นลงวันที่ล่วงหน้าแล้วมีผู้แก้วันที่ร่นเข้ามาและนำมาเบิกเงินธนาคารได้จ่ายเงินไปโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ประเด็นข้อสุจริตหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่โจทก์ผู้กล่าวอ้างต้องนำสืบ
ระหว่างธนาคารผู้จ่ายเงินกับผู้สั่งจ่าย เช็คนั้นมีความผูกพันกันตามสัญญาที่เคยค้าอาศัยในการสั่งจ่ายเงินอยู่ด้วย ฉะนั้นเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน 60,000 บาท แม้จะมีผู้แก้จำนวนเงินเป็น 50,000 บาท และธนาคารจ่ายไปตามนั้นก็ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำสั่ง
เช็คต้องลงวันที่ ที่ออกเช็ค แต่เช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าก็หาเสียไปไม่
ธนาคารย่อมจะต้องใช้เงินในทันทีที่มีผู้นำเช็คมาเบิกเงินเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 991,992 ฉะนั้นเมื่อไม่มีอะไรแสดงให้เห็นว่าเช็คนั้นลงวันที่ล่วงหน้าแล้วมีผู้แก้วันที่ร่นเข้ามาและนำมาเบิกเงินธนาคารได้จ่ายเงินไปโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ประเด็นข้อสุจริตหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่โจทก์ผู้กล่าวอ้างต้องนำสืบ