พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5437/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเสนอราคาในคดีล้มละลาย: การบังคับใช้สิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองในการเข้าเสนอราคาและการเพิกถอนการขายทอดตลาด
ประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ระบุเงื่อนไขการเข้าเสนอราคาให้ชัดแจ้งว่า ผู้เข้าเสนอราคาที่เป็นผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนนั้นต้องเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือที่ดินที่ขายตามคำชี้ขาดของศาลดังเช่นที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 79 ทั้งในประกาศขายทอดตลาดมีข้อความระบุไว้ว่า "ที่ดินที่จะขายติดจำนองบริษัทบริหารสินทรัพย์ อ. เจ้าหนี้ตามมาตรา 95" เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองและเป็นผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนตามประกาศขายทอดตลาดดังกล่าว ที่ผู้ร้องมิได้วางหลักประกันก่อนเข้าเสนอราคาเนื่องจากเห็นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนจึงชอบแล้ว การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองเข้าสู้ราคาโดยอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ผู้สิทธิหักส่วนได้ใช้แทน ย่อมทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีไม่มีสิทธิเต็มที่ในการเข้าสู้ราคาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 331 วรรคสาม การขายทอดตลาดของผู้คัดค้านที่ 1 จึงฝ่าฝืนกฎหมาย ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญache่าซื้อโดยปริยาย ค่าเสื่อมราคา รถยนต์คืนสู่สภาพเดิม
โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนในขณะที่สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งคัดค้านที่โจทก์กลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อ พฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 14 จะระบุว่า "...หรือสัญญา สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยกรณีอื่นใดก็ตาม และเจ้าของได้กลับเข้าครอบครองรถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว..." แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย อันเป็นผลให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาต่อกันอีก โจทก์จึงไม่อาจอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเรียกร้องค่าขาดราคาจากจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย ค่าเสื่อมราคา รถยนต์คืนสู่สภาพเดิม
โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนในขณะที่สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งคัดค้านที่โจทก์กลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อ พฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 14 จะระบุว่า "...หรือสัญญา สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยกรณีอื่นใดก็ตาม และเจ้าของได้กลับเข้าครอบครองรถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว..." แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย อันเป็นผลให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาต่อกันอีก โจทก์จึงไม่อาจอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเรียกร้องค่าขาดราคาจากจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย แต่กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงผลของการเลิกสัญญาที่จะยกมาปรับคดีได้ จึงต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเทียบเคียง ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติถึงการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญา อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งเฉพาะการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์นั้น เนื่องจากรถยนต์เป็นทรัพย์ที่เสื่อมสภาพและเสื่อมราคาไปตามกาลเวลาและการใช้งาน การกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อของโจทก์ในกรณีเช่นนี้เห็นได้อยู่ในตัวว่าไม่อาจทำให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้เหมือนดังเช่นขณะทำสัญญา ดังนั้น เพื่อให้โจทก็ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ใกล้เคียงกับขณะทำสัญญาเท่าที่พอจะเป็นไปได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย แต่กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงผลของการเลิกสัญญาที่จะยกมาปรับคดีได้ จึงต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเทียบเคียง ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติถึงการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญา อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งเฉพาะการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์นั้น เนื่องจากรถยนต์เป็นทรัพย์ที่เสื่อมสภาพและเสื่อมราคาไปตามกาลเวลาและการใช้งาน การกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อของโจทก์ในกรณีเช่นนี้เห็นได้อยู่ในตัวว่าไม่อาจทำให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้เหมือนดังเช่นขณะทำสัญญา ดังนั้น เพื่อให้โจทก็ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ใกล้เคียงกับขณะทำสัญญาเท่าที่พอจะเป็นไปได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3440/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ และสิทธิของเจ้าหนี้ในการโต้แย้ง
การที่ผู้คัดค้านทำรายงานความเห็นและมีหมายแจ้งให้โจทก์คืนเงิน 2,500,000 บาท เข้ากองทรัพย์สินในคดีล้มละลายเป็นการกระทำในขั้นตอนของการจัดการกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นอำนาจของผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 ซึ่งตามรายงานความเห็นและหมายแจ้งของผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นเพียงการแจ้งข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมายให้โจทก์ทราบ แม้ในตอนท้ายจะมีข้อความขอให้โจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับหมายนี้ ก็มิได้มีลักษณะเป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม รายงานความเห็นและหมายแจ้งของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงหามีสภาพบังคับแก่โจทก์ไม่ แม้ต่อมาหากปรากฏว่าผู้คัดค้านดำเนินคดีแก่โจทก์ ก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวเข้ากองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เพราะศาลอาจมีคำวินิจฉัยหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ลำพังรายงานความเห็นและหมายแจ้งของผู้คัดค้านที่แจ้งไปยังโจทก์ดังกล่าว จึงยังไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามมาตรา 146 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนรายงานความเห็นของผู้คัดค้านที่ให้เรียกเงิน 2,500,000 บาท คืนจากโจทก์เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้เงินโดยปกปิดสถานะลูกหนี้ล้มละลาย ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 บัญญัติว่า "ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จนถึงเวลาที่พ้นจากล้มละลาย ลูกหนี้คนใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ (1) รับสินเชื่อจากผู้อื่นมีจำนวนตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไป โดยมิได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย" โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3.1 ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลย จำเลยทราบวันนัดฟังคำสั่งโดยชอบ แต่ไม่ไปฟังคำสั่งศาล จำเลยกลับยื่นขอกู้เงินโจทก์จำนวน 3,165,000 บาท โดยจำเลยตั้งใจจะทุจริตฉ้อโกงโจทก์โดยปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้ทราบว่า จำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลนัดฟังคำสั่งและศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดจำเลยแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 ซึ่งโจทก์ได้ตรวจสอบสถานะของจำเลยแล้วไม่พบว่าเป็นบุคคลล้มละลายและเข้าเงื่อนไขการกู้ โจทก์จึงอนุมัติเงินกู้และโอนเงินกู้ให้จำเลยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ... จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ ครบองค์ประกอบของฐานความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คดีที่ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลาย จำเลยแต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดี รายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2561 ระบุว่าคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว ศาลนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 9.00 นาฬิกา โดยจำเลยและทนายความซึ่งไปศาลในวันดังกล่าวลงลายมือชื่อทราบนัดไว้ ครั้นถึงวันนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งมีเพียงทนายความจำเลยไปฟังคำสั่งศาล ส่วนจำเลยไม่ไป จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมมิอาจรับฟังได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 การที่ในวันเดียวกันจำเลยได้ทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษเสนอต่อโจทก์ และโจทก์ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 โดยไม่ปรากฎว่าหลังจากจำเลยทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษเสนอโจทก์จนกระทั่งได้รับโอนเงินกู้เข้าบัญชีธนาคารของจำเลยดังกล่าว จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหลังจากได้รับโอนเงินแล้วก็ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ปฏิเสธไม่รับเงินตามสัญญากู้หรือบอกเลิกสัญญากู้กับโจทก์ การกระทำของจำเลยดังที่กล่าวมาจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ตามที่โจทก์ฟ้อง
คดีที่ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลาย จำเลยแต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดี รายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2561 ระบุว่าคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว ศาลนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 9.00 นาฬิกา โดยจำเลยและทนายความซึ่งไปศาลในวันดังกล่าวลงลายมือชื่อทราบนัดไว้ ครั้นถึงวันนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งมีเพียงทนายความจำเลยไปฟังคำสั่งศาล ส่วนจำเลยไม่ไป จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมมิอาจรับฟังได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 การที่ในวันเดียวกันจำเลยได้ทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษเสนอต่อโจทก์ และโจทก์ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 โดยไม่ปรากฎว่าหลังจากจำเลยทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษเสนอโจทก์จนกระทั่งได้รับโอนเงินกู้เข้าบัญชีธนาคารของจำเลยดังกล่าว จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหลังจากได้รับโอนเงินแล้วก็ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ปฏิเสธไม่รับเงินตามสัญญากู้หรือบอกเลิกสัญญากู้กับโจทก์ การกระทำของจำเลยดังที่กล่าวมาจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ผู้ซื้อต้องตรวจสอบสภาพทรัพย์ก่อนประมูล หากเกิน 14 วันหลังทราบการกระทำ ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรื่องขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระบุเลขที่ดิน ที่ตั้งของที่ดิน สภาพของที่ดินและด้านหลังของประกาศดังกล่าวได้ทำแผนที่สังเขปแสดงการไปที่ดินพิพาทไว้ โดยประกาศอย่างเปิดเผยต่อประชาชนทั่ว ๆ ไป ผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ๆ ที่ประสงค์จะเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทย่อมมีโอกาสตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินพิพาทก่อนที่จะเข้าประมูลสู้ราคาได้ นอกจากนี้แผนที่สังเขปแนบท้ายประกาศดังกล่าวก็ระบุสภาพของที่ดินพิพาทไว้ชัดเจนว่า ถนนด้านหน้าที่ดินพิพาทคือถนนกำแพงเพชร 7 ซึ่งผู้ร้องสามารถตรวจสอบได้โดยไม่ยากว่า ถนนดังกล่าวเป็นถนนเลียบทางรถไฟสายตะวันออกและเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพราะเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไปและสามารถสืบค้นได้ทางอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบก่อนเข้าประมูลซื้อ ทั้งข้อสัญญาท้ายประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ระบุไว้ด้วยว่า ผู้ซื้อทรัพย์มีหน้าที่ต้องตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่จะซื้อตามสถานที่ และแผนที่สังเขปแนบท้ายประกาศ และถือว่าผู้ซื้อได้ทราบถึงสภาพทรัพย์โดยละเอียดครบถ้วนแล้ว จึงเป็นความบกพร่องและประมาทเลินเล่อของผู้ร้องเอง เมื่อประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ระบุถึงสภาพที่ดินไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงสภาพทรัพย์ที่ทำการขายทอดตลาดและทราบถึงการขายทอดตลาดซึ่งเป็นการกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 ในวันขายทอดตลาดวันที่ 22 เมษายน 2562 แล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ในวันที่ 21 เมษายน 2564 จึงเกินกำหนดระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันต้องแจ้งตั้งแต่แรก หากละเว้นโดยไม่สมเหตุผล ศาลมีสิทธิยกคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยขอเพิ่มเติมหลักประกันที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ของจำเลยด้วย แต่ผู้ร้องไม่ได้แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินดังกล่าวโดยการละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ กรณีต้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าการละเว้นนั้นไม่น่าเชื่อว่าเกิดจากการพลั้งเผลอและคดีถึงที่สุดแล้ว คำสั่งศาลล้มละลายกลางดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ร้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 และมีผลให้ผู้ร้องจะต้องคืนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านและสิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ที่จะขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการรื้อถอนอาคารอันตราย ผู้รับโอนสิทธิไม่ต้องรับผิดค่าธรรมเนียม
ผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์และเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้รายที่ 5 โดยมีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารตึกแถว 3 ชั้น ของจำเลยที่ 2 เป็นหลักประกันซึ่งโจทก์ได้ยึดเพื่อดำเนินการบังคับคดีไว้แล้ว ต่อมาสำนักงานเขตคันนายาวแจ้งผู้คัดค้านให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวเนื่องจากมีสภาพหรือมีการใช้งานที่อาจเป็นอันตราย เมื่อการที่อาคารต้องถูกรื้อถอนไปในระหว่างการบังคับคดีและไม่อาจนำมาขายทอดตลาดได้เกิดจากการใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยไม่ใช่ความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือความไม่สุจริตของโจทก์หรือผู้ร้องซึ่งรับโอนสิทธิและหน้าที่จากโจทก์ ทั้งมิใช่การถอนการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) (3) (4) (6) และ (7) ที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ตามมาตรา 169/2 วรรคสี่ ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้ผู้ร้องต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายจากหนี้ที่เกิดจากสัญญาซื้อขายไม้ยางพารา การพิสูจน์หนี้และการสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยเบิกเงินจากโจทก์เพื่อนำไปซื้อไม้ยางพาราจากเจ้าของสวนแล้วนำมาขายให้แก่โจทก์ จากนั้นจึงหักทอนบัญชีกัน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงมีลักษณะเป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่มิได้กำหนดแยกประเภทเป็นเอกเทศสัญญาไว้ใน ป.พ.พ. แต่มีผลผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องชำระหนี้ต่อกันตามสัญญาดังกล่าว แม้โจทก์ฟ้องคดีตั้งรูปเรื่องมาว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้ยืม แต่ก็ได้บรรยายฟ้องและนำสืบเข้าลักษณะสัญญาประเภทหนึ่งที่บังคับกันได้ดังวินิจฉัยไว้ข้างต้น ซึ่งในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี ศาลย่อมมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) บัญญัติเพียงว่า เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตามเท่านั้น หาได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลต้องพิพากษากำหนดจำนวนแน่นอนเสียก่อนไม่ โจทก์จึงไม่จำต้องนำหนี้ดังกล่าวไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งก่อนที่จะฟ้องคดีล้มละลาย เมื่อรายการตัดทอนบัญชีระบุว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท โจทก์ย่อมมีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) บัญญัติเพียงว่า เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตามเท่านั้น หาได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลต้องพิพากษากำหนดจำนวนแน่นอนเสียก่อนไม่ โจทก์จึงไม่จำต้องนำหนี้ดังกล่าวไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งก่อนที่จะฟ้องคดีล้มละลาย เมื่อรายการตัดทอนบัญชีระบุว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท โจทก์ย่อมมีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360-361/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาไม่เห็นชอบแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ เหตุเจ้าหนี้ได้รับประโยชน์น้อยกว่าล้มละลาย สั่งกลับไปผูกพันแผนเดิม
ผู้บริหารแผนเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้และขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนเดิม ซึ่งแผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขนั้นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 จะได้รับชำระหนี้เงินต้นลดลงจากแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ผู้บริหารแผนจึงต้องแสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ด้วยเช่นกัน เมื่อผู้บริหารแผนไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ทั้งยังได้ความจากรายงานสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาเสนอต่อศาลว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับชำระหนี้กรณีฟื้นฟูกิจการน้อยกว่ากรณีล้มละลาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้บางรายได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวได้ และเมื่อข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาเป็นการขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนและขอแก้ไขเงื่อนไขการออกจากแผนโดยเป็นการขอแก้ไขต่อจากข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับแรกซึ่งจำนวนเงินที่เจ้าหนี้บางรายจะได้รับชำระหนี้ยังคงน้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเช่นเดิม ศาลฎีกาจึงไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาทุกฉบับ และย่อมมีผลให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องกลับไปผูกพันกันตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิมที่ศาลเห็นชอบด้วยแผน การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง โดยเห็นว่าการฟื้นฟูกิจการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่มีการแก้ไขดังกล่าวได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนแล้ว จึงต้องถูกยกเลิกเพิกถอนด้วย