พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ทรงเช็คเมื่อเช็คเกินกำหนด 6 เดือน ผู้ทรงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินจากผู้สั่งจ่ายได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
หนี้พิพาทเป็นหนี้เงินตามเช็คพิพาทซึ่งมีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนและเช็คเป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่งซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 959ประกอบกับมาตรา 989 บัญญัติให้ผู้ทรงตั๋วเงินมีสิทธิไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนด กฎหมายมิได้กำหนดให้ผู้ทรงตั๋วเงินบอกกล่าวแก่ผู้สั่งจ่ายเสียก่อนจึงจะไล่เบี้ยได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน
การที่โจทก์ผู้ทรงมิได้นำเช็คพิพาทไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายในเวลา6 เดือน นับแต่วันออกเช็คหรือวันสั่งจ่ายและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คด้วยเหตุดังกล่าว โจทก์หาเสียสิทธิที่จะเรียกเงินตามเช็คพิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายไม่
การที่โจทก์ผู้ทรงมิได้นำเช็คพิพาทไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายในเวลา6 เดือน นับแต่วันออกเช็คหรือวันสั่งจ่ายและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คด้วยเหตุดังกล่าว โจทก์หาเสียสิทธิที่จะเรียกเงินตามเช็คพิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดและเบิกเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยถูกต้องตามกฎหมายและสิทธิเรียกร้อง
จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มี เงื่อนไขเพียงว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกิน จำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยไป จำเลยยอมใช้เงิน ส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยใน อัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงิน โจทก์จำเลยหาได้มีเจตนาตกลงกันโดยตรงว่า สืบแต่นั้น ไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชี หนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหักกลบลบกันคงชำระ แต่ส่วน ที่เหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของบัญชีเดินสะพัดไม่ และถือ ไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น อันจะคิดดอกเบี้ยทบต้นกันได้ จึงไม่เข้าเงื่อนไขเป็น บัญชีเดินสะพัด หรือเป็นการค้าขายอย่างอื่นทำนองเดียวกันนี้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลย คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกล่าวถึงการคิดดอกเบี้ยไว้เพียงว่าคิดดอกเบี้ยกันในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ทั้งกรณีมิใช่เรื่องกู้ยืมเงินและไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 คือโจทก์มีสิทธิคิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนที่เกินบัญชีนั้นเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1587/2523) จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันต่อธนาคารโจทก์ตั้งแต่วันที่7 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และนำที่ดินมาจำนอง เป็นประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาจำนองโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในจำนวนเงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้จำเลยไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 เป็นต้นไป ยอดเงินที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย เป็นยอดเงินที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาตั้งแต่วันที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันตลอดมา หาได้คิด ตามสิทธิควรได้ดังกล่าวไม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้คิดแยกยอดเงินที่ควรได้รับ นับจากจำเลยขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจนถึงวันทำสัญญาขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ว่าเป็นยอดเงินเท่าใดปรากฏว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คหลายร้อยฉบับ และโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชี ให้ไปซึ่งศาลไม่มีหน้าที่จะต้องคิดยอดเงินดังกล่าวให้โจทก์เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในฟ้องเพื่อให้โจทก์จำเลยได้ตรวจสอบโต้แย้งว่าคิดถูกต้องหรือไม่เพียงใด ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมด โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัด-เบิกเกินบัญชี: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญาและกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มีเงื่อนไขเพียงว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกิน จำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยไป จำเลยยอมใช้เงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงิน โจทก์จำเลยหาได้มีเจตนาตกลงกันโดยตรงว่า สืบแต่นั้น ไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหักกลบลบกันคงชำระแต่ส่วน ที่เหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของบัญชีเดินสะพัดไม่และถือ ไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น อันจะคิดดอกเบี้ยทบต้นกันได้ จึงไม่เข้าเงื่อนไขเป็นบัญชีเดินสะพัดหรือเป็นการค้าขายอย่างอื่นทำนองเดียวกันนี้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลย
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกล่าวถึงการคิดดอกเบี้ยไว้เพียงว่าคิดดอกเบี้ยกันในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ทั้งกรณีมิใช่เรื่องกู้ยืมเงินและไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7คือโจทก์มีสิทธิคิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนที่เกินบัญชีนั้นเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1587/2523)
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันต่อธนาคารโจทก์ตั้งแต่วันที่7 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และนำที่ดินมาจำนอง เป็นประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาจำนองโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในจำนวนเงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้จำเลยไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 เป็นต้นไป ยอดเงินที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย เป็นยอดเงินที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาตั้งแต่วันที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันตลอดมา หาได้คิดตามสิทธิควรได้ดังกล่าวไม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้คิดแยกยอดเงินที่ควรได้รับ นับจากจำเลยขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจนถึงวันทำสัญญาขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ว่าเป็นยอดเงินเท่าใด ปรากฏว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คหลายร้อยฉบับ และโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชีให้ไป ซึ่งศาลไม่มีหน้าที่จะต้องคิดยอดเงินดังกล่าวให้โจทก์เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในฟ้อง เพื่อให้โจทก์จำเลยได้ตรวจสอบโต้แย้งว่าคิดถูกต้องหรือไม่เพียงใด ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมด โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกล่าวถึงการคิดดอกเบี้ยไว้เพียงว่าคิดดอกเบี้ยกันในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ทั้งกรณีมิใช่เรื่องกู้ยืมเงินและไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7คือโจทก์มีสิทธิคิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนที่เกินบัญชีนั้นเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1587/2523)
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันต่อธนาคารโจทก์ตั้งแต่วันที่7 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และนำที่ดินมาจำนอง เป็นประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาจำนองโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในจำนวนเงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้จำเลยไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 เป็นต้นไป ยอดเงินที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย เป็นยอดเงินที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาตั้งแต่วันที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันตลอดมา หาได้คิดตามสิทธิควรได้ดังกล่าวไม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้คิดแยกยอดเงินที่ควรได้รับ นับจากจำเลยขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจนถึงวันทำสัญญาขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ว่าเป็นยอดเงินเท่าใด ปรากฏว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คหลายร้อยฉบับ และโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชีให้ไป ซึ่งศาลไม่มีหน้าที่จะต้องคิดยอดเงินดังกล่าวให้โจทก์เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในฟ้อง เพื่อให้โจทก์จำเลยได้ตรวจสอบโต้แย้งว่าคิดถูกต้องหรือไม่เพียงใด ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมด โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเช็คหลังหักโอนเงินแล้ว ธนาคารต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็ค การตัดยอดเงินเกินวงเงินเบิกเกินบัญชีไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ผู้สั่งจ่ายขออายัดเช็คหมาย จ.3 หลังจากธนาคารจำเลยที่ 2ทำการหักโอนเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์เสร็จสิ้นแล้วอันถือได้ว่ามีการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้ว ธนาคารจำเลยที่ 2จึงไม่สมควรรับการอายัดของผู้สั่งจ่าย เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 รับการอายัดของผู้สั่งจ่ายแล้วโอนเงินจากบัญชีของโจทก์กลับคืนไปยังบัญชีของผู้สั่งจ่าย ย่อมเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย ประมวลระเบียบปฏิบัติงานธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นระเบียบภายในของธนาคารจำเลย ใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 992 เป็นเรื่องที่ธนาคารยังมิได้มีการใช้เงินตามเช็คหรือหักโอนบัญชีตามเช็ค จึงใช้บังคับกับคดีนี้ไม่ได้ ทั้งกรณีตามคดีนี้ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตรา 991 ด้วย และเมื่อโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็คหมาย จ.3 แม้ผู้สั่งจ่ายได้ออกเช็คหมาย จ.19 ให้โจทก์อีกแต่ก็ปรากฏว่าเรียกเก็บเงินตามเช็คหมาย จ.19 ไม่ได้ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดกรณีตามเช็คหมาย จ.3 ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายแลกเปลี่ยนเช็คจากเช็คหมายจ.3 มาเป็นเช็คหมาย จ.19 แล้ว โจทก์ทราบดีว่าได้จ่ายเงินเกินยอดเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีของโจทก์ไม่มีเงินพอจ่ายแล้วแต่โจทก์ก็ยังสั่งจ่ายเช็คอีก เมื่อธนาคารจำเลยที่2 ปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะยอดเงินตามบัญชีของโจทก์สูงเกินวงเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเช็คหลังการหักบัญชีสำเร็จ และความรับผิดของธนาคารต่อการจ่ายเงินตามเช็ค
ผู้สั่งจ่ายขออายัดเช็คหมาย จ.3 หลังจากธนาคารจำเลยที่ 2 ทำการหักโอนเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว อันถือได้ว่ามีการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้ว ธนาคารจำเลยที่ 2 จึงไม่สมควรรับการอายัดของผู้สั่งจ่าย เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 รับการอายัดของผู้สั่งจ่าย แล้วโอนเงินจากบัญชีของโจทก์กลับคืนไปยังบัญชีของผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลระเบียบปฏิบัติงานธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นระเบียบภายในของธนาคารจำเลย ใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 992 เป็นเรื่องที่ธนาคารยังมิได้มีการใช้เงินตามเช็คหรือหักโอนบัญชีตามเช็คจึงใช้บังคับกับคดีนี้ไม่ได้ ทั้งกรณีตามคดีนี้ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตรา 991 ด้วย และเมื่อโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็คหมาย จ.3 แม้ผู้สั่งจ่ายได้ออกเช็คหมาย จ.19 ให้โจทก์อีกแต่ก็ปรากฏว่าเรียกเก็บเงินตามเช็คหมาย จ.19 ไม่ได้ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดกรณีตามเช็คหมาย จ.3 ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายแลกเปลี่ยนเช็คจากเช็คหมายจ.3 มาเป็นเช็คหมาย จ.19 แล้ว
โจทก์ทราบดีว่าได้จ่ายเงินเกินยอดเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีของโจทก์ไม่มีเงินพอจ่ายแล้วแต่โจทก์ก็ยังสั่งจ่ายเช็คอีก เมื่อธนาคารจำเลยที่ 2 ปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะยอดเงินตามบัญชีของโจทก์สูงเกินวงเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจากจำเลย
ประมวลระเบียบปฏิบัติงานธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นระเบียบภายในของธนาคารจำเลย ใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 992 เป็นเรื่องที่ธนาคารยังมิได้มีการใช้เงินตามเช็คหรือหักโอนบัญชีตามเช็คจึงใช้บังคับกับคดีนี้ไม่ได้ ทั้งกรณีตามคดีนี้ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตรา 991 ด้วย และเมื่อโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็คหมาย จ.3 แม้ผู้สั่งจ่ายได้ออกเช็คหมาย จ.19 ให้โจทก์อีกแต่ก็ปรากฏว่าเรียกเก็บเงินตามเช็คหมาย จ.19 ไม่ได้ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดกรณีตามเช็คหมาย จ.3 ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายแลกเปลี่ยนเช็คจากเช็คหมายจ.3 มาเป็นเช็คหมาย จ.19 แล้ว
โจทก์ทราบดีว่าได้จ่ายเงินเกินยอดเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีของโจทก์ไม่มีเงินพอจ่ายแล้วแต่โจทก์ก็ยังสั่งจ่ายเช็คอีก เมื่อธนาคารจำเลยที่ 2 ปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะยอดเงินตามบัญชีของโจทก์สูงเกินวงเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามข้อตกลงและกฎหมาย
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ และฝากเงินในวันเดียวกัน หลังจากนั้นจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีและนำเงินฝากเข้าบัญชีหลายครั้ง โดยโจทก์จะคิดหักยอดเงินในบัญชีทุกครั้ง หากจำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินกว่าเงินที่มีอยู่ในบัญชี โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นทุกเดือนในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจากเงินที่เป็นหนี้ตามประเพณีของธนาคาร ดังนี้ เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898-1899/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผิดเงื่อนไข ธนาคารมีสิทธิหักเงินจากบัญชีผู้ออกเช็คได้ แม้ผู้สั่งจ่ายไม่เสียหาย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคารจำเลยเช็คพิพาทเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ซึ่งผู้สั่งจ่ายได้ลงลายมือชื่ออันแม้จริงของตนไว้ มิใช่ลายมือปลอม รายการในเช็คก็ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพียงแต่ผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้แก่ธนาคารจำเลยลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่มีลายมือชื่อเป็นภาษาอังกฤษด้วย เมื่อธนาคารจำเลยจ่ายเงินไปตามเช็คดังกล่าวโดยมิได้รับความเสียหายจากการที่ธนาคารจำเลยจ่ายเงินไปตามเช็คนั้น ธนาคารจำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากหรือเพิ่มยอมจำนวนหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2526)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2526)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แคชเชียร์เช็ค: ผู้สั่งจ่ายมีหน้าที่จ่ายเงินให้ผู้ทรงเช็คโดยชอบ แม้มีการแจ้งหาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991 (3) ซึ่งบัญญัติว่าธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณีที่ได้มีคำบอกกล่าวว่าเช็คหายนั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจธนาคารไม่จำต้องจ่ายเงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้าสั่งจ่ายมาเบิกเงินแก่ตน จึงเป็นคนละกรณีกับการที่ธนาคารซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คผู้ที่นำเช็คมาเรียกเก็บเงินจากธนาคาร เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คพิพาทเป็นแคชเชียร์เช็คซึ่งธนาคารจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย และโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบธนาคารจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงต้องผูกพันตนเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะต้องจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่ผู้ทรง ธนาคารจำเลยที่ 1 จะอ้างมาตรา 991(3) มายกเว้นความรับผิดต่อผู้ทรงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แคชเชียร์เช็ค: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็ค แม้มีการแจ้งหาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991(3) ซึ่งบัญญัติว่าธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตนเว้นแต่ในกรณีที่ได้มีคำบอกกล่าวว่าเช็คหายนั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจธนาคารไม่จำต้องจ่ายเงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้าสั่งจ่ายมาเบิกเงินแก่ตน จึงเป็นคนละกรณีกับการที่ธนาคารซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คผู้ที่นำเช็คมาเรียกเก็บเงินจากธนาคารเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คพิพาทเป็นแคชเชียร์เช็คซึ่งธนาคารจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย และโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบธนาคารจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงต้องผูกพันตนเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะต้องจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่ผู้ทรงธนาคารจำเลยที่ 1 จะอ้างมาตรา 991(3) มายกเว้นความรับผิดต่อผู้ทรงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคต สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันต้องพิจารณาร่วมกัน แม้เช็คขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินไป 700,000 บาท จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 1 นำ เช็คของลูกค้า 6 ฉบับเป็นเงิน 242,239 บาท มาชำระหนี้ โจทก์นำไปชำระหนี้แก่ ธ. ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ธ. นำเช็คมาคืน โจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คทั้ง 6 ฉบับไปแล้ว จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ 242,239 บาท ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันส่วนที่โจทก์บรรยายถึงเช็ค 6 ฉบับมาด้วย ก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาชำระหนี้เงินกู้ยืมแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้น ฉะนั้นการวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ จึงต้องวินิจฉัยตามมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้อง คือสัญญากู้ยืมและค้ำประกันจะนำอายุความเรื่องเช็คมาวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความไม่ได้ เพราะเป็นการนอกประเด็นตามคำฟ้อง
สัญญาค้ำประกันที่ค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคตด้วยนั้น มีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยโดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
สัญญาค้ำประกันที่ค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคตด้วยนั้น มีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยโดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้