พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคล ธนาคาร และความรับผิดชอบอาญาของผู้ช่วยเหลือความผิดในตลาดหลักทรัพย์
บริษัทมหาชนจำกัดเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น และมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้ยืมไป เมื่อมีผู้เบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าว ย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงตาม ป.วิ.อ.
การพิจารณาความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ย่อมกระทำโดยการพิจารณาและสืบพยานในศาล ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ก่อน
ความรับผิดทางอาญาคือโทษ ผู้กระทำความผิดย่อมได้รับเองเป็นรายบุคคลเฉพาะตัว แม้ตัวการถึงแก่ความตาย ผู้ช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ตัวการยังต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าว
การพิจารณาความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ย่อมกระทำโดยการพิจารณาและสืบพยานในศาล ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ก่อน
ความรับผิดทางอาญาคือโทษ ผู้กระทำความผิดย่อมได้รับเองเป็นรายบุคคลเฉพาะตัว แม้ตัวการถึงแก่ความตาย ผู้ช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ตัวการยังต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะทางกฎหมายของจำเลยในคดีละเมิดและการฟ้องหน่วยงานตามพรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 65 นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นเท่านั้น ดังนั้น คณะบุคคลหรือหน่วยงานใด หากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายรับรองสถานะว่ามีฐานะเป็นนิติบุคคล ย่อมไม่อาจมีสภาพเป็นนิติบุคคลได้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กร อยู่ในหมวดที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด" ส่วนบทบัญญัติในหมวด 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง หาได้มีบทมาตราใดบัญญัติรับรองให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ได้นิยามความหมายของ "เจ้าหน้าที่" ว่า หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใดซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.ฎ.กำหนดหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 พ.ศ.2540 ที่กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานของรัฐด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 10 (1) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ในอันที่จะควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง หรือสนับสนุนการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม กับมีอำนาจหน้าที่วางระเบียบและดำเนินการหรือสั่งการเพื่อกำกับดูแลกิจการต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 (2) ถึง (17) และมีอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 ถึงมาตรา 25 แล้ว และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 236 (9) บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติได้ โดยมีความในวรรคสองและวรรคสามให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทนองค์การเอกชนให้ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่การสืบสวนสอบสวนเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดได้ การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งออกคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 334/2551 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนเพื่อแต่งตั้งจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการไต่สวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานประกอบ การพิจารณาก่อนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรคสาม จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 จึงมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะทำการไต่สวน แสวงหา และรวบรวมพยานหลักฐาน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มีฐานะเป็น "เจ้าหน้าที่" สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และตาม พ.ร.ฎ.กำหนดหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 พ.ศ.2540 และการกระทำที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 กระทำละเมิดต่อโจทก์นั้น แม้หากเป็นความจริงก็เป็นการฟ้องกล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเข้าเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานคือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยตรง จะฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ซึ่งเป็น "เจ้าหน้าที่" ให้รับผิดเป็นการส่วนตัวไม่ได้
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ได้นิยามความหมายของ "เจ้าหน้าที่" ว่า หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใดซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.ฎ.กำหนดหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 พ.ศ.2540 ที่กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานของรัฐด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 10 (1) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ในอันที่จะควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง หรือสนับสนุนการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม กับมีอำนาจหน้าที่วางระเบียบและดำเนินการหรือสั่งการเพื่อกำกับดูแลกิจการต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 (2) ถึง (17) และมีอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 ถึงมาตรา 25 แล้ว และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 236 (9) บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติได้ โดยมีความในวรรคสองและวรรคสามให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทนองค์การเอกชนให้ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่การสืบสวนสอบสวนเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดได้ การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งออกคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 334/2551 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนเพื่อแต่งตั้งจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการไต่สวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานประกอบ การพิจารณาก่อนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรคสาม จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 จึงมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะทำการไต่สวน แสวงหา และรวบรวมพยานหลักฐาน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มีฐานะเป็น "เจ้าหน้าที่" สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และตาม พ.ร.ฎ.กำหนดหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 พ.ศ.2540 และการกระทำที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 กระทำละเมิดต่อโจทก์นั้น แม้หากเป็นความจริงก็เป็นการฟ้องกล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเข้าเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานคือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยตรง จะฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ซึ่งเป็น "เจ้าหน้าที่" ให้รับผิดเป็นการส่วนตัวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคณะกรรมการสำนักสงฆ์ที่มิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลในการฟ้องคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) คำว่า คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ฯลฯ ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. ได้แก่ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล สำหรับนิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่น ดังบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 65 โจทก์เป็นคณะกรรมการสำนักสงฆ์วัดหนองเวียนโสภาศรัทธารามหรือวัดหนองเวียนวัฒนาราม เป็นเพียงกลุ่มบุคคลซึ่งรวมตัวกันโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความได้ เมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่ากรรมการโจทก์คนใดได้ฟ้องคดีในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10757/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีกู้ยืมเงินของผู้ดูแลเงินฝากกลุ่มออมทรัพย์ แม้เงินไม่ใช่ของตนเอง
สัญญากู้ยืมเงินเป็นแบบฟอร์มหนังสือสัญญากู้ยืมเงินของสมาคมกลุ่มออมทรัพย์ และโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องประธานคณะกรรมการอำนวยการ (ผู้ให้กู้ยืม) แสดงให้เห็นว่าเงินที่กู้ยืมกันไม่ใช่เงินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นผู้ดูแลรักษาเงินที่สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฝากไว้เพราะโจทก์มีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการหรือประธานที่ปรึกษากลุ่มออมทรัพย์ โจทก์จึงเข้าครอบครองเงินนั้นมีหน้าที่ส่งคืนเงินจำนวนเดียวกันกับที่กลุ่มออมทรัพย์รับฝากไว้แก่ผู้ฝากให้ครบจำนวน เมื่อโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินที่รับฝากนี้แม้ไม่ใช่ของโจทก์ไป โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยผู้กู้ยืมชำระเงินคืนได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้ใดก่อนเพราะเป็นการฟ้องคดีโดยอาศัยสิทธิของตนเองตามสัญญากู้ยืม ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง แม้ ก. กู้ยืมเงินโจทก์นำมาใช้เพื่อกิจการของศูนย์สาธิตการตลาดของหมู่บ้านซึ่ง ก. เป็นประธานศูนย์มิใช่การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็ตาม ศูนย์สาธิตการตลาดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่อาจรับผิดทางแพ่งต่อผู้ใดตามกฎหมายได้ ดังนี้ ผู้กู้ยืมต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเป็นส่วนตัว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4338/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนชื่อบริษัทไม่กระทบต่อสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันยังคงมีภาระผูกพัน
การที่บริษัทโจทก์เปลี่ยนชื่อไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล โจทก์ยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลดังเดิม แม้ไม่แจ้งการเปลี่ยนชื่อให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ทราบ ก็ไม่เป็นผลให้สัญญาค้ำประกันสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในขณะทำงานให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4338/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทไม่ทำให้สัญญาค้ำประกันสิ้นสุด หากสภาพนิติบุคคลยังคงเดิม
การที่บริษัทโจทก์เปลี่ยนชื่อไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล โจทก์ยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลดังเดิม แม้ไม่แจ้งการเปลี่ยนชื่อให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ทราบ ก็ไม่เป็นผลให้สัญญาค้ำประกันสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในขณะทำงานให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีฐานะเป็นกรม เป็นนิติบุคคลในสังกัดของกระทรวงจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ด้วย การที่จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าสังกัดจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัดกับสิทธิในทรัพย์สินของบริษัท: ไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน/หนี้สินส่วนตัว
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก ต. ซึ่งเป็นสามีของผู้ร้องสอดที่ 1และเป็นบิดาของผู้ร้องสอดที่ 2 แม้ว่า ต. กับผู้ร้องสอดที่ 1 จะเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโจทก์ และ ต. เคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการบริหารบริษัทโจทก์มาก่อน ก็หาก่อให้ต. เกิดสิทธิหรือหน้าที่ใดในทรัพย์สินหรือหนี้สินของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่ หาก ต. นำสินสมรสระหว่าง ต. กับผู้ร้องสอดที่ 1 ไปลงทุนซื้อหุ้นโจทก์ ต. คงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของโจทก์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามสัญญาซื้อขายและฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าจากจำเลย หากโจทก์ชนะคดีเงินค่าสินค้าที่จำเลยชำระย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต. ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์หามีสิทธิใด ๆ ในเงินค่าสินค้าดังกล่าวไม่ เงินค่าสินค้าจึงไม่ใช่สินสมรสหรือเป็นมรดกของ ต. ผู้ร้องสอดทั้งสองมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเงินค่าสินค้า จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะขอให้ศาลให้ความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิเรียกร้องในเงินค่าสินค้าที่โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) ผู้ร้องสอดทั้งสองไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2400/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการ: ความรับผิดส่วนบุคคลและการคิดดอกเบี้ย
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการพ.ศ. 2530 ข้อ 13 และข้อ 21 เป็นเพียงกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการเท่านั้น ไม่มีผลทำให้คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอมีสภาพเป็นนิติบุคคล ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจทำสัญญากู้ยืมเงินแทนกองทุนดังกล่าว จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงินและได้รับต้นเงินกู้ไปจากโจทก์ จำเลยจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแม้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2530ข้อ 13 จะกำหนดให้การปฏิบัติงานสวัสดิการภายในส่วนราชการตามระเบียบนี้ให้ถือเป็นการปฏิบัติราชการ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดหนังสือสัญญากู้เงิน จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
จำเลยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนดทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระต้นเงินคืนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยส่วนนี้ไม่ตกเป็นโมฆะ เมื่อสัญญากู้เงินมิได้กำหนดชำระต้นเงินคืนไว้ตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้นโจทก์จะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยต่อเมื่อได้ทวงถามและกำหนดเวลาให้จำเลยชำระต้นเงินแล้วตาม 204 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้อง
จำเลยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนดทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระต้นเงินคืนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยส่วนนี้ไม่ตกเป็นโมฆะ เมื่อสัญญากู้เงินมิได้กำหนดชำระต้นเงินคืนไว้ตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้นโจทก์จะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยต่อเมื่อได้ทวงถามและกำหนดเวลาให้จำเลยชำระต้นเงินแล้วตาม 204 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2400/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ระหว่างบุคคลกับคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการ: ความรับผิดในฐานะผู้กู้
แม้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2530 ข้อ 13 กำหนดให้การปฏิบัติงานภายในส่วนราชการตามระเบียบนี้ถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการ และข้อ 21 ให้คณะกรรมการหรือผู้ที่ คณะกรรมการมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจก่อหนี้ผูกพันและอนุมัติการจ่ายเงินกองทุนสวัสดิการ แต่ระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นเพียงกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการเท่านั้น ไม่มีผลทำให้ คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบันนังสตามีสภาพเป็นนิติบุคคล ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสามกู้ยืมเงินจากโจทก์ในนามและในฐานะคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงาน การประถมศึกษาอำเภอบันนังสตา จึงไม่อาจทำสัญญากู้ยืมเงินแทนกองทุนดังกล่าว จำเลยทั้งสามลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงิน และได้รับต้นเงินกู้ไปจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าว และ แม้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2530 ข้อ 13 จะกำหนดให้การปฏิบัติงานสวัสดิการภายในส่วนราชการตามระเบียบนี้ให้ถือเป็นการปฏิบัติราชการก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดตามหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539