พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน, ทางสาธารณะ, การเพิกถอนบันทึกโฉนด, สิทธิในที่ดิน
คดีก่อน โจทก์ฟ้องการไฟฟ้านครหลวงเป็นจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยเข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในเขตที่ดินโฉนดเลขที่1006 เลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 เฉพาะส่วนนอกจากที่แบ่งไว้เป็นถนนและที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000การไฟฟ้านครหลวงให้การว่า เมื่อ ล. เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 ออกเป็น 72 แปลง จัดสรรให้บุคคลอื่นการแบ่งแยกได้กันที่ดินทำเป็นถนนเพื่อให้ประชาชนในบริเวณนั้นใช้โดยล.มีเจตนาจะให้ที่ดินส่วนที่กันไว้เป็นทางสาธารณะและประชาชนได้ใช้สัญจรมากว่า 20 ปีแล้ว การไฟฟ้านครหลวงได้เข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมจากถนนไปสู่ที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 ซึ่งเป็นทางสาธารณะไปแล้วนั้นก็ได้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อย ๆ อีกหลายแปลงรวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ปัญหาที่ว่าที่ดินทั้งสี่โฉนดของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นประเด็นที่พิพาทกันโดยตรงในคดีก่อน ซึ่งในคดีก่อนศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินของโจทก์ตกเป็นทางสาธารณะแล้ววินิจฉัยว่าการกระทำของการไฟฟ้านครหลวงไม่เป็นการละเมิด พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงในปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกันว่า ล. ได้อุทิศที่ดินทั้งสี่โฉนดให้เป็นทางสาธารณะแล้วดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ด้วยเพราะเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องฟังว่าที่ดินทั้งสี่แปลงพิพาทในคดีนี้เป็นทางสาธารณะ การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งกรมที่ดินจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 บันทึกลงในโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลงว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) จึงมิใช่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความเดิม: คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนหน้าเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินมีผลผูกพันผู้ร้อง
สามีของผู้ร้องและบุตรของผู้ร้องอีก 4 คนได้ร่วมกันฟ้องผู้ประกันเกี่ยวกับที่พิพาท ศาลฎีกาพิพากษาว่าที่พิพาทในคดีนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่พิพาทในคดีดังกล่าวเป็นของผู้ประกันต่อมาผู้ประกันได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องและบุตรออกจากที่พิพาทศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้พิพากษาถึงที่สุดว่าที่พิพาทเป็นของผู้ประกันให้ขับไล่ผู้ร้องและพวกผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงผูกพันผู้ร้อง ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก ผู้ร้องจะกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ผู้ประกันจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ, สัญญาประนีประนอมยอมความ, การบังคับคดี, ทายาท, ฟ้องซ้ำที่ไม่เป็นฟ้อง
โจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียวเคยฟ้องจำเลยขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แล้วโจทก์ที่ 1 และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2จึงมาฟ้องจำเลยขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้อีกคดีโจทก์ที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีก่อน โจทก์ที่ 1เคยขอบังคับคดีโดยขอให้ศาลออกหมายจับจำเลยเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยถูกจับตามหมายจับได้ขอประกันตัวต่อศาลและหลบหนีไปจนพ้นกำหนดการบังคับคดี แสดงถึงความไม่สุจริตของจำเลยจำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้เรื่องฟ้องซ้ำไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ย.ทายาทผู้รับมรดกของห.ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินพิพาทได้ลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีที่ศาลพิพากษาตามยอมดังกล่าวข้างต้น แต่ย.และโจทก์ที่ 2(ผู้จัดการมรดกนายห.) มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวคำพิพากษาตามยอมจึงไม่ผูกพันโจทก์ที่ 2 ฟ้องโจทก์ที่ 2 คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก: การส่งเอกสารเพื่อจัดทำบัญชีทรัพย์มรดก
ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ตั้งผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1และผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ร่วมกัน ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมยังคงผูกพันตามคำสั่งศาลชั้นต้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของส.ร่วมกัน และมีหน้าที่จะต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งเอกสารตัวจริงที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกมาไว้ที่ศาล เพื่อจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งให้ผู้จัดการมรดกส่งเอกสารเพื่อจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ตั้งผู้ร้องผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ร่วมกัน ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมยังคงผูกพันตามคำสั่งศาลชั้นต้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ร่วมกันและมีหน้าที่จะต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งเอกสารตัวจริงที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกมาไว้ที่ศาล เพื่อจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3954/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิไล่เบี้ยของนายจ้างต่อลูกจ้างผู้กระทำละเมิด
แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยกันในคดีก่อนก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อน คำพิพากษาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1คดีนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ในคดีก่อนจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย จำเลยที่ 1สามารถต่อสู้คดีได้เต็มที่ รวมทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียก อ.เข้าเป็นจำเลยร่วม และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จำเลยที่ 1ก็มีสิทธิยื่นฎีกาได้ การที่โจทก์ไม่ขอให้ศาลหมายเรียก อ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมและไม่ฎีกาก็เป็นสิทธิของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ขอให้ศาลหมายเรียก อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมและยื่นฎีกาเองทั้ง ๆ ที่ตนมีสิทธิกระทำได้ จะถือว่าโจทก์กระทำโดยไม่ชอบหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อ พ. และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น แต่โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายไปแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดีและการพิจารณาเรื่องกำหนดเวลาการยื่นคำร้อง
หลังจากผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2532 ขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินของจำเลยแล้ว ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องอื่นรวมทั้งคำแถลงต่อศาลอีกหลายครั้ง และตามรายงานการเดินหมายของเจ้าหน้าที่ศาลลงวันที่28 มิถุนายน 2532 ก็ระบุว่าเจ้าหน้าที่ศาลได้นำหมายนัดไปส่งแก่จำเลยด้วย แต่ส่งไม่ได้ การที่ผู้ร้องยื่นคำแถลงเมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2532 ว่า ยังส่งสำเนาคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ให้จำเลยไม่ได้ขอให้เจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายนัดให้จำเลยอีกครั้งแสดงว่าผู้ร้องทราบดีว่าศาลกำหนดวันนัดพิจารณาคำร้องและผู้ร้องทราบวันนัดนั้นแล้วดังนั้น การที่ฝ่ายผู้ร้องไม่ไปศาลในวันนัดจึงเป็นการทราบคำสั่งแล้วเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งเป็นการทิ้งคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) กรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยในคดีที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำนองยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดนั้น มิใช่เป็นกรณีเฉลี่ยทรัพย์โดยตรงกับโจทก์เพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนองแต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่เหลือภายหลังที่ได้ชำระให้แก่โจทก์แล้ว ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 มาบังคับใช้โดยอนุโลมเมื่อการขายทอดตลาดครั้งหลังที่โจทก์เป็นผู้ประมูลได้ ยังไม่มีการยกเลิกโดยคำสั่งใดต้องถือว่ามีการขายทอดตลาดแล้ว ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีซ้ำในขณะที่คดีเดิมยังไม่ถึงที่สุด แม้ถอนฟ้องคดีเดิมแล้ว ก็ไม่ทำให้ฟ้องใหม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 16 ถึงที่ 20 อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ ต้องถือว่าคดีก่อนยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา การที่โจทก์นำมูลหนี้รายเดียวกันมาฟ้องจำเลยที่ 8 ถึงที่ 20 เป็นคดีนี้อีกจึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและคดีก่อนถึงที่สุด ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: แม้ถอนฟ้องคดีก่อนได้ แต่ฟ้องซ้ำด้วยมูลหนี้เดิมก็ยังไม่ชอบ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 16 ถึงที่ 20 อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ ต้องถือว่าคดีก่อนยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา การที่โจทก์นำมูลหนี้รายเดียวกันมาฟ้องจำเลยที่ 8 ถึงที่ 20เป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1)แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและคดีก่อนถึงที่สุด ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีแพ่งต่อคดีล้มละลาย: หนี้เดิมไม่สามารถนำมาฟ้องล้มละลายได้อีก
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้อง จึงผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายต่อมา โจทก์จะโต้เถียงคำพิพากษาดังกล่าวว่าไม่ผูกพันตนหาได้ไม่ แม้คำพิพากษาจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง มีความหมายในตัวว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องอีกต่อไปการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้เดียวกันนั้น ศาลก็ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 14 ซึ่งต้องพิจารณาว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันนั้นอีก