พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษีและการฟ้องล้มละลาย: อายุความและการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจำเลยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี 2519 ถึง 2523 ต่อโจทก์ แสดงรายรับไม่ถูกต้องซึ่งผลการตรวจสอบจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2520 ถึงปี 2523 รวม 4 ปี เพิ่มอีก เป็นเงิน 237,842.08 บาท การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 และส่งแบบแจ้งภาษีเงินได้ที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม(ภ.ง.ด. 11) ไปให้จำเลย ณ ถิ่นที่อยู่ของจำเลย โดยวิธีปิดใบแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8, 18 และ 20 ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว หากไม่มีการอุทธรณ์การประเมิน เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจหน้าที่บังคับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ตรี ต่อไป คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีนั้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าไม่ชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 และเมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียภาษีหรือนำส่งให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 12
การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ว่า จำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2525 แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2526 เช่นกัน ซึ่งครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2536 ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2536 ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่.
การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ว่า จำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2525 แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2526 เช่นกัน ซึ่งครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2536 ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2536 ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคืนอากร-ดอกเบี้ย-ภาษีอื่น และประเด็นศาลต้องชี้ขาดทุกประเด็นข้อพิพาท
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้าให้สิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันนำของเข้า เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันนำของเข้า แม้โจทก์จะยื่นคำขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้ก่อนนั้นต่ออธิบดีกรมศุลกากรภายใน 2 ปี ก็ขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอคืนเงินอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 และขอคืนเงินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตาม ป.รัษฎากร พ.ร.บ.รายได้เทศบาล พ.ศ.2497 และ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ตามลำดับจำเลยยกอายุความเฉพาะตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้าขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ดังนั้น แม้คดีของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า แล้วศาลภาษีอากรกลางก็ยังต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องคืนเงินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมค่าเสียหายให้แก่โจทก์อีกหรือไม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งแจ้งประเมินภาษีโดยวิธีโฆษณาเมื่อส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้ และผลของการเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของหุ้นส่วนจำกัด
โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าให้แก่จำเลยที่1ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้วแต่ส่งไม่ได้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ผู้นำส่งรายงานว่าไม่มีผู้รับกรณีเช่นนี้นับว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะส่งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคหนึ่งแห่งประมวลรัษฎากรโจทก์ชอบที่จะเลือกส่งตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งในสองวิธีตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสามการที่โจทก์ลงโฆษณาแบบแจ้งการประเมินในหนังสือพิมพ์ท้องที่จึงถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินตามความในวรรคท้ายแห่งบทกฎหมายดังกล่าวแล้วเมื่อจำเลยที่1มิได้อุทธรณ์การประเมินจึงมีผลให้หนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้เด็ดขาดและมีจำนวนแน่นอนเกินกว่าห้าแสนบาทขึ้นไปจำเลยที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่1จะกลับมาปฏิเสธว่าหนี้ดังกล่าวไม่ชอบหรือจำนวนหนี้ไม่ถูกต้องอีกหาได้ไม่ เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่1ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่เมื่อวันที่26กุมภาพันธ์2528ซึ่งถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด30วันนับแต่วันที่จำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10ปีคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ คดีห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่1เป็นหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์และจำเลยที่1มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีทรัพย์สินใดชำระหนี้แก่โจทก์ได้จำเลยที่2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1070,1077และมาตรา1080จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่1หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีอากรโดยวิธีโฆษณา และการล้มละลายของหุ้นส่วนผู้จัดการ
โจทก์ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้วแต่ส่งไม่ได้จึงชอบที่จะเลือกส่งโดยวิธีปิดหมายหรือหนังสือในที่ซึ่งมองเห็นได้ถนัดที่ประตูบ้านหรือสำนักงานของผู้รับหรือโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่ก็ได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา8และถือว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินดังกล่าวเมื่อจำเลยที่1มิได้อุทธรณ์การประเมินมีผลให้เป็นหนี้เด็ดขาดและมีจำนวนแน่นอนแล้ว เจ้าพนักงานประเมินกำหนดให้จำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่ถือว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อายุความเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด30วันนับแต่วันดังกล่าวเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องยังไม่เกิน10ปีคดีของโจทก์จึง ไม่ขาดอายุความ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1มี หนี้สินล้นพ้นตัวจำเลยที่2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนจึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่1หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ทั้งกรณีไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่2ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีโดยวิธีโฆษณาและการบังคับชำระหนี้ภาษีอากรจากหุ้นส่วนผู้จัดการ
โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้ว แต่ส่งไม่ได้ เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ผู้นำส่งรายงานว่าไม่มีผู้รับ กรณีเช่นนี้นับว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะส่งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ชอบที่จะเลือกส่งตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งในสองวิธีตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสาม การที่โจทก์ลงโฆษณาแบบแจ้งการประเมินในหนังสือพิมพ์ท้องที่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินตามความในวรรคท้ายแห่งบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์การประเมินจึงมีผลให้หนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้เด็ดขาดและมีจำนวนแน่นอนเกินกว่าห้าแสนบาทขึ้นไป จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 จะกลับมาปฏิเสธว่าหนี้ดังกล่าวไม่ชอบหรือจำนวนหนี้ไม่ถูกต้องอีกหาได้ไม่
เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากร เมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คดีห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินใดชำระหนี้แก่โจทก์ได้ จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 และมาตรา 1080 จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้
เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากร เมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คดีห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินใดชำระหนี้แก่โจทก์ได้ จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 และมาตรา 1080 จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษีโดยวิธีโฆษณาเมื่อส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้ และผลกระทบต่ออายุความฟ้องคดีล้มละลาย
กรมสรรพากรโจทก์ส่งแบบแจ้งการประเมินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้วแต่ส่งไม่ได้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ผู้นำส่งรายงานว่าไม่มีผู้รับนับว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะส่งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา8วรรคหนึ่งโจทก์จึงชอบที่จะเลือกส่งตามวิธีที่บัญญัติไว้ในวรรคสามคือส่งโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่ก็ได้การที่โจทก์ลงโฆษณาแบบแจ้งการประเมินในหนังสือพิมพ์ท้องที่จึงถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้วจำเลยที่1มิได้อุทธรณ์การประเมินจึงมีผลให้หนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้เด็ดขาดและมีจำนวนแน่นอนเกินกว่าห้าแสนบาทขึ้นไปจำเลยที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1จะกลับมาปฏิเสธว่าหนี้ดังกล่าวไม่ชอบหรือจำนวนหนี้ไม่ถูกต้องอีกหาได้ไม่ เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินเมื่อโจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่1ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่ซึ่งถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด30วันนับแต่วันที่จำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรซึ่งเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10ปีคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดมีหนี้สินล้นพ้นตัวจำเลยที่2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1070,1077และมาตรา1080จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่1หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การหลีกเลี่ยงภาษี, คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา, และการนับอายุความที่ถูกต้อง
จำเลยทั้งสองเจตนาหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรขาเข้าโดยสำแดงเท็จในราคาสินค้าน้อยกว่าความจริงเป็นเหตุให้ชำระค่าอากรขาดซึ่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปเกี่ยวกับการเรียกเอาค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม(193/31 ที่แก้ไขใหม่) ว่าสิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรท่านกำหนดให้มีอายุความ 10 ปี ส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งถือเป็นภาษีการค้าด้วยนั้น ประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความโดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม (193/31 ที่แก้ไขใหม่)เช่นกัน คือมีอายุความ 10 ปี จำเลยทั้งสองสำแดงราคาสินค้าเท็จในวันที่ขอให้พนักงานของโจทก์ออกใบขนสินค้า แม้มีความผิดทางอาญาแต่หาได้ก่อให้เกิดหนี้ค่าภาษีอากรในทางแพ่งในขณะเดียวกันกับการกระทำความผิดในทางอาญาโดยตรงไม่ แต่หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะการนำเข้าสำเร็จและกฎหมายให้ถือว่าได้ขายสินค้า ดังนั้นจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเรียกค่าอากรและการจำกัดเงินเพิ่มภาษีการค้า
กรณีที่จำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร สิทธิของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดจึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 10 วแรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ดังนั้น จะนำอายุความสิบปีและการนับอายุความโดยเริ่มนับจากวันที่นำของเข้าตามมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับหาได้ไม่ จึงตย้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 เดิม (มาตรา 193/31) และการนับอายุความก็ต้องให้นับเริ่มแต่ขณะที่จะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12)
เงินเพิ่มภาษีการค้านั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ กำหนดเงื่อนไขสำคัญว่า มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามใบขนสินค้าแต่ละฉบับนับแต่วันตรวจปล่อยจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยมิได้ระบุว่าเงินเพิ่มภาษีการค้ามิให้เกินกว่าจำนวนภาษีการค้าที่ต้องชำระเพิ่มโดยไม่รวมเบี้ยปรับ จึงไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
เงินเพิ่มภาษีการค้านั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ กำหนดเงื่อนไขสำคัญว่า มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามใบขนสินค้าแต่ละฉบับนับแต่วันตรวจปล่อยจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยมิได้ระบุว่าเงินเพิ่มภาษีการค้ามิให้เกินกว่าจำนวนภาษีการค้าที่ต้องชำระเพิ่มโดยไม่รวมเบี้ยปรับ จึงไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลมีอายุความ 10 ปี นับแต่เวลาที่อาจบังคับสิทธิได้
กรณีที่จำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร สิทธิของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดจึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา10 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ดังนั้น จะนำอายุความสิบปีและการนับอายุความ โดยเริ่มนับจากวันที่นำของเข้าตามมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับหาได้ไม่ จึงต้องใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม (มาตรา 193/31)และการนับอายุความก็ต้องให้นับเริ่มแต่ขณะที่จะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม(มาตรา 193/12) เงินเพิ่มภาษีการค้านั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิกำหนดเงื่อนไขสำคัญว่า มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามใบขนสินค้าแต่ละฉบับนับแต่วันตรวจปล่อยจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยมิได้ระบุว่าเงินเพิ่มภาษีการค้ามิให้เกินกว่าจำนวนภาษีการค้าที่ต้องชำระเพิ่มโดยไม่รวมเบี้ยปรับ จึงไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้