คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 29

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน การฟ้องเกินกำหนด 30 วัน และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์โดยเป็นนักแสดงอาชีพมิได้รับจ้างแสดงเป็นครั้งคราว เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์จึงเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตาม มาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร หากเงินได้ของโจทก์ ไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6) เงินได้จากการประกอบอาชีพนักแสดงก็เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกัน ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือบุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับและข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาวส.อายุ 18 ปีคนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่8 พฤษภาคม 2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีตาม พรฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) หากยังไม่ได้ถูกประเมินภาษี โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์
จำเลยได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสั่งให้โจทก์นำไปชำระภายหลังที่ พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ใช้บังคับ โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนด และชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ โจทก์จึงชอบที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตาม มาตรา 30 แห่ง พระราชกำหนด ดังกล่าว โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร ผู้ที่จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรา 30 นั้น หมายถึงผู้ที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรหรือให้นำส่งภาษีอากรก่อนวันที่ พระราชกำหนด นี้ใช้บังคับเท่านั้น
เมื่อโจทก์ได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรแล้ว การประเมินและคำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีผลบังคับ เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินและไม่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ภาษีอากร และการโต้แย้งหนี้โดยบุคคลภายนอก
ประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจกรมสรรพากรผู้ร้องเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลสิทธิดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอเฉลี่ยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287,290 ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลรัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้นโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้องก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ภาษีอากร และอำนาจศาลในการวินิจฉัยความชอบของหนี้
ป.รัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจกรมสรรพากรผู้ร้องเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลสิทธิดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอเฉลี่ยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา287,290 ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.รัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้นโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้องก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมสรรพากรขอเฉลี่ยทรัพย์สิน และการวินิจฉัยหนี้ที่ไม่ชอบของศาล
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจกรมสรรพากรผู้ร้องเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล สิทธิดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอเฉลี่ยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287, 290
ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลรัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้น โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่ เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่ และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้อง ก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนบริษัทต่างประเทศไม่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไร หากลูกค้าส่งเงินค่าสินค้าโดยตรงไปยังบริษัทต่างประเทศ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) ทำสัญญาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยโจทก์ลงชื่อในสัญญาเป็นผู้ขายในฐานะเป็นตัวแทน โจทก์จึงเป็นตัวแทนของบริษัท น. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้จากการขายสินค้า มิใช่เป็นเพียงลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อของบริษัท น.เท่านั้นโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้สำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) มีหุ้นอยู่ในห้างโจทก์ 99.5 เปอร์เซ็นต์โจทก์จึงเป็นตัวแทนตามกฎหมายประกอบธุรกิจแต่บางส่วนให้กับบริษัทดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็น 'สถานประกอบการถาวร' ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ มิใช่เป็นแต่ นายหน้า ตัวแทนค้าต่าง หรือตัวแทนอื่น ๆ ที่มีสถานภาพเป็นอิสระ อย่างแท้จริง ซึ่งกระทำการแต่เพียงเป็นสื่อกลางระหว่างวิสาหกิจหนึ่งของรัฐ ผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งกับผู้ที่จะเป็นลูกค้าในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง โจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามอนุสัญญาดังกล่าว
เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ และภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ โดยโจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินได้ที่บริษัท น.(ประเทศญี่ปุ่น) ได้รับตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านจำนวนเงินดังกล่าวในชั้นศาล
โจทก์ทราบที่มาของการประเมินทุกขั้นตอนของจำเลยที่ให้โจทก์ในฐานะตัวแทนของบริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) เสียภาษีในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ และโจทก์เข้าใจดีแล้ว ดังนั้นแม้คำสั่งของจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะไม่กล่าว ให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาหรือที่มาของจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ จะต้องชำระก็ไม่เป็นการเคลือบคลุมและไม่เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริง หรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไร เงินที่ลูกค้าในประเทศไทยที่ส่งไปให้แก่ บริษัท น. ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเงินค่าสินค้าซึ่งลูกค้าเป็นผู้ส่งเองโดยทางเลตเตอร์ออฟเครดิต ถือไม่ได้ว่ามีการจำหน่ายเงินกำไรด้วยเพราะโจทก์มิได้เป็นผู้จำหน่ายเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4/2521 และคำพิพากษาฎีกาที่ 358/2524) (วรรคสี่ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2525)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนบริษัทต่างประเทศไม่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายเงินค่าสินค้าที่ลูกค้าส่งไปชำระโดยตรงที่ต่างประเทศ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) ทำสัญญาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยโจทก์ลงชื่อในสัญญาเป็นผู้ขายในฐานะเป็นตัวแทน โจทก์จึงเป็นตัวแทนของบริษัท น. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้จากการขายสินค้า มิใช่เป็นเพียงลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อของบริษัท น. เท่านั้นโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้สำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) มีหุ้นอยู่ในห้างโจทก์ 99.5 เปอร์เซ็นต์โจทก์จึงเป็นตัวแทนตามกฎหมายประกอบธุรกิจแต่บางส่วนให้กับบริษัทดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็น "สถานประกอบการถาวร" ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ มิใช่เป็นแต่ นายหน้า ตัวแทนค้าต่าง หรือตัวแทนอื่น ๆ ที่มีสถานภาพเป็นอิสระ อย่างแท้จริง ซึ่งกระทำการแต่เพียงเป็นสื่อกลางระหว่างวิสาหกิจหนึ่งของรัฐ ผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งกับผู้ที่จะเป็นลูกค้าในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง โจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามอนุสัญญาดังกล่าว
เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ และภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ โดยโจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินได้ที่บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) ได้รับตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านจำนวนเงินดังกล่าวในชั้นศาล
โจทก์ทราบที่มาของการประเมินทุกขั้นตอนของจำเลยที่ให้โจทก์ในฐานะตัวแทนของบริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) เสียภาษีในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ และโจทก์เข้าใจดีแล้ว ดังนั้นแม้คำสั่งของจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะไม่กล่าว ให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาหรือที่มาของจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ จะต้องชำระก็ไม่เป็นการเคลือบคลุมและไม่เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงหรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไร เงินที่ลูกค้าในประเทศไทยที่ส่งไปให้แก่ บริษัท น. ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเงินค่าสินค้าซึ่งลูกค้าเป็นผู้ส่งเองโดยทางเลตเตอร์ออฟเครดิต ถือไม่ได้ว่ามีการจำหน่ายเงินกำไรด้วยเพราะโจทก์มิได้เป็นผู้จำหน่ายเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4/2521และคำพิพากษาฎีกาที่ 358/2524)
(วรรคสี่ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2525)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักลดหย่อนรายจ่ายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
จำนวนเงินที่โจทก์ตัดเป็นรายจ่ายในการจัดตั้งบริษัทโจทก์ฟังไม่ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัทดังโจทก์อ้าง ถือว่าเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18)
โจทก์นำค่าเช่าปี 2508 และ 2509 มาลงจ่ายในปี 2510เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถลงจ่ายในปีนั้นๆ ได้ มิใช่เพิ่งพบในปี 2510 ว่ายังมิได้จ่าย รายจ่ายค่าเช่าดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายซึ่งควรจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น และมิใช่กรณีที่ผู้จ่ายไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นได้ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิปี 2510 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(9)
โจทก์ขายทรัพย์สินไปแล้วจ่ายเงินให้บริษัท ซ. ไปจำนวนหนึ่ง การจ่ายนี้เพื่อให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง มิใช่เป็นค่าทรัพย์สินของบริษัท ซ. ดังโจทก์นำสืบ รายจ่ายดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(15)
โจทก์ตัดหนี้สูญโดยมิได้ฟ้องร้องหรือตั้งอนุญาตโตตุลาการตามข้อเสนอของลูกหนี้ ทั้งส่อแสดงว่าเป็นการสมยอมกันลดกำไรสุทธิของโจทก์เพื่อให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง ถือว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติการโดยสมควร เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ก่อนการตัดหนี้สูญดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ(9) โจทก์จึงนำหนี้สูญนั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้
โจทก์ได้ตัดบัญชีทรัพย์สินถังสองใบออกไปและถือราคาถังสองใบนั้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิด้วยแล้ว เมื่อความจริงโจทก์ยังมิได้ขายถังสองใบไป การตัดบัญชีถังสองใบย่อมมีผลทำให้การคำนวณกำไรสุทธิลดลงตามราคาถังสองใบนั้น จึงต้องห้ามมิให้ถือราคาถังนั้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(17)
โจทก์นำรายการที่ต้องห้ามมิให้หักเป็นรายจ่ายมาหักเป็นรายจ่ายหลายรายการเป็นเงินจำนวนมาก บางรายการโจทก์อ้างข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนความจริงขึ้นโต้แย้ง มิใช่เพียงตีความกฎหมายไม่ตรงกับเจ้าพนักงานประเมิน พฤติการณ์ส่อแสดงว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จึงไม่มีเหตุงดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของนายจ้าง & อายุความเรียกร้องหนี้ภาษี กรณีล้มละลาย
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 29,30 ได้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว กล่าวคือให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษีปฏิบัติได้เป็นขั้นตอนเมื่อผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินก็ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วผู้เสียภาษียังไม่เห็นด้วยก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ จะนำคดีมาฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามวิธีการดังกล่าวเสียก่อนหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ. 2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลจึงจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย, อายุความภาษีอากร, การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 29,30 ได้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว กล่าวคือให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษีปฏิบัติได้เป็นขั้นตอนเมื่อผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินก็ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วผู้เสียภาษียังไม่เห็นด้วยก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ จำนำคดีมาฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามวิธีการดังกล่าวเสียก่อนหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลกฎรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนกังาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยผลแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ.2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์เด็ดขาด ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
of 4