คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 พ.ศ.2515

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างประสบอันตรายระหว่างเดินทางไปทำงาน ไม่ถือว่าเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน จึงไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน
ลูกจ้างของโจทก์ออกเดินทางจากบ้านพักจะไปโรงกุลีเพื่อเอาป้ายสำหรับเดินตรวจทางซึ่งอยู่ในหน้าที่ แต่ยังเดินทางไปไม่ถึงโรงกุลีก็ถูกรถไฟชนถึงแก่ความตายเป็นกรณีที่ผู้ตายยังมิได้เริ่มเดินตรวจทางตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ เพียงแต่กำลังเดินทางจะไปโรงกุลีซึ่งเท่ากับเป็นสถานที่ที่ผู้ตายจะเริ่มต้นทำงานเมื่อผู้ตายได้รับอันตรายในขณะที่ยังเดินทางไปไม่ถึงสถานที่ที่จะเริ่มต้นทำงานและยังมิได้ลงมือทำงานให้แก่โจทก์จะถือว่าประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม2515 ข้อ 2(6) และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาด สิทธิหน้าที่ยังไม่เกิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานตามข้อ 77 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานออกตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103นายจ้างไม่ปฏิบัติตามก็ได้ ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีโทษตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 8 ซึ่งเป็นเรื่องไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทยออกตามข้อ 2 ไม่ใช่ไม่ปฏิบัติตามคำเตือนอย่างคดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทนและการฟ้องคดีหลังพ้นกำหนด ทำให้เกิดความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดนายจ้างไม่จ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทน ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานยกอุทธรณ์เพราะยื่นเกิน 30 วัน อันเป็นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ นายจ้างไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งอธิบดีต่อศาลภายใน 30 วัน คำสั่งนั้นถึงที่สุด นายจ้างนำคดีมาฟ้องศาลภายหลัง การไม่จ่ายเงินเป็นความผิดตาม ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม 2515 ข้อ 8 นายจ้างจ่ายเงินเมื่ออัยการฟ้องนายจ้างแล้วนายจ้างไม่พ้นความผิด หุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นผู้ทำการแทนนิติบุคคลมีความผิดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิรับช่วงเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด หากกฎหมายแรงงานไม่ได้ให้สิทธินายจ้างเรียกคืน
ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยในฐานะนายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนตามกฎหมายแรงงานให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายนั้น กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายพิเศษใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยเฉพาะ ไม่ได้ให้สิทธินายจ้างที่จะเรียกเงินทดแทนที่จ่ายไปคืนจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างได้ ดังนั้นผู้รับประกันภัยซึ่งได้จ่ายเงินทดแทนไปแทนนายจ้างผู้เอาประกันภัยก็ย่อมไม่มีสิทธิเช่นเดียวกัน จึงไม่อาจมีการรับช่วงสิทธิกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกร้องจากผู้ทำละเมิด หากกฎหมายแรงงานไม่ได้ให้สิทธินายจ้างเรียกคืนเงินทดแทน
ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยในฐานะนายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนตามกฎหมายแรงงานให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายนั้น กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายพิเศษใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยเฉพาะ ไม่ได้ให้สิทธินายจ้างที่จะเรียกเงินทดแทนที่จ่ายไปคืนจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างได้ ดังนั้น ผู้รับประกันภัยซึ่งได้จ่ายเงินทดแทนไปแทนนายจ้างผู้เอาประกันภัยก็ย่อมไม่มีสิทธิเช่นเดียวกัน จึงไม่อาจมีการรับช่วงสิทธิกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่ข้อบังคับและไม่สร้างความผิดให้นายจ้าง นายจ้างมีสิทธิฟ้องเพิกถอนคำเตือน
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน วันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 77 ให้จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้าง มิใช่บทบังคับให้นายจ้างต้องปฏิบัติตาม มิใช่เป็นองค์ประกอบความผิดของนายจ้าง ซึ่งนายจ้างมีอยู่ก่อนคำเตือนแล้วไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิที่นายจ้างจะฟ้องอธิบดีกรมแรงงานและพนักงานตรวจแรงงานที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำเตือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานตรวจแรงงานจำกัดเฉพาะการเตือน มิได้ชี้ขาดข้อพิพาทค่าแรง
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน มิได้ให้อำนาจแก่พนักงานตรวจแรงงานที่จะชี้ขาดข้อพิพาทเรื่องเงินค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง พนักงานตรวจแรงงานไม่มีอำนาจออกคำสั่งบังคับนายจ้างให้จ่ายเงินดังกล่าวได้ ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้ลูกจ้าง นายจ้างย่อมมีความผิดทางอาญา ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ข้อ 6 และข้อ 8 การที่พนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนให้โจทก์ในฐานะนายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างภายในกำหนดเวลา เป็นอำนาจตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 77 ซึ่งมิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดหรือคำสั่งที่มีผลบังคับทางกฎหมาย จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำเตือนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเรื่องค่าชดเชย: ไม่ผูกพันทางกฎหมาย นายจ้างฟ้องเพิกถอนไม่ได้
พนักงานตรวจแรงงานเป็นแต่ผู้ไกล่เกลี่ยเรื่องค่าชดเชยคำเตือนที่ออกตามประกาศกระทรวงมหาดไทยมิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดไม่มีผลบังคับในกฎหมายถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ต้องฟ้องบังคับกันต่อไป ฉะนั้นก็ยังไม่มีการโต้แย้งสิทธิระหว่างนายจ้างกับพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างฟ้องให้ศาลเพิกถอนคำสั่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องแรงงานสัมพันธ์ และการสืบพยานประกาศ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ ประกาศโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 นั้น มีผลบังคับอย่างกฎหมาย และประกาศดังกล่าวก็รับกันโดยปริยายว่าได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงประกาศนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าจ้างลูกจ้าง: ประกาศคุ้มครองแรงงานไม่ได้ห้ามการบังคับคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 30 ซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ที่ระบุว่า 'ในการจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด นายจ้างจะนำหนี้อื่นมาหักมิได้ นั้นหมายถึงห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นที่ลูกจ้างเป็นหนี้นายจ้างหรือบุคคลอื่นมาหักกับค่าจ้างฯลฯ ที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเท่านั้น ไม่ได้ระบุห้ามไม่ให้เงินค่าจ้างอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่ศาลออกหมายอายัดเงินค่าจ้างของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ร้องตามคำขอของโจทก์นั้นจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3)
of 8