พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองสัญญาเช่าตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ เมื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยควบคู่กับที่เก็บสินค้า
ปัญหาโต้เถียงกันว่า สัญญาเช่าจะได้รับความคุ้มครองตามพะราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ หรือไม่นั้น เมื่อตามสัญญาเช่าที่รับกัน ปรากฏว่าเช่าเพื่อเป็นที่ไว้เฉพาะแต่สินค้าเท่านั้น แต่จำเลยยังเถียงอยู่ว่า จำเลยและบริวารได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยโดยโจทก์รู้เห็นยินยอมมิว่ากล่าวทักท้วงประการใด ซึ่งเป็นประเด็นโต้เถียงกันในข้อเท็จจริง ซึ่งศาลต้องดำเนินการสืบพยานฟังข้อเท็จจริงกันต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับรองฎีกาของผู้พิพากษาที่ไม่นั่งพิจารณาคดี
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่นั่งพิจารณาคดี และไม่ได้ลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งไว้ ย่อมไม่มีอำนาจรับรองฎีกาตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 248.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับรองฎีกาของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลที่ไม่นั่งพิจารณาคดี
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่นั่งพิจารณาคดีและไม่ได้ลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งไว้ ย่อมไม่มีอำนาจรับรองฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากผิดสัญญา: ศาลให้ได้ทั้งค่าเสียหายจริงและค่าปรับตามสัญญา
คดีเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญา เมื่อจำเลยรู้ดีว่า เมื่อตนผิดสัญญาโจทก์จะต้องเสียหาย ดังนี้ จำเลยต้องรับผิดในค่าเสียหาย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรค2 ซึ่งศาลอาจจะให้ค่าเสียหายได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญา 1,000 บาทและค่าเสียหายจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง 7,000 บาทศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 1,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์เห็นควรให้ค่าเสียหายทั้งหมดรวมกัน 7,000 บาทดังนี้ จะเรียกว่าศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยในเรื่อง 1,000 บาทซึ่งโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ไม่ได้
เมื่อมีกรณีผิดสัญญาแล้ว ก็ย่อมเรียกค่าเสียหายแก่กันได้ถ้าผู้ได้รับความเสียหายพิสูจน์ได้ว่าตนได้เสียหายจริงจังเป็นเงินเท่าใดแล้ว ศาลก็ให้ตามนั้น หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลก็ให้ค่าเสียหายตามควรแก่กรณีโดยศาลกำหนดให้เองแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร และผู้เสียหายอาจได้รับค่าเสียหายทั้งสองประเภทก็ได้
คดีนี้ โจทก์ต้องเสียหายเพราะต้องรื้อสิ่งปลูกสร้างไป และต้องเสียหายเพราะไม่ได้ที่ดิน โจทก์จึงชอบที่จะได้ค่าเสียหายทั้งสองจำนวนรวมกันเป็น8,000 บาท
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญา 1,000 บาทและค่าเสียหายจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง 7,000 บาทศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 1,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์เห็นควรให้ค่าเสียหายทั้งหมดรวมกัน 7,000 บาทดังนี้ จะเรียกว่าศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยในเรื่อง 1,000 บาทซึ่งโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ไม่ได้
เมื่อมีกรณีผิดสัญญาแล้ว ก็ย่อมเรียกค่าเสียหายแก่กันได้ถ้าผู้ได้รับความเสียหายพิสูจน์ได้ว่าตนได้เสียหายจริงจังเป็นเงินเท่าใดแล้ว ศาลก็ให้ตามนั้น หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลก็ให้ค่าเสียหายตามควรแก่กรณีโดยศาลกำหนดให้เองแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร และผู้เสียหายอาจได้รับค่าเสียหายทั้งสองประเภทก็ได้
คดีนี้ โจทก์ต้องเสียหายเพราะต้องรื้อสิ่งปลูกสร้างไป และต้องเสียหายเพราะไม่ได้ที่ดิน โจทก์จึงชอบที่จะได้ค่าเสียหายทั้งสองจำนวนรวมกันเป็น8,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายที่ดิน: ศาลวินิจฉัยสิทธิในที่ดินเมื่อจำเลยอ้างการซื้อขายกับผู้โอนก่อน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย อ้างว่าอาศัย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยได้กรมมสิทธิทางปรปักษ์ ให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้โอนตามฟ้องแย้งของจำเลย โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ฟังว่า โจทก์ได้รับโอนโดนสุจริต ให้ขับไล่จำเลย จำเลยฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยถึงประเด็นข้อที่ว่า จำเลยอยู่โดยปรปักษ์หรือโดยอาศัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ vs. สิทธิจากนิติกรรมซื้อขาย: การครอบครองที่ดินโดยอาศัย vs. การซื้อขายจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าอาศัย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้โอนตามฟ้องแย้งของจำเลย โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ฟังว่า โจทก์ได้รับโอนโดยสุจริต ให้ขับไล่จำเลย จำเลยฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยถึงประเด็นข้อที่ว่า จำเลยอยู่โดยปรปักษ์หรือโดยอาศัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินระหว่างคู่ไม่สมรสตามกฎหมาย: ถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม มิใช่สินสมรส ศาลสั่งคืนได้
ทรัพย์สินของสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องถือหลักกรรมสิทธิ์ร่วม
โจทก์เป็นมารดาผู้ตายฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายจากจำเลยเมื่อฟังว่าจำเลยและผู้ตายไม่ใช่สามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ศาลย่อมสั่งให้จำเลยคืนทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นอย่างไร
ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดให้เป็นโทษแก่โจทก์แล้วโจทก์พอใจไม่อุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์แต่ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนั้น แต่อุทธรณ์ในประเด็นข้ออื่น ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะกลับไปชี้ขาดในประเด็นข้อนั้นให้เป็นโทษแก่จำเลยไม่ได้
โจทก์เป็นมารดาผู้ตายฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายจากจำเลยเมื่อฟังว่าจำเลยและผู้ตายไม่ใช่สามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ศาลย่อมสั่งให้จำเลยคืนทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นอย่างไร
ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดให้เป็นโทษแก่โจทก์แล้วโจทก์พอใจไม่อุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์แต่ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนั้น แต่อุทธรณ์ในประเด็นข้ออื่น ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะกลับไปชี้ขาดในประเด็นข้อนั้นให้เป็นโทษแก่จำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาวินิจฉัยกลับข้อเท็จจริงเรื่องการครอบครองและกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่าผู้ตายได้ยกที่พิพาทให้โจทก์ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้วจึงตาย จำเลยที่ 1 เป็นทายาทของผู้ตาย ได้ขอโอนรับมรดกที่พิพาท และโอนขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริต จึงขอให้ศาลแสดงว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท และถอนชื่อจำเลยที่ 2 ออกจากโฉนด
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามพยานโจทก์ พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ชี้ข้อเท็จจริงว่า โจทก์ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่แต่ชี้ในข้อที่ว่า โจทก์สืบไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อไปโดยไม่สุจริตพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฎีกาในข้อที่ว่าสัญญาซื้อขายไม่สุจริตข้อเดียว
ศาลฎีกามีอำนาจชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ได้
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามพยานโจทก์ พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ชี้ข้อเท็จจริงว่า โจทก์ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่แต่ชี้ในข้อที่ว่า โจทก์สืบไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อไปโดยไม่สุจริตพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฎีกาในข้อที่ว่าสัญญาซื้อขายไม่สุจริตข้อเดียว
ศาลฎีกามีอำนาจชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งยึดทรัพย์ก่อนคำพิพากษา: ศาลชั้นต้นมีอำนาจหน้าที่ก่อนสำนวนถึงศาลอุทธรณ์
การยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวนั้น ถ้าศาลอุทธรณ์ยังมิได้รับสำนวนลงสารบบก็เป็น
เรื่องอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้น
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องใดอย่างน้อยจะต้องมีคำฟ้องคำแก้ซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมา
ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือทำคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการบังคับคดี คือศาลที่พิจารณาคดีนั้นในชั้นต้น "ฯลฯ"
การที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 240 และ 302 ไว้ก็เพื่อจะมิให้มีการก้าวก่ายสับสนหน้าที่กัน
เรื่องอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้น
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องใดอย่างน้อยจะต้องมีคำฟ้องคำแก้ซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมา
ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือทำคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการบังคับคดี คือศาลที่พิจารณาคดีนั้นในชั้นต้น "ฯลฯ"
การที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 240 และ 302 ไว้ก็เพื่อจะมิให้มีการก้าวก่ายสับสนหน้าที่กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งยึดทรัพย์ก่อนคำพิพากษา ต้องเป็นไปตามกระบวนการวิธีพิจารณา และศาลชั้นต้นมีอำนาจหน้าที่ก่อนศาลอุทธรณ์
การยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวนั้น ถ้าศาลอุทธรณ์ยังมิได้รับสำนวนลงสารบบก็เป็นเรื่องอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของศาลชั้นต้น
การที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยเรื่องใดอย่างน้อยจะต้องมีคำฟ้องคำแก้ซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมา
ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือทำคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการบังคับคดีคือศาลที่พิจารณาคดีนั้นในชั้นต้น "ฯลฯ"
การที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 240 และ 302 ไว้ก็เพื่อจะมิให้มีการก้าวก่ายสับสนหน้าที่กัน
การที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยเรื่องใดอย่างน้อยจะต้องมีคำฟ้องคำแก้ซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมา
ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือทำคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการบังคับคดีคือศาลที่พิจารณาคดีนั้นในชั้นต้น "ฯลฯ"
การที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 240 และ 302 ไว้ก็เพื่อจะมิให้มีการก้าวก่ายสับสนหน้าที่กัน