พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองเพื่อประกันหนี้บุคคลอื่น: สิทธิจำนองจำกัดวงเงินและดอกเบี้ย, ศาลมีอำนาจสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
ผู้รับโอนโดยซื้อทรัพย์พิพาทจากการขายทอดตลาด ซึ่งมีเงื่อนไขให้ติดจำนองมาด้วยโดยมิได้เป็นลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนองได้ด้วยการรับใช้เงินให้เป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินซึ่งหมายถึงราคาทรัพย์จำนองในเวลาที่ผู้รับโอนขอไถ่ถอนจำนอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 736 และมาตรา 738 แต่เจ้าหนี้มีสิทธิบอกปัดไม่รับคำเสนอและต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำเสนอเพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นตามมาตรา 739 เมื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินโดยติดจำนองซึ่งมิได้มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ตามข้อตกลงต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนอง และไม่มีข้อตกลงในการแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวจำเลยมาเป็นลูกหนี้แทน บ. ลูกหนี้ และ จ. ผู้จำนอง จึงไม่เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหรือลูกหนี้ร่วมได้ ความรับผิดของจำเลยย่อมมีเพียงทรัพย์สินซึ่งจำนองที่ตนรับโอนมาซึ่งตราเป็นประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น กรณีนี้จำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ตามวงเงินจำนองกับดอกเบี้ยของวงเงินจำนองและค่าอุปกรณ์อื่นตามมาตรา 715 ด้วย เมื่อปรากฏว่าหนังสือสัญญาจำนองเป็นประกันระบุว่า จ. จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้กู้ยืมของ บ. อันเป็นการจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระตามมาตรา 709 ที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหรือเวลาหนึ่งเวลาใดในภายหน้าเป็นต้นทุนขั้นสูงสุด 52,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี สิทธิจำนองจึงย่อมครอบเพียงต้นเงิน 52,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองเท่านั้น กรณีจึงไม่จำต้องกำหนดราคาอันสมควรกับทรัพย์จำนองพิพาทเพราะไม่เกิดประโยชน์แก่รูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11603/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้เงินทุน ไม่ครอบคลุมหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์แบบเมนเทแนนส์มาร์จิ้น แม้มีข้อความกว้างในสัญญา
จ. ทำสัญญากู้ยืมเงินจากจำเลยเมื่อปี 2534 เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ จ. โดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินเพื่อประกันการกู้ยืมเงินและหนี้สินอื่นๆ ของโจทก์ และหรือของ จ. ที่มีอยู่แล้วขณะที่ทำสัญญาและที่จะมีขึ้นในภายหน้าต่อจำเลย เป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้การกู้ยืมในเรื่องเงินทุน แต่ไม่ใช่เป็นประกันหนี้การกู้ยืมเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์แบบเมนเทแนนส์มาร์จิ้นของ จ. ซึ่งทำในปี 2531 เนื่องจากการกู้ยืมในเรื่องหลักทรัพย์มีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนดไว้ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน เพราะไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการให้นำที่ดินจดทะเบียนจำนองประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ แต่ให้นำหลักทรัพย์จดทะเบียน พันธบัตร สลากออมสิน มาวางเป็นประกัน และผู้ให้ยืมจะได้เงินกู้ยืมในกรณีนี้คืนเมื่อขายหลักทรัพย์ได้แล้วเท่านั้น ในระหว่างยังมิได้ขายหลักทรัพย์ผู้ให้กู้ยืมจะเรียกให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้เงินกู้ยืมไม่ได้ มิฉะนั้นการซื้อขายหลักทรัพย์จะปั่นป่วน คงมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ยืมชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาให้ผูกพันเลยไปถึงเป็นประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวด้วย เมื่อหนี้เงินทุนระงับแล้วจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับตามไปด้วย และจำเลยต้องส่งมอบหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้แก่โจทก์และจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดจำนองเพื่อขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ไม่กระทบหนี้เดิม ผู้จำนองยังต้องรับผิดตามสัญญา
สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและหนังสือต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันระบุไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้การกู้ยืมเงินและหนี้สินอื่นซึ่งจำเลยที่ 2 และหรือจำเลยที่ 1 มีอยู่ต่อโจทก์ทั้งในเวลาที่ทำสัญญาและต่อไปในภายหน้า จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ประกันด้วยทรัพย์คือ จำนอง สัญญาประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะยกเลิกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงหลักประกันอย่างไรก็ได้
โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำบันทึกข้อตกลงระงับจำนอง (ปลดจำนอง) ระบุไว้ชัดว่าทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ที่ดินที่จำนองไว้พ้นจากการจำนองไปเพื่อนำไปยื่นขอรับใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ดังนั้น ภาระหนี้สินที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่ตามเดิมตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและหนังสือต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกัน โดยข้อตกลงแม้จะเป็นการปลดจำนอง ก็มีผลเพียงแต่ทำให้โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาจำนองเป็นประกันได้เท่านั้น แต่ภาระหนี้ในการประกันจำเลยที่ 2 และที่ 1 ยังคงมีอยู่ ซึ่งเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่จำเลยที่ 2 ต้องผูกพันชำระหนี้ให้แก่โจทก์
โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำบันทึกข้อตกลงระงับจำนอง (ปลดจำนอง) ระบุไว้ชัดว่าทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ที่ดินที่จำนองไว้พ้นจากการจำนองไปเพื่อนำไปยื่นขอรับใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ดังนั้น ภาระหนี้สินที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่ตามเดิมตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและหนังสือต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกัน โดยข้อตกลงแม้จะเป็นการปลดจำนอง ก็มีผลเพียงแต่ทำให้โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาจำนองเป็นประกันได้เท่านั้น แต่ภาระหนี้ในการประกันจำเลยที่ 2 และที่ 1 ยังคงมีอยู่ ซึ่งเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่จำเลยที่ 2 ต้องผูกพันชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืมและจำนองทรัพย์สิน แม้ภริยาไม่ได้กู้โดยตรง แต่ให้ความยินยอมและสัตยาบันถือเป็นลูกหนี้ร่วม
แม้หนี้เงินกู้ซึ่ง อ. สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของอ.ฝ่ายเดียวก็ตามแต่จำเลยก็ยินยอมให้อ. กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่ อ. ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4) จำเลย ในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับ อ. ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งมิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐาน ดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็น หนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ หนี้เงินกู้ที่ อ. กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ. สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ประกันเงินกู้ โดย อ. ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ. ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐาน แห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมี หลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัดจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อ เป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตามแต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์ นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ. สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอม จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนอง อัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2537 อ. ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หลังจากนั้น อ. และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวด วันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็น ผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537 เป็นต้นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัด ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืม และผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาจำนอง
แม้หนี้เงินกู้ซึ่ง อ.สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์ เป็นหนี้ที่ อ.ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของ อ.ฝ่ายเดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ยินยอมให้ อ.กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่ อ.ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) จำเลยในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับ อ.ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้
หนี้เงินกู้ที่ อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ.สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดย อ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ.ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตาม แต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ.สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21มีนาคม 2537 อ.ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หลังจากนั้น อ.และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้
หนี้เงินกู้ที่ อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ.สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดย อ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ.ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตาม แต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ.สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21มีนาคม 2537 อ.ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หลังจากนั้น อ.และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืมเงินและการจำนองทรัพย์สิน แม้ฟ้องผิดฐานแต่ศาลสามารถแก้ไขได้
แม้หนี้เงินกู้จำนวน 3,500,000 บาท ซึ่งอ. สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์ เป็นหนี้ที่อ. ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของอ.ฝ่ายเดียวก็ตามแต่จำเลยก็ยินยอมให้อ.กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่อ. ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4)จำเลยในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับอ. ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ หนี้เงินกู้ที่อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่อ. และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่อ. สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดยอ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวอ. ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้วกรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีกจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อ เป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตามแต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไร การที่ โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ. สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอมและจำเลย ยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่อ. และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไปจะเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ก็ตามแต่เมื่อจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วต่อมาอ. ได้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หลังจากนั้นอ. และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีกเมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้งแต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ระบุไว้ในสัญญาในวันที่21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งมิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ตกลงทำสัญญาให้คิดดอกเบี้ยฝ่าฝืนกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6027/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างและผู้ค้ำประกันจากความเสียหายเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่นอกเหนืออำนาจ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อ ไม่มีหน้าที่รับชำระหนี้จากสมาชิกของโจทก์ แต่ได้กระทำการนอกหน้าที่โดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจไปหลอกลวงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายต้องจ่ายเงินคืนให้แก่สมาชิก การที่โจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 1 นั้นแล้ว ย่อมต้องถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเงินและรับเงินไว้จากสมาชิก จำเลยที่ 1จึงมีหน้าที่จะต้องนำมามอบให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย การที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการผิดสัญญาจ้าง
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามความในข้อ 1 แห่งสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดในความเสียหายอันเนื่องมาจากกระทำหรืองดเว้นกระทำไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และเมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความว่า ผู้ว่าจ้างได้ว่าจ้างผู้รับจ้างกระทำการในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่อื่นที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการ หรือผู้จัดการสหกรณ์โจทก์เช่นนี้ เมื่อความเสียหายของโจทก์เกิดจากการกระทำซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองด้วย
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามความในข้อ 1 แห่งสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดในความเสียหายอันเนื่องมาจากกระทำหรืองดเว้นกระทำไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และเมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความว่า ผู้ว่าจ้างได้ว่าจ้างผู้รับจ้างกระทำการในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่อื่นที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการ หรือผู้จัดการสหกรณ์โจทก์เช่นนี้ เมื่อความเสียหายของโจทก์เกิดจากการกระทำซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักบัญชีเงินฝากชำระหนี้จากการจำนองร่วมกับผู้อื่น แม้ฟ้องผิดฐาน แต่สิทธิหักบัญชีมีผลบังคับ
โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันหนี้จำเลยโดยมีข้อตกลงให้โจทก์หักหนี้จำเลยจากบัญชีเงินฝากจำเลยได้แต่หนี้ที่ฟ้องเป็นหนี้ของซ.ส่วนหนี้ที่ให้หักจากบัญชีเงินฝากเป็นหนี้ของจำเลยที่มีต่อผู้อื่นและโจทก์ได้ชำระหนี้ส่วนนั้นไปแล้วแต่เมื่อจำเลยได้จำนองที่ดินประกันหนี้ของช.จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาจำนองเมื่อคู่สัญญามีหนี้ต่อกันและตกลงให้หักบัญชีเงินฝากได้ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยผู้จำนองจะต้องร่วมรับผิดกับซ.โจทก์จึงมีสิทธิหักบัญชีเงินฝากของจำเลย โจทก์ฟ้องบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ขอบังคับจำนองแต่เมื่อฟังได้ว่ามิใช่หนี้ของจำเลยแต่เป็นหนี้ของซ. แม้จะตรงตามข้อสัญญาของโจทก์กับจำเลยแต่ก็ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องศาลไม่อาจบังคับให้ตามที่โจทก์ประสงค์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากบัญชีเงินฝากและขอบเขตการฟ้องร้อง: หนี้ของ ซ. กับสิทธิโจทก์
โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันหนี้จำเลยโดยมีข้อตกลงให้โจทก์หักหนี้จำเลยจากบัญชีเงินฝากจำเลยได้ แต่หนี้ที่ฟ้องเป็นหนี้ของ ซ. ส่วนหนี้ที่ให้หักจากบัญชีเงินฝากเป็นหนี้ของจำเลยที่มีต่อผู้อื่น และโจทก์ได้ชำระหนี้ส่วนนั้นไปแล้ว แต่เมื่อจำเลยได้จำนองที่ดินประกันหนี้ของ ซ.จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาจำนอง เมื่อคู่สัญญามีหนี้ต่อกันและตกลงให้หักบัญชีเงินฝากได้ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยผู้จำนองจะต้องร่วมรับผิดกับ ซ. โจทก์จึงมีสิทธิหักบัญชีเงินฝากของจำเลย
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ขอบังคับจำนอง แต่เมื่อฟังได้ว่ามิใช่หนี้ของจำเลย แต่เป็นหนี้ของ ซ. แม้จะตรงตามข้อสัญญาของโจทก์กับจำเลย แต่ก็ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ศาลไม่อาจบังคับให้ตามที่โจทก์ประสงค์ได้
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ขอบังคับจำนอง แต่เมื่อฟังได้ว่ามิใช่หนี้ของจำเลย แต่เป็นหนี้ของ ซ. แม้จะตรงตามข้อสัญญาของโจทก์กับจำเลย แต่ก็ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ศาลไม่อาจบังคับให้ตามที่โจทก์ประสงค์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดจำนองเกินวงเงินสัญญา และดอกเบี้ยทบต้นที่คำนวณได้ตามสัญญา
ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ 3ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 3 จึงมีความรับผิดตามสัญญาดังกล่าวในต้นเงิน 1,000,000 บาท เท่านั้นข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่ว่า การกำหนดจำนวนต้นเงินตามสัญญาจำนองไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองที่จะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมี ดอกเบี้ย หรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้เพราะจำเลยที่ 3ผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอน หรือไม่มีจำนวนขึ้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ ส่วนที่จำเลยที่ 3 ตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มีผลเพียงว่าจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษ เช่น การยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ด้วย ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามบัญชีเดินสะพัด ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 ได้ตามสัญญา นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกันซึ่งปรากฏว่ามีรายการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27เมษายน 2528 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวหลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3