คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การฟ้องจำเลยต่างประเทศ แม้มีตัวแทนในไทย ต้องมีสำนักงานหรือเลือกไทยเป็นภูมิลำเนา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ตั้งจำเลยที่ 5 เป็นตัวแทนในประเทศไทยเพื่อดูแลกิจการและผลประโยชน์ของจำเลยโดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ที่ 5 ฐานละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ตั้งตัวแทนดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย เพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่มีสำนักงานสาขาอยู่ประเทศไทยหรือเลือกเอาประเทศไทยเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำในประเทศไทยด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ต่อศาลในประเทศไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบังคับคดีทรัพย์นอกเขตศาล: ศาลสั่งให้ศาลที่ทรัพย์ตั้งอยู่ดำเนินการ หรือมอบให้ศาลแรกทำได้
การบังคับคดีแก่ทรัพย์ซึ่งอยู่นอกเขตสาลนั้น ศาลชั้นต้นที่ชี้ขาดตัดสินจะทำการบังคับคดีเอากับทรัพย์นั้น ๆ ไม่ได้ จักต้องตั้งศาลชั้นต้นที่ทรัพย์นั้นอยู่ในเขตศาลให้ดำเนินการบังคับดคีแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 16 ประกอบกับมาตรา 302 วรรคท้าย เมือ่ได้ตั้งศาลชั้นต้นใดให้ดำเนินการบังคับคดีแทนแล้ว ศาลชั้นต้นที่ตั้งศาลอื่นก็ยังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยบวกับการบังคับคดีต่อไปจนเสร็จสิ้น โดนจะให้ศาลชั้นต้นที่ทำการบังคับคดีแทนทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดแล้วส่งเงินที่ได้จากการขายทรัพย์นั้นไป หรือเพียงแต่มอบให้ยึดทรัพย์ไว้โดยจะทำการขายทอดตลาดเสียเองก็ย่อมทำได้
การที่จำเลยยื่นฎีกาโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นฎีกาขึ้นมา โดยมิได้สั่งให้ทำใหม่เสียให้ถูกต้อง ก็อนุโลมให้ถือว่าเป็นฎีกาที่สั่งรับไว้แล้วโดยชอบ ไม่จำเป็นต้องสั่งย้อนให้จำเลยทำใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาบริษัทต่างชาติ: การฟ้องร้องในไทยต้องมีสำนักงานสาขา หรือภูมิลำเนาในประเทศ
บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศนั้นไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยแม้บริษัทจำเลยที่ 1 จะมอบให้บริษัทจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในประเทศไทยก็ยังถือไม่ได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยอันจะทำให้โจทก์ฟ้องบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ เพราะภูมิลำเนาของตัวแทนไม่เป็นภูมิลำเนาของตัวการด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของตัวแทนมิใช่ภูมิลำเนาของตัวการ โจทก์ฟ้องบริษัทต่างชาติในไทยไม่ได้
บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศนั้นไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทย แม้บริษัทจำเลยที่ 1 จะมอบให้บริษัทจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในประเทศไทย ก็ยังถือไม่ได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยอันจะทำให้โจทก์ฟ้องบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ เพราะภูมิลำเนาของตัวแทนไม่เป็นภูมิลำเนาของตัวการด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลังหย่ามีผลอย่างไร และศาลใดมีอำนาจพิจารณา
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน. และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด. สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป.จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร. การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1536. อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่.
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2ใน 4 คนคืนแก่สามี. หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว. สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง. ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม. แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาสงบข้อพิพาทหย่าร้างและการบังคับชำระหนี้ค่าเลี้ยงดูบุตรตามสัญญา
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วย สามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า มีผลบังคับใช้ได้ แม้ฝ่ายหนึ่งไม่รับบุตรไปเลี้ยง
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฟ้องหย่า: พิจารณาความสะดวกของคู่ความและพยานเป็นสำคัญ
โจทก์ซึ่งเป็นสามีจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ฟ้องขอหย่าขาดกับจำเลยต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดพระนครในเขตศาลแพ่ง แต่มูลคดีอันเป็นเหตุขอหย่าตามที่โจทก์ฟ้องเกิดขึ้นในจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งตัวโจทก์และพยานโจทก์มีภูมิลำเนาในจังหวัดอุตรดิตถ์ ถ้าดำเนินการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จะเป็นการสดวกจึงขออนุญาตยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ เช่นนี้ บทกฎหมายอันว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งนั้นบัญญัติขึ้นเพื่อจะให้ความสดวกแก่การฟ้องร้องคดีการต่อสู้คดีและการพิจารณาคดีประกอบกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) จะเห็นได้ว่ากฎหมายให้พิจารณาถึงความสดวกเป็นสำคัญ จะว่าหากให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จำเลยจะต้องลำบากในการไปจากจังหวัดพระนคร แต่การให้ไปฟ้องยังศาลในจังหวัดพระนครโจทก์ก็ต้องลำบากเช่นเดียวกัน ตามเหตุที่อ้างในคำร้องของโจทก์นั้น ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ก็เป็นศาลที่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) และการให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ก็เป็นการสดวกแก่พยาน หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ยังไม่เป็นที่พอใจตามคำร้องของโจทก์หรือสงสัยประการใด ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จะสอบถามหรือไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 ก่อนก็ได้
กรณีเช่นนี้ กล่าวทางแง่ของจำเลย หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์อนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ ถ้าไม่มีเหตุสมควรที่จะทำการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ จำเลยก็ยังมีทางแก้ไข โดยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6 ขอโอนคดีไปยังศาลในจังหวัดพระนครได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฟ้องหย่า: ความสะดวกในการดำเนินคดีและภูมิลำเนาของคู่ความ
โจทก์ซึ่งเป็นสามีจำเลยมีภูมิสำเนาอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ฟ้องขอหย่าขาดกับจำเลยต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดพระนครในเขตศาลแพ่ง แต่มูลคดีอันเป็นเหตุขอหย่าตามที่โจทก์ฟ้อง เกิดขึ้นในจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งตัวโจทก์และพยานโจทก์มีภูมิลำเนาในจังหวัดอุตรดิตถ์ ถ้าดำเนินการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ จะเป็นการสดวกจึงขออนุญาตยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ เช่นนี้ บทกฎหมายอันว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งนั้น บัญญัติขึ้นเพื่อจะให้ความสดวกแก่การฟ้องร้องคดีการต่อสู้คดีและการพิจารณาคดีประกอบกัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้พิจารณาถึงความสดวกเป็นสำคัญ จะว่าหากให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จำเลย จะต้องลำบากในการไปจากจังหวัดพระนคร แต่การให้ไปฟ้องยังศาลในจังหวัดพระนคร โจทก์ก็ต้องลำบากเช่นเดียวกันตามเหตุที่อ้างในคำร้องของโจทก์นั้น ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ก็เป็นศาลที่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) และการให้ฟ้องยังศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ก็เป็นการสดวกแก่พยาน หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ยังไม่เป็นที่พอใจตามคำร้องของโจทก์หรือสงสัยประการใด ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จะสอบถามหรือไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 ก่อนก็ได้
กรณีเช่นนี้ กล่าวทางแง่ของจำเลย หากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ อนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ ถ้าไม่มีเหตุสมควรที่จะทำการพิจารณาในศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ่จำเลยก็ยังมีทางแก้ไข โดยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6 ขอโอนคดีไปยังศาลในจังหวัดพระนครได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดในคดีที่ดินต่างประเทศ แม้ขอประมูลหรือขายทอดตลาด ศาลไทยไม่มีอำนาจบังคับได้
โจทก์ฟ้องขอให้เอาที่ดินซึ่งอยู่ต่างประเทศประมูลราคาหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่ง หรือถ้าหากจำเลยต้องการที่ดิน ก็ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่ง ดังนี้ แม้จะไม่ได้ขอให้แบ่งพื้นที่ดินก็ตามแต่โจทก์ให้จัดการประมูลหรือขายทอดตลาด ถ้าให้ศาลไทยำระคดีที่ดินอยู่ต่างประเทศ หากจะต้องบังคับถึงพื้นดินตามคำขอท้ายฟ้อง ก็บังคับไม่ได้ ฉะนั้น ศาลไทยจึงไม่มีอำนาจชำระคดี เช่นนี้ได้
of 4