พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8384/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงแชร์ทองคำ: ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดกรรมเดียวหรือไม่ และการเพิ่มโทษโดยมิชอบ
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ในช่วงเดือนเมษายน 2556 จำเลยมาที่บ้านโจทก์ร่วมและพูดชักชวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามให้เล่นแชร์ทองคำกับจำเลย โดยบอกว่าจะได้ผลตอบแทนในอัตราร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ลงเล่นแชร์ทองคำภายใน 1 ถึง 2 วัน แต่ในวันดังกล่าวโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามยังไม่สนใจ หลังจากนั้นจำเลยพูดชักชวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนให้เล่นแชร์ทองคำกับจำเลยอีกหลายครั้งจนกระทั่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามตกลง โดยโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยผ่านทางบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วม ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ได้เงินไปจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสาม โดยจำเลยมีเจตนาให้เกิดผลต่อโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน เป็นความผิดสำเร็จสำหรับโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคน จึงเป็นความผิดรวม 4 กรรม ส่วนที่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามนำเงินโอนเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยหลายครั้งหลายคราวตามฟ้องนั้น เป็นเพียงผลสืบเนื่องจากการกระทำของจำเลยในครั้งแรก โดยมีเจตนาอันเดียวกันเพื่อให้ได้รับเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน โจทก์และโจทก์ร่วมไม่อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษจำคุก 2 ปี จึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยไม่ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน โจทก์และโจทก์ร่วมไม่อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษจำคุก 2 ปี จึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยไม่ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดทางการค้า – การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม – การโฆษณาชักจูงลูกค้า – การใช้ชื่อทางการค้าของผู้อื่น
คดีนี้โจทก์ทั้งสองจัดรายการส่งเสริมการขาย "ผนึกกำลังสนั่นวงการ ช้อปสะใจคืนกำไร 2 ห้าง" โดยแจกคูปองมูลค่า 80 บาท ให้แก่ลูกค้าที่ซื้อสินค้าที่ห้างของโจทก์ทั้งสองขั้นต่ำ 800 บาท นำมาใช้เป็นส่วนลดราคาสินค้าที่ห้างของโจทก์ทั้งสองได้เมื่อซื้อสินค้าตั้งแต่ 400 บาท ขึ้นไป จำเลยจัดรายการส่งเสริมการขายและโฆษณาว่า "ยินดีต้อนรับลูกค้าคาร์ฟูร์ด้วยใจ สิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับผู้ถือคูปองคาร์ฟูร์ นำมาเพิ่มมูลค่า 2 เท่า เมื่อใช้คู่กับบัตรคลับการ์ด" โดยโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งยังอยู่ในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ทั้งสองจัดรายการส่งเสริมการขาย ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงถึงยอดขายของโจทก์ทั้งสอง กรณีนี้เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นลงทุนโฆษณาสื่อถึงลูกค้าเพื่อมาซื้อสินค้าของตน ต้องใช้บุคลากรและเงินจำนวนมาก ส่วนจำเลยเพียงแต่อาศัยการโฆษณาของโจทก์ทั้งสองเป็นพื้นฐานแล้วโฆษณาเพิ่มเติมโดยให้ประโยชน์แก่ลูกค้ามากกว่า ง่ายต่อการจูงใจให้ลูกค้านำคูปองมาใช้ที่ห้างของตน เมื่อลูกค้าของโจทก์ทั้งสองนำคูปองของห้างโจทก์ทั้งสองมาซื้อสินค้าที่ห้างของจำเลยแล้ว จำเลยก็จะเก็บคูปองไว้ ทำให้ลูกค้าของห้างโจทก์ทั้งสองไม่มีคูปองที่จะกลับไปซื้อสินค้าครั้งที่สองที่ห้างของโจทก์ทั้งสองได้อีก อันเป็นการทำให้รายการส่งเสริมการขายของห้างโจทก์ทั้งสองไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง นอกจากนี้ลูกค้าที่นำคูปองมาใช้ที่ห้างของจำเลย ก็มิได้รับสิทธิในการใช้คูปองทุกคน โดยผู้ที่จะได้รับสิทธิในการใช้คูปองคือ ลูกค้าที่ยังไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกคลับการ์ดของจำเลยและจะต้องสมัครเป็นสมาชิกคลับการ์ดของจำเลยก่อนที่จะได้รับสิทธิ แม้ลูกค้าที่สมัครสมาชิกคลับการ์ดของจำเลยแล้ว ยังสามารถเป็นสมาชิกของห้างโจทก์ทั้งสองและกลับไปซื้อสินค้าที่ห้างของโจทก์ทั้งสองได้ แต่ก็ทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่า ห้างของจำเลยให้ประโยชน์แก่ลูกค้ามากกว่าห้างของโจทก์ทั้งสอง การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นวิสัยทางการค้าปกติ แต่มีเจตนาทำให้โจทก์ทั้งสองต้องเสียหาย เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421
รายการส่งเสริมการขายมุ่งต่อการขยายฐานลูกค้าบางกลุ่มเป็นหลัก แม้จะมีการอ้างถึงบัตรคาร์ฟูร์ไอวิช แต่โจทก์ทั้งสองก็ได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าได้ทราบถึงการเข้าซื้อกิจการของโจทก์ที่ 2 แล้ว ลูกค้าย่อมรับทราบว่าโจทก์ที่ 1 ซื้อกิจการและมีการเปลี่ยนชื่อโจทก์ที่ 2 เป็นห้าง บ. ไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ทั้งสองว่า มีลูกค้าคนใดเกิดความสับสนว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อกิจการของโจทก์ที่ 2 ดังนั้นการจัดรายการส่งเสริมการขายของจำเลยโดยอ้างถึงบัตรไอวิชและชื่อของโจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นเพียงการกระทำที่ไม่เหมาะสม แต่ยังไม่ใช่การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ยังไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2
รายการส่งเสริมการขายมุ่งต่อการขยายฐานลูกค้าบางกลุ่มเป็นหลัก แม้จะมีการอ้างถึงบัตรคาร์ฟูร์ไอวิช แต่โจทก์ทั้งสองก็ได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าได้ทราบถึงการเข้าซื้อกิจการของโจทก์ที่ 2 แล้ว ลูกค้าย่อมรับทราบว่าโจทก์ที่ 1 ซื้อกิจการและมีการเปลี่ยนชื่อโจทก์ที่ 2 เป็นห้าง บ. ไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ทั้งสองว่า มีลูกค้าคนใดเกิดความสับสนว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อกิจการของโจทก์ที่ 2 ดังนั้นการจัดรายการส่งเสริมการขายของจำเลยโดยอ้างถึงบัตรไอวิชและชื่อของโจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นเพียงการกระทำที่ไม่เหมาะสม แต่ยังไม่ใช่การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ยังไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6176/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมการผู้จัดการในความผิดของบริษัท และการพิพากษาเกินคำขอ/ขาดส่วนร่วม
ป.รัษฎากร มาตรา 90/5 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอมหรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น" คดีนี้ แม้คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย แต่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุมาตรา 90/5 มาด้วย จึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 90/5 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 90/5 จึงเป็นการเกินคำขอ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมามีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 อาจเป็นกรรมการผู้จัดการแต่เพียงในนาม ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2 จะได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมามีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 อาจเป็นกรรมการผู้จัดการแต่เพียงในนาม ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2 จะได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3374/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ามีผลผูกพันตามคำโฆษณา การไม่ปฏิบัติตามถือเป็นผิดสัญญา
ตามคำโฆษณาโครงการยูเนี่ยนมอลล์ของจำเลย ภายในโครงการนอกจากจะมีพื้นที่ให้เช่าขายสินค้าแล้วยังมีร้านอาหาร สถานที่ออกกำลังกาย และสถานที่อื่น ๆ อีก แสดงว่าจำเลยมีเจตนาจัดให้มีสถานบริการดังกล่าวเพื่อจูงใจให้ลูกค้าจองสิทธิและทำสัญญาเช่าพื้นที่ภายในโครงการ การเช่าพื้นที่ภายในโครงการระหว่างโจทก์กับจำเลยมีเหตุผลให้เชื่อว่า เกิดจากเจตนาของจำเลยที่เสนอจะจัดให้มีสถานบริการดังกล่าวตามที่จำเลยโฆษณาไว้ และโจทก์ได้แสดงเจตนาสนองรับเข้าทำสัญญาเช่าพื้นที่ดังกล่าวเพราะเชื่อตามที่จำเลยได้โฆษณาไว้ซึ่งจะเป็นโครงการที่ทันสมัยมีผู้คนเข้าไปจับจ่ายใช้สอยจำนวนมาก ทำให้โจทก์มีโอกาสที่จะจำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้มากขึ้น คุ้มค่ากับการลงทุนเช่าพื้นที่ แม้ข้อความในสัญญาเช่าจะไม่ได้ระบุข้อความตามที่จำเลยโฆษณาไว้ก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องผูกพันและมีหน้าที่ต้องจัดให้มีสถานที่บริการตามคำโฆษณาที่โฆษณาไว้ต่อโจทก์และลูกค้ารายอื่น คำโฆษณาของจำเลยที่มีลักษณะเป็นการจูงใจโจทก์ให้เข้าทำสัญญาเช่านั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าพื้นที่ภายในโครงการระหว่างโจทก์กับจำเลยด้วย เมื่อปรากฏว่าในวันเปิดโครงการจำเลยยังดำเนินการจัดให้มีสถานบริการและกิจการตามคำโฆษณาดังกล่าวของจำเลยไม่ครบถ้วน โดยไม่ปรากฏเหตุแห่งความล่าช้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจำเลย จำเลยจึงเป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญาเช่า โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลย โดยโจทก์และจำเลยคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน ทายาทโดยธรรม ทรัพย์มรดก การครอบครองปรปักษ์ อายุความ การแบ่งทรัพย์สิน
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งเงินฝากในธนาคารต่าง ๆ และที่ดิน แต่สำหรับเงินฝากทั้งเจ็ดบัญชีในคดีนี้ เป็นคนละส่วนกับเงินฝากในคดีดังกล่าว ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า จำเลยได้ปิดบังไม่แจ้งให้โจทก์ในฐานะทายาททราบว่ามีบัญชีเงินฝากทั้งเจ็ดบัญชีดังกล่าวอยู่ก่อนที่โจทก์จะได้ยื่นฟ้องจำเลยในคดีก่อน โดยจำเลยก็ไม่ได้ให้การต่อสู้หรือนำสืบหักล้างว่าโจทก์ได้ทราบมาก่อนหน้านั้นแล้วว่าบัญชีเงินฝากต่าง ๆ ที่โจทก์ขอแบ่งในคดีนี้นั้น โจทก์ทราบอยู่แล้วว่ามีอยู่ก่อนที่จะฟ้องคดีก่อน จึงต้องรับฟังว่า โจทก์เพิ่งทราบความมีอยู่ของเงินฝากทั้งเจ็ดบัญชีตามฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยแบ่งเงินในบัญชีเงินฝากทั้งเจ็ดบัญชีดังกล่าวได้ ไม่เป็นฟ้องซ้อน
ตามคำให้การของจำเลยในข้อ 1 กล่าวอ้างว่า เจ้ามรดกยกกรรมสิทธิ์ของเงินฝากตามบัญชีเงินฝากทั้งเจ็ดบัญชีให้แก่จำเลยแล้ว แต่ในข้อ 2 จำเลยกลับกล่าวอ้างว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ในเงินฝากตามบัญชีทั้งเจ็ดบัญชีแล้ว จึงเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง คำให้การของจำเลยในส่วนนี้ไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็น แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ไม่เคยทราบถึงเรื่องที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองดูแลเงินฝากตามบัญชีทั้งเจ็ดบัญชี ประกอบกับระหว่างที่มีการประชุมทายาทเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก จำเลยเคยพูดยอมรับว่า ทรัพย์มรดกที่ตนเองครอบครองนั้นครอบครองไว้แทนทายาทคนอื่น ๆ โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมจึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งเงินในบัญชีเงินฝากทั้งเจ็ดบัญชีตามฟ้องได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง แม้จะยื่นฟ้องเกินกว่า 1 ปี นับแต่ทราบว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ตามคำให้การของจำเลยในข้อ 1 กล่าวอ้างว่า เจ้ามรดกยกกรรมสิทธิ์ของเงินฝากตามบัญชีเงินฝากทั้งเจ็ดบัญชีให้แก่จำเลยแล้ว แต่ในข้อ 2 จำเลยกลับกล่าวอ้างว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ในเงินฝากตามบัญชีทั้งเจ็ดบัญชีแล้ว จึงเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง คำให้การของจำเลยในส่วนนี้ไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็น แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ไม่เคยทราบถึงเรื่องที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองดูแลเงินฝากตามบัญชีทั้งเจ็ดบัญชี ประกอบกับระหว่างที่มีการประชุมทายาทเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก จำเลยเคยพูดยอมรับว่า ทรัพย์มรดกที่ตนเองครอบครองนั้นครอบครองไว้แทนทายาทคนอื่น ๆ โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมจึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งเงินในบัญชีเงินฝากทั้งเจ็ดบัญชีตามฟ้องได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง แม้จะยื่นฟ้องเกินกว่า 1 ปี นับแต่ทราบว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ว่าไม่มีการไตร่ตรองไว้ก่อน
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายกับจำเลยต่างเมาสุราโต้เถียงทะเลาะกัน จำเลยกลับบ้านเอามีดดาบของกลางมาขู่ผู้ตาย ผู้ตายกับจำเลยโต้เถียงกันอีก แล้วจำเลยถือมีดดาบวิ่งไล่ผู้ตายไปจนถึงบริเวณที่ผู้ตายกับพวกนั่งดื่มสุรากัน อ.เข้าไปห้ามจำเลย จำเลยจึงกลับบ้านโดยไม่ได้ฟันผู้ตาย ผู้ตายกลับมานั่งดื่มสุรากับพวกต่อ สักครู่หนึ่งผู้ตายเดินออกไปทางท้ายซอยห่างจากวงสุราประมาณ 10 เมตร และยืนชี้มาทางบ้านจำเลยลักษณะท้าทาย จำเลยโมโหจึงได้ขับรถจักรยานยนต์เข้าไปหาผู้ตายแล้วใช้มีดดาบฟันผู้ตาย ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยหลังจากที่จำเลยใช้มีดดาบของกลางวิ่งไล่ผู้ตายไปจนถึงที่เกิดเหตุและใช้มีดดาบของกลางเล่มเดิมฟันผู้ตาย เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดตอน ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14885/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมมีผลลบล้างหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในมรดก แม้หนังสือแสดงเจตนาทำไว้ก่อน
จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกและศาลยังไม่มีคำสั่งตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เงินฝากและหุ้นของ ส. ในสหกรณ์ดังกล่าวตามฟ้อง ไม่ใช่มรดกของ ส. เพราะสิทธิประโยชน์เกิดขึ้นเมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย พินัยกรรมตามฟ้องไม่อาจลบล้างหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ที่ ส. ทำให้ไว้แก่สหกรณ์ดังกล่าวเท่านั้น จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้เลยว่าพินัยกรรมตามฟ้องเป็นพินัยกรรมปลอม ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพินัยกรรมตามฟ้องเป็นพินัยกรรมปลอม จึงเป็นการอ้างข้อเท็จจริงที่แตกต่างไปจากคำให้การ ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
เงินค่าหุ้น เงินปันผลและหรือเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายเงินฝากและทรัพย์สินอื่นใดที่ ส. พึงได้รับตามสิทธิของการเป็นสมาชิกสหกรณ์เป็นมรดกของ ส. ถึงแม้ว่า ส. จะได้ทำหนังสือแสดงเจตนาตั้งผู้รับโอนประโยชน์ให้ไว้แก่สหกรณ์ดังกล่าวโดยระบุให้โจทก์กับจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ก็ตามแต่หลังจากที่ ส. ทำหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ไว้แล้ว ปรากฏว่า ส. ได้ทำพินัยกรรมระบุไว้ ให้โจทก์เป็นผู้รับหุ้นและเงินฝากรวมทั้งดอกผลที่เกิดขึ้นจากเงินที่ ส. ผู้ตาย ฝากไว้ ณ สหกรณ์ดังกล่าว อันเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้เพียงฉบับเดียวก่อนที่ ส. จะถึงแก่ความตาย พินัยกรรมจึงมีผลลบล้างหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ที่ระบุให้โจทก์และจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ ผลของพินัยกรรมทำให้จำเลยหมดสิทธิได้รับเงินค่าหุ้น เงินปันผลและหรือเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่าย เงินฝากและทรัพย์สินอื่นใดที่ ส. พึงได้รับตามสิทธิของการเป็นสมาชิกสหกรณ์ดังกล่าว
เงินค่าหุ้น เงินปันผลและหรือเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายเงินฝากและทรัพย์สินอื่นใดที่ ส. พึงได้รับตามสิทธิของการเป็นสมาชิกสหกรณ์เป็นมรดกของ ส. ถึงแม้ว่า ส. จะได้ทำหนังสือแสดงเจตนาตั้งผู้รับโอนประโยชน์ให้ไว้แก่สหกรณ์ดังกล่าวโดยระบุให้โจทก์กับจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ก็ตามแต่หลังจากที่ ส. ทำหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ไว้แล้ว ปรากฏว่า ส. ได้ทำพินัยกรรมระบุไว้ ให้โจทก์เป็นผู้รับหุ้นและเงินฝากรวมทั้งดอกผลที่เกิดขึ้นจากเงินที่ ส. ผู้ตาย ฝากไว้ ณ สหกรณ์ดังกล่าว อันเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้เพียงฉบับเดียวก่อนที่ ส. จะถึงแก่ความตาย พินัยกรรมจึงมีผลลบล้างหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ที่ระบุให้โจทก์และจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ ผลของพินัยกรรมทำให้จำเลยหมดสิทธิได้รับเงินค่าหุ้น เงินปันผลและหรือเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่าย เงินฝากและทรัพย์สินอื่นใดที่ ส. พึงได้รับตามสิทธิของการเป็นสมาชิกสหกรณ์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14885/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมมีผลลบล้างหนังสือแสดงเจตนาตั้งผู้รับโอนประโยชน์เมื่อมีการกำหนดการเผื่อตายฉบับหลัง
จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกและศาลยังไม่มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ส. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เงินฝากและหุ้นของ ส. ในสหกรณ์ออมทรัพย์ ไม่ใช่มรดกของ ส. เพราะสิทธิประโยชน์เกิดขึ้นเมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย พินัยกรรมตามฟ้องไม่อาจลบล้างหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับประโยชน์ที่ ส. ทำให้ไว้แก่สหกรณ์ดังกล่าวเท่านั้น จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าพินัยกรรมตามฟ้องเป็นพินัยกรรมปลอม ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพินัยกรรมตามฟ้องเป็นพินัยกรรมปลอม จึงเป็นการอ้างข้อเท็จจริงที่แตกต่างไปจากคำให้การ ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
แม้ ส. จะทำหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ให้ไว้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ โดยระบุให้โจทก์กับจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ก็ตาม แต่หลังจากทำหนังสือปรากฏว่า ส. ทำพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้รับหุ้นและเงินฝากรวมทั้งดอกผลที่เกิดขึ้นจากเงินที่ ส. ผู้ตาย ฝากไว้ ณ สหกรณ์ดังกล่าว อันเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้เพียงฉบับเดียวก่อนที่ ส. จะถึงแก่ความตาย พินัยกรรมจึงมีผลลบล้างหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ที่ระบุให้โจทก์และจำเลยเป็นผู้รับโอนประโยชน์
แม้ ส. จะทำหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ให้ไว้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ โดยระบุให้โจทก์กับจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ก็ตาม แต่หลังจากทำหนังสือปรากฏว่า ส. ทำพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้รับหุ้นและเงินฝากรวมทั้งดอกผลที่เกิดขึ้นจากเงินที่ ส. ผู้ตาย ฝากไว้ ณ สหกรณ์ดังกล่าว อันเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้เพียงฉบับเดียวก่อนที่ ส. จะถึงแก่ความตาย พินัยกรรมจึงมีผลลบล้างหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ที่ระบุให้โจทก์และจำเลยเป็นผู้รับโอนประโยชน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13284/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอันเดียวกันว่า บ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทน พ. ปรากฏว่าในคดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยและคดีถึงที่สุดแล้วว่า บ. ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทน พ. ส่วนในคดีนี้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องอ้างว่าพบพยานหลักฐานใหม่ที่แสดงว่า บ. ไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทน พ. ก็เป็นการฟ้องที่มีประเด็นต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน
คดีก่อน พ. ฟ้องโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ส่วนในคดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทกับ พ. หลังจากศาลพิพากษาคดีก่อน และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทของ พ. หลังจากศาลพิพากษาคดีก่อนแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทจาก บ. มาเป็น พ. ตามคำสั่งศาล ต่อมา พ. ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับ พ. ในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งหกจึงเป็นผู้สืบสิทธิจาก พ. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน ดังนั้น ถือได้ว่าคู่ความในคดีนี้กับคู่ความในคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ฟ้องขอให้เปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากชื่อของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และ พ. เป็นชื่อของ บ. เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท ตามตาราง 1 ข้อ 1 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อโจทก์แพ้คดีบางข้อและบางข้อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ จึงชอบแล้ว
ในคดีก่อน พ.ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท คดีก่อนจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ฟ้องคดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อน พ. ฟ้องโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ส่วนในคดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทกับ พ. หลังจากศาลพิพากษาคดีก่อน และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทของ พ. หลังจากศาลพิพากษาคดีก่อนแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทจาก บ. มาเป็น พ. ตามคำสั่งศาล ต่อมา พ. ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับ พ. ในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งหกจึงเป็นผู้สืบสิทธิจาก พ. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน ดังนั้น ถือได้ว่าคู่ความในคดีนี้กับคู่ความในคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ฟ้องขอให้เปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากชื่อของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และ พ. เป็นชื่อของ บ. เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท ตามตาราง 1 ข้อ 1 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อโจทก์แพ้คดีบางข้อและบางข้อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ จึงชอบแล้ว
ในคดีก่อน พ.ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท คดีก่อนจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ฟ้องคดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13116/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายิงมุ่งร้ายถึงชีวิต แม้ถูกส่วนล่างของร่างกาย ถือความผิดฐานพยายามฆ่า
ตามแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุ ประกอบภาพถ่าย ที่คู่ความรับว่าถูกต้อง ซึ่งแสดงแนววิถีของกระสุนปืนที่ยิง ระบุชัดเจนว่าเป็นการยิงตรงไปบริเวณที่กลุ่มของผู้เสียหายซึ่งกำลังวิ่งหลบหนี ส่อแสดงเจตนาชัดเจนว่าจำเลยและ อ. ประสงค์จะทำอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้เสียหายกับพวก แม้กระสุนปืนจะถูกที่ระดับเท้าของผู้เสียหาย และถูกรถยนต์ที่ระดับสูงก็ตาม ย่อมเล็งเห็นได้ว่าเป็นพฤติการณ์มุ่งเล็งยิงไปที่กลุ่มผู้เสียหายโดยประสงค์ต่อชีวิต ส่วนการที่กระสุนปืนถูกบริเวณต่ำในระดับเท้าและถูกรถยนต์ในระดับสูงย่อมเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากผู้ยิงไม่มีความชำนาญในการยิงปืนและเป้าหมายที่ถูกยิงเคลื่อนที่ จึงฟังได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายมิได้ถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหาย