พบผลลัพธ์ทั้งหมด 498 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3948/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลงโทษฐานการพนัน: ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด และแก้ไขการลงโทษกรรมเดียว
ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง เพียงมีผลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 และประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรดังกล่าว ตลอดจนบรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่ง อันเนื่องมาจากได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ไม่มีผลเป็นการยกเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 18 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง จึงมิใช่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังกำหนดให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไปตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคท้าย และไม่ใช่กรณีที่กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายในภายหลังการกระทำความผิด อันจักต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 3
พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 12 (1) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 3 ปี ปรับตั้งแต่ 500 บาท ถึง 5,000 บาท ส่วน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 18 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น ความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 จึงเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ต้องลงโทษจำเลยทั้งยี่สิบเก้าตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จึงไม่ชอบ กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และกรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 12 (1) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 3 ปี ปรับตั้งแต่ 500 บาท ถึง 5,000 บาท ส่วน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 18 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น ความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 จึงเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ต้องลงโทษจำเลยทั้งยี่สิบเก้าตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จึงไม่ชอบ กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และกรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2979/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษคดียาเสพติด: การใช้กฎหมายใหม่ (ประมวลกฎหมายยาเสพติด) และการพิจารณาโทษกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนคดีถึงที่สุดแล้ว ระหว่างจำเลยกำลังรับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดได้มี พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และให้ยกเลิก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า "จำหน่าย" ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำอย่างเดียวกันคือการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งแยกเป็นคนละฐานความผิด จึงต้องลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 เพียงบทเดียว ส่วนการที่จำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่อเจ้าพนักงานตำรวจนั้น ป.ยาเสพติด มาตรา 153 ยังคงบัญญัติให้อำนาจศาลลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งดังกล่าวน้อยกว่าอัตราโทษ ที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ ทำนองเดียวกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 แต่กฎหมายใหม่กำหนดหลักเกณฑ์ให้โจทก์ต้องระบุในคำฟ้องหรือยื่นคำร้องต่อศาล หรือมิฉะนั้นผู้กระทำความผิดต้องยื่นคำร้องต่อศาล ศาลจึงจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ ดังนั้น กฎหมายใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องบังคับตามกฎหมายเดิมซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก ส่วนการกระทำความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ป.ยาเสพติด มาตรา 126 ยังคงบัญญัติให้ระวางโทษผู้พยายามกระทำความผิดนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จทำนองเดียวกับ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 7 แต่เมื่อลงโทษจำเลยตามกฎหมายใหม่ มาตรา 90, 145 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยแล้ว จึงต้องบังคับตามกฎหมายใหม่ มาตรา 126 ด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 3
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวน 4,018 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 70.823 กรัม และจำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 1,996 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 35.180 กรัม ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ โดยเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนทราบการกระทำความผิดของจำเลยมาจากผู้ต้องหาคดียาเสพติดให้โทษที่เคยซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลย จึงวางแผนล่อซื้อและจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนของกลาง พฤติการณ์แห่งคดีจึงบ่งชี้ถึงการกระทำของจำเลยว่า จำเลยมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และหากมีการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางออกไปย่อมทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังผู้เสพหลายคนโดยสภาพเข้าลักษณะเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มิใช่เป็นเพียงความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ตามที่จำเลยยกขึ้นฎีกา ทั้งยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป อันเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เช่นนี้ เมื่อ ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท และการมีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามกฎหมายใหม่ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงบทเดียวดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การที่จำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1,996 เม็ด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 4,018 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวลงโทษได้เพียงกระทงเดียว โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังทั้งในเรื่องการกำหนดโทษและจำนวนกระทงลงโทษ ศาลย่อมมีอำนาจตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จะกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (2) ประกอบมาตรา 126 ป.อ. มาตรา 80 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ตามที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใด
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวน 4,018 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 70.823 กรัม และจำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 1,996 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 35.180 กรัม ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ โดยเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนทราบการกระทำความผิดของจำเลยมาจากผู้ต้องหาคดียาเสพติดให้โทษที่เคยซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลย จึงวางแผนล่อซื้อและจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนของกลาง พฤติการณ์แห่งคดีจึงบ่งชี้ถึงการกระทำของจำเลยว่า จำเลยมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และหากมีการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางออกไปย่อมทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังผู้เสพหลายคนโดยสภาพเข้าลักษณะเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มิใช่เป็นเพียงความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ตามที่จำเลยยกขึ้นฎีกา ทั้งยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป อันเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เช่นนี้ เมื่อ ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท และการมีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามกฎหมายใหม่ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงบทเดียวดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การที่จำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1,996 เม็ด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 4,018 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวลงโทษได้เพียงกระทงเดียว โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังทั้งในเรื่องการกำหนดโทษและจำนวนกระทงลงโทษ ศาลย่อมมีอำนาจตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จะกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (2) ประกอบมาตรา 126 ป.อ. มาตรา 80 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ตามที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไข และการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ
คำว่า "กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด หรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด" ตาม ป.อ. มาตรา 3 นั้น หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิดหรือบัญญัติถึงโทษ หรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งในคดีนี้ได้แก่บทความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนกับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และบทกฎหมายให้เพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิด หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด และมีผลให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 (1) ในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุก 8 เดือน กับจำคุก 10 ปี และปรับ 700,000 บาท ตามลำดับ เมื่อโทษที่กำหนดในภายหลังสำหรับความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง ประกอบ ป.ยาเสพติด มาตรา 162 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน หรือปรับไม่เกิน 26,666.66 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาจึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ความผิดทั้งสองฐานจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้
สำหรับประเด็นเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 4 ส่วน ป. ยาเสพติด ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ก็ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้ แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะมิได้บัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่าศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปตาม ป.อ. เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมายเดิมไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ และถือว่าการเพิ่มโทษเป็นส่วนหนึ่งของโทษตามคำพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษให้แก่จำเลยใหม่จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ไม่
สำหรับประเด็นเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 4 ส่วน ป. ยาเสพติด ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ก็ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้ แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะมิได้บัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่าศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปตาม ป.อ. เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมายเดิมไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ และถือว่าการเพิ่มโทษเป็นส่วนหนึ่งของโทษตามคำพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษให้แก่จำเลยใหม่จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากร: การกระทำร่วมกันของผู้นำเข้าและผู้ประกอบการ
กรณีเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 มีเจตนาวางแผนร่วมกันนำเข้าสินค้าโดยแยกกันนำเข้าเพื่อประโยชน์ในการหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าและได้รับประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกัน โดยในวันที่ 29 เมษายน 2547 วันที่ 13 พฤษภาคม 2547 วันที่ 27 พฤษภาคม 2547 วันที่ 3 มิถุนายน 2547 และวันที่ 14 มิถุนายน 2547 จำเลยที่ 1 สำแดงเป็นแชสซีที่มีเครื่องยนต์ (Chassis Fitted with Engine for Truck/Tractor) ประเภทพิกัด 8706.00 เสียอัตราอากรร้อยละ 10 ส่วนที่จำเลยที่ 2 สำแดงเป็นชิ้นส่วนหัวเก๋ง (Cab Shell) พร้อมอุปกรณ์ (Parts and Accessories of Cab) ประเภทพิกัด 8707.900 ประเภทพิกัด 8708.400 ประเภทพิกัด 8708.940 และประเภทพิกัด 9401.200 เสียอัตราอากรร้อยละ 40 ร้อยละ 30 ร้อยละ 10 และร้อยละ 10 ตามลำดับ การสำแดงและแยกการนำเข้าดังกล่าวเป็นการกระทำที่แบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้ยากแก่การตรวจสอบและชักพาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรผิดหลงในรายการสินค้าและประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้าเพื่อจะได้ชำระอากรขาเข้าเป็นเงินจำนวนน้อยกว่าอากรขาเข้าตามประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้าที่ถูกต้อง คือ ชิ้นส่วนของ Truck Tractor Chassis with Cab and Accessories of Cab เพื่อประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ครบชุดสมบูรณ์ทั้งคัน (CKD) เข้าประเภทพิกัด 8701.20 อัตราอากรร้อยละ 30 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ ส่วนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เหตุผลว่า หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิสูจน์การกระทำความผิดในทางอาญาเป็นคนละส่วนกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาปัญหาประเภทพิกัด เมื่อในขณะนำเข้าสินค้าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แยกการนำเข้าต่างหากจากกัน การพิจารณาปัญหาพิกัดจึงต้องแยกการพิจารณาเป็นรายบริษัท คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อยืนยันว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ให้ยกเลิก (1) พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และ (11) พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2490" แต่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 ยังบัญญัติให้การกระทำความผิดตามฟ้องยังเป็นความผิดอยู่ โดยมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินตั้งแต่ครึ่งเท่าแต่ไม่เกินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ จึงให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณทั้งกฎหมายเก่าในส่วนที่ให้ปรับรวมและกฎหมายใหม่ในส่วนโทษแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ให้ยกเลิก (1) พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และ (11) พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2490" แต่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 ยังบัญญัติให้การกระทำความผิดตามฟ้องยังเป็นความผิดอยู่ โดยมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินตั้งแต่ครึ่งเท่าแต่ไม่เกินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ จึงให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณทั้งกฎหมายเก่าในส่วนที่ให้ปรับรวมและกฎหมายใหม่ในส่วนโทษแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตอัยการสูงสุดทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ขณะเกิดเหตุความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง แม้ภายหลังขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี มี พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ยกเลิก พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 แต่มาตรา 4 (1) ของกฎหมายใหม่ที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งสูงกว่าระวางโทษตามกฎหมายเก่าที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุ จึงต้องใช้ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) ซึ่งเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ส่วนความผิดฐานยักยอกที่โจทก์ฟ้องรวมกันมา ก็มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงเช่นกัน แม้ศาลอาญากรุงเทพใต้ซึ่งเป็นศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับพิจารณาคดีนี้จะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 19/1 แต่การพิจารณาพิพากษาก็ต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีของคดีนั้น ๆ เมื่อคดีนี้เป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง จึงต้องนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาใช้บังคับแก่คดี กล่าวคือ โจทก์จะต้องฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาผัดฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ขอผัดฟ้อง ในการฟ้องคดีโจทก์จึงต้องได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 9 แต่ไม่ปรากฏว่าอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายได้อนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่คดียาเสพติดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และขยายผลถึงตัวการร่วม
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 3 ร่วมกับพวกมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดฐานจำหน่ายตาม ป.ยาเสพติด มีจำนวน 2,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 40.445 กรัม แม้ไม่ปรากฏพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ของจำเลยที่ 3 อย่างชัดเจน แต่ปริมาณของเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวย่อมบ่งชี้ได้ว่าหากไม่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดเป็นของกลางเสียก่อน จำเลยที่ 3 กับพวกต้องจำหน่าย จ่าย แจกเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไปยังกลุ่มผู้เสพหลายคน โดยสภาพย่อมถือเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงต้องด้วยมาตรา 145 วรรคสอง (2) ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 มากกว่ากฎหมายเดิม เมื่อโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดตามคำพิพากษาก่อนลดโทษหนักกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ศาลต้องกำหนดโทษให้จำเลยที่ 3 ใหม่ตามโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง
จำเลยที่ 3 ซึ่งกำลังรับโทษอยู่ร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ และศาลกำหนดโทษให้จำเลยที่ 3 ใหม่แล้ว เมื่อความปรากฏต่อศาลว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยังรับโทษอยู่ ศาลย่อมกำหนดโทษใหม่สำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ด้วยได้ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) และ ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
จำเลยที่ 3 ซึ่งกำลังรับโทษอยู่ร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ และศาลกำหนดโทษให้จำเลยที่ 3 ใหม่แล้ว เมื่อความปรากฏต่อศาลว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยังรับโทษอยู่ ศาลย่อมกำหนดโทษใหม่สำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ด้วยได้ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) และ ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แข่งรถในทางสาธารณะ, กฎหมายใหม่ใช้บังคับไม่ได้, ริบรถยนต์, และพักใช้ใบอนุญาต
ภายหลังจากศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาแล้ว ได้มี พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ประกาศใช้บังคับ โดยมาตรา 134 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ยังคงบัญญัติให้ผู้แข่งรถในทางเป็นความผิดอยู่ และมาตรา 134/1 ที่แก้ไขเพิ่มเติมยังคงบัญญัติให้ผู้จัด หรือส่งเสริมให้มีการแข่งรถในทางเป็นความผิด กฎหมายใหม่จึงไม่ได้ยกเลิกความผิดตามมาตรา 134 วรรคหนึ่งและวรรคสอง (เดิม) แต่อัตราโทษตามมาตรา 160 ทวิ วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) มีระวางโทษปรับขั้นต่ำสูงกว่ากฎหมายเดิม และโทษตามมาตรา 160 ทวิ วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) มีระวางโทษจำคุกและปรับสูงกว่ากฎหมายเดิม ดังนั้น โทษตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 17 ส่วนการที่บทบัญญัติมาตรา 160 ทวิ (ที่แก้ไขใหม่) มีส่วนที่เป็นคุณในเรื่องการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ที่บัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ซึ่งเป็นคุณกว่าบทบัญญัติมาตรา 160 ทวิ (เดิม) ที่บัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนโดยไม่ได้กำหนดเวลาสิ้นสุดไว้ แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวของจำเลย จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น แม้บทบัญญัติมาตรา 160 ทวิ (ที่แก้ไขใหม่) มีส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย แต่ก็ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงอากรนำเข้าและเจตนาฉ้อภาษี ศาลพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243, 253 ซึ่งการกระทำความผิดตามข้ออ้างในคำฟ้องข้อ 1.1 ของโจทก์เป็นการกระทำในขณะ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ใช้บังคับ โดยความหมายในมาตรา 2 คำว่า "อากร" ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หาหมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยด้วยไม่ อย่างไรก็ตาม แม้คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1.1 ไม่มีจำนวนอากรขาเข้าที่จำเลยทั้งสามต้องเสียเพิ่ม แต่เมื่อคำฟ้องข้อ 1.1 บรรยายด้วยว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้ารถยนต์ใช้แล้วครบชุดสมบูรณ์โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี ซึ่งจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ และ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 ยังบัญญัติให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 ด้วย
ภายหลังจำเลยทั้งสามกระทำความผิดได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ ซึ่งอัตราโทษใหม่ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสามในส่วนที่เป็นคุณตาม ป.อ. มาตรา 3
ภายหลังจำเลยทั้งสามกระทำความผิดได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ ซึ่งอัตราโทษใหม่ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสามในส่วนที่เป็นคุณตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายศุลกากรที่แก้ไขใหม่ และการพิจารณาโทษที่เหมาะสมสำหรับความผิดเกี่ยวกับการส่งออกไม้แปรรูป
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิด เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2560 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 บัญญัติให้การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองตามฟ้องเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวบังคับใช้แก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคแรก แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดแล้วได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และให้ใช้ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 แทน โดยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติให้การนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากร โดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ เป็นความผิดตามมาตรา 243 และบัญญัติให้การนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งของดังกล่าวออกนอกราชอาณาจักรหรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดน หรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 244 การที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 บัญญัติโดยแยกการกระทำซึ่งเดิมเป็นความผิดตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ออกเป็นมาตรา 243 และมาตรา 244 แสดงให้เห็นว่ากฎหมายประสงค์จะแยกการกระทำความผิดตามมาตรา 244 ออกต่างหากจากความผิดตามมาตรา 243 ดังนั้นเมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติว่า การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไม้ประดู่แปรรูปของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และจะต้องริบไม้ประดู่แปรรูปของกลางดังกล่าวเสียทั้งสิ้นตามมาตรา 74 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ไม้ประดู่แปรรูปของกลางจึงไม่ใช่ของที่เสียภาษีได้อันจะเป็นผลให้การหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 แต่ถือเป็นของที่ต้องจำกัดหรือต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งไม้ประดู่แปรรูปของกลางซึ่งเป็นของต้องจำกัดหรือต้องห้ามออกไปนอกราชอาณาจักรโดยซุกซ่อนในตู้สินค้าหมายเลข HALA 5615694 แล้วร่วมกันยื่นใบขนส่งสินค้าออกเลขที่ A 0081-6004-03946 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยสำแดงชนิดของสินค้าว่าเป็นเก้าอี้สนามทำด้วยไม้ประดู่เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรนั้นเป็นการหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามเกี่ยวกับของนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 เพียงบทเดียว มิใช่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 ด้วย และตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 บัญญัติให้การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองตามฟ้องฐานร่วมกันพยายามส่งไม้ประดู่แปรรูปออกนอกราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับแตกต่างกับโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งบัญญัติให้ลงโทษสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ โดยความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จ พ.รบ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 กำหนดโทษไว้เท่ากันเช่นเดียวกัน เมื่อโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 และ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีเท่ากัน แต่คดีนี้เมื่อคำนวณโทษปรับสี่เท่าราคาของซึ่งรวมอากรเข้าด้วยแล้วเป็นเงิน 4,371,199 บาท โทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 ซึ่งปรับไม่เกินห้าแสนบาท จึงเป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลยมากกว่าโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แต่การกำหนดความรับผิดในค่าปรับตามบทบัญญัติมาตรา 244 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 จะต้องกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดในลักษณะรวมกันตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายในคดีอาญา: ใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย แม้โทษตามกฎหมายใหม่ไม่เบากว่าเดิม
ตาม ป.อ. มาตรา 3 ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด การที่จำเลยใช้นิ้วสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย เป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีตามมาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) ที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แต่ภายหลังจำเลยกระทำความผิดและก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2562 บัญญัติให้การกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานกระทำชำเราอีกต่อไป แต่เป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยการล่วงล้ำอวัยวะเพศตามมาตรา 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งความผิดฐานกระทำอนาจารตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 279 (ที่แก้ไขใหม่) จึงชอบด้วยมาตรา 3 และเป็นบทกฎหมายที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ซึ่งศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยการล่วงล้ำอวัยวะเพศตามมาตรา 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) ที่เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่านั้น มิใช่ตามมาตรา 279 วรรคแรก (เดิม) แต่ความผิดตามมาตรา 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) มีระวางโทษเท่ากับระวางโทษตามมาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด ระวางโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ศาลต้องกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 277 วรรคสาม (เดิม)