คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 580

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861-6898/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างในค่าจ้าง ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างมีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานการจ่ายค่าจ้างอย่างครบถ้วน
การทำสัญญาจ้างแรงงานแม้ลูกจ้างบางส่วนเป็นคนสัญชาติไทยบางส่วนเป็นคนต่างชาติ แต่ทำสัญญาจ้างแรงงานในราชอาณาจักรไทยและทำงานในเรือประมงที่ถือสัญชาติไทย ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทย จำเลยทั้งห้าจ้างลูกจ้างทำประมงทะเลในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียเกินกว่าหนึ่งปีแม้ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 แต่ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เช่นเดียวกับการจ้างแรงงานอื่นทั่วไป เพราะไม่ได้รับยกเว้นการบังคับใช้ตามมาตรา 22 และนิติสัมพันธ์ยังต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน
การทำประมงทะเลในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียจะต้องได้รับสัมปทานที่มีกำหนดเวลาแน่นอนคราวละหนึ่งปี แต่อาจมีการต่ออายุสัมปทานไปได้เรื่อยๆ การทำสัญญาจ้างลูกจ้างแม้จะกำหนดระยะเวลาเป็นเทอม แต่ในการทำงานจริงลูกจ้างทำงานไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนขึ้นอยู่กับการได้รับต่อใบอนุญาตจับปลาจากรัฐบาลประเทศอินโดนีเซียหรือไม่ สภาพของเรือ และลูกจ้างก็ทราบว่าใช้ระยะเวลาในการไปทำประมงประมาณ 3 หรือ 4 ปี จึงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหนึ่งงวดของการชำระค่าจ้าง หรือต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกำหนดวันจ่ายค่าจ้างไว้แน่นอนจึงให้ถือว่ามีกำหนดจ่ายค่าจ้างเดือนละหนึ่งครั้งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 วรรคหนึ่ง (1) และจ่ายทุกวันสิ้นเดือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 580
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้บัญญัติไว้ในหมวดที่ 9 ว่าด้วยเรื่องการควบคุม มาตรา 112, 113 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปจัดทำทะเบียนลูกจ้าง ซึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อตัวและชื่อสกุล อัตราค่าจ้าง ประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง หากนายจ้างไม่สามารถแสดงทะเบียนลูกจ้างและเอกสารการจ่ายค่าจ้างกับค่าตอบแทนอย่างอื่น หรือแสดงได้ไม่สมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อมีข้อสงสัยฝ่ายนายจ้างก็ต้องรับผิดต่อลูกจ้างในประเด็นดังกล่าวเพราะมีหน้าที่จัดทำเอกสารนั้นโดยตรง
จำเลยมอบอำนาจให้ไต๋เรือเป็นตัวแทนกำหนดค่าจ้างลูกจ้างตำแหน่งต่างๆ ตามอัตราทั่วไป โดยประมาณให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบเมื่อแรกเข้าทำงาน หลังจากออกเรือทำงานไปสองเที่ยวเรือแล้วจึงจะกำหนดค่าจ้างที่แท้จริงให้ลูกจ้างทราบ การที่จำเลยจะมากำหนดอัตราค่าจ้างในภายหลังโดยลดค่าจ้างเมื่อเรือกลับเข้าฝั่งโดยอ้างว่าปรึกษาหารือกับไต๋เรือเท่ากับเป็นการกำหนดค่าจ้างตามอำเภอใจ ย่อมไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างและถือว่าเป็นสัญญาจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้างมีผลบังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างเมื่อเกษียณอายุ: จ่ายเฉพาะวันที่ทำงานจริง ตามระเบียบบริษัท
โจทก์เกษียณอายุในวันที่ 19 สิงหาคม 2528 ย่อมพ้นสภาพความเป็นลูกจ้างของจำเลยนับแต่วันดังกล่าว จำเลยไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าจ้างตั้งแต่วันนั้นให้แก่โจทก์อีกต่อไป ทั้งตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยก็มิได้กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าจ้างทั้งเดือนให้แก่พนักงานที่ต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะเกษียณอายุ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างเพียง 18 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างพนักงานเกษียณอายุ: จ่ายตามจำนวนวันที่ทำงานจริง ไม่ใช่ทั้งเดือน
โจทก์เกษียณอายุในวันที่ 19 สิงหาคม 2528 ย่อมพ้นสภาพความเป็นลูกจ้างของจำเลยนับแต่วันดังกล่าว จำเลยไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าจ้างตั้งแต่วันนั้นให้แก่โจทก์อีกต่อไปทั้งตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยก็มิได้กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าจ้างทั้งเดือนให้แก่พนักงานที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างเพียง 18วัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง แม้ทำงานเกินหนึ่งปี และดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ10วรรคแรกกำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปีเมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้วถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมาและในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก โจทก์แต่ละคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลาเกิน3ปีแล้วโจทก์บางคนได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2526ไปแล้วส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2527ซึ่งโจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2526นั้นโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่2พฤศจิกายน2526โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2527จำนวน6วันให้แก่โจทก์แต่ละคนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ45 ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนดวันจ่ายค่าจ้างเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าครองชีพซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเดือนพฤศจิกายน2526และมีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่2พฤศจิกายน2526ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยุบเลิกกิจการและเลิกจ้างจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธจึงต้องถือว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤศจิกายนนั้นในวันเลิกจ้างดังกล่าวในฟ้องเมื่อจำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง แม้ทำงานเกิน 1 ปี และสิทธิการรับค่าจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 10 วรรคแรก กำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปี เมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้ว ถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมา และในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก
โจทก์แต่ละคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปีแล้ว โจทก์บางคนได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2526 ไปแล้ว ส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527 ซึ่งโจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2526 นั้นโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 2 พฤศจิกายน 2526 โดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527จำนวน 6 วัน ให้แก่โจทก์แต่ละคนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45
ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนดวันจ่ายค่าจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าครองชีพซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเดือนพฤศจิกายน 2526 และมีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2526 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยุบเลิกกิจการและเลิกจ้าง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธ จึงต้องถือว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤศจิกายนนั้นในวันเลิกจ้างดังกล่าวในฟ้อง เมื่อจำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง แม้ทำงานเกิน 1 ปี และการจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 10 วรรคแรกกำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปี เมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้ว ถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมา และในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก
โจทก์แต่ละคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปีแล้ว โจทก์บางคนได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2526 ไปแล้ว ส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527 ซึ่งโจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2526นั้นโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 2 พฤศจิกายน 2526 โดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527จำนวน 6 วัน ให้แก่โจทก์แต่ละคนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45
ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนดวันจ่ายค่าจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าครองชีพซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเดือนพฤศจิกายน 2526 และมีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่2 พฤศจิกายน 2526 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยุบเลิกกิจการและเลิกจ้างจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธ จึงต้องถือว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤศจิกายนนั้นในวันเลิกจ้างดังกล่าวในฟ้อง เมื่อจำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างไม่มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างและเงินสงเคราะห์ค้างจ่ายของลูกจ้าง แม้มีคดีความอื่น
ค่าจ้างและเงินสงเคราะห์รายเดือนที่นายจ้างค้างจ่ายแก่ลูกจ้าง เป็นเพียงหนี้ที่นายจ้างจะต้องชำระแก่ลูกจ้าง หาใช่เป็นทรัพย์สินของลูกจ้างที่นายจ้างครองอยู่และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่นายจ้างเกี่ยวด้วยทรัพย์สินนั้นแต่อย่างใดไม่ นายจ้างจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างไม่มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างและเงินสงเคราะห์รายเดือนค้างจ่ายของลูกจ้าง แม้มีคดีความอื่น
ค่าจ้างและเงินสงเคราะห์รายเดือนที่นายจ้างค้างจ่ายแก่ลูกจ้าง เป็นเพียงหนี้ที่นายจ้างจะต้องชำระแก่ลูกจ้าง หาใช่เป็นทรัพย์สินของลูกจ้างที่นายจ้างครองอยู่และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่นายจ้างเกี่ยวด้วยทรัพย์สินนั้นแต่อย่างใดไม่ นายจ้างจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน ค่าจ้าง และการหักหนี้เบี้ยปรับ: แม้ของกลางสูญหาย ผู้รับจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้าง
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกันซึ่งมีข้อกำหนดตามสัญญาว่าผู้จ้างยอมให้ผู้รับจ้างคิดค่าจ้างเฝ้ารักษาไม้ ของกลางเป็นจำนวนเงิน 400 บาท นับแต่วันทำสัญญาจนกว่าผู้จ้างจะรับไม้ของกลางคืน หากไม้ของกลางขาดหายหรือเป็นอันตรายไป ผู้รับจ้างยอมให้ผู้จ้างปรับไหมเป็นเงินลูกบาศก์เมตรละ 200 บาท ดังนี้ ถือได้ว่าผู้จ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยผู้รับจ้างได้เฝ้ารักษาไม้ของกลางให้โจทก์ผู้จ้างแล้วไม้ของกลางหายไปในระหว่างนั้นซึ่งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าปรับไหมหรือเบี้ยปรับจากจำเลยตามสัญญา และศาลบังคับให้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับตัวเงินไปแทนไม้ของกลางตามสัญญา ทั้งสัญญาไม่มีข้อกำหนดว่าผู้จ้างจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างในกรณีไม้ของกลางสูญหายไป จำเลยจึงมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างจากโจทก์ตามสัญญา และขอหักหนี้ค่าจ้างจากเบี้ยปรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน ค่าจ้าง และการหักหนี้เบี้ยปรับ: สิทธิของลูกจ้างแม้ของหาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกันซึ่งมีข้อกำหนดตามสัญญาว่าผู้จ้างยอมให้ผู้รับจ้างคิดค่าจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางเป็นจำนวนเงิน 400 บาท นับแต่วันทำสัญญาจนกว่าผู้จ้างจะรับไม้ของกลางคืน หากไม้ของกลางขาดหายหรือเป็นอันตรายไปผู้รับจ้างยอมให้ผู้จ้างปรับไหมเป็นเงินลูกบาศก์เมตรละ200 บาท ดังนี้ ถือได้ว่าผู้จ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยผู้รับจ้างได้เฝ้ารักษาไม้ของกลางให้โจทก์ผู้จ้างแล้วไม้ของกลางหายไปในระหว่างนั้น ซึ่งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าปรับไหมหรือเบี้ยปรับจากจำเลยตามสัญญา และศาลบังคับให้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับตัวเงินไปแทนไม้ของกลางตามสัญญา ทั้งสัญญาไม่มีข้อกำหนดว่า ผู้จ้างจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างในกรณีไม้ของกลางสูญหายไป จำเลยจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากโจทก์ตามสัญญา และขอหักหนี้ค่าจ้างจากเบี้ยปรับได้
of 6