พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5226/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองต้องแจ้งลูกหนี้ก่อน และศาลไม่อาจบังคับให้ผู้รับโอนไถ่ถอนจำนอง
โจทก์มิได้ฟ้องบริษัท อ. ลูกหนี้ผู้กู้ยืมเงินเป็นจำเลย และแม้โจทก์จะฟ้อง ช. เป็นจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ฟ้องในฐานะที่ ช. เป็นทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้ค้ำประกันและผู้จำนองอีกคนหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้ฟ้อง ช. เป็นจำเลยในฐานะผู้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 82147 เมื่อผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองเอาแก่ทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 ผู้รับจำนองต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนด้วยตามเงื่อนไขใน ป.พ.พ. มาตรา 728 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มิได้บอกกล่าวไปยังบริษัท อ. ลูกหนี้ก่อนด้วยว่าให้ชำระหนี้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อบังคับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 82147 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ: การพิจารณาความถูกต้องและผลบังคับใช้
แม้เอกสารหมาย ค.4 จะมีข้อความบางตอนเป็นตัวพิมพ์ โดยตอนบนตรงกลางมีหัวข้อพิมพ์ว่า หนังสือพินัยกรรม จากนั้นมีการพิมพ์ตัวหนังสือแล้วเว้นช่องว่างให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนหรือกรอกข้อความเกี่ยวกับสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ชื่อ ที่อยู่ของผู้ทำพินัยกรรม และความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สิน ซึ่งตามเอกสารปรากฏว่าผู้ตายได้เขียนรายละเอียดดังกล่าวด้วยลายมือ จากนั้นตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์สรุปได้ว่า ผู้ตายได้พิมพ์ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ โดยได้อ่านเข้าใจข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ทั้งหมดเห็นว่าถูกต้องตามเจตนาทุกประการ โดยไม่มีผู้ใดข่มขู่ จึงได้เขียนข้อความที่เป็นตัวกลางลงในหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ด้วยตนเองขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ตายสมัครใจทำหนังสือนี้เอง ปราศจากบุคคลอื่นใดข่มขู่ หรือทำโดยสำคัญผิด หรือถูกฉ้อฉลแต่อย่างใด โดยได้ทำหนังสือพินัยกรรมนี้ขึ้นไว้ 4 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันและเก็บรักษาไว้ที่ผู้คัดค้าน และมีลายมือชื่อผู้ตายลงไว้ในช่องที่พิมพ์ว่า ผู้ทำพินัยกรรม และผู้พิมพ์/ผู้เขียน เอกสารหมาย ค.4 จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งสุดท้ายที่ผู้ตายแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตาย ในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้โดยต้องการยกให้แก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ อันจะเกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 จึงเป็นพินัยกรรมและเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรม แบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ: การวินิจฉัยความถูกต้องและผลบังคับใช้
แม้เอกสารหมาย ค.4 จะมีข้อความบางตอนเป็นตัวพิมพ์ โดยตอนบนตรงกลางมีหัวข้อพิมพ์ว่าหนังสือพินัยกรรม จากนั้นมีการพิมพ์ตัวหนังสือแล้วเว้นช่องว่างให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนหรือกรอกข้อความเกี่ยวกับสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ชื่อ ที่อยู่ของผู้ทำพินัยกรรม และความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สิน ซึ่งตามเอกสารปรากฏว่าผู้ตายได้เขียนรายละเอียดดังกล่าวด้วยลายมือ จากนั้นตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์สรุปได้ว่า ผู้ตายได้พิมพ์ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ โดยได้อ่านเข้าใจข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ทั้งหมดเห็นว่าถูกต้องตามเจตนาทุกประการ โดยไม่มีผู้ใดข่มขู่ จึงได้เขียนข้อความที่เป็นตัวกลางลงในหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ด้วยตนเองขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ตายสมัครใจทำหนังสือนี้เอง ปราศจากบุคคลอื่นใดข่มขู่ หรือทำโดยสำคัญผิด หรือถูกฉ้อฉลแต่อย่างใด โดยได้ทำหนังสือพินัยกรรมนี้ขึ้นไว้ 4 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันและเก็บรักษาไว้ที่ผู้คัดค้าน และมีลายมือชื่อผู้ตายลงไว้ในช่องที่พิมพ์ว่า ผู้ทำพินัยกรรม และผู้พิมพ์/ผู้เขียน เอกสารหมาย ค.4 จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งสุดท้ายที่ผู้ตายแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้โดยต้องการยกให้แก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ อันจะเกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 จึงเป็นพินัยกรรมและเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่สัญญา แม้มีการฟ้องแย้งก่อนหน้านี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามรายงานการประชุมการไกล่เกลี่ยครั้งที่ 3 ปรากฏข้อความในช่องรายการอื่น ๆ ว่า โจทก์ตกลงถอนฟ้อง โดยจำเลยทั้งสองเสนอให้ขายที่ดินพิพาทในราคาไม่ต่ำกว่า 30,000,000 บาท ภายใน 1 ปี หากไม่มีผู้ซื้อ จำเลยที่ 2 ตกลงเป็นผู้ซื้อเอง เมื่อขายที่ดินพิพาทได้แล้ว จำเลยทั้งสองจะแบ่งเงินที่ได้จากการขายที่ดินตามสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์ให้แก่โจทก์ แต่จะจ่ายให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 8,500,000 บาท และในวันเดียวกันโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างยื่นคำร้องขอถอนฟ้องและถอนฟ้องแย้ง ศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำเลยทั้งสองถอนฟ้องแย้ง และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันที่จะระงับข้อพิพาทที่มีอยู่เดิมตามคำฟ้อง คำให้การ ฟ้องแย้ง และคำให้การแก้ฟ้องแย้ง โดยโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างมีเจตนามุ่งหมายให้มีการบังคับต่อกันตามบันทึกข้อตกลงที่ปรากฏในรายงานการประชุมการไกล่เกลี่ยครั้งที่ 3 จนถึงกับแต่ละฝ่ายต่างยอมถอนฟ้องและฟ้องแย้ง ยิ่งสนับสนุนให้เชื่อว่า ต่างฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทเดิมและผ่อนผันให้ถือตามข้อตกลงใหม่ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 แม้ตามคำร้องขอถอนฟ้องและฟ้องแย้งจะมีข้อความว่า มีแนวโน้มที่จะตกลงกันได้ ก็เป็นเพียงข้อบ่งชี้ให้เห็นว่า คู่กรณียอมผ่อนผันเพื่อจะนำไปสู่การปฏิบัติตามข้อตกลงไม่ใช่เป็นเพียงแนวทางในการเจรจาเบื้องต้นหรือเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลสมบูรณ์แต่อย่างใด เพราะมิเช่นนั้นทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองคงไม่ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องและฟ้องแย้ง ส่งผลให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วนกรณีอุทธรณ์ทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีในส่วนที่ทิ้งฟ้อง
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินหรือไม่ และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินตกเป็นโมฆะและฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงเป็นประเด็นข้อพิพาทโดยตรงที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้และยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินหรือไม่ แล้วจึงวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียงจำนวนเดียว 200,000 บาท และวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนอีก 215,500 บาท นั้น แม้ในอุทธรณ์ของจำเลยแผ่นสุดท้ายจะมีลายมือเขียนคำว่า "ฟ้องแย้ง" ไว้เหนือตราประทับเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลซึ่งเป็นลายมือเขียนของพนักงานรับฟ้องอุทธรณ์ ที่อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นการเสียค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้ง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ในส่วนฟ้องเดิมและในส่วนฟ้องแย้งมีจำนวน 28,000,000 บาทเท่ากัน และตามสำเนาใบรับเงินค่าธรรมเนียมท้ายอุทธรณ์ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องเดิมหรือฟ้องแย้ง ทั้งการตรวจรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณานั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำการแทนศาลอุทธรณ์ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยโดยรวมเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน มิใช่นิติกรรมที่สมบูรณ์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาเพียงจำนวนเดียว 200,000 บาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องเดิมครบถ้วนแล้ว ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาคดีในส่วนฟ้องเดิมตามอุทธรณ์ของจำเลยต่อไป ส่วนที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยบันดาลโทสะ: ศาลฎีกาวินิจฉัยถึงเหตุและผลกระทบต่อการลดหย่อนโทษ
แม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ทำให้ศาลชั้นต้นมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จำเลยย่อมมีสิทธิยกเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4847/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการภาษีจากการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: การแก้ไขบัญชีรับ-จ่ายให้ถูกต้อง
การที่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเป็นเงินได้ของกองทรัพย์สินจำเลย จำเลยโดยผู้คัดค้านมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) เว้นแต่จะมีข้อตกลงเรื่องภาระภาษีเงินได้กันเป็นอย่างอื่น ที่ผู้คัดค้านกำหนดเงื่อนไขในการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์และข้อตกลงในหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมการโอนและค่าภาษีต่าง ๆ จากการขายทอดตลาดและมีสิทธินำใบเสร็จรับเงินที่มีรายการชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาขอคืนภาษีภายใน 20 วัน นับแต่วันชำระราคาครบถ้วน หากไม่มาขอคืนภายในกำหนดจะถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอคืนภาษีนั้น ไม่มีลักษณะเป็นข้อตกลงเรื่องภาระภาษีเงินได้กันเป็นอย่างอื่น หากแต่เป็นเพียงเพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของจำเลยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสะดวกรวดเร็วอันเป็นประโยชน์แก่ผู้คัดค้านที่ไม่จำต้องนำส่งหรือไปชำระภาษีดังกล่าวด้วยตนเองโดยผลักภาระให้ผู้ซื้อทรัพย์ไปชำระภาษีแล้วนำใบเสร็จรับเงินมาขอคืนเงินที่ชำระเป็นค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากผู้คัดค้านเท่านั้น เมื่อผู้คัดค้านจำหน่ายทรัพย์ของจำเลยในคดีล้มละลายแล้ว ทรัพย์สินซึ่งเหลือจากที่กันไว้สำหรับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ผู้คัดค้านต้องจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้โดยเร็วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 124 ซึ่งผู้คัดค้านสามารถกันเงินในส่วนที่ผู้ซื้อทรัพย์จะมาขอรับเงินที่จ่ายเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืนได้ในชั้นทำบัญชีแสดงรายการรับ–จ่ายเงิน แล้วแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินคืน หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่มารับเงินดังกล่าวคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ศาลสั่งปิดคดี เงินดังกล่าวก็จะตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 176 ผู้คัดค้านจะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อตกลงในการขายทอดตลาดทรัพย์หรือหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินดังกล่าวคืนภายในกำหนดเวลาผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่