คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 166

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4213-4214/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยเลี้ยงพนักงานส่งเสริมการขายถือเป็นค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยและดอกเบี้ย
โจทก์เป็นพนักงานส่งเสริมการขาย ต้องออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดทุกเดือน เดือนละประมาณ 19 วันในการออกปฏิบัติหน้าที่ในต่างจังหวัดจำเลยจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงอันได้แก่ค่าโรงแรมและค่าอาหารให้แก่โจทก์ วันละ 240 บาท ซึ่งเป็นจำนวนแน่นอนและเป็นการเหมาจ่าย ดังนี้ เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ดังกล่าวถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2530 ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่ค้างชำระแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2525 ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 5 ปี จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทรัสต์รีซีทไม่ใช่ทรัสต์ตามกฎหมาย และอายุความดอกเบี้ย
สัญญาทรัสต์รีซีทหาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 ไม่จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ฎีกาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็ตาม แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 และศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัย จึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1รับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างเพียง 5 ปี และเมื่อหนี้ของจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา จำเลยที่ 2 ก็ได้รับประโยชน์จากข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัสต์รีซีทไม่ใช่ทรัสต์ตามกฎหมาย และอายุความดอกเบี้ย
สัญญาทรัสต์รีซีทหาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 ไม่จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ฎีกาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็ตาม แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 และศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยจึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1รับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างเพียง 5 ปีและเมื่อหนี้ของจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา จำเลยที่2ก็ได้รับประโยชน์จากข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ของผู้ค้ำประกันระงับสิ้น แต่ยังคงต้องรับผิดชอบหนี้
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกัน ส. ในตำแหน่งคอมปราโดร์ส. ปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยฟ้อง ส. ล้มละลาย ต่อมาจำเลยถอน คำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้น ดังนี้ เป็นผลให้จำเลยหมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้จาก ส.ผู้ล้มละลายเท่านั้น มิใช่หนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 698 อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด คู่ความท้ากัน ขอให้ศาลชี้ขาดประเด็นเดียวว่าการที่จำเลยถอนคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยในคดีล้มละลาย ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะยังคงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อจำเลยหรือไม่ปรากฏตามคำแถลงของคู่ความในรายงานกระบวนพิจารณาว่า เรื่องค่าเสียหายและดอกเบี้ย ให้ศาลพิจารณาให้ตามคำฟ้องและคำให้การดังนี้ ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นจากคำฟ้องและคำให้การ เมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ดอกเบี้ยที่จำเลยฟ้องแย้งเกิน 5 ปี จึงมีประเด็นเรื่องอายุความดอกเบี้ยค้างส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 166.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อายุความดอกเบี้ย, สิทธิเรียกร้องหนี้, การต่ออายุสัญญา, สัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัด เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือในระหว่างที่สัญญายังดำเนินอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่หักทอนบัญชีและมีการผิดนัดแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก กำหนดเวลาที่จำเลยอ้างในการเริ่มนับอายุความ เป็นกำหนดเวลาใช้คืนเงินกู้ที่เบิกโดยบัญชีเดินสะพัด อันเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่เบิกเงินไปหาใช่อายุของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงโดยเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดไม่เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อหักทอนบัญชีให้จำนวนหนี้ลดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ หาขาดอายุความไม่ ข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีข้อความว่าให้สัญญาสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาต้องถือว่ามีการต่ออายุออกไปโดยปริยาย โจทก์ยังมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2176/2522) จำเลยเป็นหนี้โจทก์มานานหลายปี จำนวนหนี้และดอกเบี้ยสูงขึ้น เป็นลำดับ เมื่อโจทก์เรียกร้องให้ชำระหนี้ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ ขอชำระหนี้ แต่ขอลดเงินค่าดอกเบี้ย และว่ากิจการของจำเลยต้องเลิกโดยฉับพลัน ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะหนี้สินมากหากโจทก์ยอม ลดหย่อนหนี้ให้ก็จะไปกู้ยืมเงินจากพี่น้องมาชดใช้เท่ากับจำเลยไม่มีเงินพร้อมที่จะชำระหนี้เมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระหนี้จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชำระหนี้เงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับผู้กู้ จนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ฉะนั้น จำเลยจะต้องรับผิดค่าดอกเบี้ยในต้นเงินที่ตนทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อายุความ, และความรับผิดของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัด เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ ในระหว่างที่สัญญายังดำเนินอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่หักทอนบัญชีและมีการผิดนัดแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก
กำหนดเวลาที่จำเลยอ้างในการเริ่มนับอายุความ เป็นกำหนดเวลาใช้คืนเงินกู้ที่เบิกโดยบัญชีเดินสะพัด อันเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่เบิกเงินไป หาใช่อายุของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงโดยเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดไม่ เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อหักทอนบัญชีให้จำนวนหนี้ลดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียดอกเบี้ยจากจำเลยได้ หาขาดอายุความไม่
ข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีข้อความว่าให้สัญญาสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อยังไม่มีการบอกเลิกสัญญา ต้องถือว่ามีการต่ออายุออกไปโดยปริยายโจทก์ยังมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2176/2522)
จำเลยเป็นหนี้โจทก์มานานหลายปี จำนวนหนี้และดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นลำดับ เมื่อโจทก์เรียบร้องให้ชำระหนี้ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้ แต่ขอลดเงินค่าดอกเบี้ย และว่ากิจการของจำเลยต้องเลิกโดยฉับพลัน ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะหนี้สินมาก หากโจทก์ยอมลดหย่อนหนี้ให้ก็จะไปกู้ยืมเงินจากพี่น้องมาชดใช้ เท่ากับจำเลยไม่มีเงินพร้อมที่จะชำระหนี้เมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชำระหนี้เงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยอย่างลูกหนี้รวมกันกับผู้กู้ จนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ฉะนั้นจำเลยจะต้องรับผิดค่าดอกเบี้ยในต้นเงินที่ตนทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่สมบูรณ์
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาทรวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส. ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่ผูกมัดจำเลย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ ความรับผิดของจำเลยที่ 2ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส.ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเช่าเรือ: โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าให้เช่าสังหาริมทรัพย์ ใช้บังคับอายุความ 5 ปี
โจทก์ประกอบกิจการสั่งสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก ไม่เคยให้เช่าเรือหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์มาก่อน เมื่อจำเลยเช่าเรือจากโจทก์ โจทก์จึงมิได้เป็นผู้ประกอบการค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ คดีฟ้องเรียกค่าเช่าเรือที่ค้างไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165(6) แต่เป็นคดีที่มี อายุความ 5 ปี ตาม มาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นจากการเบิกเงินเกินบัญชีและการจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาจำนองมีข้อความว่า หากเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชี ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยเป็นรายเดือนโดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีของธนาคาร และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคารโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาทนับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป
of 13