คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุลยทัณฑ์ชนาณัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,595 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัว: ข้อแตกต่างระหว่าง ม.67 และ ม.68 กับผลต่อการพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เพราะเห็นว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายเป็นการจำเป็นเพื่อป้องกันชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา ม.67 แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ ตามมาตรา 68 ดังนี้ เป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน และตรงกันพิพากษาต้องกันให้ยกฟ้องโจทก์ เป็นการต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัว: เหตุจำเป็น vs. พอสมควรแก่เหตุ ศาลพิพากษาต้องกัน ห้ามฎีกาตาม ม.219
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายเป็นการจำเป็นเพื่อป้องกันชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุตามมาตรา 68 ดังนี้ เป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันและตรงกันพิพากษาต้องกันให้ยกฟ้องโจทก์ เป็นการต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงคดีปรับเกินสองพันบาท: ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาได้หากลดโทษแล้วไม่เกินเกณฑ์
คดีที่มีโทษปรับเกินกว่าสองพันบาทเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงด้วยวาจาหากศาลจะวางโทษและลดโทษแล้วเหลือโทษปรับไม่ถึงสองพันบาท ศาลแขวงย่อมมีอำนาจพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงคดีปรับเกินสองพันบาท: การลดโทษและขอบเขตการพิจารณาคดี
คดีที่มีโทษปรับเกินกว่าสองพันบาท เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงด้วยวาจา หากศาลจะวางโทษและลดโทษแล้วเหลือโทษปรับไม่ถึงสองพันบาท ศาลแขวงย่อมมีอำนาจพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ร้องขัดทรัพย์ต้องนำสืบก่อนหากอ้างทรัพย์เป็นของตนเอง แม้โจทก์อ้างเป็นของจำเลย
คดีร้องขัดทรัพย์ เมื่อผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดนั้นเป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของจำเลยดังนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อน(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีขัดทรัพย์: ผู้อ้างทรัพย์เป็นของตนต้องนำสืบก่อน
คดีร้องขัดทรัพย์ เมื่อผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดนั้นเป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของจำเลย ดังนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8 / 2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนหนี้ในสัญญาจำนองเกินข้อตกลงเดิม เป็นการขัดต่อหลักการนำสืบพยาน
จำเลยจะขอนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความจำนวนหนี้ในเอกสารสัญญาจำนองหาได้ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษยักยอกทรัพย์: เกณฑ์อัตราโทษขั้นต่ำและบทแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 เดิมบัญญัติถึงกรณีที่จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยให้ถือเกณฑ์อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปแต่ที่แก้ไขใหม่ได้เปลี่ยนหลักเดิมเป็นถือเกณฑ์อัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นแม้ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 ที่แก้ไข มีโทษขั้นสูงจำคุกตลอดชีวิต หรือ 20 ปีแต่ก็มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปเมื่อจำเลยรับสารภาพก็ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
โจทก์ฟ้องและอ้างประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายความถึงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประกาศใช้โดย พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 นั่นเอง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา131 ที่แก้ไข (เฉพาะข้อนี้โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2502 ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 1292/2500 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ และฎีกาที่1814/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษยักยอกทรัพย์: เกณฑ์อัตราโทษต่ำสุด 5 ปีตาม ป.วิ.อ. และการใช้บทบัญญัติที่กฎหมายอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 176 เดิมบัญญัติถึงกรณีที่จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยให้ถือเกณฑ์อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป แต่ที่แก้ไขใหม่ได้เปลี่ยนหลักเดิมเป็นถือเกณฑ์อัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น แม้ตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 131 ที่แก้ไข มีโทษขั้นสูงจำคุกตลอดชีวิตหรือ 20 ปี แต่ก็มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เมื่อจำเลยรับสารภาพก็ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
โจทก์ฟ้องและอ้างประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายความถึงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประกาศใช้โดย พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมาย อาญา พ.ศ. 2499 นั่นเอง
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 147 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดกว่ากฎหมายลักษณะอาญา ม. 131 ที่แก้ไข (เฉพาะข้อนี้โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2502 ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 1292/2500 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่และฎีกาที่ 1814/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้แท้งลูก แม้ผิดบทมาตรา ศาลลงโทษได้ตามความผิดที่เข้าข่าย
ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสคือแท้งลูกแม้โจทก์จะอ้างบทผิด คืออ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 ศาลก็ลงโทษตาม มาตรา297 ซึ่งเป็นบทมาตราที่ถูกต้องได้ทั้งนี้ อาศัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
of 260