คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1697

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับเวลาพินัยกรรมและผลต่อการเพิกถอนพินัยกรรมเดิม การแก้ไขพินัยกรรมโดยเจ้ามรดก
พินัยกรรมทั้งฉบับของโจทก์และจำเลยต่างลงวันเดือนปีที่ทำตรงกันคือ วันที่ 12 มกราคม 2502 ของจำเลยนั้นผู้ทำพินัยกรรมเขียนชื่อผู้รับไว้เรียบร้อยครบถ้วนแล้วแต่วันที่ลงในพินัยกรรม จึงถือเป็นอันสมบูรณ์แต่วันนั้นส่วนพินัยกรรมของโจทก์ปรากฏว่าชื่อผู้รับพินัยกรรมเว้นว่างไว้ เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2506 จึงถือได้ว่าพินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้ทำเสร็จเป็นพินัยกรรมเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2506 อันเป็นวันภายหลังจากพินัยกรรมจำเลย พินัยกรรมของโจทก์จึงเป็นพินัยกรรมฉบับหลังซึ่งมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1697
พินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้เว้นชื่อผู้รับพินัยกรรมว่างไว้ เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับภายหลัง กรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการขูดลบตกเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม จึงหาจำเป็นต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ไม่
เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยแสดงความเห็นไม่สมตามความประสงค์ของจำเลย ไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้อื่นตรวจเอกสารหรือเรียกตัวผู้เชี่ยวชาญของจำเลยมาเบิกความในข้อที่ได้แสดงความเห็นไว้ชัดเจนแล้วนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมฉบับหลังมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อน แม้ลงวันเดือนปีทำพินัยกรรมเดียวกัน หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมชื่อผู้รับภายหลัง
พินัยกรรมทั้งฉบับของโจทก์และจำเลยต่างลงวันเดือนปีที่ทำตรงกันคือ วันที่ 12 มกราคม 2502 ของจำเลยนั้น ผู้ทำพินัยกรรมเขียนชื่อผู้รับไว้เรียบร้อยครบถ้วนแล้วแต่วันที่ลงในพินัยกรรม จึงถือเป็นอันสมบูรณ์แต่วันนั้นส่วนพินัยกรรมของโจทก์ปรากฏว่าชื่อผู้รับพินัยกรรมเว้นว่างไว้ เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2506 จึงถือได้ว่าพินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้ทำเสร็จเป็นพินัยกรรมเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2506 อันเป็นวันภายหลังจากพินัยกรรมจำเลย พินัยกรรมของโจทก์จึงเป็นพินัยกรรมฉบับหลังซึ่งมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1697
พินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้เว้นชื่อผู้รับพินัยกรรมว่างไว้ เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับภายหลัง กรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการขูดลบตกเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม จึงหาจำเป็นต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ไม่
เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยแสดงความเห็นไม่สมตามความประสงค์ของจำเลย ไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้อื่นตรวจเอกสารหรือเรียกตัวผู้เชี่ยวชาญของจำเลยมาเบิกความในข้อที่ได้แสดงความเห็นไว้ชัดเจนแล้วนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนพินัยกรรมต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด การแสดงเจตนาเพียงอย่างเดียวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1693 ที่บัญญัติไว้ว่า ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้. มีความหมายว่า ถ้าผู้ทำพินัยกรรมไม่พอใจในพินัยกรรมที่ตนทำไว้ ย่อมแสดงเจตนาเพิกถอนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดๆ ก็ได้ก่อนผู้ทำพินัยกรรมตาย. แต่วิธีการเพิกถอนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับ ซึ่งมีบัญญัติไว้ตั้งแต่มาตรา 1694ถึง 1697. กฎหมายไม่ได้แยกมาตรา 1693 เป็นเอกเทศมีวิธีการเพิกถอนอยู่ในตัว.
การที่ผู้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยื่นคำร้องต่อนายอำเภอขอถอนพินัยกรรม.โดยมิได้ร้องขอทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรม. และนายอำเภอก็สั่งแต่เพียงให้รวมคำร้องเก็บไว้ในเรื่อง. ไม่ถือว่าได้มีการทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมแต่ประการใด. พินัยกรรมจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่. (อ้างฎีกาที่ 838/2508).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนพินัยกรรมต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด การยื่นคำร้องถอนพินัยกรรมไม่ถือเป็นการเพิกถอน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1693 ที่บัญญัติไว้ว่า ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้ มีความหมายว่าถ้าผู้ทำพินัยกรรมไม่พอใจในพินัยกรรมที่ตนทำไว้ ย่อมแสดงเจตนาเพิกถอนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดๆ ก็ได้ก่อนผู้ทำพินัยกรรมตาย แต่วิธีการเพิกถอนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับ ซึ่งมีบัญญัติไว้ตั้งแต่มาตรา 1694 ถึง 1697 กฎหมายไม่ได้แยกมาตรา 1693 เป็นเอกเทศมีวิธีการเพิกถอนอยู่ในตัว
การที่ผู้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยื่นคำร้องต่อนายอำเภอขอถอนพินัยกรรมโดยมิได้ร้องขอทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรม และนายอำเภอก็สั่งแต่เพียงให้รวมคำร้องเก็บไว้ในเรื่อง ไม่ถือว่าได้มีการทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมแต่ประการใด พินัยกรรมจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่
(อ้างฎีกาที่ 838/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนพินัยกรรมต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด การยื่นคำร้องถอนพินัยกรรมโดยไม่ทำลายหรือขีดฆ่า พินัยกรรมยังมีผลผูกพัน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1693 ที่บัญญัติไว้ว่า ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้ มีความหมายว่า ถ้าผู้ทำพินัยกรรมไม่พอใจในพินัยกรรมที่ตนทำไว้ ย่อมแสดงเจตนาเพิกถอนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดๆ ก็ได้ก่อนผู้ทำพินัยกรรมตาย แต่วิธีการเพิกถอนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับ ซึ่งมีบัญญัติไว้ตั้งแต่มาตรา 1694 ถึง 1697 กฎหมายไม่ได้แยกมาตรา 1693 เป็นเอกเทศมีวิธีการเพิกถอนอยู่ในตัว
การที่ผู้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยื่นคำร้องต่อนายอำเภอขอถอนพินัยกรรม โดยมิได้ร้องขอทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรม และนายอำเภอก็สั่งแต่เพียงให้รวมคำร้องเก็บไว้ในเรื่อง ไม่ถือว่าได้มีการทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมแต่ประการใด พินัยกรรมจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ (อ้างฎีกาที่ 838/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมเรื่องพินัยกรรม: ข้อหาปลอมแปลง vs. ถูกหลอกลวงลงชื่อ ทำให้การพิจารณาไม่ชัดเจน
ฟ้องอ้างว่าพินัยกรรมปลอมเจ้ามรดกมิได้ทำขึ้นและว่าถ้าหากมีลายมือชื่อเจ้ามรดกก็เป็นเพราะถูกหลอกลวงให้หลงผิด ฯลฯ ทั้งพฤติการณ์ที่ทำให้เกิดพินัยกรรมนี้ก็ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการแสดงสภาพแห่งข้อหาขัดแย้งกันจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมและขอให้สั่งว่าพินัยกรรมฉบับที่จำเลยอ้างว่าเจ้ามรดกทำให้จำเลยภายหลังนั้นไม่สมบูรณ์ด้วย
เมื่อปรากฏว่าคำฟ้องที่เกี่ยวกับขอให้ทำลายพินัยกรรมเคลือบคลุมก็ยังคงเหลือประเด็นตามคำฟ้องที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรกศาลต้องพิพากษาคดีต่อไป จะยกฟ้องเสียทีเดียวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมเรื่องพินัยกรรม: ข้อหาปลอมแปลง vs. ถูกหลอกลวงลงนาม ทำให้ฟ้องไม่ชัดเจน
ฟ้องอ้างว่าพินัยกรรมปลอมเจ้ามรดกมิได้ทำขึ้นและว่าถ้าหากมีลายมือชื่อเจ้ามรดกก็เป็นเพราะถูกหลอกลวงให้หลงผิด ฯลฯ ทั้งพฤติการณ์ที่ทำให้เกิดพินัยกรรมนี้ก็ไม่ชอบด้วย ก.ม.นับเป็นการแสดงสภาพแห่งข้อหาขัดแย้งกันจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมและขอให้สั่งว่าพินัยกรรมฉบับที่จำเลยอ้างว่าเจ้ามรดกทำให้จำเลยภายหลังนั้นไม่สมบูรณ์ด้วย
เมื่อปรากฎว่าคำฟ้องที่เกี่ยวกับขอให้ทำลายพินัยกรรมเคลือบคลุมก็ยังคงเหลือประเด็นตามคำฟ้องที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ศาลต้องพิพากษาคดีต่อไป จะยกฟ้องเสียทีเดียวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมธรรมดาเพิกถอนพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองได้ แม้ทำเป็นบันทึกต่อหน้าเจ้าพนักงานและพยาน
นายอำเภอได้บันทึกถ้อยคำเจ้ามรดกต่อหน้าผู้นั่งซึ่งลงลายมือชื่อเป็นพยาน 2 คน เจ้ามรดกให้ถ้อยคำขอถอนพินัยกรรมเดิม และแบ่งทรัพย์ให้บุตรหลานใหม่ แล้วลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้นั่งที่ลงชื่อเป็นพยานและบันทึกนั้นลงวันเดือนปีไว้ด้วย ดังนี้ ถือว่าบันทึกนั้นเป็นพินัยกรรมตามแบบธรรมดา และมีผลลบล้างพินัยกรรมฉบับเก่าซึ่งเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
ฟ้องอุทธรณ์จะลงชื่อศาลเดิมหรือศาลอุทธรณ์ก็มีผลเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมธรรมดาเพิกถอนพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองได้ แม้ทำต่อหน้าเจ้าพนักงานและพยาน
นายอำเภอได้บันทึกถ้อยคำเจ้ามฤดกต่อหน้าผู้นั่งซึ่งลงลายมือชื่อเป็นพะยาน 2 คน เจ้ามฤดกให้ถ้อยคำขอถอนพินัยกรรม์เดิม และแบ่งทรัพย์ให้บุตรหลานใหม่ แล้วลงลายมือชือต่อหน้าผู้นั่งที่ลงชื่อเป็นพะยานและบันทึกนั้นลงวันเดือนปีไว้ด้วย ดังนี้ ถือว่าบันทึกนั้นเป็นพินัยกรรมตามแบบธรรมดา และมีผลลบล้างพินัยกรรม์ฉะบับเก่า ซึ่งเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
ฟ้องอุทธรณ์จะลงชื่อศาลเดิมหรือศาลอุทธรณ์ก็มีผลเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมที่เว้นช่องว่างกรอกภายหลังและลงนาม ย่อมใช้ได้ ไม่ถือตกเติม หากไม่มีการโต้แย้งเรื่องพินัยกรรมฉบับอื่น
พินัยกรรมที่ทำขึ้นด้วยตัวพิมพ์ เว้นช่องว่างไว้กรอกวันเดือนปี ทรัพย์ และชื่อผู้ทำพินัยกรรมนั้น เมื่อผู้ทำพินัยกรรมได้กรอกรายละเอียดเหล่านั้นและลงนามของตนแล้ว ก็เป็นพินัยกรรมที่ใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องลงชื่อกำกับข้อความที่ตนกรอก และในกรณีเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการตกเติมข้อความในพินัยกรรม (อ้างฎีกาที่ 478/83)
วันที่ในพินัยกรรมพิมพ์เอาไว้ก่อนกรอกข้อความและลงนามผู้ทำพินัยกรรมนั้น ไม่เป็นเหตุให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
จำเลยให้การว่า พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ แล้วนำสืบว่าผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรม ดังนี้ รับฟังไม่ได้ เป็นการสืบนอกประเด็น
of 4