คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12665/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเรา, กระทำอนาจาร, พาเด็กไปเพื่อการอนาจาร: ศาลฎีกาปรับบทและพิพากษา
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 คำว่า "พราก" หมายความว่าจากไป พาเอาไปเสีย แยกออกจากกัน เอาออกจากกัน ดังนั้น ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม จึงหมายถึง การพาหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยบิดามารดาเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาเด็ก แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องอนุญาตให้ผู้เสียหายที่ 2 ทำงานเป็นพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารให้จำเลย หากรถยนต์โดยสารของจำเลยถึงจังหวัดตรังเวลาค่ำ จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 จะนอนค้างคืนที่ห้องเช่า อีกทั้งผู้ร้องเคยไปพักกับผู้เสียหายที่ 2 ที่ห้องเช่าดังกล่าวด้วย แสดงว่าผู้ร้องรู้เห็นยินยอมให้ผู้เสียหายที่ 2 พักอยู่ห้องเช่าจังหวัดตรังกับจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
การกระทำอนาจาร หมายถึง การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ เช่น กอดจูบ ลูบคลำ แตะต้องเนื้อตัวร่างกายในทางไม่สมควร การกระทำชำเราจึงรวมถึงการกระทำอนาจารอยู่ในตัว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลุกปล้ำ กอดจูบ ถอดเสื้อผ้า และกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง และฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 ก ข้อ 2 ก ข้อ 3 ก และข้อ 4 ก ว่า จำเลย...ได้บังอาจพราก...ผู้เสียหายที่ 2...ด้วยการพาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปเสียจากความปกครองดูแลของ...ผู้เสียหายที่ 1 เพื่อการอนาจาร ทั้งโจทก์ได้อ้างฐานความผิดไว้ในตอนต้นว่าพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และคำขอท้ายฟ้องอ้าง ป.อ. มาตรา 283 ทวิ ไว้ด้วย ฟ้องของโจทก์จึงบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ฐานความผิด และอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (2) (5) และ (6) แล้ว ถือได้ว่าฟ้องของโจทก์ได้บรรยายครบองค์ประกอบความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไม้สักเกิน 0.20 ลบ.ม. โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และไม้ต้องถูกริบ
การมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองเกิน 0.20 เมตรลูกบาศก์โดยมิได้รับอนุญาตเป็นการผิดพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 ฉะนั้นไม้สักของกลางต้องริบ และในฟ้องไม่ต้องกล่าวว่าไม้สักรายนี้เป็นไม้หวงห้าม เพราะพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3)2494 มาตรา 4 บัญญัติว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไม้สักแปรรูปเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้ไม้สักจะเป็นไม้หวงห้ามโดยปริยาย
การมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองเกิน .02 ม.ลูกบาศก์โดยมิได้รับอนุญาตเป็นการผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ม.48 ฉะนั้นไม้สักของกลางต้องริบและในฟ้องไม่ต้องกล่าวว่าไม้สักรายนี้เป็นไม้หวงห้าม เพราะ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) 2494 ม.4 บัญญัติว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องทำร้ายร่างกายขัดขวางเจ้าพนักงาน: การระบุหน้าที่เจ้าพนักงานในฟ้อง และการพิจารณาความเสียหาย
โจทบันยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ไช้กำลังชกต่อยทำร้ายนานแล้วผู้ไหย่บ้านผู้ทำการตามหน้าที่แม้จะได้ความว่าสถานที่ที่เกิดเหตุหยู่นอกท้องที่ของนายแก้วผู้ไหย่บ้านและนายแก้วจะได้กะทำไนถานเปนเจ้าพนักงานหรือไม่ก็ตามก็ยังคงลงโทสจำเลยตาม ม. 338 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการเปลี่ยนฐานความผิดในฟ้องอาญา: ลักทรัพย์ vs. รับของโจร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักโคไป ต่อมาจำเลยรับไถ่ถอนโครายนี้ไว้ จำเลยจึงได้ลักหรือรับของของโจรโครายนี้ ต้องถือว่าฟ้องโจทก์บรรยายความผิดฉะเพาะฐานลักทรัพย์เท่านั้น ฐานรับของโจร+จะนับว่าเป็นข้อหาด้วยหาได้ไม่ฎีกาอุทธรณ์