พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13881/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา จากการไม่ดำเนินคดีตามกำหนดศาล
ตามรายงานกระบวนพิจารณา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า คดีของโจทก์มีมูล ให้ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยทั้งสามมาให้การในวันเดียวกับวันนัดพร้อม และให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วัน โจทก์ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวตามที่โจทก์ได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลานั้น ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) อันเป็นการทิ้งฟ้อง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความจึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยความผิดเดิมที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง และฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ ความผิดฐานดังกล่าว จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจยกความผิดฐานดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกความผิดฐานดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานดังกล่าวด้วยแม้จะไม่ได้กำหนดโทษ ก็เป็นการไม่ชอบ ส่วนความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำคุก 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้เป็นคนร้ายคดีนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพาอาวุธปืน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาและการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยมาศาลและให้การแก้คดี แต่จำเลยไม่มาตามนัดศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว การที่โจทก์ยื่นคำร้องว่าหมายจับคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงเกี่ยวกับวันเริ่มต้นนับอายุความศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ปฏิเสธการจ่ายหลังสุด ให้เพิกถอนหมายจับเดิมแล้วออกหมายจับจำเลยใหม่โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำสั่งศาลเรื่องการออกหมายจับเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาจึงไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว ไม่ใช่เป็นคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยเด็ดขาดเมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งใด ๆ ของศาลชั้นต้นในระหว่างนี้เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นเช่นนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 ทวิโจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาต้องได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลก่อนนัดสืบพยาน การนัดสืบพยานก่อนได้ตัวจำเลยเป็นกระบวนการข้ามขั้นตอน
ในคดีอาญา เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว ศาลชอบที่จะต้องออกหมายเรียกหรือหมายจับจำเลยมาแล้วแต่ควรอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลเสียก่อนแล้วจึงทำการพิจารณาต่อไป การที่ศาลสั่งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์โดยยังไม่ได้ตัวจำเลยมาศาล จึงเป็นกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามนัด ในวันนั้นก็ไม่มีตัวจำเลยอยู่ในอำนาจศาล วันเวลาที่นัดไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นวันเวลานัดสืบพยานโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มาศาลตามวันเวลาดังกล่าวจะถือเป็นเหตุยกฟ้องโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ประกอบด้วยมาตรา 181 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาต้องได้ตัวจำเลยก่อนนัดสืบพยาน หากจำเลยไม่มาศาลตามนัด โจทก์ก็ต้องไม่ถูกยกฟ้อง
ในคดีอาญา เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งประทับฟ้องแล้วศาลชอบที่จะต้องออกหมายเรียกหรือหมายจับจำเลยมาแล้วแต่ควรอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลเสียก่อนแล้วจึงทำการพิจารณาต่อไป การที่ศาลสั่งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์โดยยังไม่ได้ตัวจำเลยมาศาล จึงเป็นกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามนัด ในวันนั้นก็ไม่มีตัวจำเลยอยู่ในอำนาจศาลวันเวลาที่นัดไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นวันเวลานัดสืบพยานโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มาศาลตามวันเวลาดังกล่าวจะถือเป็นเหตุยกฟ้องโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา166 ประกอบด้วยมาตรา 181 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องคดีอาญาเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งหมายเรียกจำเลย ทำให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบได้
ในคดีอาญาศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า คดีของโจทก์มีมูล ให้ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยมาให้การ และให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วัน คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ออกหมายเรียกจำเลยมานั้น นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 169 แล้วยังเป็นการปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ด้วย และ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกให้จำเลยก็เป็นการสั่งให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้าย โจทก์ จึงมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินคดีต่อไปภายในกำหนดเวลาที่ศาลกำหนดไว้นั้น
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลที่กำหนดเวลาให้โจทก์นำส่งหมายให้จำเลยดังกล่าวแล้ว. โจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลานั้น กรณีต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดี ภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) อันเป็นการทิ้งฟ้อง ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลที่กำหนดเวลาให้โจทก์นำส่งหมายให้จำเลยดังกล่าวแล้ว. โจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลานั้น กรณีต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดี ภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) อันเป็นการทิ้งฟ้อง ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องคดีอาญาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียกจำเลย ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีได้
ในคดีอาญาศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีของโจทก์มีมูล ให้ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยมาให้การ และให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วัน คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ออกหมายเรียกจำเลยมานั้น นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 169 แล้ว ยังเป็นการปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ด้วย และ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกให้จำเลยก็เป็นการสั่งให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้าย โจทก์จึงมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินคดีต่อไปภายในกำหนดเวลาที่ศาลกำหนดไว้นั้น
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลที่กำหนดเวลาให้โจทก์นำส่งหมายให้จำเลยดังกล่าวแล้ว โจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลานั้น กรณีต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดี ภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) อันเป็นการทิ้งฟ้อง ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลที่กำหนดเวลาให้โจทก์นำส่งหมายให้จำเลยดังกล่าวแล้ว โจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลานั้น กรณีต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดี ภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) อันเป็นการทิ้งฟ้อง ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลออกหมายจับและการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาในคดีอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 169 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจได้ตามควรว่า กรณีใดควรจะออกหมายเรียก กรณีใดควรจะออกหมายจับ
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง ซึ่งศาลได้ออกหมายจับไว้แล้ว การที่ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจออกหมายจับโจทก์ตามคำแถลงของโจทก์ในคดีนั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบตามอำนาจที่จะกระทำได้ ไม่มีทางที่จะฟังได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่อย่างใด กรณีไม่มีความจำเป็นจะต้องสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้เพื่อทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 ที่ว่าจะควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และรู้ตัวว่าเป็นใครและที่อยู่ของเขาว่าอยู่ที่ไหนนั้น เป็นบทบัญญัติในเรื่องการควบคุมตัวผู้ต้องหา ไม่ใช่บทบัญญัติที่ห้ามศาลมิให้ออกหมายจับเพื่อให้ได้ตัวจำเลยมาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 169
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง ซึ่งศาลได้ออกหมายจับไว้แล้ว การที่ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจออกหมายจับโจทก์ตามคำแถลงของโจทก์ในคดีนั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบตามอำนาจที่จะกระทำได้ ไม่มีทางที่จะฟังได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่อย่างใด กรณีไม่มีความจำเป็นจะต้องสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้เพื่อทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 ที่ว่าจะควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และรู้ตัวว่าเป็นใครและที่อยู่ของเขาว่าอยู่ที่ไหนนั้น เป็นบทบัญญัติในเรื่องการควบคุมตัวผู้ต้องหา ไม่ใช่บทบัญญัติที่ห้ามศาลมิให้ออกหมายจับเพื่อให้ได้ตัวจำเลยมาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 169
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลออกหมายจับ vs. การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ: คดีฟ้องผู้พิพากษา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 169 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจได้ตามควรว่า กรณีใดควรจะออกหมายเรียกกรณีใดควรจะออกหมายจับ
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คและเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง ซึ่งศาลได้ออกหมายจับไว้แล้ว การที่ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจออกหมายจับโจทก์ตามคำแถลงของโจทก์ในคดีนั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบตามอำนาจที่จะกระทำได้ ไม่มีทางที่จะฟังได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่อย่างใด กรณีไม่มีความจำเป็นจะต้องสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้เพื่อทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อน
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ที่ว่าจะควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และรู้ตัวว่าเป็นใครและที่อยู่ของเขาว่าอยู่ที่ไหนนั้น เป็นบทบัญญัติในเรื่องการควบคุมตัวผู้ต้องหา ไม่ใช่บทบัญญัติที่ห้ามศาลมิให้ออกหมายจับเพื่อให้ได้ตัวจำเลยมาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 169
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คและเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง ซึ่งศาลได้ออกหมายจับไว้แล้ว การที่ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจออกหมายจับโจทก์ตามคำแถลงของโจทก์ในคดีนั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบตามอำนาจที่จะกระทำได้ ไม่มีทางที่จะฟังได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่อย่างใด กรณีไม่มีความจำเป็นจะต้องสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้เพื่อทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อน
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ที่ว่าจะควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และรู้ตัวว่าเป็นใครและที่อยู่ของเขาว่าอยู่ที่ไหนนั้น เป็นบทบัญญัติในเรื่องการควบคุมตัวผู้ต้องหา ไม่ใช่บทบัญญัติที่ห้ามศาลมิให้ออกหมายจับเพื่อให้ได้ตัวจำเลยมาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 169
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องมีตัวจำเลยมาศาล แม้จำเลยถูกกักขังในคดีอื่น
จำเลยต้องกักขังตามอำนาจศาลอยู่ในคดีหนึ่ง แล้วหลบหนีไป ต่อมาอัยการจะมาฟ้องจำเลยผู้นั้นในอีกคดีหนึ่งโดยไม่มีตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมฟ้องนั้นไม่ได้