พบผลลัพธ์ทั้งหมด 500 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการมรดกที่มีผู้จัดการมรดกจำนวนมากและขาดเสียงข้างมากในการตัดสินใจ
เมื่อผู้คัดค้านที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกคนหนึ่งของเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทำให้ผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่ 6 คน ไม่อาจจัดการมรดกต่อไปได้ โดยที่ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่ทั้ง 6 คน เป็นผู้จัดการมรดก เพราะจะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลที่ให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งหกร่วมกันจัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งกรณีไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 1715 วรรคสอง ที่กำหนดให้ผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่จัดการมรดกต่อไปได้ แต่ไม่อาจจัดการมรดกโดยลำพังมาใช้บังคับกับกรณีการตั้งผู้จัดการมรดกในคดีนี้ได้ เพราะคดีนี้ไม่ใช่การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม การที่ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตายย่อมทำให้อำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกที่ถึงแก่ความตายสิ้นสุดลง โดยไม่จำต้องมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ถึงแก่ความตายออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก แต่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับอำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่ต่อไป
การที่ผู้คัดค้านที่ 5 ถึงแก่ความตาย ทำให้คงเหลือผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจในการจัดการมรดกเพียง 6 คน ซึ่งมิอาจหาเสียงชี้ขาดได้หากเกิดกรณีที่มีความเห็นแบ่งเป็นสองฝ่าย และแต่ละฝ่ายมีคะแนนเสียงเท่ากันดังนั้น จึงต้องใช้กระบวนการทางกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1726 โดยจะต้องให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้เป็นผู้ชี้ขาดต่อไป ทั้งเมื่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง กำหนดให้การตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร ซึ่งกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน การทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องถือตามเสียงข้างมากตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1726 เมื่อคำนึงถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก การตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยย่อมทำให้การจัดการมรดกมีเสียงข้างมากซึ่งน่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อกองมรดกของผู้ตาย
การที่ผู้คัดค้านที่ 5 ถึงแก่ความตาย ทำให้คงเหลือผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจในการจัดการมรดกเพียง 6 คน ซึ่งมิอาจหาเสียงชี้ขาดได้หากเกิดกรณีที่มีความเห็นแบ่งเป็นสองฝ่าย และแต่ละฝ่ายมีคะแนนเสียงเท่ากันดังนั้น จึงต้องใช้กระบวนการทางกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1726 โดยจะต้องให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้เป็นผู้ชี้ขาดต่อไป ทั้งเมื่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง กำหนดให้การตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร ซึ่งกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน การทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องถือตามเสียงข้างมากตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1726 เมื่อคำนึงถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก การตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยย่อมทำให้การจัดการมรดกมีเสียงข้างมากซึ่งน่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อกองมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกกรณีพินัยกรรมร่วมและพินัยกรรมฉบับหลัง สิทธิของผู้จัดการมรดก และการเพิกถอนพินัยกรรม
การที่ผู้ตายที่ 2 เคยทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองร่วมกับผู้ตายที่ 1 มาก่อน โดยมีข้อที่ 3 ระบุว่า พินัยกรรมฉบับนี้หากจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือผู้ทำพินัยกรรมคนหนึ่งคนใดจะถอนพินัยกรรมฉบับนี้ หรือทำพินัยกรรมฉบับใหม่ขึ้นจะต้องกระทำในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งสองคนและต้องแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย ถ้าผู้ทำพินัยกรรมฉบับนี้คนหนึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนจะแก้ไข เปลี่ยนแปลง ถอนพินัยกรรมส่วนของตน หรือทำพินัยกรรมฉบับใหม่ไม่ได้ หากทำพินัยกรรมฉบับใหม่ขึ้นจะไม่มีผลทำให้พินัยกรรมฉบับนี้ไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด นั้น ย่อมไม่มีผลผูกพันในส่วนของผู้ตายที่ 2 เพราะถือเป็นข้อกำหนดของผู้ตายที่ 1 เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อื่นคือผู้ตายที่ 2 ซึ่งถึงแก่ความตายภายหลัง ทั้งผู้ตายที่ 2 ผู้ทำพินัยกรรมฉบับแรกก็ได้ทำพินัยกรรมฉบับหลัง ยกทรัพย์สินแก่บุตร 7 คน รวมทั้งผู้คัดค้าน โดยไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สินอื่นของผู้ตายที่ 2 นอกพินัยกรรม จึงเป็นกรณีที่พินัยกรรมฉบับหลังเพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรกเฉพาะส่วนของผู้ตายที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1693 และ 1694 ดังนี้ เมื่อผู้ร้องมิได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมฉบับหลัง ถือว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมของผู้ตายที่ 2 เป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกในส่วนของผู้ตายที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสมและเจตนาเจ้ามรดก แม้มีข้อกำหนดในพินัยกรรม
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า ผู้ตายและผู้คัดค้านจะไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญา หากผู้คัดค้านผิดสัญญาให้ถือเอาคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแทนการแสดงเจตนา ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว แม้ผู้ตายและผู้คัดค้านยังไม่ได้นำข้อตกลงดังกล่าวไปจดทะเบียน การเลิกรับบุตรบุญธรรมระหว่างผู้ตายและผู้คัดค้านย่อมมีผลแล้วนับแต่เวลาที่คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1598/36 ผู้คัดค้านจึงไม่ได้มีฐานะเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตายและไม่อยู่ในฐานะทายาทลำดับที่หนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/28, 1629 ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
บทบัญญัติในวรรคสองของ ป.พ.พ. มาตรา 1713 เป็นบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก โดยพิจารณาตามพฤติการณ์เท่านั้น หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลจำต้องตั้งผู้จัดการมรดกตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมหรือห้ามตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมแต่ประการใดไม่ การที่ศาลจะตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกหรือจะตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันนั้นย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
บทบัญญัติในวรรคสองของ ป.พ.พ. มาตรา 1713 เป็นบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก โดยพิจารณาตามพฤติการณ์เท่านั้น หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลจำต้องตั้งผู้จัดการมรดกตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมหรือห้ามตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมแต่ประการใดไม่ การที่ศาลจะตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกหรือจะตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันนั้นย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย & อำนาจการขอเป็นผู้จัดการมรดก
แม้สูติบัตรจะระบุว่าเจ้ามรดกเป็นมารดาและผู้ร้องเป็นบิดาของผู้ร้องขอ แต่เอกสารดังกล่าวก็หาใช่พยานหลักฐานที่ยืนยันได้อย่างเด็ดขาดว่า ผู้ร้องขอเป็นบุตรของเจ้ามรดกกับผู้ร้องแต่อย่างใด เพราะการที่เอกสารดังกล่าวปรากฏชื่อเจ้ามรดกกับผู้ร้องเป็นมารดาและบิดาของผู้ร้องขอ ก็เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับการบอกเล่าและบันทึกลงในเอกสารดังกล่าวตามการบอกกล่าวของผู้แจ้งเท่านั้น หาใช่เป็นการตรวจพิสูจน์ของพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่หากมีการคัดค้านเอกสารดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 6 ต้องมีภาระการพิสูจน์ความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารดังกล่าว
ผู้ที่มีอำนาจยื่นคำคัดค้านและขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 บัญญัติว่า "ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้" ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 7 มิได้เป็นทายาทของเจ้ามรดก และแม้ผู้คัดค้านที่ 7 จะเป็นทายาทของผู้ร้องและผู้ร้องมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 7 เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้
ผู้ที่มีอำนาจยื่นคำคัดค้านและขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 บัญญัติว่า "ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้" ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 7 มิได้เป็นทายาทของเจ้ามรดก และแม้ผู้คัดค้านที่ 7 จะเป็นทายาทของผู้ร้องและผู้ร้องมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 7 เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์ ผู้ถูกตัดสิทธิมรดก ไม่มีสิทธิคัดค้านการจัดการมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้คัดค้านยอมรับว่าผู้ตายทำพินัยกรรมดังกล่าว แต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใหม่ว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมโดยถูกหลอก และมีการสมคบกัน ขณะทำพินัยกรรมผู้ตายมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ผู้ตายไม่ได้แจ้งข้อความที่ตนประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพญาไท พยานในพินัยกรรมมีความสนิทสนมใกล้ชิดกับ ก. ผู้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม และพินัยกรรมมีพิรุธ ผู้คัดค้านจึงมีภาระการพิสูจน์ให้เห็นตามข้อกล่าวอ้างของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 ผู้ร้องหามีหน้าที่ต้องนำเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดทำพินัยกรรมและแพทย์ผู้ออกใบรับรองแพทย์มาเป็นพยาน เมื่อได้ความว่าผู้ตายแจ้งข้อความที่ตนประสงค์ให้เจ้าหน้าที่จดต่อหน้าพยานสองคน เชื่อว่าเจ้าหน้าที่เห็นแล้วว่าผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์จึงทำพินัยกรรมให้ ฟังได้ว่าขณะทำพินัยกรรมผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ประกอบกับผู้คัดค้านไม่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ศาลเห็นตามข้ออ้าง พยานหลักฐานผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานผู้ร้อง เมื่อพินัยกรรมมีรายการถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1658 จึงสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย ตามพินัยกรรมข้อ 1 ระบุว่า ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ ก. และข้อ 3 ระบุว่า ได้ตัดทายาทโดยธรรมคนอื่น ๆ มิให้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านย่อมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย จึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8570/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกและการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ศาลยืนตามพินัยกรรมเดิม
ปัญหาตามฎีกาของผู้คัดค้านทั้งสี่ที่ว่า ผู้ร้องรื้อบ้านให้เช่าของผู้ตายแล้วเอาบ้านไม้ไปโดยทุจริต ทำให้กองมรดกได้รับความเสียหายนั้น ผู้คัดค้านทั้งสี่ไม่ได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าว ส่วนฎีกาที่ว่าผู้ร้องรื้อบ้านของผู้ตายและนำเงินที่ขายได้ไปใช้ส่วนตัวโดยพลการนั้น ผู้คัดค้านทั้งสี่นำสืบว่าผู้ร้องนำเงินจำนวนนี้ไปซ่อมแซมบ้านซึ่งผู้ตายพักอาศัย ฎีกาของผู้คัดค้านทั้งสี่จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บุคคลที่ศาลจะตั้งเป็นผู้จัดการมรดก นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมอื่น ๆ ประกอบด้วย พยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้งสี่ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าผู้ร้องไม่สมควรที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งมีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก การที่ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยไม่ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกฝ่ายเดียวจึงชอบแล้ว ส่วนปัญหาว่าสมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องหรือไม่นั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่า นอกจากที่ดินที่ระบุหลักฐานโฉนดที่ดินในพินัยกรรมแล้ว ผู้ตายยังมีทรัพย์สินอื่นที่คู่ความไม่โต้แย้งกัน ซึ่งหากผู้ตายมีเจตนาจะยกทรัพย์สินดังกล่าวให้ด้วยแล้ว ก็น่าที่จะระบุไว้ในพินัยกรรมให้ชัดเจน นอกจากนี้ไม่ปรากฏข้อความที่ผู้ตายจะตัดทายาทอื่นไม่ให้รับมรดก จึงมีทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรม คดีนี้ผู้คัดค้านทั้งสี่ยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและอุทธรณ์ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ดังนั้น หากศาลเห็นว่าการตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกอีกผู้หนึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการมรดกยิ่งขึ้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้ ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังไม่ได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวน ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ตายโอนที่ดินให้ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 3 ก็อ้างว่าผู้ร้องใช้การฉ้อฉลแสดงเจตนาหลอกลวงให้ผู้ตายโอนที่ดินให้ผู้ร้อง และร่วมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนนิติกรรม ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าผู้ตายถูกจำเลยฉ้อฉลหลอกลวงและพิพากษายกฟ้อง คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ทำให้เชื่อว่าหากผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง การจัดการมรดกก็จะมีข้อขัดแย้งและเป็นอุปสรรคในการจัดการมรดกให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ผู้คัดค้านที่ 3 จึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ที่ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวชอบแล้ว
บุคคลที่ศาลจะตั้งเป็นผู้จัดการมรดก นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมอื่น ๆ ประกอบด้วย พยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้งสี่ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าผู้ร้องไม่สมควรที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งมีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก การที่ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยไม่ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกฝ่ายเดียวจึงชอบแล้ว ส่วนปัญหาว่าสมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องหรือไม่นั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่า นอกจากที่ดินที่ระบุหลักฐานโฉนดที่ดินในพินัยกรรมแล้ว ผู้ตายยังมีทรัพย์สินอื่นที่คู่ความไม่โต้แย้งกัน ซึ่งหากผู้ตายมีเจตนาจะยกทรัพย์สินดังกล่าวให้ด้วยแล้ว ก็น่าที่จะระบุไว้ในพินัยกรรมให้ชัดเจน นอกจากนี้ไม่ปรากฏข้อความที่ผู้ตายจะตัดทายาทอื่นไม่ให้รับมรดก จึงมีทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรม คดีนี้ผู้คัดค้านทั้งสี่ยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและอุทธรณ์ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ดังนั้น หากศาลเห็นว่าการตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกอีกผู้หนึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการมรดกยิ่งขึ้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้ ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังไม่ได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวน ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ตายโอนที่ดินให้ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 3 ก็อ้างว่าผู้ร้องใช้การฉ้อฉลแสดงเจตนาหลอกลวงให้ผู้ตายโอนที่ดินให้ผู้ร้อง และร่วมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนนิติกรรม ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าผู้ตายถูกจำเลยฉ้อฉลหลอกลวงและพิพากษายกฟ้อง คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ทำให้เชื่อว่าหากผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง การจัดการมรดกก็จะมีข้อขัดแย้งและเป็นอุปสรรคในการจัดการมรดกให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ผู้คัดค้านที่ 3 จึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ที่ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิของผู้จัดการมรดกและการอ้างเหตุที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องที่ 2 และผู้คัดค้าน เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ช. การที่ผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้พยาบาลขณะที่ผู้ตายป่วย มิได้เป็นภริยาของผู้ตาย โดยได้ค่าจ้างจากผู้ตายเป็นรายเดือน ถือไม่ได้ว่าร่วมทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตาย ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอจัดการมรดก เช่นนี้แล้ว ฎีกาของผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 ที่ว่าผู้คัดค้านไม่อาจอ้างว่าอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายและทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตาย เพราะยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ตายหย่าขาดจากผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นการอ้างเหตุที่ผู้คัดค้านไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอจัดการมรดก นอกเหนือจากคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ร้องไม่มีอำนาจขอตั้งผู้จัดการมรดกเพิ่มเติม
พันตำรวจตรี ท. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ดำเนินการก่อตั้งมูลนิธิตามข้อกำหนดพินัยกรรมแล้วแต่ไม่อาจจัดตั้งได้ เพราะเป็นการขัดต่อกฎหมาย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1679 วรรคท้าย บัญญัติให้ข้อกำหนดพินัยกรรมในการจัดตั้งมูลนิธินั้นเป็นอันไร้ผลและหลังจากนั้นพันตำรวจตรี ท. ได้จัดการแบ่งปันที่ดิน 3 แปลง อันเป็นทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกระบุในพินัยกรรมยกให้แก่มูลนิธิที่จะจัดตั้งขึ้นโดยโอนไปเป็นของตนเองตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2527 การจัดการมรดกรายพิพาทจึงเสร็จสิ้นลงแล้ว ส่วนข้อที่ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า พันตำรวจตรี ท. ทำผิดหน้าที่ โอนที่ดิน 3 แปลงดังกล่าวไปเป็นของตนเอง ไม่ได้นำมาแบ่งปันให้แก่ทายาท เป็นการไม่ชอบนั้น ก็ชอบที่จะต้องว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ เมื่อการจัดการมรดกรายพิพาทเสร็จสิ้นลงแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องมีการตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการจัดการมรดกหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 อีกต่อไป ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอจัดการมรดกเป็นคดีนี้ ปัญหานี้แม้ผู้คัดค้านทั้งสามจะไม่ได้กล่าวมาในคำคัดค้านอย่างชัดแจ้งถึงเรื่องอำนาจร้องของผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 ก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15201/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่ชัดเจนระบุผู้รับผลประโยชน์ไม่แน่นอน ทำให้ข้อกำหนดเป็นโมฆะ แต่ผู้จัดการมรดกยังคงมีอำนาจหน้าที่
ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่มิได้กำหนดให้บุคคลใดได้รับทรัพย์มรดก เพียงแต่ให้ผู้จัดการมรดกจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีชื่อตามความจำเป็น นับว่าเป็นการไม่กำหนดตัวบุคคลแน่นอนให้เป็นผู้รับพินัยกรรม ทั้งระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจที่จะทราบแน่นอนได้ว่าให้ทรัพย์สินแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดจำนวนมากน้อยเพียงใดตามแต่ใจของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดก จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) และ (3) และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 ยกขึ้นวินิจฉัยตามมาตรา 142 (5)
แม้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) และ (3) แต่พินัยกรรมในส่วนที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาตั้งผู้จัดการมรดกยังคงสมบูรณ์ หาตกเป็นโมฆะไปด้วยไม่
แม้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) และ (3) แต่พินัยกรรมในส่วนที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาตั้งผู้จัดการมรดกยังคงสมบูรณ์ หาตกเป็นโมฆะไปด้วยไม่