คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 774 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนข้อเรียกร้องบางส่วน และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ยกเลิกผลัดการทำงาน
กฎหมายไม่ได้บังคับว่าฝ่ายที่ยื่นข้อเรียกร้องจะถอนข้อเรียกร้องทั้งหมดหรือข้อหนึ่งข้อใดไม่ได้ เมื่อสหภาพแรงงานพนักงานยาสูบ ผู้ยื่นข้อเรียกร้องได้ขอถอนข้อเรียกร้องข้อ 10 ที่ขอเปลี่ยนเวลาทำงาน แล้วนำคดีไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางในระหว่างไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทข้อเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่มีอยู่และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานไม่อาจดำเนินการไกล่เกลี่ยต่อไป โจทก์ไม่จำต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13,21 และ 22 จึงฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522
โจทก์เป็นพนักงานควบคุมหม้อไอน้ำและเครื่องปรับอากาศ ยื่นข้อเรียกร้องขอให้จำเลยแก้ไขสภาพการจ้างโจทก์จากพนักงานประจำรายชั่วโมงเป็นพนักงานประจำรายเดือน แต่ยังคงยืนยันขอให้จำเลยแบ่งพนักงานเข้าทำงานเป็น 2 ผลัด โดยกำหนดเวลาทำงานของแต่ละผลัดไว้ จำเลยยินยอมตามข้อเรียกร้องนี้โจทก์จึงเป็นพนักงานประจำรายเดือนที่ต้องปฏิบัติงานเป็นผลัดต่อไปตามสภาพการจ้างเดิมการที่ต่อมาโรงงานยาสูบได้มีคำสั่งที่ ท.352/2522 ให้ลดเวลาทำงานของพนักงานยาสูบลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมงโดยให้บังคับแก่โจทก์ด้วยนั้น มิได้เป็นการยกเลิกการปฏิบัติงานเป็นผลัดของโจทก์ด้วย กำหนดเวลาปฏิบัติงานตามคำสั่งนี้ซึ่งกำหนดเวลาทำงานตั้งแต่ 8.00 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา เวลาพักระหว่าง 12.00 นาฬิกา ถึง 13.00 นาฬิกา จำเลยมุ่งประสงค์จะให้ใช้บังคับแก่พนักงานประจำรายเดือนทั่ว ๆ ไปเท่านั้น และโจทก์ก็ได้ปฏิบัติงานเป็นผลัดดังกล่าวตลอดมาโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านโจทก์จะเรียกร้องขอปฏิบัติงานตามกำหนดเวลาในคำสั่งที่ ท.352/2522ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างช่วงปิดงานและลาคลอด: สิทธิลูกจ้างเมื่อนายจ้างใช้สิทธิปิดงานและลูกจ้างไม่ได้ยื่นใบลาคลอด
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยมาแล้วเกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันระหว่างวันที่ 15 เมษายน ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2528 จำเลยใช้สิทธิปิดงานเนื่องจากมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2528 จำเลยกับลูกจ้างตกลงกันได้ จึงเปิดงานและเริ่มรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน โจทก์คลอดบุตรเมื่อวันที่29 เมษายน 2528 และจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2528 โดยโจทก์มิได้ยื่นใบลาคลอดตามระเบียบของจำเลยดังนี้ การปิดงานของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 22 วรรคสาม กรณีที่โจทก์คลอดบุตรในช่วงแรกระหว่างจำเลยปิดงานนั้นแม้โจทก์ไม่ได้คลอดบุตร โจทก์ก็มิได้ทำงานให้จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าจ้างแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากจำเลยในระยะเวลาช่วงแรกดังกล่าว ส่วนในช่วงที่สองนับแต่วันที่จำเลยเปิดงานจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นใบลาคลอดตามระเบียบเกี่ยวกับการลาคลอดของจำเลย โจทก์จึงไม่มีวันลาคลอดอันพึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่าเวลาที่ลาตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 18 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาคลอดและค่าจ้างเมื่อนายจ้างใช้สิทธิปิดงานเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน
การที่โจทก์คลอดบุตรระหว่างที่จำเลยปิดงานอันเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 22วรรคสามนั้น ถึงแม้โจทก์ไม่ได้คลอดบุตรในช่วงเวลาดังกล่าว โจทก์ก็มิได้ทำงานให้จำเลยเพราะจำเลยปิดงานซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานชั่วคราวตามมาตรา 5 วรรคหกแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ในเมื่อโจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยในระหว่างนั้น จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ เพราะการจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนดังนั้นการที่โจทก์คลอดบุตรในช่วงเวลาที่จำเลยปิดงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำผ่านสหภาพแรงงานมีผลผูกพันสมาชิก แม้จะไม่ได้ฟ้องร้องค้างเก่า
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานของจำเลยตกลงกันได้ว่าจำเลยตกลงนำเงินค่าครองชีพเดือนละ500บาทไปรวมกับเงินเดือนของพนักงานและพนักงานไม่ติดใจที่จะนำปัญหาการคิดคำนวณค่าล่วงเวลาย้อนหลังไปฟ้องร้องต่อไปอีกบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานของจำเลยต่อจำเลยผู้แทนทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อในบันทึกข้กตกลงที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้บันทึกไว้แล้วคู่กรณีนำไปจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยชอบตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มีผลใช้บังคับและผูกพันคู่กรณีรวมทั้งโจทก์ทั้งหมดซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุดค่าล่วงเวลาในวันหยุดโดยนำค่าครองชีพไปรวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณย้อนหลัง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำผ่านไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน มีผลผูกพันสมาชิกสหภาพแรงงาน
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานของจำเลยตกลงกันได้ว่า จำเลยตกลงนำเงินค่าครองชีพเดือนละ 500 บาท ไปรวมกับเงินเดือนของพนักงาน และพนักงานไม่ติดใจที่จะนำปัญหาการคิดคำนวณค่าล่วงเวลาย้อนหลังไปฟ้องร้องต่อไปอีก บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานของจำเลยต่อจำเลย ผู้แทนทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อในบันทึกข้กตกลงที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้บันทึกไว้ แล้วคู่กรณีนำไปจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยชอบตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มีผลใช้บังคับและผูกพันคู่กรณีรวมทั้งโจทก์ทั้งหมดซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยนำค่าครองชีพไปรวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณย้อนหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างที่ผูกพันสมาชิกสหภาพแรงงาน: การนำค่าครองชีพมารวมเงินเดือน และผลกระทบต่อการเรียกร้องค่าล่วงเวลา
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานของจำเลยตกลงกันได้ว่า จำเลยตกลงนำเงินค่าครองชีพเดือนละ 500 บาท ไปรวมกับเงินเดือนของพนักงานและพนักงานไม่ติดใจที่จะนำปัญหาการคิดคำนวณค่าล่วงเวลาย้อนหลังไปฟ้องร้องต่อไปอีก บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานของจำเลยต่อจำเลย ผู้แทนทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อในบันทึกข้กตกลงที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้บันทึกไว้ แล้วคู่กรณีนำไปจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยชอบตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มีผลใช้บังคับและผูกพันคู่กรณีรวมทั้งโจทก์ทั้งหมดซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยนำค่าครองชีพไปรวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณย้อนหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการนัดหยุดงานของลูกจ้าง: การใช้สิทธิหลายครั้งไม่ผิดกฎหมาย ตราบเท่าที่ไม่เกินความจำเป็นและเป็นธรรม
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่1นัดหยุดงานโดยไม่มีข้อเรียกร้องไม่มีข้อพิพาทแรงงานเป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์มิได้ตั้งข้อหาและมิได้อาศัยข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่1กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา99แต่ประการใดซึ่งมาตรานี้เป็นบทยกเว้นความรับผิดมิใช่บทบังคับการกระทำจึงไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องบรรยายฟ้องกล่าวแก้จำเลยเป็นการล่วงหน้าไว้ก่อนหากแต่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะยกบทมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะต้องด้วยข้อยกเว้นข้อใดข้อหนึ่งในสี่ประการนั้นจำเลยจะยกมาตรา99ขึ้นปรับคดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้โจทก์มีอำนาจฟ้อง. จำเลยที่1ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม10ข้อตกลงกันได้3ข้อคงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก7ข้อต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ยังมีอยู่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา22วรรคสามการที่จำเลยที่1ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่8แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่9เดือนเดียวกันโดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้องและจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้นสิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1จึงไม่สิ้นไป. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้วลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้งเป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตนมิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงันฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้างดังนั้นถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบการนัดหยุดงานเป็นช่วงๆเป็นระยะเวลาสั้นๆเป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับเพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลังๆจึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการนัดหยุดงานของลูกจ้าง: การใช้สิทธิหลายครั้งเป็นธรรมได้ ไม่จำกัดเพียงครั้งเดียว
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 นัดหยุดงานโดยไม่มีข้อเรียกร้องไม่มีข้อพิพาทแรงงาน เป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มิได้ตั้งข้อหาและมิได้อาศัยข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 99 แต่ประการใดซึ่งมาตรานี้เป็นบทยกเว้นความรับผิดมิใช่บทบังคับการกระทำ จึงไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องบรรยายฟ้องกล่าวแก้จำเลยเป็นการล่วงหน้าไว้ก่อน หากแต่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะยกบทมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะต้องด้วยข้อยกเว้นข้อใดข้อหนึ่งในสี่ประการนั้นจำเลยจะยกมาตรา 99 ขึ้นปรับคดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม 10 ข้อ ตกลงกันได้ 3 ข้อ คงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก 7 ข้อ ต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีอยู่ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 22 วรรคสาม การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่ 8 แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่ 9 เดือนเดียวกัน โดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้อง และจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้ เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้น สิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1 จึงไม่สิ้นไป
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว ลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่ การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้ง เป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตน มิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงัน ฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนั้น ถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบ การนัดหยุดงานเป็นช่วง ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับ เพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้ การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลัง ๆ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปิดงาน-นัดหยุดงาน: ข้อพิพาทแรงงานตกลงกันไม่ได้ นายจ้าง/ลูกจ้างมีสิทธิเท่าเทียมกัน
เมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ไม่ว่าข้อขัดแย้งนั้นจะเกิดจากฝ่ายใดเป็นฝ่ายแจ้งหรือข้อเรียกร้อง ถ้าได้ดำเนินการเจรจาตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วแต่มิอาจตกลงกันได้ ซึ่งถือเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้นั้น นายจ้างหรือลูกจ้างย่อมมีสิทธิปิดงานหรือนัดหยุดงานได้แล้วแต่กรณี ไม่ใช่จะมีสิทธิเฉพาะฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916-2918/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงานได้เมื่อนายจ้างผิดนัดจ่ายค่าจ้าง ไม่ถือเป็นการนัดหยุดงานตามกฎหมายแรงงาน
เมื่อจำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์หลายงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะพร้อมใจกันหยุดงานได้ กรณีหาใช่เป็นการนัดหยุดงานเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้อันจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ไม่ และกรณีดังกล่าวก็มิใช่เป็นการที่โจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
of 78