พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานโต้แย้งเอกสารในคดีแพ่ง และหลักการไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นที่ไม่เป็นประโยชน์
การที่โจทก์นำสืบถึงหนังสือมอบอำนาจเป็นการนำสืบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในประเด็นที่พิพาท เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นไว้แล้ว แม้จะไม่ให้การปฏิเสธหนังสือมอบอำนาจซึ่งโจทก์ได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ก็จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยย่อมนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ เพราะเป็นการนำสืบโต้เถียงในประเด็นเดียวกัน หาใช่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การไม่ และกรณีก็มิใช่เรื่องการคัดค้านการนำเอกสารมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 เมื่อโจทก์แพ้คดีในประเด็นข้อสำคัญแล้ว ประเด็นอื่นที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ก็ไม่จำต้องได้รับการวินิจฉัยจากศาลอีกศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยคดีทุกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบพยานจำเลย แม้ไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์ - สัญญาจำนอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าไม่เคยทำสัญญาจำนองกับโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธินำสืบว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์เพราะตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เดินทางไปต่างประเทศได้ไม่เป็นการนำสืบโดยกล่าวอ้างประเด็นขึ้นใหม่ ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่จำเป็นต้องถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบของจำเลยที่ 2 เมื่อให้การปฏิเสธสัญญาจำนอง ไม่ถือเป็นการยกประเด็นใหม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จำเลยที่ 2 ให้การว่า ไม่เคยทำสัญญาจำนองกับโจทก์ จำเลยที่ 2จึงมีสิทธินำสืบว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์เพราะตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เดินทางไปต่างประเทศได้ไม่เป็นการนำสืบโดยกล่าวอ้างประเด็นขึ้นใหม่ ทั้งจำเลยที่ 2ไม่จำเป็นต้องถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินจากจดหมายและการผิดนัดชำระหนี้ พร้อมประเด็นภูมิลำเนาและอำนาจฟ้อง
แม้คำฟ้องของโจทก์จะกล่าวเพียงว่า จำเลยยืมเงินโจทก์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2522 และต่อมายืมเงินโจทก์ครั้งที่สองอีกเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2522 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้กล่าวอ้างถึงเอกสารที่จำเลยติดต่อขอยืมเงินจากโจทก์ครั้งแรกเมื่อวันที่8 กุมภาพันธ์ 2522 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2522โดยส่งสำเนาภาพถ่ายเอกสารมาพร้อมกับคำฟ้องอันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำฟ้อง ในชั้นพิจารณาโจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานโดยขอระบุพยานอันดับ 2 และ 3 ว่า หลักฐานการกู้ยืมเงินจำนวน 130,000 บาทฉบับลงวันที่ 8 และ 9 กุมภาพันธ์ 2522 และหลักฐานการกู้ยืมเงินจำนวน 50,000 บาท ฉบับลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2522 และวันที่1 มีนาคม 2522 และส่งอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ตามเอกสารหมาย จ.1และ จ.2 เอกสารทั้งด้านหน้าและด้านหลังของแต่ละฉบับดังกล่าวเป็นเรื่องเดียวต่อเนื่องกัน ถือได้ว่าเป็นเอกสารฉบับเดียวศาลจึงรับฟังข้อความพยานเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 ที่ปรากฏอยู่ทั้งหมดในแต่ละฉบับนั้นได้ ทั้งตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในข้อ 2 ได้กำหนดไว้ว่า เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือหรือไม่ ซึ่งตามสำเนาภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 แต่ละฉบับก็มีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จึงหาได้เป็นการที่โจทก์นำสืบนอกคำฟ้องและนอกประเด็นไม่ เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 เป็นจดหมายที่จำเลยมีถึงโจทก์และจำเลยได้บันทึกไว้ด้านหลังของจดหมายแต่ละฉบับนั้นว่า จำเลยได้รับเงินจำนวนที่ขอยืมในแต่ละฉบับนั้นไว้เป็นการถูกต้องแล้วพร้อมกับลงลายมือชื่อวันเดือนปีไว้ด้วย เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2ดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 อย่างหนึ่งเท่านั้น หาใช่เป็นลักษณะแห่งตราสารการกู้ยืมเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในแต่ละฉบับนั้นโดยตรง อันจะพึงต้องปิดอากรแสตมป์ไม่ ศาลจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ จำเลยได้ยื่นคำให้การพร้อมทั้งแต่งให้ตนเองเป็นทนายความตามคำรับเป็นทนายความก็ระบุว่า สำนักงานของจำเลยอยู่บ้านเลขที่173 ถนนราชสีมาแขวงดุสิตเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ฟังได้ว่าจำเลยใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ทำงานสำคัญ จึงถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลย แม้จำเลยจะระบุไว้ในคำให้การว่า อยู่บ้านเลขที่382 ถนนพรานนก แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งก็ตาม โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้ว จำเลยตกลงจะคืนเงินที่ยืม130,000 บาท ให้แก่โจทก์ภายใน 2 เดือน คือในวันที่ 9 เมษายน 2522เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันนั้น ส่วนเงินยืมอีก50,000 บาท ซึ่งไม่ได้กำหนดเวลาชำระคืนไว้ โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือทวงถาม ซึ่งจำเลยได้รับแล้วเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2529 ครบกำหนดในวันที่ 13พฤศจิกายน 2529 จำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2529 เป็นต้นไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่13 พฤศจิกายน 2529 จนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาให้ฟ้องคดีจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทด้วยและจำเลยมิได้คัดค้านว่าประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้นไม่ถูกต้อง แม้จำเลยได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ด้วย และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ตาม แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือที่ดินสาธารณสมบัติ: การรบกวนสิทธิและอำนาจฟ้องคดี
ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ข้อหาบุกรุก
ในส่วนทางแพ่งนั้น แม้ที่พิพาทจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนที่จำเลยกับพวกจะนำเอาเสาปูนซีเมนต์เข้าไปปักและอ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ในระหว่างโจทก์จำเลย สิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่เหนือที่พิพาทย่อมดีกว่าจำเลยการที่จำเลยที่ 1 กับพวกนำเอาเสาปูนซีเมนต์ไปปักในที่พิพาทดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การนำสืบข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องย่อมกระทำได้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบศาลมีอำนาจยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ในส่วนทางแพ่งนั้น แม้ที่พิพาทจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนที่จำเลยกับพวกจะนำเอาเสาปูนซีเมนต์เข้าไปปักและอ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ในระหว่างโจทก์จำเลย สิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่เหนือที่พิพาทย่อมดีกว่าจำเลยการที่จำเลยที่ 1 กับพวกนำเอาเสาปูนซีเมนต์ไปปักในที่พิพาทดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การนำสืบข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องย่อมกระทำได้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบศาลมีอำนาจยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี โดยมิได้ขออนุญาตจากจำเลยและมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะ ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความ จำเลยนำสืบว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยขออนุญาตจากจำเลยโดยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ การนำสืบดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็น ไม่มีน้ำหนักอันควรรับฟัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีแพ่ง: การนำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นที่ศาลกำหนด และผลของการพิพากษาคดีก่อน
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิเบิกเงินสะสมของโจทก์เพื่อชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา อันเป็นการทำละเมิดซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชดใช้เงินดังกล่าว ทำให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินสะสมของโจทก์เพื่อชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไป เป็นการนำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลย ไม่เป็นการนอกประเด็น
คดีเดิมมีประเด็นว่า โจทก์ทำละเมิดโดยร่วมกับ ส. โดยจงใจเบียดบังค่าภาษีอากร เงินรายได้อื่น และเงินทุนไปรษณีย์ของทางราชการหรือไม่ ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่าโจทก์ทำละเมิดโดยละเว้นปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่ควบคุม ส. ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงาน เป็นเหตุให้ ส. เบียดบังเอาเงินของทางราชการไปหรือไม่ แม้ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ทำละเมิดในคดีแรกและคดีถึงที่สุดแล้วก็เป็นคนละประเด็นกับคดีหลังซึ่งศาลยังมิได้วินิจฉัย ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ต้องรับผิดในคดีก่อนจึงหาผูกพันคดีหลังไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คดีเดิมมีประเด็นว่า โจทก์ทำละเมิดโดยร่วมกับ ส. โดยจงใจเบียดบังค่าภาษีอากร เงินรายได้อื่น และเงินทุนไปรษณีย์ของทางราชการหรือไม่ ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่าโจทก์ทำละเมิดโดยละเว้นปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่ควบคุม ส. ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงาน เป็นเหตุให้ ส. เบียดบังเอาเงินของทางราชการไปหรือไม่ แม้ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ทำละเมิดในคดีแรกและคดีถึงที่สุดแล้วก็เป็นคนละประเด็นกับคดีหลังซึ่งศาลยังมิได้วินิจฉัย ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ต้องรับผิดในคดีก่อนจึงหาผูกพันคดีหลังไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6143/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องเรื่องผิดสัญญาประนีประนอมความ ไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามมาตรา 88 และการขอเลื่อนคดีมีเหตุผล
การไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยซึ่งอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น เป็นเพียงการไต่สวนเพื่อให้ทราบว่าโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่เท่านั้น พยานหลักฐานในชั้นนี้จึงไม่ใช่พยานหลักฐานที่สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงในประเด็นแห่งคดีที่พิพาทกันตามคำฟ้องและคำให้การ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันไต่สวนไม่น้อยกว่าสามวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก ในระหว่างสืบพยานจำเลยตามคำร้องขอจำเลยที่กล่าวหาว่าโจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ขอเลื่อนการพิจารณาแม้แต่ครั้งเดียว ทนายโจทก์เพิ่งขอเลื่อนการพิจารณาครั้งแรก ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกในชั้นไต่สวนคำร้องดังกล่าวโดยอ้างว่า ทนายโจทก์ป่วยและมีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วย ถือได้ว่าทนายโจทก์มีเหตุจำเป็นในการขอเลื่อนและตามพฤติการณ์ไม่ปรากฏว่าโจทก์ประวิงคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากความสับสนในการจดเวลานัด และการนำสืบพยานหลักฐานเกินขอบเขตในชั้นไต่สวนขอให้พิจารณาใหม่
ทนายโจทก์ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ แล้วได้ขอกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์กับพนักงานรับฟ้องโดยนัดวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 เวลา 9 นาฬิกา แต่ทนายโจทก์ลงนัดไว้ในสมุดบันทึกของตนเองว่าเป็นนัดเวลา 13.30 นาฬิกา ครั้นเมื่อทนายโจทก์มาขอรับหมายนัดแจ้งกำหนดวันสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบเพื่อส่งให้แก่จำเลย ในหมายนัดดังกล่าวก็ได้ลงเวลานัดไว้ว่าเวลา 9 นาฬิกา เช่นนี้ การที่ทนายโจทก์นัดหมายให้พยานโจทก์มาศาลในวันนัดเวลา 13.30 นาฬิกาและ+มาศาลตามเวลาดังกล่าว แม้จะเกิดขึ้นเนื่องจากการสับสนจดจำผิดพลาดของหมายโจทก์ มิใช่ความผิดพลาดอันเกิดขึ้นจากตัวโจทก์เองโดยตรงก็ตาม ก็ถือว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอพิจารณาใหม่
ในชั้นไต่สวนขอให้พิจารณาใหม่ โจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบแสดงให้ศาลเห็นเพียงว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์นั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรเท่านั้น โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนของให้พิจารณาใหม่ก้าวล่วงไปถึงฐานะแห่งการเป็นนิติบุคคลและบุคคลผู้เป็นผู้แทนของ โจทก์กับการมอบอำนาจให้ อ.ฟ้องดำเนินคดีแทนอันเป็นประเด็นข้อที่ 1 แห่งคดีซึ่งโจทก์มีภาระการพิสูจน์ในชั้นพิจารณาคดีเช่นนี้ จะนำพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนขอให้พิจารณาใหม่ดังกล่าวมาใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีไม่ได้ เมื่อภาระการพิสูจน์ในประเด็นแห่งคดีดังกล่าวตกแก่โจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบแล้ว โจทก์ก็ต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดี จึงไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในประเด็นอื่น
ในชั้นไต่สวนขอให้พิจารณาใหม่ โจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบแสดงให้ศาลเห็นเพียงว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์นั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรเท่านั้น โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนของให้พิจารณาใหม่ก้าวล่วงไปถึงฐานะแห่งการเป็นนิติบุคคลและบุคคลผู้เป็นผู้แทนของ โจทก์กับการมอบอำนาจให้ อ.ฟ้องดำเนินคดีแทนอันเป็นประเด็นข้อที่ 1 แห่งคดีซึ่งโจทก์มีภาระการพิสูจน์ในชั้นพิจารณาคดีเช่นนี้ จะนำพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนขอให้พิจารณาใหม่ดังกล่าวมาใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีไม่ได้ เมื่อภาระการพิสูจน์ในประเด็นแห่งคดีดังกล่าวตกแก่โจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบแล้ว โจทก์ก็ต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดี จึงไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในประเด็นอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4778/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตวัตถุประสงค์บริษัทจำกัด และผลของการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 3 เป็นบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง เมื่อบริษัทจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้า และเพื่อทำการกู้ยืมเงินค้ำประกันและรับรองทั้งบุคคลหรือนิติบุคคลเพื่อกิจการค้าของบริษัท ดังนั้นการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยมิได้กระทำเพื่อกิจการค้าของบริษัท เป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิด
แม้ตามสัญญาชักสวนลดเช็คข้อ 1 จะระบุว่า เช็คที่จำเลยที่ 1 เสนอให้โจทก์ชักส่วนลดต้องเป็นเช็คของธนาคารในประเทศไทย สั่งจ่ายให้จำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้สินค้าที่จำเลยที่ 1 ขายให้แก่ผู้สั่งจ่ายก็ตาม แต่ตามสัญญาข้อ 7 ให้สิทธิโจทก์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญา และไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 หลุดพ้นหรือลดน้อยลงเมื่อจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาชักส่วนลดเช็คของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและตามสัญญาค้ำประกันยินยอมให้โจทก์มีสิทธิ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดใด ๆ ของสัญญาชักส่วนลดเช็ค โดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 4 ทราบ และให้ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ตกลงยินยอมด้วย ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากข้อผูกพันและความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ดังนั้นแม้โจทก์จะรับเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายนำมาชักส่วนลดก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้ตกลงยินยอมด้วย จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาชักส่วนลดเช็คกับโจทก์รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือชักส่วนลดเช็คท้ายฟ้องและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้กับโจทก์รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง ดังนั้นสัญญาชักส่วนลดเช็คและสัญญาค้ำประกันถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง การที่ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าว จึงหาเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
แม้ตามสัญญาชักสวนลดเช็คข้อ 1 จะระบุว่า เช็คที่จำเลยที่ 1 เสนอให้โจทก์ชักส่วนลดต้องเป็นเช็คของธนาคารในประเทศไทย สั่งจ่ายให้จำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้สินค้าที่จำเลยที่ 1 ขายให้แก่ผู้สั่งจ่ายก็ตาม แต่ตามสัญญาข้อ 7 ให้สิทธิโจทก์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญา และไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 หลุดพ้นหรือลดน้อยลงเมื่อจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาชักส่วนลดเช็คของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและตามสัญญาค้ำประกันยินยอมให้โจทก์มีสิทธิ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดใด ๆ ของสัญญาชักส่วนลดเช็ค โดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 4 ทราบ และให้ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ตกลงยินยอมด้วย ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากข้อผูกพันและความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ดังนั้นแม้โจทก์จะรับเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายนำมาชักส่วนลดก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้ตกลงยินยอมด้วย จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาชักส่วนลดเช็คกับโจทก์รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือชักส่วนลดเช็คท้ายฟ้องและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้กับโจทก์รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง ดังนั้นสัญญาชักส่วนลดเช็คและสัญญาค้ำประกันถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง การที่ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าว จึงหาเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นไม่