พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับคำร้องทุกข์: เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจำกัดเฉพาะพนักงานสอบสวนและฝ่ายปกครอง
เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ได้ตามมาตรา 2(17) นั้น ได้แก่พนักงานสอบสวนกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา 123,124 เท่านั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่พนักงานสอบสวนและพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา 2(16)และ 2(17)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา: การแจ้งความถือเป็นการร้องทุกข์ คดีไม่ขาดอายุความหากฟ้องภายใน 5 ปี
การแจ้งให้ตำรวจจับผู้ต้องหาถือว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว
โจทก์ได้ร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวต่อพนักงานสอบสวนภายในกำหนดอายุความ 3 เดือน โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเกินกว่า 3 เดือนแต่ยังไม่พ้นอายุความฟ้องคดีอาญาตามกฎหมายลักษณะอาญาคดีของโจทก์หาขาดอายุความไม่
โจทก์ได้ร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวต่อพนักงานสอบสวนภายในกำหนดอายุความ 3 เดือน โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเกินกว่า 3 เดือนแต่ยังไม่พ้นอายุความฟ้องคดีอาญาตามกฎหมายลักษณะอาญาคดีของโจทก์หาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา: การร้องทุกข์ต่อตำรวจถือเป็นการเริ่มนับอายุความ แม้ฟ้องเกิน 3 เดือน แต่ยังไม่ขาดอายุความ 5 ปี
การให้ตำรวจจับผู้ต้องหาถือว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว
โจทก์ได้ร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวต่อพนักงานสอบสวน ภายในกำหนดอายุความ 3 เดือน โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเกินกว่า 3 เดือน แต่ยังไม่พ้นอายุความฟ้องคดีอาญาตามกฎหมายลักษณะอาญา คดีของโจทก์หาขาดอายุความไม่
โจทก์ได้ร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวต่อพนักงานสอบสวน ภายในกำหนดอายุความ 3 เดือน โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเกินกว่า 3 เดือน แต่ยังไม่พ้นอายุความฟ้องคดีอาญาตามกฎหมายลักษณะอาญา คดีของโจทก์หาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์ และการลงโทษเกินพยานหลักฐานในคดีอาญา
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์มอบคดีแล้ว แต่จำเลยก็มิได้ยกข้อต่อสู้ว่า ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์มอบคดีโดยชอบด้วยกฎหมายให้เป็นประเด็นขึ้นมา โจทก์จึงไม่มีข้อที่จะต้องนำสืบในข้อนี้ว่า ผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์และเจ้าพนักงานได้บันทึกรับแจ้งความไว้ว่าอย่างไร จำเลยเพิ่งมายกเป็นข้อต่อสู้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์หาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์ และการลงโทษเกินพยานหลักฐาน คดีอาญา
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์มอบคดีแล้ว แต่จำเลยก็มิได้ยกข้อต่อสู้ว่าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์มอบคดีโดยชอบด้วยกฎหมายให้เป็นประเด็นขึ้นมา โจทก์จึงไม่มีข้อที่จะต้องนำสืบในข้อนี้ว่าผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์และเจ้าพนักงานได้บันทึกรับแจ้งความไว้ว่าอย่างไร จำเลยเพิ่งมายกเป็นข้อต่อสู้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์หาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการร้องทุกข์: แม้ต้องการเงินคืน แต่การบอกให้ดำเนินคดีก็ถือเป็นการร้องทุกข์เพื่อเอาโทษได้
ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เรื่องจำเลยออกเช็คไม่มีเงินต่อพนักงานตำรวจสถานีบางซื่อตามเอกสารคำร้องทุกข์ว่า ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีจนถึงที่สุด แม้ผู้เสียหายจะเบิกความต่อศาลว่าไม่มีเจตนาจะให้เอาโทษจำเลย ขอให้ได้เงินคืนเท่านั้น และว่าเมื่อวันไปแจ้งความที่สถานีตำรวจก็ได้บอกตำรวจด้วยว่า ต้องการเงินคืนเท่านั้น ไม่อยากให้เอาโทษ ตำรวจจึงยังไม่ได้สอบสวน เมื่อเห็นว่า จำเลยไม่คืนเงินจึงบอกให้ตำรวจจับจำเลย และได้เริ่มสอบสวนต่อไป เช่นนี้ ก็ยังถือได้ว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ตามกฎหมายแล้ว คำเบิกความของผู้เสียหายดังกล่าวข้างต้นนั้น หาแสดงว่าผู้เสียหายไม่เจตนาเอาโทษแก่จำเลยโดยแท้จริงไม่ เป็นแต่ผู้เสียหายอยากได้เงินคืนมากกว่า เมื่อไม่ได้เงินคืนจากจำเลย ก็ได้บอกให้ตำรวจจับจำเลยดำเนินการสอบสวนต่อไป เป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่า ผู้เสียหายต้องการเอาโทษจำเลยตามคำร้องทุกข์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการร้องทุกข์ ความผิดเช็ค และอายุความ การเบิกความต่อศาลไม่ทำให้การร้องทุกข์เป็นโมฆะ
ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เรื่องจำเลยออกเช็คไม่มีเงินต่อพนักงานตำรวจสถานีตำรวจบางซื่อตามเอกสารคำร้องทุกข์ว่า ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีจนถึงที่สุด แม้ผู้เสียหายจะเบิกความต่อศาลว่าไม่มีเจตนาจะให้เอาโทษจำเลย ขอให้ได้เงินคืนเท่านั้น และว่าเมื่อวันไปแจ้งความที่สถานีตำรวจก็ได้บอกตำรวจด้วยว่า ต้องการเงินคืนเท่านั้น ไม่อยากให้เอาโทษตำรวจจึงยังไม่ได้สอบสวน เมื่อเห็นว่า จำเลยไม่คืนเงินจึงบอกให้ตำรวจจับจำเลย และได้เริ่มสอบสวนต่อไปเช่นนี้ ก็ยังถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ตามกฎหมายแล้ว คำเบิกความของผู้เสียหายดังกล่าวข้างต้นนั้น หาแสดงว่าผู้เสียหายไม่เจตนาเอาโทษแก่จำเลยโดยแท้จริงไม่ เป็นแต่ผู้เสียหายอยากได้เงินคืนมากกว่าเมื่อไม่ได้เงินคืนจากจำเลย ก็ได้บอกให้ตำรวจจับจำเลยดำเนินการสอบสวนต่อไปเป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่าผู้เสียหายต้องการเอาโทษจำเลยตามคำร้องทุกข์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดิน: การร้องทุกข์ การงดรอการดำเนินคดี และการนำสืบพฤติการณ์ใหม่เพื่อพิสูจน์การผิดสัญญา
นาแปลงที่จำเลยบุกรุก โจทก์ร่วมได้โอนไปให้บุตรและบุตรไปแจ้ง ส.ค.1 แล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของที่นาดังกล่าว ดังนั้นการร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย
วันที่ 16 มี.ค. 99 จำเลยเข้าไปบุกรุกยกคันนา นายเชิดผู้เสียหาย (โจทก์ร่วมอีกคนหนึ่ง) ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านผู้ใหญ่บ้านห้ามจำเลยจำเลยว่า "เป็นนาของนายเชิด ผมก็ไม่ทำ" ผู้ใหญ่บ้านถามนายเชิด โจทก์ร่วมว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป นายเชิดว่า" ถ้าเขาหยุดแล้วก็ไม่เอาเรื่อง" ต่อมาวันที่ 3 พ.ค. 99 จำเลยกลับเข้าไปหว่านข้าวในนานั้นอีก นายเชิดจึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและอำเภอได้ดำเนินการสอบสวนคดีนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าจำเลยเชื่อฟังนายเชิดก็ไม่เอาเรื่อง ถ้าไม่ฟังก็ต้องเอาเรื่องกันต่อไป ซึ่งเท่ากับให้งดรอการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานไว้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อจำเลยกลับเข้าไปทำอีก ผู้เสียหายจึงเอาเรื่องคือให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีที่งดรอไว้นั้นเอง ไม่มีทางที่จะให้รับฟังว่าความผิดฐานบุกรุกตอนแรกในวันที่ 16 มี.ค. 99 นั้นเป็นอันสูญสิ้นไปแล้ว
คดีนี้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิด 2 คราวคือในวันที่ 16 มี.ค. 99 กับในวันที่ 3 พ.ค. 99 และผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ทั้ง 2 คราว แต่ฟ้องโจทก์ระบุชัดเจนว่าผู้เสียหายร้องทุกข์สำหรับความผิดในตอนแรก (16 มี.ค. 99) เท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้กล่าวฟ้องถึงความผิดในตอนหลัง (3 พฤษภาคม 2499) เลย จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตอนหลังนี้ไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธิ์ที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนหลังคือในวันที่ 3 พฤษภาคม 2499 เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทำผิดคำรับรองในตอนต้น(16 มีนาคม 2499) ซึ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง หาเป็นนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่2/2501)
วันที่ 16 มี.ค. 99 จำเลยเข้าไปบุกรุกยกคันนา นายเชิดผู้เสียหาย (โจทก์ร่วมอีกคนหนึ่ง) ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านผู้ใหญ่บ้านห้ามจำเลยจำเลยว่า "เป็นนาของนายเชิด ผมก็ไม่ทำ" ผู้ใหญ่บ้านถามนายเชิด โจทก์ร่วมว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป นายเชิดว่า" ถ้าเขาหยุดแล้วก็ไม่เอาเรื่อง" ต่อมาวันที่ 3 พ.ค. 99 จำเลยกลับเข้าไปหว่านข้าวในนานั้นอีก นายเชิดจึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและอำเภอได้ดำเนินการสอบสวนคดีนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าจำเลยเชื่อฟังนายเชิดก็ไม่เอาเรื่อง ถ้าไม่ฟังก็ต้องเอาเรื่องกันต่อไป ซึ่งเท่ากับให้งดรอการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานไว้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อจำเลยกลับเข้าไปทำอีก ผู้เสียหายจึงเอาเรื่องคือให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีที่งดรอไว้นั้นเอง ไม่มีทางที่จะให้รับฟังว่าความผิดฐานบุกรุกตอนแรกในวันที่ 16 มี.ค. 99 นั้นเป็นอันสูญสิ้นไปแล้ว
คดีนี้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิด 2 คราวคือในวันที่ 16 มี.ค. 99 กับในวันที่ 3 พ.ค. 99 และผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ทั้ง 2 คราว แต่ฟ้องโจทก์ระบุชัดเจนว่าผู้เสียหายร้องทุกข์สำหรับความผิดในตอนแรก (16 มี.ค. 99) เท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้กล่าวฟ้องถึงความผิดในตอนหลัง (3 พฤษภาคม 2499) เลย จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตอนหลังนี้ไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธิ์ที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนหลังคือในวันที่ 3 พฤษภาคม 2499 เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทำผิดคำรับรองในตอนต้น(16 มีนาคม 2499) ซึ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง หาเป็นนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่2/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินและการงดรอการดำเนินคดี ความผิดฐานบุกรุกยังคงอยู่แม้จะมีการตกลงไม่ดำเนินคดี
นาแปลงที่จำเลยบุกรุก โจทก์ร่วมได้โอนไปให้บุตรและบุตรไปแจ้ง ส.ค.1 แล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของที่นาดังกล่าว ดังนั้นการร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย
วันที่ 16 มี.ค.99 จำเลยเข้าไปบุกรุกยกคันนา นายเชิดผู้เสียหาย(โจทก์ร่วมอีกคนหนึ่ง) ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้าน ๆ ห้ามจำเลย ๆ ว่า"เป็นนาของนายเชิด ผมก็ไม่ทำ" ผู้ใหญ่บ้านถามนายเชิด โจทก์ร่วมว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป นายเชิดว่า "ถ้าเขาหยุดแล้วก็ไม่เอาเรื่อง" ต่อมาวันที่ 3 พ.ค.99 จำเลยกลับเข้าไปหว่านข้าวในนานั้นอีก นายเชิดจึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและนายอำเภอได้ดำเนินการสอบสวนคดีนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าจำเลยเชื่อฟังนายเชิดก็ไม่เอาเรื่อง ถ้าไม่ฟังก็ต้องเอาเรื่องกันต่อไป ซึ่งเท่ากับให้งดรอการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานไว้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อจำเลยกลับเข้าไปทำงานอีก ผู้เสียหายจึงเอาเรื่องคือให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีที่งดรอไว้นั้นเอง ไม่มีทางที่จะให้รับฟังว่าความผิดฐานบุกรุกตอนแรกในวันที่ 16 มี.ค.99 นั้นเป็นอันสูญสิ้นไปแล้ว
คดีนี้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิด 2 คราวคือในวันที่ 16 มี.ค.99 กับในวันที่ 3 พ.ค.99 และผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ทั้ง 2 คราว แต่ฟ้องโจทย์ระบุชัดเจนว่าผู้เสียหายร้องทุกข์สำหรับความผิดในตอนแรก (16 มี.ค.99)เท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้กล่าวฟ้องถึงความผิดในตอนหลัง (3 พ.ค.99) เลย จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตอนหลังนี้ไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธ์ที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนหลังคือ ในวันที่ 3 พ.ค.99 เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทำผิดคำรับรองในตอนต้น ( 16 มี.ค.99 ) ซึ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง หาเป็นนอกฟ้องนอกประเด็นไม่.
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2501 )
วันที่ 16 มี.ค.99 จำเลยเข้าไปบุกรุกยกคันนา นายเชิดผู้เสียหาย(โจทก์ร่วมอีกคนหนึ่ง) ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้าน ๆ ห้ามจำเลย ๆ ว่า"เป็นนาของนายเชิด ผมก็ไม่ทำ" ผู้ใหญ่บ้านถามนายเชิด โจทก์ร่วมว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป นายเชิดว่า "ถ้าเขาหยุดแล้วก็ไม่เอาเรื่อง" ต่อมาวันที่ 3 พ.ค.99 จำเลยกลับเข้าไปหว่านข้าวในนานั้นอีก นายเชิดจึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและนายอำเภอได้ดำเนินการสอบสวนคดีนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าจำเลยเชื่อฟังนายเชิดก็ไม่เอาเรื่อง ถ้าไม่ฟังก็ต้องเอาเรื่องกันต่อไป ซึ่งเท่ากับให้งดรอการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานไว้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อจำเลยกลับเข้าไปทำงานอีก ผู้เสียหายจึงเอาเรื่องคือให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีที่งดรอไว้นั้นเอง ไม่มีทางที่จะให้รับฟังว่าความผิดฐานบุกรุกตอนแรกในวันที่ 16 มี.ค.99 นั้นเป็นอันสูญสิ้นไปแล้ว
คดีนี้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิด 2 คราวคือในวันที่ 16 มี.ค.99 กับในวันที่ 3 พ.ค.99 และผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ทั้ง 2 คราว แต่ฟ้องโจทย์ระบุชัดเจนว่าผู้เสียหายร้องทุกข์สำหรับความผิดในตอนแรก (16 มี.ค.99)เท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้กล่าวฟ้องถึงความผิดในตอนหลัง (3 พ.ค.99) เลย จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตอนหลังนี้ไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธ์ที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนหลังคือ ในวันที่ 3 พ.ค.99 เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทำผิดคำรับรองในตอนต้น ( 16 มี.ค.99 ) ซึ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง หาเป็นนอกฟ้องนอกประเด็นไม่.
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2501 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066-1068/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการยกข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น และการร้องทุกข์ในคดีอาญาเกี่ยวกับเรือ
ข้อกฎหมายที่คู่ความยกขึ้นอ้างอิงนั้นจะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่ศาลชั้นต้น มิฉะนั้นศาลหารับเป็นฎีกาในข้อนั้นไม่
ผู้เช่าเรือยนต์มาทำการหาผลประโยชน์ เมื่อเรือนั้นถูกชนก็ถือว่าเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมีอำนาจร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานได้ตามมาตรา 123124 และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา 120,121และผู้เช่าในฐานะผู้เสียหายก็ยังมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการตามมาตรา 28(2) อีกด้วย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าของเรือยนต์ได้ร่วมกับผู้ถือท้ายควบคุมเรือแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานกล่าวหาว่าผู้ถือท้ายเรืออีกลำหนึ่งชนเอาจนต่างฝ่ายได้ร่วมกันทำบันทึกการเสียหายกับเจ้าพนักงานเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเจ้าของเรือนั้นได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายอาญา มาตรา 80 แล้ว จึงหาขาดอายุความไม่ ส่วนเรื่องการร้องทุกข์ไม่ถูกต้องเพราะไม่ลงลายมือชื่อนั้นไม่มีประเด็นที่ได้ว่ากล่าวกันมาจึงตกไป
ผู้เช่าเรือยนต์มาทำการหาผลประโยชน์ เมื่อเรือนั้นถูกชนก็ถือว่าเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมีอำนาจร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานได้ตามมาตรา 123124 และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา 120,121และผู้เช่าในฐานะผู้เสียหายก็ยังมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการตามมาตรา 28(2) อีกด้วย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าของเรือยนต์ได้ร่วมกับผู้ถือท้ายควบคุมเรือแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานกล่าวหาว่าผู้ถือท้ายเรืออีกลำหนึ่งชนเอาจนต่างฝ่ายได้ร่วมกันทำบันทึกการเสียหายกับเจ้าพนักงานเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเจ้าของเรือนั้นได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายอาญา มาตรา 80 แล้ว จึงหาขาดอายุความไม่ ส่วนเรื่องการร้องทุกข์ไม่ถูกต้องเพราะไม่ลงลายมือชื่อนั้นไม่มีประเด็นที่ได้ว่ากล่าวกันมาจึงตกไป