คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 445

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงานในครอบครัวเป็นค่าเสียหายจากการขาดไร้อุปการะ, ค่าใช้จ่ายงานศพจำเป็น, ดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่ง ก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับ ป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานในครอบครัวได้ด้วย
ค่าอาหารเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากการเสียชีวิตจากละเมิด ครอบคลุมค่าขาดไร้อุปการะและค่าขาดแรงงานในครอบครัว
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่งหากเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจากการกระทำละเมิดทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีผู้ตายต้องขาดแรงงานในครอบครัวไปด้วย โจทก์ที่ 1 ก็สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้อีก ก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานใน ครอบครัวได้ด้วย ค่าอาหารและเครื่องดื่มเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระภิกษุที่สวดพระอภิธรรมเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าแรงงานในครอบครัวจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่งก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับ ป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานในครอบครัวได้ด้วย ค่าอาหารเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดแรงงานจากผู้รับประกันภัยและผู้กระทำละเมิด
ประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยเมื่อเห็นสมควรศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาเหล่านั้นไปได้โดยไม่ต้องย้อนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใหม่ ข. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1และที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ที่ ส.ขับทำให้ส.ได้รับบาดเจ็บต้องพักรักษาตัวไม่สามารถไปประกอบหน้าที่การงานให้โจทก์ได้ตามปกติ การกระทำละเมิดของ ช. ดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากแรงงานของ ส. ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ ส. ในระหว่างนั้น โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 ประกอบด้วยมาตรา 425 และ มาตรา 887 แม้จำเลยที่ 3 จะจ่ายค่าขาดประโยชน์แรงงานให้ ส. ไปแล้วและระหว่างที่ ส.พักรักษาตัวเนื่องจากถูกรถชนส. มีสิทธิลาป่วยได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ส.ที่จะฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากแรงงานจากจำเลยอีก โจทก์เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนไว้ จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 โดยตรง เกิดเหตุละเมิดเมื่อเวลา 20 นาฬิกาเศษของวันศุกร์ ที่ 22กรกฎาคม 2526 ซึ่งเป็นช่วงนอกเวลาราชการ ที่จังหวัดนครสวรรค์ส. ได้รับบาดเจ็บมากคงไม่สามารถไปรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาทราบได้ในวันนั้นจึงเชื่อว่าโจทก์ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพมหานครคงไม่รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวจำเลยที่ 2ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันนั้น อย่างเร็วที่สุดโจทก์จะรู้ในวันเปิดทำการคือวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2526 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2527 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์มิใช่ผู้ต้องเสียหายโดยตรง แต่เป็นเพียงนายจ้างที่ต้องขาดแรงงานไปเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดนับแต่เวลาที่ทำละเมิดและทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดและบริษัทที่รับผิดร่วมกัน กรณีลูกจ้างได้รับบาดเจ็บจากการถูกชน
ส. เป็นพนักงานของโจทก์ที่จะต้องประกอบการงานให้แก่โจทก์เป็นประจำ ช. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ที่ ส. ขับ ทำให้ส. ได้รับบาดเจ็บ ต้องพักรักษาตัวไม่สามารถไปประกอบหน้าที่การงานให้แก่โจทก์ได้ตามปกติ การกระทำละเมิดของ ช. เป็นเหตุให้โจทก์ขาดประโยชน์จากแรงงานของ ส. ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ ส. ในระหว่างนั้น โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายชอบจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามตาม ป.พ.พ. มาตรา 445,425,887 จำเลยที่ 3 รับประกันภัยประเภทรับผิดต่อบุคคลภายนอก จึงเป็นการประกันภัยค้ำจุน เมื่อโจทก์เป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากรถยนต์ที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้ โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 โดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887วรรค 1,2 ทั้งนี้แม้จำเลยที่ 3 จะได้จ่ายค่าขาดประโยชน์แรงงานให้แก่ ส.ไปแล้วและส. มีสิทธิลาป่วยในระหว่างพักรักษาตัวก็ตาม เหตุละเมิดเกิดที่จังหวัดนครสวรรค์เมื่อเวลา 20 นาฬิกาเศษของวันศุกร์ ที่ 22 กรกฎาคม 2526 ซึ่งเป็นช่วงเวลานอกราชการ ทั้งส. พนักงานของโจทก์ก็ได้รับบาดเจ็บต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลไม่สามารถไปรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในวันเกิดเหตุ โจทก์ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยที่ 2 ผู้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันเกิดเหตุโจทก์จะรู้อย่างเร็วที่สุดก็ในวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2526ซึ่งเป็นวันเปิดทำการ และนำคดีมาฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2527 ยังไม่พ้นหนึ่งปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการเรียกร้องค่าเสียหายจากนายจ้างลูกจ้าง
ประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยเมื่อเห็นสมควรศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาเหล่านั้นไป ได้โดยไม่ต้องย้อนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใหม่
ข. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ที่ ส. ขับ ทำให้ ส.ได้รับบาดเจ็บต้องพักรักษาตัวไม่สามารถไปประกอบหน้าที่การงานให้โจทก์ได้ตามปกติ การกระทำละเมิดของ ช. ดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากแรงงานของ ส. ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ ส. ในระหว่างนั้น โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 ประกอบด้วยมาตรา 425 และ มาตรา 887
แม้จำเลยที่ 3 จะจ่ายค่าขาดประโยชน์แรงงานให้ ส. ไปแล้วและระหว่างที่ ส. พักรักษาตัวเนื่องจากถูกรถชน ส. มีสิทธิลาป่วยได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ส.ที่จะฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากแรงงานจากจำเลยอีก
โจทก์เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนไว้ จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 โดยตรง
เกิดเหตุละเมิดเมื่อเวลา 20 นาฬิกาเศษของวันศุกร์ ที่ 22กรกฎาคม 2526 ซึ่งเป็นช่วงนอกเวลาราชการ ที่จังหวัดนครสวรรค์ส. ได้รับบาดเจ็บมากคงไม่สามารถไปรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาทราบได้ในวันนั้นจึงเชื่อว่าโจทก์ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพมหานครคงไม่รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวจำเลยที่ 2ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันนั้น อย่างเร็วที่สุดโจทก์จะรู้ในวันเปิดทำการคือวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2526 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2527 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
โจทก์มิใช่ผู้ต้องเสียหายโดยตรง แต่เป็นเพียงนายจ้างที่ต้องขาดแรงงานไปเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดนับแต่เวลาที่ทำละเมิดและทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิด หากลูกจ้างบาดเจ็บจนไม่สามารถทำงานได้
ลูกจ้างมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่นายจ้างเมื่อลูกจ้างถูกทำละเมิดจนได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานให้นายจ้างได้ นายจ้างย่อมขาดแรงงานและมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิด (หรือนายจ้างของผู้ทำละเมิด) โดยคำนวณให้เท่ากับ จำนวนเงินที่นายจ้างชำระให้แก่ลูกจ้างนั้น
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 584 - 585/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด กรณีลูกจ้างบาดเจ็บจนไม่สามารถทำงานได้
ลูกจ้างมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่ นายจ้างเมื่อลูกจ้างถูกทำละเมิดจนได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานให้ นายจ้างได้นายจ้างย่อมขาดแรงงานและมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน จากผู้ทำละเมิด(หรือนายจ้างของผู้ทำละเมิด)โดยคำนวณให้เท่ากับ จำนวนเงินที่นายจ้างชำระให้แก่ลูกจ้างนั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 584-585/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะจากบุตร: ศาลพิพากษาถูกต้อง แม้ฟ้องเป็นค่าขาดแรงงาน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1567(3) โจทก์ทั้งสองผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ฐานาบุรูป และมาตรา 1563 บัญญัติให้บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ดังนั้นกิจการหรืแรงงานที่บุตรทำให้บิดามารดาก็คือการอุปการะเลี้ยงดูอย่างหนึ่ง เมื่อ ว.บุตรโจทก์ถูกกระทำละเมิดตายลงย่อมทำให้โจทก์ขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดแรงงาน ว.ถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะนั่นเอง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การสูญเสียอุปการะและแรงงาน
รถจำเลยขับชนรถโจทก์ จนโจทก์ต้องพิการตลอดชีวิต ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตาย จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะและขาดแรงงานจากภริยา
of 5