พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12091/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุม ลักทรัพย์ และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ: การยกฟ้องคดีอาญา
ก่อนจับกุมโจทก์ทั้งสองได้มีการจับกุม ช. กับพวกในข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ช. ให้การว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ใช้จ้างวาน จึงมีการสอบสวน ขยายผลและจับกุมโจทก์ทั้งสองมาลงบันทึกประจำวันไว้ และตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีระบุว่า พันตำรวจเอก ส. ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง สั่งให้จำเลยทั้งสิบสามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนปราบปรามนำตัว ช. ไปสอบสวนขยายผล โดยนัดโจทก์ที่ 2 มารับรถยนต์ที่หน้าห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนหากต้องไปขอหมายจับจากศาลชั้นต้นแล้วผู้ร่วมกระทำความผิดอาจหลบหนีไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (3) ทั้งรถที่ถูกลักอยู่ที่บ้านของโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 2 เป็นผู้พาเจ้าพนักงานตำรวจไปทำการตรวจค้นเอง จึงไม่จำต้องขอหมายค้นจากศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) และมาตรา 94 การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งการโดยชอบ จึงไม่มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 157
ฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยทั้งสิบสามร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ทั้งสองขณะโจทก์ทั้งสองถูกควบคุมตัว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงมิได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสิบสามกระทำความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยทั้งสิบสามจับกุมโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องจากคำซัดทอดของ ช. กับพวก ต่อมามีการแจ้งข้อหาและทำหลักฐานการจับกุม การระบุวันที่จับกุมและบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนคลาดเคลื่อนไปบ้างเป็นเพียงรายละเอียด แต่สาระสำคัญมีความถูกต้องตามพฤติการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และมีการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งจำเลยทั้งสิบสามอาจเชื่อว่าโจทก์ทั้งสองมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ หรือนำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 162, 172, 173, 174, 179 และ 180
โจทก์ที่ 2 พาเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นที่บ้านของโจทก์ที่ 2 โดยความยินยอมของโจทก์ที่ 2 เอง การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362
ของกลางทั้งหมดเจ้าพนักงานตำรวจนำไปเป็นของกลางคดีอาญา ทั้งโจทก์ทั้งสองได้อ่านข้อความในบันทึกการจับกุมที่ระบุว่ามีการยึดเงินสด ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท 20 ฉบับ รวมเป็นเงิน 20,000 บาท แล้วมิได้โต้แย้งว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงแต่อย่างใด เชื่อว่าเจ้าพนักงานตำรวจบันทึกข้อความในบันทึกการจับกุมโดยถูกต้องแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340
ฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยทั้งสิบสามร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ทั้งสองขณะโจทก์ทั้งสองถูกควบคุมตัว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงมิได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสิบสามกระทำความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยทั้งสิบสามจับกุมโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องจากคำซัดทอดของ ช. กับพวก ต่อมามีการแจ้งข้อหาและทำหลักฐานการจับกุม การระบุวันที่จับกุมและบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนคลาดเคลื่อนไปบ้างเป็นเพียงรายละเอียด แต่สาระสำคัญมีความถูกต้องตามพฤติการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และมีการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งจำเลยทั้งสิบสามอาจเชื่อว่าโจทก์ทั้งสองมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ หรือนำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 162, 172, 173, 174, 179 และ 180
โจทก์ที่ 2 พาเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นที่บ้านของโจทก์ที่ 2 โดยความยินยอมของโจทก์ที่ 2 เอง การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362
ของกลางทั้งหมดเจ้าพนักงานตำรวจนำไปเป็นของกลางคดีอาญา ทั้งโจทก์ทั้งสองได้อ่านข้อความในบันทึกการจับกุมที่ระบุว่ามีการยึดเงินสด ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท 20 ฉบับ รวมเป็นเงิน 20,000 บาท แล้วมิได้โต้แย้งว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงแต่อย่างใด เชื่อว่าเจ้าพนักงานตำรวจบันทึกข้อความในบันทึกการจับกุมโดยถูกต้องแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จและทำพยานหลักฐานเท็จเพื่อปกปิดการยักยอกเงิน ศาลลดโทษหลังมีการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นพนักงานเก็บเงินของบริษัทผู้เสียหายเก็บเงินจากลูกค้าแล้วยักยอกไปโดยจำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายใช้อาวุธปืนและมีดจี้บังคับปล้นเอาเงินจำนวน 74,320 บาท ซึ่งเป็นของผู้เสียหายและบางส่วนเป็นของจำเลยไป โดยไม่มีการปล้นทรัพย์เกิดขึ้น แต่จำเลยทำพยานหลักฐานเท็จด้วยการใช้ท่อนไม้ทุบรถจักรยานยนต์ของจำเลยและแจ้งข้อความเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่าได้มีการปล้นทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา แจ้งความเท็จว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับอาวุธปืนและบทลงโทษที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่ามิได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตขึ้นมาด้วยแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย แต่เมื่อโจทก์จำเลยสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยก่อน จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายเพื่อแกล้งให้ผู้เสียหายต้องรับโทษ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 ประกอบ มาตรา 174 วรรคสอง ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าผิดมาตรา 172,181(1) แล้วลงโทษตาม มาตรา 181(1) ไม่ถูกต้องเพราะคำว่า "เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 181(1) หมายความว่ากรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดจะต้องมีอัตราโทษขั้นต่ำจำคุกสามปี แต่คดีนี้จำเลยแจ้งความเท็จว่าผู้เสียหายมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี โทษขั้นต่ำไม่ถึงสามปี จำเลยจึงไม่ผิดมาตรา 181(1) แม้โจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาปรับบทการลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง โดยไม่กำหนดโทษให้สูงขึ้นอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความกล่าวหาเท็จและการสร้างพยานหลักฐานเท็จ ต้องพิสูจน์เจตนาแกล้งแจ้งความหรือสร้างหลักฐานผิด
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่าโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไป จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์ โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 179
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความกล่าวหาผู้อื่น ต้องมีเหตุสงสัยตามสมควร ไม่เช่นนั้นอาจเป็นความเท็จได้
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไป จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์ โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ.มาตรา 179
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน.
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความกล่าวหาผู้อื่น ต้องมีเจตนาแจ้งความเท็จ ไม่ใช่เพียงข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อน
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะ ทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะ ทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไปจึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 179 การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จและทำบันทึกเท็จ: ความผิดเกิดขึ้นเมื่อปราศจากเจตนาเล็งผลร้ายและข้อเท็จจริงถูกต้อง
ตามพฤติการณ์มีเหตุผลควรให้จำเลยเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ของจำเลยไป การที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนโดยเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านได้รับแจ้งจากจำเลยที่ 1 ว่าทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ถูกคนร้ายลักไปแต่ได้ทำบันทึกในวันหลังให้มีข้อความถูกต้องทุกประการและลงวันที่ย้อนหลังให้ถูกต้องตรงกับวันที่ที่มีการแจ้งความนั้น เป็นเพียงการทำบันทึกให้ตรงกับความเป็นจริงว่ามีการแจ้งความในวันใด ไม่เป็นการทำพยานหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 179
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านได้รับแจ้งจากจำเลยที่ 1 ว่าทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ถูกคนร้ายลักไปแต่ได้ทำบันทึกในวันหลังให้มีข้อความถูกต้องทุกประการและลงวันที่ย้อนหลังให้ถูกต้องตรงกับวันที่ที่มีการแจ้งความนั้น เป็นเพียงการทำบันทึกให้ตรงกับความเป็นจริงว่ามีการแจ้งความในวันใด ไม่เป็นการทำพยานหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 179
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จและทำพยานหลักฐานเท็จ: การแจ้งความโดยสุจริตและบันทึกข้อเท็จจริงย้อนหลังไม่ถือเป็นความผิด
ตามพฤติการณ์มีเหตุผลควรให้จำเลยเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ของจำเลยไป การที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนโดยเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านได้รับแจ้งจากจำเลยที่ 1 ว่าทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ถูกคนร้ายลักไป แต่ได้ทำบันทึกในวันหลังให้มีข้อความถูกต้องทุกประการและลงวันที่ย้อนหลังให้ถูกต้องตรงกับวันที่ที่มีการแจ้งความนั้น เป็นเพียงการทำบันทึกให้ตรงกับความเป็นจริงว่ามีการแจ้งความในวันใด ไม่เป็นการทำพยานหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 179
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านได้รับแจ้งจากจำเลยที่ 1 ว่าทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ถูกคนร้ายลักไป แต่ได้ทำบันทึกในวันหลังให้มีข้อความถูกต้องทุกประการและลงวันที่ย้อนหลังให้ถูกต้องตรงกับวันที่ที่มีการแจ้งความนั้น เป็นเพียงการทำบันทึกให้ตรงกับความเป็นจริงว่ามีการแจ้งความในวันใด ไม่เป็นการทำพยานหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 179
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งงดไต่สวนมูลฟ้อง, ความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวนทางวินัย, และการมีอำนาจฟ้องในคดีอาญา
ในศาลชั้นต้นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีคำสั่งให้นัดไต่สวนมูลฟ้องไว้แล้ว เมื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่าตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่อ้างได้ การไต่สวนมูลฟ้องต่อไปไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนย่อมมีอำนาจสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องได้ หาเกี่ยวกับอำนาจบังคับบัญชาไม่
ตามกฎ ก.พ. จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ในกรณีโจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง นั้น การส่งเรื่องกล่าวหาเป็นหน้าที่ของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน มิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลย และการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเท่าที่ปรากฏให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเท่านั้นมิได้กำหนดให้แจ้งโดยละเอียด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสร็จให้คณะกรรมการประชุมปรึกษาสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อตามฟ้องระบุว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการสอบสวน *จึงไม่อาจเอาผิดแก่จำเลยได้
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสอบสวนพยานและบันทึกเสนอข้อความบิดเบือนความจริง และบันทึกข้อความนอกสำนวนนั้น เมื่อฟ้องมิได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร บิดเบือนอย่างไร ข้อความใดนอกสำนวน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยไม่รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อสอบสวนเอาผิดแก่ผู้กระทำผิดรายอื่น และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยละเว้นไม่สอบสวนบุคคลดังกล่าว โจทก์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
*และจำเลยเสนอสำนวนการสอบสวนตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ตามกฎ ก.พ. จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ในกรณีโจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง นั้น การส่งเรื่องกล่าวหาเป็นหน้าที่ของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน มิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลย และการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเท่าที่ปรากฏให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเท่านั้นมิได้กำหนดให้แจ้งโดยละเอียด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสร็จให้คณะกรรมการประชุมปรึกษาสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อตามฟ้องระบุว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการสอบสวน *จึงไม่อาจเอาผิดแก่จำเลยได้
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสอบสวนพยานและบันทึกเสนอข้อความบิดเบือนความจริง และบันทึกข้อความนอกสำนวนนั้น เมื่อฟ้องมิได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร บิดเบือนอย่างไร ข้อความใดนอกสำนวน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยไม่รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อสอบสวนเอาผิดแก่ผู้กระทำผิดรายอื่น และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยละเว้นไม่สอบสวนบุคคลดังกล่าว โจทก์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
*และจำเลยเสนอสำนวนการสอบสวนตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันเวลาการกระทำผิดเป็นสาระสำคัญ หากไม่ตรงกับที่ฟ้องร้อง ศาลต้องยกฟ้อง
คดีอาญา โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้เสียหายถูกจำเลยขู่เข็ญให้รับว่ารับจ้างมาฆ่าจำเลย ขณะผู้เสียหายถูกกักขังคือ ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม2505 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 9 มกราคม 2505 เวลากลางวัน เท่านั้นส่วนวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยร่วมกันทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จขึ้นนั้น โจทก์คงระบุยืนยันไว้ชัดแจ้งในตอนต้นว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2505 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณา ข้อแตกต่างในเรื่องวันเวลาที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดนี้เป็นข้อสารสำคัญซึ่งตามกฎหมายให้ศาลต้องยกฟ้อง