คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งให้คืนทรัพย์ในคดีอาญา สิ้นสุดเมื่อไม่มีความผิดฐานยักยอก ผู้เสียหายต้องฟ้องทางแพ่ง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ประกอบกับมาตรา 44 วรรค 2 อำนาจของพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สิน หรือราคาแทนผู้เสียหายในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ย่อมเป็นส่วนหนึ่งแห่งคดีอาญา และอำนาจการพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคา ก็เป็นส่วนหนึ่งแห่งคดีอาญา เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอกดังที่โจทก์ฟ้อง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43 ย่อมสิ้นไป ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะพิพากษาให้คืน หรือใช้ราคาทรัพย์ได้
(ถูก 1039/2516 ประชุมใหญ่ ทับเสียแล้ว)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1789/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด โดยผู้ซื้อสุจริต มีผลต่อการฟ้องฐานรับของโจร และคำขอให้ชดใช้ค่าทรัพย์สิน
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 รับน้ำมันของผู้เสียหายไว้ในครอบครองจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยรู้อยู่ว่าเป็นของร้ายที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ขอให้ลงโทษ และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาน้ำมันแก่ผู้เสียหายเมื่อศาลฟังว่าจำเลยที่ 3 ซื้อน้ำมันนั้นไว้โดยสุจริตและพิพากษายกฟ้อง ปล่อยจำเลยที่ 3 แล้วย่อมยกคำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์เสียด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสูติบัตรตามหน้าที่ ไม่เจตนาทำให้ผู้อื่นเสียหาย ไม่ก่อให้เกิดความรับผิดทั้งทางอาญาและแพ่ง
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วยกัน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งหมด คงมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อมาเฉพาะคดีส่วนแพ่ง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลสูงจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น
มารดาได้แจ้งการเกิดของบุตรต่อจำเลยซึ่งเป็นสารวัตรกำนัน ผู้ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับแจ้งการเกิด โดยระบุแจ้งชื่อโจทก์เป็นบิดาเด็กที่เกิดนั้น แต่จำเลยยังไม่แน่ใจที่จะกรอกลงไปในสูติบัตร จึงได้เว้นว่างไว้ แล้วนายอำเภอเป็นผู้สั่งให้จำเลยแก้โดยให้เติมชื่อและนามสกุลของโจทก์ลงไปในสูติบัตร โดยจำเลยมิได้มีเจตนาร้ายต่อโจทก์ หากแต่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปโดยหน้าที่และตรงตามที่มารดาของเด็กแจ้ง ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความผิด โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยแก้ชื่อและนามสกุลของโจทก์ออกจากสูติบัตรนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อในสูติบัตรตามหน้าที่และความถูกต้องของข้อมูลแจ้งเกิด ศาลต้องยึดตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วยกัน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งหมด คงมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อมาเฉพาะคดีส่วนแพ่งในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลสูงจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น
มารดาได้แจ้งการเกิดของบุตรต่อจำเลยซึ่งเป็นสารวัตรกำนันผู้ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับแจ้งการเกิดโดยระบุแจ้งชื่อโจทก์เป็นบิดาเด็กที่เกิดนั้นแต่จำเลยยังไม่แน่ใจที่จะกรอกลงไปในสูติบัตร จึงได้เว้นว่างไว้แล้วนายอำเภอเป็นผู้สั่งให้จำเลยแก้โดยให้เติมชื่อและนามสกุลของโจทก์ลงไปในสูติบัตร โดยจำเลยมิได้มีเจตนาร้ายต่อโจทก์หากแต่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปโดยหน้าที่และตรงตามที่มารดาของเด็กแจ้งดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยแก้ชื่อและนามสกุลของโจทก์ออกจากสูติบัตรนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อในสูติบัตรตามหน้าที่และความถูกต้องของข้อมูลแจ้งเกิด โดยไม่มีเจตนาร้าย
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วยกัน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งหมด คงมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อมาเฉพาะคดีส่วนแพ่ง. ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลสูงจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น.
มารดาได้แจ้งการเกิดของบุตรต่อจำเลยซึ่งเป็นสารวัตรกำนัน ผู้ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับแจ้งการเกิด. โดยระบุแจ้งชื่อโจทก์เป็นบิดาเด็กที่เกิดนั้น. แต่จำเลยยังไม่แน่ใจที่จะกรอกลงไปในสูติบัตร จึงได้เว้นว่างไว้.แล้วนายอำเภอเป็นผู้สั่งให้จำเลยแก้โดยให้เติมชื่อและนามสกุลของโจทก์ลงไปในสูติบัตร โดยจำเลยมิได้มีเจตนาร้ายต่อโจทก์. หากแต่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปโดยหน้าที่และตรงตามที่มารดาของเด็กแจ้ง. ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความผิด. โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยแก้ชื่อและนามสกุลของโจทก์ออกจากสูติบัตรนั้นไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438-439/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งจากการทุจริต, ความรับผิดของหัวหน้าส่วนราชการต่อการทุจริตของลูกน้อง, การพิสูจน์ความรับผิดทางแพ่งจากคดีอาญา
กระทรวงการคลังฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยฐานละเมิดเกี่ยวกับเงินภาษีอากรของกรมสรรพากรซึ่งถูกยักยอกไป อายุความเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อปรากฏการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากร และกรมสรรพากรได้ตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนพฤติการณ์ ย่อมถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากร ได้รู้ถึงการละเมิดแล้วต่อมาสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งได้เสนอรายงานให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องการทุจริตและการจับกุมผู้อยู่ในข่ายสงสัยว่าจะสมคบกันทุจริต ซึ่งมีจำเลยรวมอยู่ในพวกที่ถูกจับด้วยนั้น. และต่อมาบุคคลเหล่านี้ก็ได้ถูกผู้ว่าคดีฟ้องกล่าวโทษเป็นคดีอาญาขึ้น. ต้องถือว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานจากสรรพากรจังหวัด
คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรตั้งขึ้นสอบสวนการทุจริตรายงานว่าตรวจพบการทุจริตเพิ่มเติมอีก แต่กรรมการเห็นไม่ลงรอยกันในตัวผู้ต้องรับผิด อธิบดีกรมสรรพากรจึงสั่งให้รองอธิบดีพิจารณา รองอธิบดีพิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่าควรให้กองวิทยาการ กรมตำรวจ พิสูจน์ลายมือผู้ทุจริตให้แน่นอนก่อน อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้นำเข้าประชุมปรึกษา กรรมการในที่ประชุมก็เห็นไม่ตรงกัน อธิบดีกรมสรรพากรจึงตั้งกรรมการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาแล้ว เสนอรายงานต่ออธิบดี สำหรับการทุจริตครั้งหลังนี้ถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานของคณะกรรมการชุดหลัง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจากผู้ที่มิได้กระทำผิดทางอาญานั้น อยู่ในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก แม้จะมีการฟ้องผู้กระทำละเมิดเป็นคดีอาญาด้วย แต่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความตามวรรคแรก เช่นเดียวกัน
จำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีอาญาว่ายักยอกเงินของโจทก์ เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาว่า คดียังไม่พอจะให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตาม และหากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มีการยักยอกเงินของโจทก์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่มีผู้ยักยอกไปให้แก่โจทก์
จำเลยเป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกสรรพากรประจำอำเภอมีตำแหน่งสมุหบัญชีโท มีหน้าที่รับผิดชอบในเงินภาษีอากรตลอดจนตรวจนับเงินสดและเช็คที่มีผู้นำมาชำระค่าภาษีอากรทุกวัน หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิด และถ้าไม่ปลีกตัวออกจากการเป็นกรรมการถือกุญแจเก็บรักษาเงินผลประโยชน์ตามระเบียบของกรมสรรพากร จำเลยอื่นก็จะไม่มีโอกาสยักยอกเอาเงินภาษีอากรของโจทก์ไปได้ ดังนี้ จำเลยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นชดใช้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438-439/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งจากการทุจริต-ยักยอกทรัพย์ การรับผิดของหัวหน้าหน่วยงาน และการพิสูจน์ความรับผิด
กระทรวงการคลังฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยฐานละเมิดเกี่ยวกับเงินภาษีอากรของกรมสรรพากรซึ่งถูกยักยอกไปอายุความเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อปรากฏการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากร และกรมสรรพากรได้ตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนพฤติการณ์ย่อมถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากร ได้รู้ถึงการละเมิดแล้วต่อมาสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งได้เสนอรายงานให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องการทุจริตและการจับกุมผู้อยู่ในข่ายสงสัยว่าจะสมคบกันทุจริต ซึ่งมีจำเลยรวมอยู่ในพวกที่ถูกจับด้วยนั้นและต่อมาบุคคลเหล่านี้ก็ได้ถูกผู้ว่าคดีฟ้องกล่าวโทษเป็นคดีอาญาขึ้น ต้องถือว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานจากสรรพากรจังหวัด
คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรตั้งขึ้นสอบสวนการทุจริตรายงานว่าตรวจพบการทุจริตเพิ่มเติมอีกแต่กรรมการเห็นไม่ลงรอยกันในตัวผู้ต้องรับผิดอธิบดีกรมสรรพากรจึงสั่งให้รองอธิบดีพิจารณา รองอธิบดีพิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่าควรให้กองวิทยาการ กรมตำรวจ พิสูจน์ลายมือผู้ทุจริตให้แน่นอนก่อนอธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้นำเข้าประชุมปรึกษา กรรมการในที่ประชุมก็เห็นไม่ตรงกัน อธิบดีกรมสรรพากรจึงตั้งกรรมการพิจารณาอีกครั้งหนึ่งคณะกรรมการพิจารณาแล้ว เสนอรายงานต่ออธิบดี สำหรับการทุจริตครั้งหลังนี้ถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานของคณะกรรมการชุดหลัง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจากผู้ที่มิได้กระทำผิดทางอาญานั้น อยู่ในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรกแม้จะมีการฟ้องผู้กระทำละเมิดเป็นคดีอาญาด้วย แต่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความตามวรรคแรก เช่นเดียวกัน
จำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีอาญาว่ายักยอกเงินของโจทก์เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาว่า คดียังไม่พอจะให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามและหากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มีการยักยอกเงินของโจทก์จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่มีผู้ยักยอกไปให้แก่โจทก์
จำเลยเป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกสรรพากรประจำอำเภอมีตำแหน่งสมุหบัญชีโท มีหน้าที่รับผิดชอบในเงินภาษีอากรตลอดจนตรวจนับเงินสดและเช็คที่มีผู้นำมาชำระค่าภาษีอากรทุกวันหากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิดและถ้าไม่ปลีกตัวออกจากการเป็นกรรมการถือกุญแจเก็บรักษาเงินผลประโยชน์ตามระเบียบของกรมสรรพากรจำเลยอื่นก็จะไม่มีโอกาสยักยอกเอาเงินภาษีอากรของโจทก์ไปได้ ดังนี้ จำเลยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นชดใช้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438-439/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งกรณีทุจริตเงินภาษี และความรับผิดของข้าราชการต่อการยักยอกเงินของผู้อื่น
กระทรวงการคลังฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยฐานละเมิดเกี่ยวกับเงินภาษีอากรของกรมสรรพากรซึ่งถูกยักยอกไป.อายุความเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน.
เมื่อปรากฏการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากร และกรมสรรพากรได้ตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนพฤติการณ์. ย่อมถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากร ได้รู้ถึงการละเมิดแล้ว. ต่อมาสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งได้เสนอรายงานให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องการทุจริตและการจับกุมผู้อยู่ในข่ายสงสัยว่าจะสมคบกันทุจริต ซึ่งมีจำเลยรวมอยู่ในพวกที่ถูกจับด้วยนั้น. และต่อมาบุคคลเหล่านี้ก็ได้ถูกผู้ว่าคดีฟ้องกล่าวโทษเป็นคดีอาญาขึ้น. ต้องถือว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานจากสรรพากรจังหวัด.
คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรตั้งขึ้นสอบสวนการทุจริตรายงานว่าตรวจพบการทุจริตเพิ่มเติมอีก. แต่กรรมการเห็นไม่ลงรอยกันในตัวผู้ต้องรับผิด. อธิบดีกรมสรรพากรจึงสั่งให้รองอธิบดีพิจารณา. รองอธิบดีพิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่าควรให้กองวิทยาการ กรมตำรวจ พิสูจน์ลายมือผู้ทุจริตให้แน่นอนก่อน. อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้นำเข้าประชุมปรึกษา กรรมการในที่ประชุมก็เห็นไม่ตรงกัน. อธิบดีกรมสรรพากรจึงตั้งกรรมการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง. คณะกรรมการพิจารณาแล้ว เสนอรายงานต่ออธิบดี. สำหรับการทุจริตครั้งหลังนี้ถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานของคณะกรรมการชุดหลัง.
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจากผู้ที่มิได้กระทำผิดทางอาญานั้น อยู่ในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก. แม้จะมีการฟ้องผู้กระทำละเมิดเป็นคดีอาญาด้วย แต่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว. ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 448 วรรคสอง. ต้องใช้อายุความตามวรรคแรก เช่นเดียวกัน.
จำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีอาญาว่ายักยอกเงินของโจทก์. เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาว่า คดียังไม่พอจะให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง. ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง.ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตาม. และหากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มีการยักยอกเงินของโจทก์. จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่มีผู้ยักยอกไปให้แก่โจทก์.
จำเลยเป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกสรรพากรประจำอำเภอมีตำแหน่งสมุหบัญชีโท. มีหน้าที่รับผิดชอบในเงินภาษีอากรตลอดจนตรวจนับเงินสดและเช็คที่มีผู้นำมาชำระค่าภาษีอากรทุกวัน.หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิด. และถ้าไม่ปลีกตัวออกจากการเป็นกรรมการถือกุญแจเก็บรักษาเงินผลประโยชน์ตามระเบียบของกรมสรรพากร. จำเลยอื่นก็จะไม่มีโอกาสยักยอกเอาเงินภาษีอากรของโจทก์ไปได้. ดังนี้ จำเลยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นชดใช้เงินให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีเช็ค: การเปลี่ยนสถานะจากผู้รับเช็คเป็นผู้ทรงเช็คต้องแสดงเหตุผลและหลักฐานการใช้เงิน
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินสดจำนวนหนึ่งแล้ว ส.นำเช็คดังกล่าวมาแลกเงินจากโจทก์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. โจทก์สั่งจ่ายเงินจำนวนนั้นให้ ส.รับไป โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ศาลอาญาพิพากษายกฟ้องวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนี้ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็ค โจทก์ได้บรรยายฟ้องมีความเช่นเดียวกับคำฟ้องคดีอาญา มิได้มีข้อความเพิ่มเติมแสดงว่าเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์ต้องใช้เงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. จึงโอนเช็คพิพาทให้โจทก์มาจัดการเอาเอง คำพิพากษาในส่วนอาญาก็ได้วินิจฉัยว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ทั้งนี้ ย่อมเป็นการวินิจฉัยและฟังตามบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งมาแล้วว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลจำต้องถือตามดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 บังคับไว้ คดีไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาตามมาตรา 47 ประการใดอีกเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องเพิ่มเติมว่าต่อมาโจทก์ต้องใช้เงินตามเช็คให้แก่ห้างดังกล่าวและห้างนั้นได้โอนเช็คให้โจทก์มาจัดการเอง เป็นการที่โจทก์ได้เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขึ้นด้วยนั้น คดีไม่มีประเด็นที่โจทก์จะนำสืบดังกล่าวนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาทรัพย์ในคดีลักทรัพย์ที่ไม่สามารถระบุราคาอันแท้จริงได้
คดีอาญาซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนให้แก่เจ้าทรัพย์ หากปรากฏว่าผู้เสียหายเบิกความว่าราคาทรัพย์เกือบสองพันบาท ซึ่งเป็นการไม่แน่นอน โดยไม่สามารถกำหนดราคาอันแท้จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 47 แล้ว ดังนี้ ศาลจึงไม่ต้องกำหนดราคาทรัพย์นั้น ซึ่งจำเลยจะต้องใช้ให้แก่เจ้าทรัพย์
of 16