พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534-535/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีแพ่งหลังจำเลยเสียชีวิต, ความรับผิดทางแพ่งร่วม, และการพิสูจน์ความผิดทางอาญา
เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 1 สิทธิในการนำคดีอาญาของจำเลยที่ 2 มาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) แต่สำหรับคดีส่วนแพ่งนั้น ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 เสียก่อน กล่าวคือ หากครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายแล้ว ไม่มีบุคคลใดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนหรือเข้ามาตามหมายเรียกของศาล จึงให้จำหน่ายคดีส่วนแพ่งออกเสียจากสารบบความ ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ด่วนมีคำสั่งจำหน่ายคดีส่วนแพ่งในส่วนของจำเลยที่ 2 ออกเสียจากสารบบความ ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8816/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: แม้ไม่รู้ว่าเป็นของผิดกฎหมาย แต่ผู้รับซื้อต้องคืนทรัพย์ให้เจ้าของเดิม เพราะไม่มีกรรมสิทธิ์ดีกว่า
จำเลยรับซื้อทองคำของโจทก์โดยไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดข้อหาลักทรัพย์ แม้จะไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร แต่เมื่อทองคำที่จำเลยรับซื้อไว้เป็นของโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ติดตามเอาคืนได้ และแม้ห้างขายทองของจำเลยจะอยู่ในชุมชนการค้า แต่จำเลยมิได้ซื้อทองจากร้านค้า เพราะซื้อจาก ว. ที่นำมาขาย ถือไม่ได้ว่าซื้อทองคำในท้องตลาด จำเลยต้องคืนทองคำแก่โจทก์
วัตถุแห่งหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ได้แก่ทองคำที่จำเลยรับซื้อไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่า การปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยการคืนทองคำเป็นการพ้นวิสัยตั้งแต่เมื่อใด จึงกำหนดให้ใช้ราคาตามราคาขายโดยเฉลี่ยของสมาคมค้าทองคำในวันฟ้อง พร้อมดอกเบี้ยในขณะที่โจทก์ร้องขอให้ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 อันได้แก่วันฟ้อง
วัตถุแห่งหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ได้แก่ทองคำที่จำเลยรับซื้อไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่า การปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยการคืนทองคำเป็นการพ้นวิสัยตั้งแต่เมื่อใด จึงกำหนดให้ใช้ราคาตามราคาขายโดยเฉลี่ยของสมาคมค้าทองคำในวันฟ้อง พร้อมดอกเบี้ยในขณะที่โจทก์ร้องขอให้ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 อันได้แก่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4399/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยรับค่าว่าความแล้วไม่ฟ้องคดี ไม่ใช่ความผิดยักยอก แต่มีหน้าที่คืนเงินตามกฎหมาย
แม้โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนภายในอายุความ แต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพมิได้ต่อสู้คดี จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์โดยชอบแล้ว
ผู้เสียหายว่าจ้างจำเลยให้ว่าความ เงินค่าว่าความจึงเป็นสินจ้างตอบแทนแก่จำเลยที่ตกลงรับจะว่าความให้ การที่จำเลยไม่ยื่นฟ้องคดีให้ผู้เสียหายเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นเรื่องทางแพ่ง จึงไม่เป็นความผิดทางอาญาฐานยักยอกตามฟ้อง
จำเลยได้รับเงินค่าว่าความจากผู้เสียหายแล้วไม่ฟ้องคดีให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงต้องคืนเงินแก่ผู้เสียหาย ซึ่งการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 แม้โจทก์มิได้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ผู้เสียหายว่าจ้างจำเลยให้ว่าความ เงินค่าว่าความจึงเป็นสินจ้างตอบแทนแก่จำเลยที่ตกลงรับจะว่าความให้ การที่จำเลยไม่ยื่นฟ้องคดีให้ผู้เสียหายเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นเรื่องทางแพ่ง จึงไม่เป็นความผิดทางอาญาฐานยักยอกตามฟ้อง
จำเลยได้รับเงินค่าว่าความจากผู้เสียหายแล้วไม่ฟ้องคดีให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงต้องคืนเงินแก่ผู้เสียหาย ซึ่งการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 แม้โจทก์มิได้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6131/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจรและขอบเขตความรับผิดในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาตามคำพิพากษาถึงที่สุด
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น การนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ คำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุด ข้อเท็จจริงนั้นเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้ง และเป็นคู่ความเดียวกัน คดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยมีความผิดฐานรับของโจรชิ้นส่วนรถยนต์ของ อ. ผู้เอาประกันภัยกับโจทก์ พฤติการณ์ในคดีส่วนแพ่ง คือ พบชิ้นส่วนรถยนต์บรรทุกสิบล้อพิพาทในบริเวณอู่ซ่อมรถที่จำเลยดำเนินกิจการ จำเลยรับว่าซื้อรถยนต์พิพาทจาก ก. ราคา 200,000 บาท โดยโอนลอยทั้งที่ ก. เพิ่งซื้อมาจากบริษัท ห. ในราคา 650,000 บาท ดังนั้น จำเลยรับซื้อรถยนต์ทั้งคันไว้ในราคาต่ำผิดปกติ จึงฟังได้ว่า จำเลยรับซื้อรถยนต์พิพาททั้งคันโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ลักมา แม้ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยรับของโจรชิ้นส่วนรถยนต์ มิได้รับของโจรรถยนต์ทั้งคันก็ตาม แต่คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 เมื่อคดีส่วนแพ่งฟังว่า จำเลยรับรถยนต์ไว้ทั้งคันก็ให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งคันแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทน กรณีจัดงานเลี้ยงและเกิดเพลิงไหม้
คดีนี้โจทก์ร่วมทั้งสองร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่ทรัพย์สินมาด้วย ซึ่งเป็นคำขอบังคับในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง และมาตรา 47 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ แม้จำเลยที่ 2 มิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ร่วมทั้งสองเสียหาย แต่ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดงานเลี้ยงฉลองเทศกาลปีใหม่ขึ้นที่บ้านของตนเอง การจุดพลุเป็นพิธีการส่วนหนึ่งของการเปิดงาน การที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ทำการจุดพลุ อันเป็นสัญญาณเริ่มต้นเปิดงานต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการจุดพลุเปิดงานเลี้ยงฉลองเทศกาลปีใหม่ที่จำเลยที่ 2 จัดให้มีขึ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ทำการจุดพลุโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ร่วมทั้งสองเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมทั้งสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามคำสั่งที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้กระทำแทนจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ประกอบมาตรา 427 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมทั้งสองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16104/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานในคดีแพ่งหลังคดีอาญาถึงที่สุด ศาลต้องเปิดโอกาสให้สืบพยานเพื่อพิสูจน์ความประมาทของจำเลยร่วม แม้คำพิพากษาอาญาจะยังไม่ยุติ
ในคดีส่วนอาญา พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ก. และจำเลยที่ 1 ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 และข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 โจทก์คดีนี้เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเหตุที่เกิดขึ้นเพราะความประมาทของ ก. เพียงฝ่ายเดียว จึงลงโทษ ก. และยกฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์และโจทก์ร่วมในคดีอาญาอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 โดยไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ส่วน ก. อุทธรณ์ว่าตนไม่มีความผิด ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จึงจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาแต่อุทธรณ์ของ ก. แล้ววินิจฉัยว่า ก. เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าเหตุที่เกิดขึ้นเพราะความประมาทของ ก. เพียงฝ่ายเดียว แต่โจทก์และโจทก์ร่วมในคดีอาญายังอุทธรณ์อยู่ จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นในคดีส่วนอาญาพิพากษาจึงยังไม่ยุติ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลชั้นต้น และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาก็เป็นการพิพากษาในส่วนของ ก. เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือร่วมกับ ก. ทำละเมิด แม้ ก. ขับรถโดยประมาทเลินเล่อก็ไม่ทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะสืบพยานให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าเหตุที่เกิดขึ้นเพราะความประมาทของ ก. เพียงฝ่ายเดียว แต่โจทก์และโจทก์ร่วมในคดีอาญายังอุทธรณ์อยู่ จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นในคดีส่วนอาญาพิพากษาจึงยังไม่ยุติ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลชั้นต้น และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาก็เป็นการพิพากษาในส่วนของ ก. เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือร่วมกับ ก. ทำละเมิด แม้ ก. ขับรถโดยประมาทเลินเล่อก็ไม่ทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะสืบพยานให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13674/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุก: แม้ไม่มีเจตนาแย่งการครอบครอง แต่การเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่มีสิทธิ ถือเป็นการละเมิด
การที่จำเลยจะมีความผิดฐานบุกรุกตามฟ้องได้ต้องปรากฏด้วยว่า จำเลยมีเจตนาที่จะเข้าไปในที่ดินพิพาทเพื่อแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากผู้ร้องทั้งๆ ที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า ผู้ร้องมีสิทธิดีกว่าตน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ได้โต้แย้งสิทธิของนายสมนึกและผู้ร้องในที่ดินพิพาทโดยกล่าวอ้างถึงสิทธิของตนในที่ดินพิพาทและท้าทายให้ไปฟ้องศาลตลอดมา ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ได้ความว่าผู้ร้องกับจำเลยเป็นญาติกัน ทั้งจำเลยยังเป็นทายาทคนหนึ่งของ จ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทมาตั้งแต่เดิมด้วยแล้ว เห็นว่า จำเลยอาจเข้าใจโดยสุจริตว่าช่วงเวลาเกิดเหตุยังอยู่ในช่วงที่โต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกันอยู่และจำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้องก็เป็นได้ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีข้อน่าสงสัยตามสมควรว่า จำเลยมีเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาทหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุกตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
อย่างไรก็ตามแม้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดอาญาเพราะขาดเจตนา แต่การกระทำของจำเลยเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ร้อง แม้ในคดีส่วนอาญาจำเลยจะไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ในคดีส่วนแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่ประสงค์ให้จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไป จำเลยจึงต้องออกไปจากที่ดินพิพาทและชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง
อย่างไรก็ตามแม้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดอาญาเพราะขาดเจตนา แต่การกระทำของจำเลยเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ร้อง แม้ในคดีส่วนอาญาจำเลยจะไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ในคดีส่วนแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่ประสงค์ให้จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไป จำเลยจึงต้องออกไปจากที่ดินพิพาทและชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18619/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลมีอำนาจพิจารณาโดยไม่ต้องรอฟังคำพิพากษาคดีอาญา
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลในคดีส่วนแพ่งจะรอฟังข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีส่วนอาญาหรือไม่ก็ได้ เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป พฤติกรรมของจำเลยที่ 1 ที่หลบหนีคดีอาญาอยู่ ไม่อาจทราบได้ว่าคดีส่วนอาญาจะมีคำพิพากษาได้เมื่อใด การที่ศาลล่างทั้งสองไม่รอฟังคดีอาญาก่อนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18031/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาที่มีคำขอส่วนแพ่ง ศาลต้องบังคับตามคำพิพากษาตามยอม หากโจทก์ร่วมตกลงประนีประนอมยอมความแล้ว
คดีอาญาที่โจทก์มีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ร่วม เมื่อคดีส่วนแพ่ง โจทก์ร่วมและจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว คดีส่วนแพ่งจึงเป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 ไม่จำต้องมีคำพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาตามคำขอของโจทก์และโจทก์ร่วมในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาอีก ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่โจทก์ร่วม และศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้แก้ไขเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งในคดีอาญา และขอบเขตการฎีกาของโจทก์ร่วม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้ในคดีฉ้อโกง ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องในคดีส่วนอาญา แต่เมื่อคำขอส่วนแพ่งเป็นคำขอที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้น อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งยังคงมีต่อไป และศาลต้องวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยทั้งสามต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าพนักงานอัยการไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนกลุ่มผู้เสียหายรวมทั้งโจทก์ร่วม และไม่วินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งจึงเป็นการไม่ชอบ
การฎีกาในปัญหาใด ๆ ต่อศาลฎีกานั้นย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละคน แม้โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนหรือใช้ราคาข้าวเปลือกแก่ผู้เสียหายรวม 81 คน แต่ราคาข้าวเปลือกของผู้เสียหายที่โจทก์ขอมาแต่ละคนต่างแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น โจทก์ร่วมย่อมเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะสิทธิเรียกราคาข้าวเปลือกในส่วนของตนเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ฎีกาโจทก์ร่วมย่อมฎีกาได้เฉพาะส่วนของตน จะฎีกาแทนโจทก์หรือผู้เสียหายคนอื่นมิได้
การฎีกาในปัญหาใด ๆ ต่อศาลฎีกานั้นย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละคน แม้โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนหรือใช้ราคาข้าวเปลือกแก่ผู้เสียหายรวม 81 คน แต่ราคาข้าวเปลือกของผู้เสียหายที่โจทก์ขอมาแต่ละคนต่างแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น โจทก์ร่วมย่อมเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะสิทธิเรียกราคาข้าวเปลือกในส่วนของตนเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ฎีกาโจทก์ร่วมย่อมฎีกาได้เฉพาะส่วนของตน จะฎีกาแทนโจทก์หรือผู้เสียหายคนอื่นมิได้