คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1040

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14005/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ไม่สามารถฟ้องขอใส่ชื่อร่วมได้
ตามหนังสือสัญญาให้ที่ดินระบุว่า ผู้ให้ยอมยกที่ดินทั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้รับโดยเด็ดขาดนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป เป็นการยกให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนเพราะเป็นสามีภริยา แม้หนังสือดังกล่าวจะไม่ได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว แต่การที่โจทก์ยกที่ดิน 8 แปลง ดังกล่าวให้จำเลยก็เพื่อตอบแทนการที่จำเลยยอมยุติปัญหาที่โจทก์ไปมีภริยาอีกคนหนึ่ง จึงแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ว่า โจทก์ได้ให้เป็นสินส่วนตัวของภริยาเด็ดขาดแล้ว ประกอบกับพฤติการณ์ที่ภายหลังจำเลยและครอบครัวจำเลยได้ใช้ประโยชน์โดยอาศัยอยู่บนที่ดินดังกล่าวเรื่อยมาและมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอื่นเพิ่มเติมโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มีการโต้แย้งแต่อย่างใด ที่ดิน 8 แปลง นี้ไม่ใช่สินสมรส โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วย
การที่จำเลยและครอบครัวของจำเลยร่วมดำเนินกิจการของร้าน ม. เพื่อกระทำกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างร่วมกันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ซึ่งมีความประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น เข้าลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน โดยมีสมาชิกในครอบครัวของจำเลยทุกคนเป็นหุ้นส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ประกอบมาตรา 1025 การที่โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวจะขอใส่ชื่อร่วมในโฉนดที่ดิน 87 แปลง ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น เท่ากับเป็นการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนซึ่งไม่อาจกระทำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1040 เมื่อกรณีฟังได้ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญมิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอใส่ชื่อร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740-3741/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หุ้นส่วนจำหน่ายส่วนของตนได้ ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
การเอาทรัพย์สินมาลงหุ้นของโจทก์และจำเลยนั้นมิได้เอาทรัพย์สินมาเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างหุ้นส่วน เป็นแต่เพียงเอามาใช้ในกิจการของห้างหุ้นส่วน จำเลยและโจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง เจ้าของรวมแต่ละคนสามารถจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนองหรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ ฉะนั้นการที่จำเลยจำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยจำหน่ายเฉพาะส่วนของตน จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการชักนำบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน เพราะการเป็นหุ้นส่วนต้องเกิดขึ้นโดยความตกลงระหว่าง ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน เมื่อโจทก์ยังมิได้ตกลงให้ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของจำเลย เข้ามาเป็นหุ้นส่วน ผู้รับโอนก็หากลายมาเป็นหุ้นส่วนไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการผิดสัญญาหุ้นส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5562/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด
บทบัญญัติตามมาตรา 1080 และมาตรา 1040 แห่ง ป.พ.พ.เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญจะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกหรือชักนำบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นหุ้นส่วน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมดไม่ได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวย่อมนำมาใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยโดยอนุโลม สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดที่จะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้ แต่สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้นอาจโอนหุ้นให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยลำพัง ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นตามที่มาตรา 1091 แห่ง ป.พ.พ. บัญญัติไว้ ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะเรื่องการโอนหุ้นเท่านั้น เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมีสิทธิ อำนาจหน้าที่และความรับผิดจำกัด และเนื่องจากมีสิทธิ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดจำกัดนี้เองคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจึงมิใช่สาระสำคัญ และการเป็นหุ้นส่วนจำพวกดังกล่าวไม่เป็นการเฉพาะตัว ทั้งการโอนหุ้นดังกล่าวก็หาใช่การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมแห่งห้างหุ้นส่วนหรือประเภทแห่งกิจการตาม ป.พ.พ.มาตรา1032 ไม่
เมื่อการโอนหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1091 โดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นก็อาจโอนได้ คำเบิกความของ ว.ที่ว่า จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ไม่อาจโอนหุ้นได้โดยขาดความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ย่อมเป็นเพียงความเห็นของพยาน จึงหาจำต้องหยิบยกคำเบิกความของ ว.มาวินิจฉัยให้โดยเฉพาะอีกไม่ เพราะที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้นของตนโดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นก็โอนได้ เท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยปัญหานี้โดยไม่เห็นด้วยกับคำเบิกความของ ว.ดังกล่าวอยู่ในตัวแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5562/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด และหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการ
บทบัญญัติตามมาตรา 1080 และมาตรา 1040แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญจะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกหรือชักนำบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นหุ้นส่วน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมดไม่ได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวย่อมนำมาใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยโดยอนุโลมสำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดที่จะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมจาก ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้ แต่สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้นอาจโอนหุ้นให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยลำพัง ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นตามที่มาตรา 1091 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะเรื่องการโอนหุ้นเท่านั้นเพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมีสิทธิอำนาจหน้าที่และความรับผิดจำกัด และเนื่องจากมีสิทธิอำนาจหน้าที่ และความรับผิดจำกัดนี้เองคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจึงมิใช่สาระสำคัญ และการเป็นหุ้นส่วนจำพวกดังกล่าวไม่เป็นการเฉพาะตัว ทั้งการโอนหุ้นดังกล่าวก็หาใช่การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิม แห่งห้างหุ้นส่วนหรือประเภทแห่งกิจการตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1032 ไม่ เมื่อการโอนหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1091 โดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นก็อาจโอนได้ คำเบิกความของ ว. ที่ว่า จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ไม่อาจโอนหุ้นได้โดยขาดความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นย่อมเป็นเพียงความเห็นของพยาน จึงหาจำต้องหยิบยกคำเบิกความของ ว. มาวินิจฉัยให้โดยเฉพาะอีกไม่เพราะที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้นของตนโดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นก็โอนได้ เท่ากับศาลอุทธรณ์ ได้วินิจฉัยปัญหานี้โดยไม่เห็นด้วยกับคำเบิกความของ ว. ดังกล่าวอยู่ในตัวแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องดำเนินการขอจดทะเบียน แก้ไขเพิ่มเติมรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นหุ้นส่วนสืบแทนและการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการครอบครองทรัพย์สิน
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นตกลงยินยอมให้จำเลยบุตรของหุ้นส่วนที่ตายนั้นเข้าเป็นหุ้นส่วนแทน ต่อมาหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งตาย ไม่มีใครเข้าเป็นหุ้นส่วนแทน คงดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนต่อมาระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น จนมีเหตุที่จำเลยถือตนเป็นเจ้าของโรงสีของห้างหุ้นส่วนเสียคนเดียว ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นย่อมฟ้องจำเลยขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้
เมื่อจำเลยเข้าเป็นตัวหุ้นส่วนสืบแทนบิดาแล้ว แม้บิดาจำเลยจะตายมาเกิน 1 ปี ก่อนที่จะมีการฟ้องร้องเลิกห้างหุ้นส่วนและขอแบ่งทรัพย์สิน จำเลยก็ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งเป็นเรื่องเจ้ามรดกเป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นหุ้นส่วนสืบแทนและการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกิจการ
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นตกลงยินยอมให้จำเลยบุตรของหุ้นส่วนที่ตายนั้นเข้าเป็นหุ้นส่วนแทน ต่อมาหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งตาย ไม่มีใครเข้าเป็นหุ้นส่วนแทน คงดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนต่อมาระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น จนมีเหตุที่จำเลยถือตนเป็นเจ้าของโรงสีของห้างหุ้นส่วนเสียคนเดียว ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นย่อมฟ้องจำเลยขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้
เมื่อจำเลยเข้าเป็นตัวหุ้นส่วนสืบแทนบิดาแล้ว แม้บิดาจำเลยจะตายมาเกิน 1 ปี ก่อนที่จะมีการฟ้องร้องเลิกห้างหุ้นส่วนและขอแบ่งทรัพย์สิน จำเลยก็ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งเป็นเรื่องเจ้ามรดกเป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นหุ้นส่วนแทนและการฟ้องเลิกห้างหุ้นส่วน: จำเลยไม่อาจอ้างอายุความเมื่อเข้าเป็นหุ้นส่วนสืบแทน
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย.ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นตกลงยินยอมให้จำเลยบุตรของหุ้นส่วนที่ตายนั้นเข้าเป็นหุ้นส่วนแทน. ต่อมาหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งตาย ไม่มีใครเข้าเป็นหุ้นส่วนแทน. คงดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนต่อมาระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น. จนมีเหตุที่จำเลยถือตนเป็นเจ้าของโรงสีของห้างหุ้นส่วนเสียคนเดียว. ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นย่อมฟ้องจำเลยขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้.
เมื่อจำเลยเข้าเป็นตัวหุ้นส่วนสืบแทนบิดาแล้ว. แม้บิดาจำเลยจะตายมาเกิน 1 ปี ก่อนที่จะมีการฟ้องร้องเลิกห้างหุ้นส่วนและขอแบ่งทรัพย์สิน. จำเลยก็ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754. ซึ่งเป็นเรื่องเจ้ามรดกเป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่เลิกแล้ว โอนหุ้นได้โดยไม่ต้องยินยอม ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องคดีอาญาได้
ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนมีมติให้เลิก ความเป็นหุ้นส่วนก็สิ้นสุดลง จะนำมาตรา 1249 - 1040 มาใช้บังคับมิได้ และผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมโอนหุ้นของตนได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนคนอื่น ผู้รับโอนหุ้นมาย่อมเป็นผู้เสียหายในทางอาญาได้
คดีอาญาที่อยู่ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้อง แม้ศาลจะเห็นว่าฟ้องบางข้อไม่ผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง แต่ยังมีขอ้หาฐานอื่นอยู่ด้วย และคดีจะต้องพิจารณาพิพากษาต่อไป ศาลไม่ควรด่วนวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิด
ทนายความที่ได้รับมอบอำนาจจากตัวความให้ใช้สิทธิอุทธรณ์, ฎีกาได้ ย่อมมีอำนาจลงชื่อในอุทธรณ์แทนตัวความได้
(อ้างฎีกา 1243/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่เลิกแล้ว ผู้รับโอนหุ้นมีสิทธิฟ้องคดีอาญาได้
ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนมีมติให้เลิกความเป็นหุ้นส่วนก็สิ้นสุดลง จะนำมาตรา1249-1040 มาใช้บังคับมิได้ และผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมโอนหุ้นของตนได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนคนอื่นผู้รับโอนหุ้นมาย่อมเป็นผู้เสียหายในทางอาญาได้
คดีอาญาที่อยู่ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้อง แม้ศาลจะเห็นว่าฟ้องบางข้อไม่ผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง แต่ยังมีข้อหาฐานอื่นอยู่ด้วย และคดีจะต้องพิจารณาพิพากษาต่อไปศาลไม่ควรด่วนวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิด
ทนายความที่ได้รับมอบอำนาจจากตัวความให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ย่อมมีอำนาจลงชื่อในอุทธรณ์แทนตัวความได้
(อ้างฎีกา 1243/2492)