พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเพื่อชำระหนี้: สิทธิเรียกร้องตกเป็นของผู้รับโอน แม้ยังไม่ถึงกำหนดรับเงิน และไม่มีเจตนาทุจริต
จำเลยทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้นและได้รับความยินยอมแล้วสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาจึงตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลย แม้ว่าขณะโอนสิทธิเรียกร้องจะยังไม่ถึงกำหนดงวดที่จำเลยจะได้รับเงินตามสัญญาจ้างเหมาก็ตาม และเมื่อไม่ปรากฏว่าในขณะโอนผู้ร้องได้รู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้อื่นรวมทั้งโจทก์ต้องเสียเปรียบโจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1) ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้นย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณีโดยคู่กรณีมีเจตนาลวงที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้ว จะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยนำสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1)ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกันหากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้ายส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้วจะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2)ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่นหาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306,308 ไม่
หมายเหตุ หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่26/2505 นั้น
(2)ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่นหาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306,308 ไม่
หมายเหตุ หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่26/2505 นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหนี้ – การฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ทำสัญญากู้เงิน
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ ต่อมาสามีโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดก ได้มอบให้ ส.เป็นผู้เก็บรักษาสัญญาไว้และจัดการทรัพย์สินตามเอกสารสัญญา ส.นำสัญญากู้คืนให้จำเลยที่ 1 แล้วทำสัญญากู้ใหม่โดยใส่ชื่อ ส.เป็นผู้ให้กู้และใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้แทนโจทก์กับ ส. จึงมีคดีพิพาทกันและทำสัญญายอมความกันไว้ โดย ส.รับว่าเงินรายนี้เป็นของสามีโจทก์จริงโจทก์จึงขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองใช้หนี้เงินกู้นั้น ดังนี้ เมื่อเป็นที่เห็นได้ตามคำฟ้องว่าส.กระทำไปโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการกระทำระหว่าง ส.กับจำเลยทั้งสอง จะถือว่าโจทก์ฟ้องว่ากรณีเป็นการแปลงหนี้โดยชอบแล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ไปได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้กู้เงินสามีโจทก์ไป ก็ไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดด้วยไม่ได้ (อนึ่ง ในปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องของ ส.ตามสัญญาประนีประนอม แต่โจทก์หรือส.มิได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพราะไม่มีหนี้ต่อกัน ดังนี้ ศาลก็ย่อมพิพากษาให้ยกฟ้องคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีหนี้เงินกู้: การมีส่วนร่วมในการทำสัญญาและการไม่มีหนี้โดยตรง
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ไป ต่อมาสามีโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดก ได้มอบให้ ส.เป็นผู้รักษาสัญญาไว้ และจัดการทรัพย์สินตามเอกสารสัญญา ส.นำสัญญากู้คืนให้จำเลยที่ 1 แล้วทำสัญญากู้ใหม่ โดยใส่ชื่อ ส.เป็นผู้ให้กู้และใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้แทน โจทก์กับ ส. จึงมีคดีพิพาทกันและทำสัญญายอมความกันไว้ โดยส.รับว่าเงินรายนี้เป็นของสามีโจทก์จริง โจทก์จึงขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองใช้หนี้ เงินกู้นั้น ดังนี้ เมื่อเป็นที่เห็นได้ตามคำฟ้องว่า ส.กระทำไปโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการกระทำระหว่าง ส.กับจำเลยทั้งสอง จะถือว่าโจทก์ฟ้องว่ากรณีเป็นการแปลงหนี้ โดยชอบแล้วหาได้ไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ไปได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้กู้เงินสามีโจทก์ไป ก็ไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดด้วยไม่ได้ (อนึ่ง ในปัญหาข้อนี้ แม้จำเลยจะขอให้ ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องของ ส. ตามสัญญาประนีประนอม แต่โจทก์หรือ ส. มิได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพราะไม่มีหนี้ต่อกัน ดังนี้ ศาลก็ย่อมพิพากษาให้ยกฟ้องคดีสำหรับจำเลยที 2 เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้ตามสัญญาผ่อนชำระหนี้มีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่ได้โอนหนี้ และการจำหน่ายคดีเมื่อจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ส. 30,000 บาท ได้ออกเช็คเป็นการชำระหนี้ให้ก็ขึ้นเงินไม่ได้ และเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจนจำเลยที่ 1 ต้องเปลี่ยนเช็คให้ใหม่เรื่อยมา ในที่สุดได้ทำสัญญาให้แก่โจทก์ว่าจะผ่อนใช้หนี้ 62,000 บาทให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แม้จะฟังว่าหนี้รายนี้สมบูรณ์เพียงต้นเงิน 30,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยเกินอัตราตกเป็นโมฆะไป หนี้ 30,000 บาทนี้ก็ยังผูกพันจำเลย โจทก์ได้ทวงถามสองครั้งในระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แม้จะทวงถามให้ชำระ 62,000 บาท เกินไปกว่าจำนวนที่ลูกหนี้ต้องผูกพัน จำเลยก็ไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ และมีพฤติการณ์ที่ฟังได้ ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด
แม้จำเลยจะไม่ใช่ลูกหนี้โจทก์ แต่เอกสารผ่อนชำระหนี้และค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องแสดงว่าโจทก์เป็นตัวเจ้าหนี้เอง เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันระบุให้โจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้เองแล้ว ก็ไม่ต้องพิสูจน์ว่าโจทก์รับโอนหนี้มาอย่างไร โจทก์ย่อมฟ้องจำเลย (เป็นคดีล้มละลาย) ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ความจึงปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายตามคดีอีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งคดีนั้นศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนคำสั่งในคดีนี้ ศาลสูงย่อมสั่งจำหน่ายคดี
แม้จำเลยจะไม่ใช่ลูกหนี้โจทก์ แต่เอกสารผ่อนชำระหนี้และค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องแสดงว่าโจทก์เป็นตัวเจ้าหนี้เอง เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันระบุให้โจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้เองแล้ว ก็ไม่ต้องพิสูจน์ว่าโจทก์รับโอนหนี้มาอย่างไร โจทก์ย่อมฟ้องจำเลย (เป็นคดีล้มละลาย) ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ความจึงปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายตามคดีอีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งคดีนั้นศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนคำสั่งในคดีนี้ ศาลสูงย่อมสั่งจำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อหลังเช็คถือเป็นการสลักหลังโอนสิทธิ ไม่ต้องทำสัญญาโอนกันอีก
การลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็ค ย่อมมีผลเป็นการโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นตามมาตรา 989, 920 ไม่ ต้องทำการโอนกันตามมาตรา 306 อีกและไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 939 วรรค 2 และ 3 เพราะมาตรา 921 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว
(อ้างฎีกาที่ 51/2501)
(อ้างฎีกาที่ 51/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินที่มีผู้เช่า การโอนสิทธิและหน้าที่ไม่ต้องแจ้งผู้เช่า
การโอนทรัพย์สินที่มีคนเช่าไปยังบุคคลอื่นนั้น ไม่ใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 หากเป็นกรณีที่ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 ซึ่งผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ผู้รับโอนจึงไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบการโอนเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306
(นัยฎีกา 516 ถึง 520/2498)
หากข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้นผิดพลาด เป็นเหตุให้ฟังข้อเท็จจริงผิด ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้
(นัยฎีกา 516 ถึง 520/2498)
หากข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้นผิดพลาด เป็นเหตุให้ฟังข้อเท็จจริงผิด ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการโดยผลของกฎหมาย ไม่ใช่การโอนหนี้ ไม่ต้องแจ้งการโอน
การรถไฟแห่งประเทศไทยรับโอนกิจการของกรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม มาโดยผลของกฎหมาย จึงไม่ใช่ลักษณะ โอนหนี้ และฉะนั้น กรมรถไฟจึงไม่ต้องแจ้งการโอนหนี้ให้ลูกหนี้ทราบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการโดยผลของกฎหมาย ไม่ใช่การโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การรถไฟแห่งประเทศไทยรับโอนกิจการของกรมรถไฟกระทรวงคมนาคมมาโดยผลของกฎหมายจึงไม่ใช่ลักษณะโอนหนี้และฉะนั้นกรมรถไฟจึงไม่ต้องแจ้งการโอนหนี้ให้ลูกหนี้ทราบ