คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน แม้ไม่แจ้ง ก็ไม่เสียสิทธิ ฟ้องขอหนังสือรับรองได้
ผู้ที่ครอบครองที่ดินมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน แม้จะมิได้แจ้งการครอบครองไว้ ก็หาทำให้เสียสิทธิครอบครองไปไม่ เป็นแต่เพียงจะยกขึ้นยันรัฐในการที่รัฐจะจัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือยันบุคคลผู้ได้สิทธิมาจากรัฐในการจัดที่ดินไม่ได้เท่านั้น ตราบใดที่รัฐมิได้เข้าจัดที่ดินนั้น ผู้นั้นยังมีสิทธิครอบครอง
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ และมาตรา 59 ทวิ ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน แต่มิได้แจ้งการครอบครองไว้รวมทั้งผู้ครอบครองต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าวมีสิทธิขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ เมื่อมีการเดินสำรวจรังวัดในท้องที่นั้นหรือเมื่อมีความจำเป็นอาจจะขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะรายก็ได้
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้ครอบครองตลอดมาแต่มิได้แจ้งการครอบครองไว้ ได้ขอให้จำเลยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ จำเลยโต้แย้งว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ให้งดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้ง ส.ค.1 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่ดิน เมื่อศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นของผู้ครอบครองเดิมแล้ว ไม่จำเป็นต้องแก้ไขชื่อใน ส.ค.1
ที่ดินมือเปล่าของโจทก์ จำเลยไปแจ้ง ส.ค.1 ว่าเป็นของจำเลย เมื่อศาลพิพากษาว่าที่ดินนั้นเป็นของโจทก์แล้ว ไม่จำเป็นต้องพิพากษาให้จำเลยไปดำเนินการขอถอนชื่อจำเลยจาก ส.ค.1 เพราะการแจ้ง ส.ค.1 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินเป็นของโจทก์ให้จำเลยแจ้ง ส.ค.1 แทน แต่จำเลยกลับแจ้ง ส.ค.1 ในนามของจำเลยเอง ขอให้บังคับจำเลยไปถอนชื่อออกจาก ส.ค.1 แล้วใส่ชื่อโจทก์แทน เมื่อการถอนชื่อจำเลยออกจาก ส.ค.1 ไม่จำเป็น ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการครอบครอง: การแจ้ง ส.ค.1 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิ แต่การพิพากษาว่าที่ดินเป็นของผู้ครอบครองเดิมเพียงพอแล้ว
ที่ดินมือเปล่าของโจทก์ จำเลยไปแจ้ง ส.ค.1 ว่าเป็นของจำเลย เมื่อศาลพิพากษาว่าที่ดินนั้นเป็นของโจทก์แล้ว ไม่จำเป็นต้องพิพากษาให้จำเลยไปดำเนินการขอถอนชื่อจำเลยจาก ส.ค.1 เพราะการแจ้ง ส.ค.1 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินเป็นของโจทก์ให้จำเลยแจ้ง ส.ค.1แทน แต่จำเลยกลับแจ้ง ส.ค.1 ในนามของจำเลยเอง ขอให้บังคับจำเลยไปถอนชื่อออกจาก ส.ค.1 แล้วใส่ชื่อโจทก์แทน เมื่อการถอนชื่อจำเลยออกจาก ส.ค.1 ไม่จำเป็นศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3: หน้าที่ของคู่สัญญาในการขอจดทะเบียนและผลของการผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความซื้อขายที่ดินมี น.ส.3 ต่างมีหน้าที่ต้องไปที่ว่าการอำเภอเพื่อร้องขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทตามสัญญา ซึ่งทางอำเภอจะต้องประกาศการขอจดทะเบียนสิทธิและนิตกรรมการขายดังกล่าวก่อนมีกำหนด 30 วัน หากไม่มีผู้คัดค้านจึงจะดำเนินการจดทะเบียนให้ต่อไปได้ การที่จำเลยไม่ยอมไปทำคำขอประกาศทำนิติกรรมซื้อขาย โดยเกี่ยงให้โจทก์ชำระค่าที่ดินให้ก่อน จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตป่าคุ้มครองตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาสำคัญกว่าชื่อตำบล หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกหลังมีผลบังคับใช้ของกฎหมายไม่ผูกพันแผ่นดิน
มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าไสโป๊ะ ฯ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2496 บัญญัติว่า "ให้ป่าไสโป๊ะในท้องที่ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นป่าคุ้มครอง" ดังนี้การที่จะวินิจฉัยว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองหรือไม่จะต้องพิจารณาจากแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกอบด้วย แม้ได้ความว่าที่พิพาทอยู่ในท้องที่ตำบลกระบี่ใหญ่ มิใช่ตำบลกระบี่น้อยก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าอยู่ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ก็ต้องถือว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
แม้ที่พิพาทจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อได้มาหลังจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว จึงหามีผลให้ได้สิทธิอย่างใดยันต่อแผ่นดินได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตป่าคุ้มครองตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาสำคัญกว่าชื่อตำบล หนังสือรับรองการทำประโยชน์หลังมีกฎหมายไม่มีผลยันแผ่นดิน
มาตรา 3 แห่งพระราชกฤฎีกากำหนดป่าไสโป๊ะ ๆ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2496 บัญญัติว่า "ให้ป่าไสโป๊ะในท้องที่ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นป่าคุ้มครอง" ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกอบด้วย แม้ได้ความว่าที่พิพาทอยู่ในท้องที่ตำบลกระบี่ใหญ่ มิใช่ตำบลกระบี่น้อยก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าอยู่ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ก็ต้องถือว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
แม้ที่พิพาทจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อได้มาหลังจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว จึงหามีผลให้ได้สิทธิอย่างใดยันต่อแผ่นดินได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิ การครอบครองปรปักษ์ และผลของการโอนที่ดินนอกระบบทะเบียน
ถึงจำเลยจะซื้อที่พิพาทซึ่งเป็นที่มือเปล่ามาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจาก ว. ผู้อาศัยโจทก์ จำเลยก็ไม่ได้สิทธิเพราะ ว.ไม่มีอำนาจเอาที่ดินของโจทก์ไปขายให้จำเลยกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ซึ่งเป็นเรื่องการโอนทางทะเบียนและผู้โอนมีชื่ออยู่ในทะเบียนเช่นโฉนดตราจอง
การที่จำเลยครอบครองที่พิพาท 28-29 ปี โดยไม่ได้ขออาศัยจากโจทก์ก็ไม่ทำให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์ครอบครอง เพราะ ว. อยู่ในที่พิพาทฐานะผู้อาศัยจึงเป็นผู้ครอบครองแทนโจทก์ เมื่อ ว. ขายให้จำเลย จำเลยย่อมได้สิทธิไปเพียงเท่าที่ ว.มีอยู่ คือเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแทนเจ้าของเท่านั้น เว้นแต่จำเลยจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
การแจ้งการครอบครองของจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิ การครอบครองโดยไม่สุจริต และผลของการแจ้งการครอบครอง
ถึงจำเลยจะซื้อที่พิพาทซึ่งเป็นที่มือเปล่ามาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจาก ว. ผู้อาศัยโจทก์ จำเลยก็ไม่ได้สิทธิเพราะ ว. ไม่มีอำนาจเอาที่ดินของโจทก์ไปขายให้จำเลยกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ซึ่งเป็นเรื่องการโอนทางทะเบียนและผู้โอนมีชื่ออยู่ในทะเบียนเช่นโฉนดตราจอง
การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทมา 28-29 ปี โดยไม่ได้ขออาศัยจากโจทก์ก็ไม่ทำให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง เพราะ ว. อยู่ในที่พิพาทฐานะผู้อาศัยจึงเป็นผู้ครอบครองแทนโจทก์เมื่อ ว. ขายให้จำเลย จำเลยย่อมได้สิทธิไปเพียงเท่าที่ ว. มีอยู่คือเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแทนเจ้าของเท่านั้น เว้นแต่จำเลยจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
การแจ้งการครอบครองของจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831-1838/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแจ้งการครอบครองไม่ใช่เงื่อนไขการสูญเสียสิทธิเดิม
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5 บัญญัติให้ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแจ้งการครอบครองไว้เพื่อที่รัฐจะทราบว่าผู้ใดมีสิทธิครอบครองในที่นั้น ๆ ไม่ใช่ว่าถ้าไม่แจ้งการครอบครองแล้ว ผู้ครอบครองที่ดินจะเสียไปซึ่งสิทธิการครอบครองที่มีอยู่ก่อนนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกาศเขตป่าคุ้มครองชอบด้วยกฎหมาย การครอบครองก่อนประกาศไม่กระทบสิทธิของรัฐ
ที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าปากคลองบางพระฯ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2492 ซึ่งต่อมาได้กลายสภาพมาเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 36 ก่อนที่จะออกพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว รัฐบาลได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 5, 6 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ.2481 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้น กล่าวคือได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสำรวจสอบสวนเขตป่าที่จะจัดให้เป็นป่าคุ้มครองและปิดประกาศโฆษณาระบุท้องที่ซึ่งจะทำการสำรวจไว้ ณ ท้องที่ตามที่กฎหมายกำหนด ได้มีการประชุมชี้แจงต่อราษฎร มีราษฎรยื่นคำร้องคัดค้านหลายรายรวมทั้งบิดาโจทก์ด้วย ครั้นคณะกรรมการประกาศกำหนดวันที่จะดำเนินการสำรวจสอบสวนเขตป่า มีผู้ร้องมาให้การตามนัดบ้างไม่มาบ้าง ผู้ที่ไม่มานั้นปรากฏว่าหลายรายได้ตายไปแล้วและละเลยทอดทิ้ง ไม่ติดใจในสิทธิ แต่คณะกรรมการก็ได้แจ้งให้ผู้ร้องหรือทายาททราบอีก แต่บิดาโจทก์หรือตัวโจทก์ซึ่งอ้างว่าได้รับมรดกที่พิพาทมาครอบครองอยู่ขณะนั้น ไม่ไปให้คณะกรรมการทำการสอบสวน คณะกรรมการทำการสอบสวนเห็นสมควรให้คงอาศัยทำกินในเขตป่าคุ้มครองต่อไปตามเดิมก็มีและกันที่ดินของผู้ร้องออกจากป่าคุ้มครองก็มีส่วนรายใดที่ไม่ได้ให้คณะกรรมการทำการสอบสวนนั้น คณะกรรมการได้จัดที่ดินของบุคคลเหล่านั้นเข้าเป็นป่าคุ้มครองแล้วรายงานเสนอเรื่องราวไปยังกระทรวงเกษตร จนรัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าคุ้มครองประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อ พ.ศ. 2492 แล้ว ดังนี้ โจทก์จะอ้างว่าที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าคุ้มครองดังกล่าวเป็นของบิดาโจทก์ซึ่งโจทก์ได้รับมรดกครอบครองมาเพื่อหักล้างกฎหมายหาได้ไม่ แม้โจทก์จะได้แจ้งการครอบครองที่พิพาทไว้ก็เป็นเวลาภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว จึงไม่ก่อให้สิทธิอย่างใดแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่กระทรวงเกษตรหรือบุคคลซึ่งได้รับอนุมัติจากกระทรวงเกษตรให้เข้าทำประโยชน์ในที่พิพาท
of 16