คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1696

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนพินัยกรรมต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด การยื่นคำร้องถอนพินัยกรรมไม่ถือเป็นการเพิกถอน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1693 ที่บัญญัติไว้ว่า ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้ มีความหมายว่าถ้าผู้ทำพินัยกรรมไม่พอใจในพินัยกรรมที่ตนทำไว้ ย่อมแสดงเจตนาเพิกถอนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดๆ ก็ได้ก่อนผู้ทำพินัยกรรมตาย แต่วิธีการเพิกถอนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับ ซึ่งมีบัญญัติไว้ตั้งแต่มาตรา 1694 ถึง 1697 กฎหมายไม่ได้แยกมาตรา 1693 เป็นเอกเทศมีวิธีการเพิกถอนอยู่ในตัว
การที่ผู้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยื่นคำร้องต่อนายอำเภอขอถอนพินัยกรรมโดยมิได้ร้องขอทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรม และนายอำเภอก็สั่งแต่เพียงให้รวมคำร้องเก็บไว้ในเรื่อง ไม่ถือว่าได้มีการทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมแต่ประการใด พินัยกรรมจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่
(อ้างฎีกาที่ 838/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนพินัยกรรมและการตกได้ตามพินัยกรรมเมื่อทรัพย์สินโอนกลับมา
สามีโดยมิชอบด้วยกฎหมายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้ภริยาต่อมาสามีภริยานั้นได้ทำหนังสือแบ่งทรัพย์กันโดยสามีได้ทรัพย์ไปบางส่วน หนังสือแบ่งทรัพย์นั้นย่อมไม่เพิกถอนพินัยกรรม เพราะพินัยกรรมจะเพิกถอนไปได้ ก็ต้องกระทำด้วยพินัยกรรมฉบับหลังหรือทำลาย หรือขีดฆ่าพินัยกรรมนั้นด้วยความตั้งใจ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1694,1695 ถ้าทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมอย่างใดได้โอนไปโดยสมบูรณ์ด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนดพินัยกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะอย่าง มาตรา1696 แต่พินัยกรรมยังใช้ได้อยู่เมื่อทรัพย์ที่แบ่งกลับมาเป็นของสามีตามสัญญาแบ่งทรัพย์ก็ย่อมตกได้แก่ภริยาตามพินัยกรรมที่ยังมีผลสมบูรณ์อยู่นั้นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สิ้นผลแม้มีการแบ่งทรัพย์ การโอนทรัพย์กลับมายังทำให้พินัยกรรมมีผลบังคับใช้
สามีโดยมิชอบด้วยกฎหมายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้ภริยา ต่อมาสามีภริยานั้นได้ทำหนังสือแบ่งทรัพย์กันโดยสามีได้ทรัพย์ไปบางส่วนหนังสือแบ่งทรัพย์นั้นย่อมไม่เพิกถอนพินัยกรรม เพราะพินัยกรรมจะเพิกถอนไปได้ ก็ต้องกระทำด้วยพินัยกรรมฉบับหลัง หรือทำลาย หรือขีดฆ่าพินัยกรรมนั้นด้วยความตั้งใจ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1694,1695 ถ้าทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมอย่างใดได้โอนไปโดยสมบูรณ์ด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนดพินัยกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะอย่างตามมาตรา 1696 แต่พินัยกรรมยังใช้ได้อยู่ เมื่อทรัพย์ที่แบ่งกลับมาเป็นของสามีตามสัญญาแบ่งทรัพย์ ก็ย่อมตกได้แก่ภริยาตามพินัยกรรมที่ยังมีผลสมบูรณ์อยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สิน (ห้องแถว) โดยไม่รวมที่ดิน การเพิกถอนพินัยกรรม และสิทธิในการจัดการมรดก
เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้นั้นเมื่อข้อความในสัญญาบางแห่งใช้คำว่า'ห้องแถว'บางแห่งใช้คำว่า'ที่ห้องแถว' และเมื่อพิเคราะห์ข้อความในสัญญาโดยตลอดแล้วเห็นว่า'ที่ห้องแถว' คงหมายความว่า'ห้องแถว' ไม่ได้หมายความถึงที่ดินด้วยประกอบกับการทำนิติกรรมยกให้ต่อกรมการอำเภอก็แสดงว่ายกให้แต่เฉพาะห้องแถว ถ้ายกให้ทั้งที่ดินซึ่งมีโฉนดแล้วด้วยก็ต้องไปทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินหรือผู้ทำการแทน มิฉะนั้นการยกให้ไม่สมบูรณ์
เมื่อทรัพย์ส่วนใดในพินัยกรรมผู้ทำพินัยกรรมกลับใจยกให้แก่ผู้อื่นไปทรัพย์ส่วนนั้นก็ถูกเพิกถอนไปเท่านั้นเองพินัยกรรมไม่เสียไปทั้งฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินให้ภริยา, พินัยกรรมยกทรัพย์, และการตัดทายาทอื่นตามกฎหมายมรดก
สามีโอนที่ดินสินเดิมของตนให้ภริยาในระหว่างอยู่กินด้วยกันโดยมิได้ระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์นั้นย่อมตกเป็นสินสมรส
สามีทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ภรรยาแล้วโอนทรัพย์นั้นให้ภรรยา แต่ทรัพย์นั้นตกเป็นสินสมรส ดังนี้ไม่ถือว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นถูกเพิกถอนตาม ม.1696
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ภรรยาและบุตร์ 2 คนและระบุว่า คนอื่นนอกจากนี้ไม่ให้ได้รับทรัพย์เป็นอันขาดนั้น ถือว่าเป็นการตัดทายาทอื่น ม.1608 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในพินัยกรรมและสินสมรส: อายุความสะดุดหยุด-ทรัพย์สินเป็นของใคร
ในคดีที่มีผู้จัดการมรดก. ทายาทไม่จำต้องฟ้องร้องภายในอายุความมรดก 1 ปี เพราะอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามมาตรา173. ผู้วายชนม์ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์. ต่อมาผู้วายชนม์ได้ขายให้จำเลยที่ 1. และจำเลยก็ได้ต่อสู้ว่าเอาสินส่วนตัวไปซื้อที่รายพิพาทนี้. ศาลฎีกาฟังว่าคดียังไม่มีเหตุผลที่จะให้เห็นว่าได้มีการแยกทรัพย์กัน. ทรัพย์นั้นจึงเป็นสินสมรส และโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรม. ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 25-26/2485.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก, ทรัพย์สมรส, พินัยกรรม: การแบ่งทรัพย์สินหลังการเสียชีวิตโดยอ้างอิงพินัยกรรมและสถานะสมรส
ไนคดีที่มีผู้จัดการมรดก ทายาทไม่จำต้องฟ้องร้องพายไนอายุความมรดก 1 ปี เพราะอายุความย่อมสดุดหยุดลงตาม ม.173 ผู้วายชนม์ทำพินัยกัมยกทรัพย์ไห้โจท ต่อมาผู้วายชนม์ได้ขายไห้จำเลยที่ 1 และจำเลยก็ได้ต่อสู้ว่าเอาสินส่วนตัวไปซื้อที่รายพิพาทนี้ สาลดีกาฟังว่าคดียังไม่มีเหตุผลที่จะไห้เห็นว่าได้มีการแยกทรัพย์กัน ทรัพย์นั้นจึงเปนสมรส และโจทมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์ตามพินัยกัม
of 3