คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 510

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน: การรวมทรัพย์สินเพื่อเพิ่มราคา และการพิจารณาความชอบธรรมของราคาประเมิน
ป.พ.พ. มาตรา 510 บัญญัติว่า "ผู้ซื้อในการขายทอดตลาดจะต้องทำตามคำโฆษณาบอกขาย และตามความข้ออื่น ๆ ซึ่งผู้ทอดตลาดได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาทรัพย์สินเฉพาะรายไป" คดีนี้แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดโดยระบุว่า ขายที่ดินแปลงที่ 1, 4 และ 5 รวมกัน แปลงที่ 2 และ 3 รวมกัน แต่ในวันขายทอดตลาดจำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินทั้งห้าแปลงรวมกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 วรรคสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถามโจทก์แล้วไม่คัดค้าน และได้ความตามทางนำสืบของโจทก์ว่า ก่อนเผดิมการสู้ราคาทรัพย์สินเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แถลงให้ผู้เข้าร่วมประมูลและผู้สนใจเข้าฟังการขายทอดตลาดทราบแล้วว่าจะรวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกัน โดยจำเลยที่ 2 มาดูแลการขายทอดตลาดด้วย แต่จำเลยที่ 2 มิได้คัดค้านการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกันแต่อย่างใด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกันนั้น จึงเป็นการปฏิบัติไปตรงตามความประสงค์ของจำเลยที่ 1 แล้ว ทั้งคำโฆษณาบอกขายว่าเป็นการรวมขายหรือแยกทรัพย์สินเป็นเพียงวิธีการในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดี อันเป็นรายละเอียดของการขายทอดตลาด ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดหรือข้อกำหนดของศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำคำโฆษณาบอกขายระบุถึงรายละเอียดวิธีการขาย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าการรวมขายไปด้วยกันเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ในการขายจะเพิ่มขึ้น เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจจัดรวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 (1) (ข) ถือได้ว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้รวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกันนั้น เป็นส่วนหนึ่งของคำโฆษณาบอกขายหรือข้อความอื่นซึ่งผู้ทอดตลาดได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาทรัพย์สินเฉพาะรายตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 510 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในการขายทอดตลาดต้องทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย การขายทอดตลาดที่ดินทั้งห้าแปลงของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบแล้ว ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8694/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาชำระหนี้จากการขายทอดตลาด ไม่ขัดต่อกฎหมาย และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โดยกำหนดเงื่อนไขการเข้าสู้ราคาและข้อสัญญาว่า ผู้ซื้อทรัพย์ได้ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันซื้อเป็นต้นไปนั้น ระยะเวลา 15 วัน ที่กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์นำเงินส่วนที่เหลือมาชำระตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อการชำระหนี้ มิใช่อายุความตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งคู่กรณีจะตกลงกันให้งดใช้หรือขยายออกหรือย่นเข้าไม่ได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/11 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ซื้อทรัพย์ตกลงกันขยายระยะเวลาวางเงินส่วนที่เหลือออกไปอีกจึงหาเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 510 และ 515 ไม่ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งและการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี กรณีเช่นว่านี้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยไม่จำต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ซื้อมีหน้าที่ตรวจสอบสภาพที่ดินก่อนประมูล เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องรับผิดชอบ
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาดที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจ เลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาวของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศ กับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึงทั้งได้ระบุการไป ให้ดูตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่ กับระบุว่า การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง ดังนี้ ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควรแก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดสิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจนหลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการประมูล
ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด กับผู้ร้องได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดินเห็นที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดินแปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้องทราบว่ามีการประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาดให้ดีก่อนทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเอง เพราะตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 ตามคำร้องและคำแถลงคัดค้านของผู้ร้อง แล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐานที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่งศาลชั้นต้นในกรณีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายทอดตลาดที่ดิน: ความรับผิดชอบของผู้ซื้อในการตรวจสอบสภาพที่ดิน และความชอบด้วยกฎหมายของการบังคับคดี
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาด ที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจ เลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ซึ่งมีชื่อจำเลย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาว ของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศ กับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึงทั้งได้ระบุการไป ให้ดูตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่ กับระบุว่า การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้อง ไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง ดังนี้ ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควร แก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียด สิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจน หลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการประมูล ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด กับผู้ร้อง ได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดินเห็นที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดิน แปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้อง ทราบว่ามีการประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาด ให้ดีก่อนทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเอง เพราะตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อ ไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้ เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ตามคำร้อง และคำแถลงคัดค้านของผู้ร้อง แล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐาน ที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวน คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์ พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ขอให้วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่งศาลชั้นต้นในกรณีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายทอดตลาด: ผู้ซื้อต้องตรวจสอบสภาพที่ดินเอง ศาลไม่รับเพิกถอนกรณีสำคัญผิด
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาดที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจเลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ ซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาวของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศกับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึง ทั้งได้ระบุการไปที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิ ค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เห็นได้ว่า ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควรแก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดสิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจนหลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการ ประมูล ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศ เจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดิน ดังกล่าว กับผู้ร้องได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดิน เห็นที่ดิน แปลงหนึ่งห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดินแปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศ ขายทอดตลาดเมื่อผู้ร้องทราบว่า มีการประกาศขายทอดตลาด ที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบ ที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการ ตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาดให้ดีก่อน ทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเองเพราะ ตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบเป็นหน้าที่ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเองเช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ตามคำร้องและคำแถลงคัดค้านของผู้ร้องแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวน คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดี พอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่ง ศาลชั้นต้น ในกรณีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายทอดตลาดที่ดิน: หน้าที่ตรวจสอบภาระจำนองและผลกระทบต่อผู้ประมูล
สำเนาเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ซึ่งโจทก์ใช้เป็นหลักฐานในการนำยึดที่ดินพิพาทและนำออกขายทอดตลาดไม่ปรากฏว่ามีรายการจำนอง เพราะจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจำนองธนาคารหลังการคัดสำเนา แต่เป็นเวลาก่อนนำยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทแบบไม่มีภาระผูกพัน ผู้ร้องประมูลซื้อได้ในราคาสูงกว่าราคาประเมินของทางราชการ 3 - 7 เท่า โดยผู้ร้องไม่ทราบเรื่องที่ดินพิพาทติดจำนองมาก่อน และเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินตามสำเนา น.ส.3 ก.โดยไม่ติดจำนอง และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์แล้วแม้การขายทอดตลาดนั้น ป.วิ.พ.มาตรา 308 ให้ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 510กล่าวคือ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์ต้องทำตามคำโฆษณาบอกขายและตามความข้ออื่น ๆซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโดยไม่ติดจำนอง คำประกาศดังกล่าวย่อมผูกพันเฉพาะเจ้าพนักงานบังคับคดี และไม่ใช่หน้าที่ของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องไปตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทติดจำนองหรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามสำเนา น.ส.3 ก.ซึ่งไม่มีรายการจดทะเบียนจำนอง เป็นการสั่งโดยผิดหลง และเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการบังคับคดี เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจที่สั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์นี้ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดโดยไม่เปิดเผยภาระจำนอง ผู้ซื้อไม่ต้องตรวจสอบเอง ศาลเพิกถอนการขายได้
สำเนาเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ซึ่งโจทก์ใช้เป็นหลักฐานในการนำยึดที่ดินพิพาทและนำออกขายทอดตลาดไม่ปรากฏว่ามีรายการจำนอง เพราะจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจำนองธนาคารหลังการคัดสำเนา แต่เป็นเวลาก่อนนำยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทแบบไม่มีภาระผูกพัน ผู้ร้องประมูลซื้อได้ในราคาสูงกว่าราคาประเมินของทางราชการ 3-7 เท่า โดยผู้ร้องไม่ทราบเรื่องที่ดินพิพาทติดจำนองมาก่อน และเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินตามสำเนา น.ส.3 ก. โดยไม่ติดจำนองและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์แล้วแม้การขายทอดตลาดนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 308 ให้ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 510กล่าวคือ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์ต้องทำตามคำโฆษณาบอกขายและตามความข้ออื่น ๆ ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโดยไม่ติดจำนอง คำประกาศดังกล่าวย่อมผูกพันเฉพาะเจ้าพนักงานบังคับคดี และไม่ใช่หน้าที่ของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องไปตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทติดจำนองหรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามสำเนา น.ส.3 ก. ซึ่งไม่มีรายการจดทะเบียนจำนอง เป็นการสั่งโดยผิดหลง และเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการบังคับคดีเมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจที่สั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์นี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดติดจำนอง: ความสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมไม่ทำให้โมฆะ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 วรรคสอง ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมอันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ จะต้องเป็นความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม การที่ผู้ร้องอ้างว่าไม่เข้าใจถึงสาระสำคัญของการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยติดจำนองจึงมิใช่ความสำคัญผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว เพราะการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยติดจำนองหรือไม่ เป็นรายละเอียดในการขายทอดตลาดซึ่งผู้ร้องทราบอยู่แล้ว ตามประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี นิติกรรมการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของผู้ร้อง จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมายตามเงื่อนไขที่ประกาศ ผู้สู้ราคารายใหม่หลังหมดเวลาไม่มีผล
ในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านนับ 1 ถึง 2แล้วหยุดราคาไว้เพื่อนำเสนอผู้อำนวยการขายทอดตลาดพิจารณาว่าจะอนุมัติให้ขายหรือไม่ เป็นการทำตามคำโฆษณาบอกขายที่ผู้คัดค้านได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคา ซึ่งมีผลผูกพันผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 510 การกระทำของผู้คัดค้านจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้สู้ราคาสู้ราคาเกินกำหนด ผู้ขายมีสิทธิ์เคาะไม้ขายได้
ผู้คัดค้านได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินของลูกหนี้โดยกำหนดเงื่อนไขในการขายไว้ว่าผู้คัดค้านจะขานราคาครั้งแรกเป็นเงิน 11,400,000 บาท และผู้สู้ราคาจะต้องเสนอสู้ราคาเพิ่มขึ้นเป็นเงินครั้งละ 100,000 บาท เมื่อผู้สู้ราคาเสนอสู้ราคาแล้วผู้คัดค้านจะขานราคาและนับ 1 สามสี่ครั้ง หากมีผู้สู้ ราคาสูงขึ้นก็จะขานราคาและนับ 1 สามสี่ครั้งใหม่ การขานราคาแต่ละครั้งผู้คัดค้านจะบันทึกราคาไว้เป็นหลักฐานแล้วอ่านให้ผู้สู้ราคาซื้อทรัพย์ฟังด้วย หากไม่มีผู้ใดสู้ราคาอีกก็จะนับ 2 สามสี่ครั้ง เพื่อรอให้มีการสู้ราคาสูงขึ้น ถ้าหากไม่มีผู้ใดสู้ราคาแล้ว ผู้คัดค้านจะหยุดราคาไว้แล้วนำเสนอผู้อำนวยการขายทอดตลาดพิจารณาและมีคำสั่งว่าจะอนุมัติให้ขายหรือไม่ เมื่อมีคำสั่งประการใดผู้คัดค้านก็จะปฎิบัติตามคำสั่งนั้น ในกรณีมีคำสั่งอนุมัติให้ขายผู้คัดค้านจะนับ 3 และเคาะไม้โดยไม่เปิดโอกาสให้มีการสู้ราคาต่อไปอีก เป็นคำโฆษณาบอกขายที่ผู้คัดค้านได้แถลงไว้ก่อน เผดิมการสู้ราคา ซึ่งมีผลผูกพันผู้ซื้อตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 510 เมื่อผู้คัดค้านเปิดประมูลการขายทอดตลอด ผู้เข้าสู้ราคาซื้อทรัพย์ได้เสนอราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งผู้ทรัพย์เสนอราคาที่ 12,100,000 บาท ผู้คัดค้านได้ขานราคาและนับไปถึง 2 แล้ว ปรากฎว่าไม่มีผู้ใดสู้ราคาให้สูงขึ้นไปอีกผู้คัดค้านจึงหยุดราคาไว้แล้วเสนอเรื่องให้ผู้อำนวยการขายทอดตลาดพิจารณา ระหว่างนี้ผู้ร้องได้เสนอราคาสูงขึ้นไปอีกเป็นเงิน 12,200,000 บาท แต่ผู้คัดค้านไม่ยินยอมให้มีการสู้ราคาต่อไปและได้นับ 3 แล้วเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ตามที่ได้รับอนุมัติให้ขายจากผู้อำนวยการขายทอดตลาด เช่นนี้การกระทำของผู้คัดค้านจึงชอบกฎหมาย การที่ผู้ร้องได้เสนอสู้ราคาสูงขึ้นไปอีกในระหว่างนั้น เป็นการสู้ราคาเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ผู้คัดค้านได้โฆษณาเปิดโอกาสให้มีการสู้ราคาได้ การสู้ราคาดังกล่าวจึงไม่มีผลตามกฎหมายและไม่เป็นเหตุให้ต้องเปิดการประมูลสู้ราคากันต่อไปอีก เพราะมิฉะนั้นแล้วการขายทอดตลาดก็อาจจะยืดเยื้อออกไปไม่มีที่สิ้นสุด การขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายหรือในคดีอื่น ๆผลปฎิบัติย่อมจะต้องเป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือจะต้องขายให้เป็นผลดีทั้งแก่เจ้าหนี้และลูกหนี้รวมตลอดถึงบุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อมีการขายทอดตลาดไม่มีข้อโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคาในท้องตลาด จึงไม่มีข้อที่จะยกขึ้นมาอ้างว่าการขายทอดตลาดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่จะยกมาเป็นเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ การขายทอดตลาดของผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว
of 2