คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทรงนิติกรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,336 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือที่ดิน: จำเป็นต้องแจ้งเจ้าของเดิม หากไม่แจ้งสิทธิปรปักษ์ไม่สมบูรณ์
ผู้ครอบครองที่ดินโดยอาศัยอำนาจของเจ้าของที่ดิน จะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ จะต้องบอกกล่าวไปยังเจ้าของที่ดินทราบ มิฉะนั้นจะอ้างว่าครอบครองโดยปรปักษ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนลักษณะการยึดถือที่ดินต้องแจ้งเจ้าของ หากไม่แจ้งสิทธิครอบครองปรปักษ์เป็นโมฆะ
ผู้ครอบครองที่ดินโดยอาศัยอำนาจของเจ้าของที่ดินเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้จะต้องบอกกล่าวไปยังเจ้าของที่ดินทราบมิฉะนั้นจะอ้างว่าครอบครองโดยปรปักษ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตำรวจสมคบร่วมกระทำผิดเอง ไม่ผิดฐานใช้อำนาจในทางทุจริตตาม ม.142
แม้จำเลยเป็นตำรวจมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายก็ตาม ก็ลงโทษจำเลยฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริตตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 142 ไม่ได้ ในเมื่อจำเลยสมคบกับพวกพยายามลักทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์เสียเอง จึงมิได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ช่วยเหลือจำเลยอื่นกระทำผิดหรือช่วยเหลือให้พ้นอาญา
บทบัญญัติตามก.ม.ลักษณะอาญา ม.142 เป็นกรณีเจ้าพนักงานช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับอาญา มิใช่เอาผิดแก่เจ้าพนักงานผู้กระทำผิดเสียเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานกระทำผิดเอง ไม่สามารถลงโทษฐานช่วยเหลือผู้อื่นกระทำผิดได้
แม้จำเลยเป็นตำรวจมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายก็ตามก็ลงโทษจำเลยฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริตตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 142 ไม่ได้ ในเมื่อจำเลยสมคบกับพวกพยายามลักทรัพย์ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์เสียเอง จึงมิได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ช่วยเหลือจำเลยอื่นกระทำผิดหรือช่วยเหลือให้พ้นอาญา
บทบัญญัติตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา142 เป็นกรณีเจ้าพนักงานช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับอาญามิใช่เอาผิดแก่เจ้าพนักงานผู้กระทำผิดเสียเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการกักกันและการเพิ่มโทษของผู้กระทำผิดซ้ำ
ระหว่างฎีกามีพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ2499 ออกใช้โทษที่จำเลยเคยรับมาก่อนเป็นอันไม่มีจึงกักกันจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษกักกันหลังคำพิพากษาถึงที่สุด โดยอาศัยกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
การที่จะรื้อฟื้นเอาคำพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดแล้วมาเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง และมาตรา 3
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 12 ถึง 16 ได้บัญญัติเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้และได้มี มาตรา41 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการที่จะกักกันไว้ด้วยซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติกักกันฯ พ.ศ.2479 มาตรา8,9. ต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่บัญญัติภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษกักกันหลังคดีอาญาถึงที่สุด โดยอาศัยบทบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
การที่จะรื้อฟื้นเอาคำพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว มาเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรค 2 และมาตรา 3
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 12 ถึง 16 ได้บัญญัติเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้และได้มี ม.41 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการที่จะกักกันไว้ด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.กักกันฯ พ.ศ.2479 ม.8,9 ต้องนำบทบัญญัติม.41 แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่บัญญัติภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดไม่เกิน 10 ปี ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ยันเจ้าของร่วมอื่นได้ ศาลแบ่งที่ดินให้ตามการครอบครองเดิมได้
เจ้าของที่ดินร่วมในโฉนดคนหนึ่งครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแต่ไม่เกิน 10 ปี จะอ้างกรรมสิทธิ์ในส่วนนั้นยันเจ้าของร่วมอีกผู้หนึ่งไม่ได้.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501)
เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อความยุติธรรม ศาลจะแบ่งที่ดินเป็นส่วน ๆ ให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ร่วมแต่ละคนก็ได้โดยไม่สั่งให้เอาที่ดินออกขายแบ่งราคากัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมครอบครองที่ดินส่วนสัดไม่เกิน 10 ปี อ้างกรรมสิทธิ์ยันเจ้าของร่วมไม่ได้ ศาลแบ่งที่ดินให้ตามการครอบครอง
เจ้าของที่ดินร่วมในโฉนดคนหนึ่งครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแต่ไม่เกิน 10 ปี จะอ้างกรรมสิทธิ์ในส่วนนั้นยันเจ้าของร่วมอีกผู้หนึ่งไม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2501)
เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อความยุติธรรม ศาลจะแบ่งที่ดินเป็นส่วนๆ ให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมแต่ละคนก็ได้โดยไม่สั่งให้เอาที่ดินออกขายแบ่งราคากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดินของผู้อื่น แม้ผิดเทศบัญญัติ แต่หากไม่ละเมิดสิทธิ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยปลูกตึกแถวชิดตึกแถวของโจทก์โดยได้รับอนุญาตจากเทศบาล แม้จะเป็นการผิดเทศบัญญัติ แต่ถ้ามิได้ละเมิดสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้รื้อถอน
of 134