คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธรรมบัณฑิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,185 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ร้องสอดเป็นจำเลยย่อมผูกพันตามคำพิพากษา แม้ไม่ได้ยึดครองที่ดิน ศาลบังคับให้งดเว้นการขัดขวางการส่งมอบที่ดินคืน
ผู้ที่ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยในคดียกข้อต่อสู้พิพาทต่อโจทก์นั้นย่อมถือได้ว่าได้เข้ามามีฐานะเป็นจำเลยตามที่ตนขอ ต่อมาเมื่อคดีถึงที่สุดในชั้นบังคับคดี จะมาอ้างข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ไม่ได้ เพราะเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ เพื่อลบล้างข้อเท็จจริงในคดีที่ถึงที่สุดแล้ว
ในกรณีดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมขอให้ศาลออกคำบังคับเอาแก่ผู้ร้องสอดที่เข้ามาเป็นจำเลยนั้นในประเด็นที่ได้ยกขึ้นพิพาทกับโจทก์ได้ (แม้โจทก์จะมิได้ขอเพิ่มเติมให้บังคับเอาแก่ผู้ร้องสอดหลังจากที่ได้มีการร้องสอดเข้ามาแล้วก็ตาม)
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลย ผู้ร้องสอดร้องเข้ามาว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่นั้น โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง คดีถึงที่สุดว่าจำเลยต้องคืนที่ให้แก่โจทก์ ศาลย่อมออกคำบังคับผู้ร้องสอดไม่ให้มาเกี่ยวข้องขัดขวางการได้คืนที่ดินของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951-953/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคล และการเพิ่มเติมฟ้องต้องมีเหตุผลสมควร
บุคคลที่จะจัดการแทนผู้เสียหายซึ่งเป็นนิติบุคคล คือผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลผู้แทนดังกล่าวจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้ฟ้องคดีอาญาแทนนิติบุคคลนั้นไม่ได้
การขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญานั้น โจทก์จะต้องอ้างถึงเหตุอันควรในการขอแก้หรือเพิ่มเติมด้วย
(หมายเหตุ มาตรา 5(3) เทียบ ฎีกาที่ 229/2490,618/2490,2028/2499
มาตรา 163 เทียบฎีกาที่ 533/2496)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีทหารกองเกินต้องแสดงหลักฐานการแจ้งให้ทราบเพื่อรับหมายเรียก มิฉะนั้นฟ้องไม่สมบูรณ์
ฟ้องว่า จำเลยไม่มาแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอนั้นถ้าฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า นายอำเภอได้จัดการประกาศและปิดประกาศไว้ตามข้อกำหนดของกฎหมายแล้ว ถือว่าฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ แม้จำเลยจะรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและการกระทำโดยพยาบาทมาดหมายเมื่อเกิดเหตุการณ์ก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์อ้างว่าจำเลยฆ่าคนโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ข้อนี้เป็นบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา แต่ปรากฎว่าเหตุเรื่องนี้เกิดเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2499 ซึ่งเป็นเวลาก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา เช่นนี้ จะนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 มาลงโทษจำเลยไม่ได้แม้จะเป็นระวางโทษเท่ากันก็ตาม
จำเลยเห็นผู้ตายซึ่งเป็นคนมีสาเหตุกัน (เรื่องจำเลยหาว่าผู้ตายลักไก่ของจำเลย) ผ่านมาหยุดคุยกับคนอื่นใกล้ ๆ เรือนจำเลย จำเลยจึงถือไม้แนบแอบตัวย่องมาตีผู้ตายโดยไม่ให้รู้ตัวเช่นนี้ ไม่เป็นการกระทำโดยความพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมายตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 250 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษจำคุกตลอดชีวิตไม่นับโทษต่อจากคดีก่อน และการเปลี่ยนแปลงโทษจากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต
เมื่อจำเลยต้องโทษในคดีหลังถึงจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ก็ไม่ต้องนับโทษต่อจากคดีก่อนให้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับรองบุตร การรับสารภาพและการพิสูจน์ความจริง
การที่หญิงจำเลยรับว่าบุตรของตนเกิดจากชายซึ่งเป็นโจทก์โดยโจทก์จำเลยได้เสียกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นเหตุพอที่จะชี้ขาดให้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของโจทก์ทีเดียว ในเมื่อฝ่ายจำเลยยังคัดค้านอยู่ จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลอย่างใดที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 1527
( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2501 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนการช่วยเหลือค่าก่อสร้างและสิทธิเช่า: สัญญาบังคับได้แม้ไม่ทำเป็นหนังสือ
โจทก์ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกให้จำเลย และจำเลยตกลงจะให้โจทก์เช่าตึกที่ก่อสร้างขึ้นใหม่สัญญาเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ โจทก์ก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้เมื่อจำเลยผิดสัญญา เพราะเป็นสัญญาต่าตอบแทนชนิดหนึ่ง มิใช่สัญญาเช่าธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728-730/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าเพื่ออยู่อาศัย vs. เช่าเพื่อประกอบธุรกิจ: พิจารณาจากเหตุผลการเช่าและพยานหลักฐาน
ในการที่จะวินิจฉัยว่าการเช่ารายใดเป็นการเช่าเพื่ออยู่อาศัยอันได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ หรือเป็นการเช่าเพื่อประกอบธุรกิจการค้าอันมีผลตรงข้ามนั้น จะถือหลักเกณฑ์ตายตัวแบบองค์ความผิดในทางอาญา เป็นต้นว่าที่เช่าอยู่ในทำเลการค้า จดทะเบียนการค้า ยอมให้ขึ้นค่าเช่าได้เรื่อยมา ถือว่าเป็นการเช่าเพื่อประกอบธุรกิจการค้าเช่นนั้นไม่ได้ เหตุผลเหล่านี้เป็นเพียงเครื่องประกอบข้อวินิจฉัยทั่ว ๆ ไปเท่านั้น และในเรื่องจดทะเบียนการค้า เมื่อผู้เช่าไปจดทะเบียนประเภทตรงตามที่จำเลยกระทำอยู่ เพื่อความสดวกในการเรียกเก็บภาษีของเจ้าพนักงานส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่เป็นการเด็ดขาดตายตัวว่าเป็นการเช่าเพื่อประกอบธุกิจการค้าขึ้นมาได้
หลักสำคัญอยู่ที่เหตุผลแห่งการเช่าและการค้าของผู้เช่าแต่ละรายในห้องเช่านั้น ๆ ว่ามีอยู่มากหรือน้อยเพียงใด ตลอดจนรายได้จากการค้าดังกล่าว อันปรากฎจากพยานหลักฐานในสำนวนประกอบกับสภาพความจริงตามที่ศาลได้ไปตรวจดูสถานที่มานั้น ซึ่งควรที่จะได้บันทึกโดยละเอียดและชัดแจ้ง ย่อมชี้ถึงความจริงได้ว่าเป็นการเช่าเพื่อประกอบธุรกิจการค้าโดยตรง หรือเป็นการเช่าเพื่ออยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ หากแต่มีการค้าปะปนบ้างเล็กๆ น้อย ๆ เพียงเพื่อการดำรงชีวิตของตนเองหรือครอบครัวเท่านั้น ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงโดยเฉพาะของแต่ละเรื่อง ไม่ใช่หลักเกณฑ์ตายตัวที่จะนำไปใช้กันได้ในทุกเรื่อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681-686/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าหลังสัญญายอม: โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยได้ แม้สัญญาเช่ากับเทศบาลยังไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เดิมโจทก์เช่าที่ดินจากเทศบาลปลูกตึกพิพาท และจำเลยเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ ต่อมาเทศบาลได้ฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อตึกพิพาท ในคดีนั้นศาลพิพากษาตามยอม คือโจทก์ยอมยกตึกพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเทศบาลและทางเทศบาลยอมให้โจทก์เช่าตึกพิพาทต่อไปอีก 1 ปี โดยมีเงื่อนไขว่าให้โจทก์ไปทำสัญญาเช่าหนังสือต่อเทศบาลภายในวันที่ 1 เม.ย.98 แต่แล้วโจทก์ก็มิได้ไปทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเลยเช่นนี้ คำพิพากษาตามยอมนั้นแสดงว่าเทศบาลยอมให้โจทก์เช่าตึกพิพาทนี้แล้วด้วย ส่วนเงื่อนไขที่ว่าต้องไปทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือนั้น เป็นแต่เพียงพิธีการ ภายหลังจากที่โจทก์ยกตึกพิพาทให้เทศบาลนั้นแล้วเทศบาลไม่ได้เปลี่ยนแปลงฐานะที่จะให้เช่าโจทก์จึงมีสิทธ์ให้จำเลยเช่าตึกพิพาทและมีสิทธิฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีเช็ค: ผู้สั่งจ่ายไม่สามารถปฏิเสธการจ่ายเงินให้ผู้ทรงเช็ค เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าการโอนเช็คเป็นการฉ้อฉล
เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คจำเลยจะอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้บุคคลที่สามโดยถูกบุคคลที่สามหลอกลวง มาเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์หาได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล ซึ่งตกเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำสืบ หาใช่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงจะต้องสืบว่าได้รับโอนเช็คมาอย่างไรไม่
ในเรื่องเช็ค จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต แต่ไม่ได้กล่าวว่าไม่สุจริตอย่างไร ย่อมไม่มีประเด็นที่จะสืบ
ป.พ.พ.มาตรา 916 ที่ห้ามไม่ให้ยกขึ้นต่อสู้กับผู้ทรงนั้น ได้รวมตลอดถึงห้ามผู้สั่งจ่ายด้วย และมาตรานี้ ซึ่งบัญญัติถึงเรื่องตั๋วแลกเงินก็อนุโลมมาใช้ในเรื่องเช็คได้ เพราะไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสาร
of 219