คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 204

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการลงโทษนอกคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149,157 และตามคำฟ้องโจทก์บรรยายยืนยันว่าจำเลยเรียกและรับเงินจำนวน 20,000 บาท จาก อ.สำหรับตนเองโดยมิชอบ เพื่อจะได้เปิดกุญแจห้องขังและปล่อยตัว อ. ให้หลบหนีไปจากห้องควบคุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวน กรมตำรวจ ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำการโดยประมาทหลับนอนขณะมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขัง เป็นเหตุให้ อ.หลบหนีการควบคุมไปอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 205 ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ศาลพิพากษาลงโทษไว้ ข้อแตกต่างตามคำฟ้องกับที่พิจารณาได้ความมิใช่ข้อแตกต่างระหว่างความผิดโดยเจตนาหรือประมาท แต่เป็นข้อแตกต่างที่ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205 ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้เพราะเกินคำขอ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ อ. หลุดพ้นจากการคุมขังโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้นั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 204,205 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดนอกคำขอฟ้อง: ข้อจำกัดในการลงโทษนอกประเด็นที่โจทก์บรรยาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 149,157 และตามคำฟ้องโจทก์บรรยายยืนยันว่า จำเลยเรียกและรับเงินจำนวน 20,000 บาทจาก อ.สำหรับตนเองโดยมิชอบ เพื่อจะได้เปิดกุญแจห้องขังและปล่อยตัว อ.ให้หลบหนีไปจากห้องควบคุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวน กรมตำรวจ ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำการโดยประมาทหลับนอนขณะมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขัง เป็นเหตุให้ อ.หลบหนีการควบคุมไปอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 205 ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ศาลพิพากษาลงโทษไว้ ข้อแตกต่างตามคำฟ้องกับที่พิจารณาได้ความมิใช่ข้อแตกต่างระหว่างความผิดโดยเจตนาหรือประมาท แต่เป็นข้อแตกต่างที่ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 205 ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ เพราะเกินคำขอ
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ อ.หลุดพ้นจากการคุมขังโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้นั้น เมื่อปรากฎว่าคดีนี้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา204, 205 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยตัวผู้ต้องขังโดยเจ้าพนักงานตำรวจสิบเวร แม้ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมาย ยังคงเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
แม้การที่พนักงานสอบสวนจะรับตัวผู้ต้องหาควบคุมไว้โดยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ก็ตาม แต่การควบคุมนั้นก็ยังคงเป็นการควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวนอยู่ ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ต้องขังตามอำนาจของพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ต้องขังไป จึงเป็นการกระทำให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขัง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกเงินจากผู้ต้องหาเพื่อไม่จับกุม ไม่ถือเป็นการคุมขังและเรียกทรัพย์สินโดยมิชอบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นเจ้าหน้าทีตำรวจ มีหน้าที่สืบสวนและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย ได้ร่วมกันตรวจค้นพบกัญชาและกล้องสูบกัญชาซึ่งเป็นของผิดกฎหมายในบ้านพักขง จ. แล้วไม่จับกุมนำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายตามตำแหน่งหน้าที่ของตน แต่กลับร่วมกับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพลเรือนเรียกร้องเอาเงินจาก ว.เพื่อไม่กระทำการจับกุมตามหน้าที่แล้วให้ ว. ไปเอาเงินมาให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 148 เพราะจำเลยไม่ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบโดยแล้งขู่ว่าจะจับ ว. โดยไม่ได้กระทำความผิดและเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นความผิดตามมาตรา 149 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วแม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 157 มาด้วย ก็ไม่จำต้องปรับบทด้วยมาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกบทหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพลเรือน มีฐานะเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149,86 เท่านั้น
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เรียกเงินจาก ว.แล้วให้ ว.ไปเอาเงินก็เพื่อจะไม่จับกุม ว. ไม่ใช่ว่าจับกุมแล้วเรียกเงินเพื่อจะปล่อยแม้ขณะที่ ว. จะไปเอาเงิน จำเลยจะให้พวกจำเลยคนหนึ่งไปด้วยเป็นทำนองว่าเพื่อควบคุมตัว ว. โดยปริยาย แต่เมื่อมีผู้ทักท้วงขึ้น จำเลยก็มิได้ไปด้วย เพียงแต่ให้ ว. ลงชื่อในบันทึกการจับกุมไว้เท่านั้น โดยกล่าวว่าถ้าไม่ยอมลงชื่อจะจับไปสถานีตำรวจ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จับควบคุมตัว ว.อันจะเข้าเกณฑ์ว่ามีการคุมขังแล้วดังที่บัญญํติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191 ตามที่แก้ไข และมาตรา 204 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191, 204
การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยมานั้นยังคลาดเคลื่อนอยู่ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกเงินจากผู้ต้องหาเพื่อไม่จับกุม ไม่เป็นความผิดตาม ม.148 แต่เป็นความผิดตาม ม.149
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีหน้าที่สืบสวนและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย ได้ร่วมกันตรวจค้นพบกัญชาและกล้องสูบกัญชาซึ่งเป็นของผิดกฎหมายในบ้านพักของ ว. แล้วไม่จับกุมนำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายตามตำแหน่งหน้าที่ของตน แต่กลับร่วมกับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพลเรือนเรียกร้องเอาเงินจาก ว.เพื่อไม่กระทำการจับกุมตามหน้าที่แล้วให้ ว. ไปเอาเงินมาให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 148 เพราะจำเลยไม่ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบโดยแกล้งขู่ว่าจะจับ ว. โดยไม่ได้กระทำความผิด และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นความผิดตามมาตรา 149 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วแม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 157 มาด้วย ก็ไม่จำต้องปรับบทด้วยมาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกบทหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพลเรือน มีฐานะเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149, 86 เท่านั้น
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เรียกเงินจาก ว.แล้วให้ว.ไปเอาเงินก็เพื่อจะไม่จับกุมว. ไม่ใช่ว่าจับกุมแล้วเรียกเงินเพื่อจะปล่อย แม้ขณะที่ ว. จะไปเอาเงิน จำเลยจะให้พวกจำเลยคนหนึ่งไปด้วยเป็นทำนองว่าเพื่อควบคุมตัว ว. โดยปริยายแต่เมื่อมีผู้ทักท้วงขึ้น จำเลยก็มิได้ไปด้วย เพียงแต่ให้ ว. ลงชื่อในบันทึกการจับกุมไว้เท่านั้น โดยกล่าวว่าถ้าไม่ยอมลงชื่อจะจับไปสถานีตำรวจ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จับควบคุมตัว ว. อันจะเข้าเกณฑ์ว่ามีการคุมขังแล้วดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191 ตามที่แก้ไข และมาตรา 204จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191,204
การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยมานั้นยังคลาดเคลื่อนอยู่ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสารและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องโทษหลบหนี
การบรรยายฟ้องเรื่องปลอมเอกสารที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัว เมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำ จึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่ 1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษ จะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการรายงานการหลบหนีของนักโทษ และร่วมกันปลอมเอกสารเพื่อช่วยเหลือ
การบรรยายฟ้องเรื่องปลอมเอกสารที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัวเมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำจึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำ ดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษจะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยและการหลบหนี: ผลกระทบของคำสั่งที่ขาดตอนและการกลับมาควบคุมโดยชอบ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 ข้อ 2 มีความมุ่งหมายว่า ไม่ประสงค์จะให้ควบคุมบุคคลไว้ตลอดไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา จึงกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาและมีคำสั่งทุกระยะ 3 เดือนว่าให้ควบคุมต่อไปหรือให้ปล่อยไป การที่คณะกรรมการมิได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นจึงไม่ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว หากนายปุ่นหลบหนีการควบคุมในช่วงระยะเวลานั้น นายปุ่นก็ไม่มีความผิดฐานหลบหนีการควบคุม(อ้างนัยฎีกา 105/2506) แต่การที่คณะกรรมการไม่มีคำสั่งให้ทันเมื่อครบ 3 เดือน จนเวลาล่วงมาระยะหนึ่งดังกล่าว จึงได้พิจารณามีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ต่อไป เช่นนี้ไม่เป็นเหตุทำให้คำสั่งหลัง ๆ นั้นไม่ชอบด้วยประการใด เพราะตัวนายปุ่นก็ยังต้องควบคุมอยู่ตลอดมา เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาและมีคำสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ให้ควบคุมไว้ต่อไป ก็ต้องถือว่านายปุ่นได้กลับถูกควบคุมไว้โดยชอบด้วยประกาศดังกล่าวอีก เมื่อนายปุ่นหลบหนีการควบคุมจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 205.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยและการหลบหนี: ผลกระทบของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามประกาศคณะปฏิวัติ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 ข้อ 2 มีความมุ่งหมายว่า ไม่ประสงค์จะให้คุมบุคคลไว้ตลอดไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจึงกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาและมีคำสั่งทุกระยะ 3 เดือนว่าให้ควบคุมต่อไปหรือให้ปล่อยไปการที่คณะกรรมการมิได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นจึงไม่ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวหากนายปุ่นหลบหนีการควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นนายปุ่นก็ไม่มีความผิดฐานหลบหนีการควบคุม (อ้างนัยฎีกา 105/2506)แต่การที่คณะกรรมการไม่มีคำสั่งให้ทันเมื่อครบ 3 เดือน จนเวลาล่วงมาระยะหนึ่งดังกล่าว จึงได้พิจารณามีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ต่อไปเช่นนี้ไม่เป็นเหตุทำให้คำสั่งหลังๆ นั้นไม่ชอบด้วยประการใดเพราะตัวนายปุ่นก็ยังต้องควบคุมอยู่ตลอดมา เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาและมีคำสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ให้ควบคุมไว้ต่อไป ก็ต้องถือว่านายปุ่นได้กลับถูกควบคุมไว้โดยชอบด้วยประกาศดังกล่าวอีกเมื่อนายปุ่นหลบหนีการควบคุมจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพาผู้ต้องขังหลุดพ้นจากการคุมขัง แม้จะไปด้วยกัน ก็ถือว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๔
จำเลยเป็นตำรวจอยู่เวรรักษาเหตุการณ์บนสถานีตำรวจ ได้นำผู้ต้องขังตามหมายขังของศาลไปเสียจากที่คุมขังบนสถานีตำรวจ พาไปเที่ยวหาความสำราญในตลาด แม้ว่าจำเลยจะไปด้วยกับผู้ต้องขังนั้น ก็ไม่ถือว่าเป็นการควบคุมจำเลยต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204 เพราะเป็นเรื่องไปเที่ยวหาความสำราญ ถือได้ว่า จำเลยได้กระทำให้ผู้ต้องขังหลุดพ้นจากการคุมขังไปแล้ว
of 2