คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 118

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองและสัญญากู้เงินที่สมคบกันแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
สัญญาจำนองและสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์ กับ พ. เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะโจทก์และ พ. สมคบกันแสดงเจตนาลวง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ แม้โจทก์จะมีชื่อ ในสัญญาจำนองในฐานะผู้รับจำนอง ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเงินได้ประเภทดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายฝากที่ดินและบ้านพิพาท การซื้อขายโดยสุจริต และสิทธิในการขับไล่
เมื่อโจทก์ร่วมที่ 2 กับจำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทกันแล้ว แม้จำเลยผู้ขายฝากยังคงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทต่อไป โดยไม่ได้มอบการครอบครองแก่โจทก์ร่วมที่ 2 ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์ร่วมที่ 2 กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพราง ดังนั้น การที่จำเลยไม่ไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด และโจทก์ร่วมที่ 2 ผู้รับซื้อฝากขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 1 โดยสุจริต กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทย่อมเป็นของโจทก์และโจทก์ร่วม โจทก์จึงมีสิทธิขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการทำสัญญาหย่าและยกทรัพย์สินให้บุตรมีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้มีการอ้างเหตุอื่น
โจทก์จำเลยจดทะเบียนการหย่าและบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินยกให้แก่บุตรด้วยเจตนาให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในบันทึกหลังทะเบียนการหย่า โจทก์ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยโอนทรัพย์สินนั้นให้แก่บุตรได้ส่วนบุตรจะยอมรับทรัพย์สินหรือไม่เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้: กรรมสิทธิ์ยังคงอยู่กับผู้สละมรดก เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ได้
การที่จำเลยขอกู้เงินโจทก์แล้วในวันเดียวกันนั้นได้แสดงเจตนาสละมรดกให้แก่ผู้ร้องโดยจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นอีกทั้งผู้ร้องก็เป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลย พฤติกรรมดังกล่าวแสดงว่าจำเลยเพียงแต่ให้ผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทไว้แทนจำเลย ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการสละมรดก ประเด็นมีว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการสละมรดกของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาลวงตกเป็นโมฆะและการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทแทนจำเลย เป็นการวินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาทยังเป็นของจำเลยอยู่ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมขายฝากมีผลผูกพันตามสัญญา แม้จำเลยอ้างเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง โจทก์มีสิทธิขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
โจทก์และจำเลยต่างมอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ไปทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ส. ได้ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้วสัญญาขายฝากที่ทำขึ้นย่อมเป็นนิติกรรมที่โจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีผลผูกพันกันตามสัญญา มิใช่มีเจตนาอำพรางแต่อย่างใด จำเลยจะอ้างว่ามีเจตนาอำพรางสัญญาจำนองหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีการอ้างถึงการกู้ยืมเงินและดอกเบี้ยซ้ำซ้อน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยมีเจตนาขอกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์ไม่ยอมให้กู้แต่ประสงค์ให้ทำสัญญาขายฝาก เมื่อจำเลยตกลงทำสัญญาขายฝากที่ดินตามความประสงค์ของโจทก์โดยความสมัครใจของจำเลยเอง สัญญาขายฝากจึงมิได้กระทำขึ้นด้วยการสมรู้ของโจทก์จำเลยเพื่ออำพรางการกู้ยืมหรือจำนองสัญญาขายฝากจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6112/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สิทธิในการนำสืบพยานพิสูจน์เจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
จำเลยต่อสู้คดีว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองเป็นการกล่าวอ้างว่า สัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นจริงดังที่กล่าวอ้างสัญญาขายฝากย่อมใช้บังคับไม่ได้ จำเลยจึงมีสิทธินำสืบพยานได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6112/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สิทธิในการนำสืบพยานพิสูจน์เจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี
จำเลยต่อสู้คดีว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณีโดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นจริงดังที่กล่าวอ้างสัญญาขายฝากย่อมใช้บังคับไม่ได้จำเลยจึงมีสิทธินำสืบพยานได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญาซื้อขาย & การชำระหนี้เพื่อประโยชน์จำเลย: สิทธิเรียกร้องเงินคืนจากผู้รับประโยชน์
จำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ โดยให้โจทก์ไถ่ถอนการขายฝากจาก ส. เป็นการชำระเงินค่าที่พิพาทส่วนหนึ่ง โจทก์นำที่พิพาทไปจำนองกับธนาคารเพื่อประกันหนี้เงินที่โจทก์กู้มาไถ่ถอนการขายฝาก ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์และศาลฎีกาพิพากษาว่า สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาลวง ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ปรากฏว่าโจทก์ได้ผ่อนชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารไปตามสัญญาจำนองก่อนแล้วจำนวน 106,373.20 บาท จำเลยคงชำระเงินส่วนที่เหลือแก่ธนาคารเป็นการไถ่ถอนการจำนองอีกเพียง 26,601.44 บาท จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาในสภาพที่ปลอดจำนองด้วยเงินที่โจทก์ชำระไปส่วนหนึ่ง ซึ่งจำเลยไม่มีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์เสียเปรียบ ทั้งโจทก์มิได้ชำระหนี้ไปตามอำเภอใจ จำเลยจึงต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถือว่าเป็นวันที่รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืน อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย เมื่อฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่เวลาที่ทราบคำพิพากษาศาลฎีกา จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินค่าไถ่จำนองเมื่อสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ และประเด็นอายุความ
จำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ โดยให้โจทก์ไถ่ถอนการขายฝากจาก ส.เป็นการชำระเงินค่าที่พิพาทส่วนหนึ่ง โจทก์นำที่พิพาทไปจำนองกับธนาคารเพื่อประกันหนี้เงินที่โจทก์กู้มาไถ่ถอนการขายฝาก ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์และศาลฎีกาพิพากษาว่า สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาลวง ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ปรากฏว่าโจทก์ได้ผ่อนชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารไปตามสัญญาจำนองก่อนแล้วจำนวน 106,373.20 บาทจำเลยคงชำระเงินส่วนที่เหลือแก่ธนาคารเป็นการไถ่ถอนการจำนองอีกเพียง 26,601.44 บาทจึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาในสภาพที่ปลอดจำนองด้วยเงินที่โจทก์ชำระไปส่วนหนึ่ง ซึ่งจำเลยไม่มีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์เสียเปรียบ ทั้งโจทก์มิได้ชำระหนี้ไปตามอำเภอใจ จำเลยจึงต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถือว่าเป็นวันที่รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนอายุความจึงเริ่มนับแต่เวลาดังกล่าว มิใช่นับแต่วันทำสัญญาซื้อขายเมื่อฟ้องคดีนี้ไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันเวลาที่ทราบคำพิพากษาศาลฎีกา จึงไม่ขาดอายุความ
of 28